ตามติด #ม็อบชาวนา เสียงสะท้อนปัญหาภาระหนี้สิน และราคาข้าวตกต่ำของเกษตรกรไทย

คนไทยถูกพร่ำสอนให้สำนึกบุญคุณของชาวนาที่ปลูกข้าวให้ทุกคนกินเสมอมา เพราะข้าวแต่ละเม็ดได้มาอย่างยากลำบาก จึงมีการยกย่องให้เกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ถ้าไม่มีชาวไร่ชาวนาประเทศเราจะอยู่ไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง กระดูกสันหลังของไทยกลับถูกละเลยให้ทุกข์ยากและลำบากเพียงลำพัง ทำนามากี่ปีๆ ก็ลืมตาอ้าปากไม่ได้สักที ใครที่ติดตามมูฟเมนต์ม็อบการเมืองในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ จะเห็นได้ว่าเกษตรกรหลายร้อยคนจากกว่า 36 จังหวัด ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุม ‘ม็อบชาวนา’ ที่หน้ากระทรวงการคลัง บริเวณถนนพระราม 6 ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาหนี้ ผ่านกระบวนการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ทั้งที่ค้างคามาเป็นเวลานานกว่า 2 ปีแล้ว นอกจากปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำลงมาตลอด บวกกับสถานการณ์โควิด-19 และการผันผวนของการเมืองไทยที่มีการรัฐประหารและเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้นโยบายและการจัดการปัญหาฝั่งเกษตรกรรมไม่จริงจังและไม่ต่อเนื่อง เพราะเอาเข้าจริงก็มีเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 นับเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีแล้ว แต่สถานการณ์ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะปักหลักชุมนุมต่อไป หากยังไม่มีมติจาก ครม. เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามาช่วยจัดการหนี้สินของเกษตรกรจากธนาคารของรัฐ ด้วยการตัดดอกเบี้ย ลดเงินต้นลง รวมถึงการลดข้อจำกัดที่จะเอื้อให้เกษตรกรชำระหนี้สินได้ในระยะยาว  เพราะถ้ารัฐยังไม่มีการจัดการและแผนการรองรับที่ดี อาจทำให้ธนาคารยึดที่ดินของเกษตรกรไทย จนไม่มีที่ดินให้ทำกิน และที่เลวร้ายสุดคือการถูกยึดที่อยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสังคมไทยในระยะยาว ล่าสุดม็อบชาวนาได้เจรจากับทางรัฐบาลแล้ว และคาดว่ามติ ครม.จะออกมาในวันที่ 15 […]

‘บุญบันดาล’ ข้าวอินทรีย์ของพ่อลูก ที่ทำให้ชาวนามหาสารคามไม่ต้องขายข้าวราคาถูกอีกต่อไป

โครงการไทยเด็ด ของ พีทีที สเตชั่น เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” จากความเชื่อในพลังของธุรกิจท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ โครงการไทยเด็ดจึงอยากเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่ช่วยให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นฝ่ามรสุมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาด้วยการเชิญชวนธุรกิจท้องถิ่นทั่วประเทศไทยร่วมส่งเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ โดยทำการคัดเลือกแบรนด์ที่มีทั้งวิธีคิดที่น่าสนใจ และมีปณิธานในการทำงานกับชุมชน มาเปิดห้องเรียนไทยเด็ด Mentor เพื่อช่วยพัฒนาแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ดั้งเดิมและสามารถต่อยอดแบรนด์ให้ไปได้ไกลขึ้น เราตื่นขึ้นมาตั้งแต่ตะวันยังไม่ออกมาทักทาย และเดินทางจากกรุงเทพมหานครตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อตรงดิ่งไปยังใจกลางของภาคอีสาน พอถึงช่วงบ่ายแก่ คณะของเราก็เดินทางมาถึงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็นทุ่งกุลาร้องไห้ ที่อดีตเคยแห้งแล้ง แต่ปัจจุบันกลับมีท้องนาที่รวงข้าวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองคอยต้อนรับฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง เราเดินทางมาที่นี่เพราะมีนัดหมายกับข้าวบุญบันดาล ข้าวสารจากเกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าน้อย ในเขต GI (Geographical Indications) แหล่งภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ต้องการจะรักษาระบบนิเวศของที่ดิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่คนปลูกข้าวตั้งใจจะรักษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมกับชุมชน ที่มีความตั้งใจอยากชวนคนรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาบ้านเกิด และยกระดับข้าวอินทรีย์ให้ไปสู่สากล ความมุ่งมั่นและเรื่องราวของข้าวบุญบันดาล ได้เอาชนะใจคณะกรรมการจากโครงการไทยเด็ด พีทีที สเตชั่น จนได้รับเลือกไปเข้าห้องเรียน ไทยเด็ด Mentor เพื่อพัฒนาแบรนด์ โดยรักษาจิตวิญญาณดั้งเดิมไว้ หลังผ่านการโค้ชทั้งในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง รวมทั้งต่อยอดในเรื่องของมาร์เก็ตติ้ง ทีม Urban Creature […]

คนไทยกินข้าวทุกวัน แต่ทำไมชาวนาจนลง?

เมื่อข้าวคืออาหารหลักของคนไทย แต่ทำไมพี่น้องชาวนาจนลงทุกวัน ? ชวนฟังเสียงชาวนากับ ‘E-Rice Thai Farmers’ กลุ่มชาวนาจากภาคอีสานที่รวมตัวกันขายข้าวเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้ชาวนาไทยไม่ถูกเอาเปรียบ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.