เปิดหูเปิดตา ฟังเสียงกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ในนิทรรศการ ‘Sound of the Soul’ 19 – 31 ก.ค. 65 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

เดือนกรกฎาคมนี้ หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC) ชวนมางาน ‘Sound of the Soul’ นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ว่ากันด้วยเรื่องเสียงที่ไม่ค่อยถูกได้ยินในสื่อกระแสหลัก เพื่อมุ่งหวังให้ระยะห่างของผู้คนใกล้กันมากขึ้น  นิทรรศการครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการฟัง พูด คุย รับรู้ความเป็นไปและการมีอยู่ เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นอันเป็นวิถีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างหลากหลายและห่างไกลของผู้คนจากผืนดินอื่น อาทิ กลุ่มปกาเกอะญอ กลุ่มไทดำ กลุ่มไทกะเลิง กลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ กลุ่มมูเซอ กลุ่มอาข่า กลุ่มอูรักลาโว้ย ฯลฯ ภายในงานมีกิจกรรมที่ชวนเปิดผัสสะผ่าน Visual Performance ฟังและมองดูสิ่งต่างๆ ที่บันทึกจากการไปสัมผัสถิ่นที่อยู่จริง โดยกลุ่มศิลปิน 3 สาขา ได้แก่ – ‘Hear&Found’ กลุ่มคนทำงานที่ใช้ดนตรีเพื่อลดการแบ่งแยกในสังคม ประกอบด้วย ‘เม-ศิรษา บุญมา’ กับ ‘รักษ์-ปานสิตา ศศิรวุฒิ’ ที่ตั้งใจสร้างพื้นที่ส่งเสียงความหลากหลายทางวัฒนธรรมออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ ผ่านการใช้ความถนัดคือ เสียง ดนตรี และการสื่อสาร – ‘ศุภชัย เกศการุณกุล’ ช่างภาพผู้โดดเด่นเรื่องการถ่าย Portrait […]

Kao Kalia Yang ผู้ลี้ภัยชาวม้งที่เขียนงานเยียวยาผู้ลี้ภัยทั่วโลก

“ตอนที่ฉันเป็นเด็ก เท่าที่ฉันรับรู้ ไม่มีนักเขียนที่เป็นผู้ลี้ภัยคนไหนเลยที่จะเขียนหรือคิดถึงเรื่องราวที่ฉันต้องเจอเลย” Kao Kalia Yang (เคา คาเลีย แยง) นักเขียนชาวม้งที่มีผลงานเลื่องชื่อคือ ‘The Latehomecomer: A Hmong Family Memoir’ ที่บอกเล่าความทรงจำของครอบครัวชาวม้งของเธอ ตอนนี้อาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกของการเป็นผู้ลี้ภัยในวัยเด็กกับนิตยสาร Southeast Asia Globe ในวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา หากติดตามหน้าข่าว ทั้งสงคราม-ความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ เพื่อนบ้านประเทศไทยเองก็มีให้เห็นอยู่ตลอด กระทั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับชาวพม่าหลังจากรัฐประหารโดยมิน อ่อง ลาย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว การสู้รบทำให้หลายคนอพยพข้ามฝั่งมาที่ประเทศไทย… เรื่องราวและผลงานของ Yang อาจจะชวนให้เห็นถึงความเจ็บปวดและชวนเข้าใจ หาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยมากขึ้น Yang มีพื้นเพเป็นชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ใน ‘ประเทศลาว’ ในช่วงปี 1959 นั้น เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาวและรัฐบาลนิยมกษัตริย์ที่แต่ละฝ่ายมีมหาอำนาจหนุนหลังแตกต่างกัน ครอบครัวชาวม้งที่อาศัยในประเทศลาวนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (ที่เข้าข้างฝ่ายนิยมกษัตริย์ของลาว) เพื่อทำ ‘สงครามลับ (Secret War)’ กับขั้วตรงข้าม  แต่เมื่อปี 1973 เมื่อสหรัฐฯ […]

ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก

ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก  ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม  สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]

แม้ต่างชาติพันธุ์ แต่ล้วนเป็น ‘ไทย’ You Me We Us นิทรรศการออนไลน์ 60 กลุ่มชาติพันธุ์ในไทยที่ยังไร้สิทธิ

นิยาม ‘คนไทย’ ของคุณมีพวกเขาไหม? ปกาเกอะญอ กะเหรี่ยง ลีซู ลาหู่ อาข่า อาเค๊อะ เญอ กูย บรู พวน โส้ อูรักลาโวย ลาวตี้ ซะโอจ ซิกข์นามธารี โอก๋อง ม้ง ซำเร และอีกกว่า 60 กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนแผนที่รูปขวาน และเป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่าประเทศไทย ไม่ได้มีแค่คนสี่ภาค แต่ประกอบไปด้วยมนุษย์หลากชาติพันธุ์ที่กำลังต่อสู้เพื่อสิทธิความเป็นคน ‘เท่ากัน’  แม้ตำราเรียนไม่เคยบอกเรื่องราวของพวกเขาครบถ้วน แต่ You Me We Us นิทรรศการออนไลน์เรื่อง “เรา” กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จัดโดย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดำเนินกระบวนการโดย Realframe และร่วมสนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (EU) จะชวนทำความรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศผ่านวิถีชีวิต ความไร้สัญชาติ ไร้รัฐ เขตแดนที่ถูกพราก พร้อมปูความเข้าใจของคุณต่อกลุ่มชาติพันธุ์ รู้สิทธิและสถานะทางทะเบียน มองเห็นชีวิตในป่า เล่าเรื่องที่ไม่ถูกเล่าของเยาวชนชาติพันธุ์ รวมถึงนิยามศัพท์ต่างๆ ผ่านการทำควิซสั้นๆ […]

#saveบางกลอย บันทึกระหว่างทางกลับบ้านของชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อทวงคืนบ้านเกิดมากว่า 25 ปี

0. หากในข้อสอบมีคำถามว่าข้อใดเป็นสาเหตุของการทำลายป่ามนุษย์ คือคำตอบที่ฉันจะมองหาเป็นตัวเลือกแรก และมั่นใจว่าเฉลยจะไม่ผิดไปจากนี้ แต่ฉันเพิ่งรู้ว่าคำตอบในชีวิตจริงไม่ได้มีแค่คำตอบเดียวมีมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ทำลายแต่ปกป้องผืนป่าบ้านเกิดของพวกเขาเป็นอย่างดี เราเรียกเขาว่า ชาวบ้านบางกลอย 1.  ย้อนกลับไปเมื่อเวลาบ่ายของวันที่ 15 มีนาคม ฉันได้รับอีเมลความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ ข้อความข้างในเขียนบอกว่า “พรุ่งนี้ไปเยี่ยมชาวบ้านบางกลอยกัน” พร้อมกับเวลาและสถานที่  ‘เกิดอะไรขึ้นที่บางกลอย’ คำถามผุดขึ้นในหัวฉันและเพื่อนทุกคนทันทีที่อ่านอีเมลฉบับนั้นจบ เราใช้เวลาครึ่งวันที่เหลือก่อนจะถึงเวลานัดพูดคุยกันถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตอนนั้นเองที่ฉันรู้ว่าข้อมูลที่ฉันมีเกี่ยวกับเรื่องนี้มันน้อยนิดมาก เราเพิ่งรู้ด้วยซ้ำว่าบางกลอยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ชาวบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าลึกหรือเรียกกันว่า ‘ใจแผ่นดิน’ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี แต่เมื่ออุทยานแห่งชาติแก่งกระจานถือกำเนิดขึ้น ชาวบ้านบางกลอยทั้งหมู่บ้านจึงต้องอพยพลงมาอยู่พื้นที่ใหม่ที่รัฐจัดหาให้ เรียกว่า ‘บางกลอยล่าง’ หรือบ้านโป่งลึก แต่ที่ดินบริเวณบางกลอยล่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่ต้องทำไร่หมุนเวียน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนตัดสินใจเดินเท้ากลับขึ้นไปที่ใจแผ่นดิน และตกอยู่ในสถานะผู้บุกรุกป่า วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาวบ้านบางกลอยบางส่วนเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรี มายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีถอนกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานในพื้นที่ เนื่องจากสร้างความหวาดระแวงให้ชาวบ้านที่ต้องใช้เส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน เมื่อเราถึงสะพานชมัยมรุเชฐข้างทำเนียบรัฐบาล จุดที่ภาคี #saveบางกลอย ปักหลักกันมาเกือบ 2 วัน พระอาทิตย์กำลังจะหายไปหลังตึกสูง ภาพแรกที่เห็นคือกระท่อมไม้ไผ่หลังเล็กๆ แบบเดียวกับที่ใจแผ่นดินตั้งอยู่กลางถนน และป้ายผ้าสีขาวที่เขียนว่า ‘ชาติพันธุ์ก็คือคน’ พี่กอล์ฟ-พชร คำชำนาญ คือคนแรกที่พวกเรามองหา เขาเป็นรุ่นพี่ที่คณะและฉันไม่มั่นใจว่าพี่กอล์ฟจะจำพวกเราได้ […]

โพควา โปรดักชั่น สื่อปกาเกอะญอที่ปรับทัศนคติคนเมืองด้วยเรื่องจริงจากปากคนชาติพันธุ์

‘โอ-ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี’ หนุ่มปกาเกอะญอวัย 28 แห่ง โพควา โปรดักชั่น สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนชีวิตคนชาติพันธุ์ ที่เขาเขียน ถ่าย อัด ทำ ‘คนเดียว’ จะบอกคุณให้รู้ว่า แท้จริงแล้วชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และโอต้องการอะไร

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.