MADE LIM Café เปลี่ยนโบสถ์คริสต์ 120 ปีในเกาหลีใต้ เป็นคาเฟ่และพื้นที่ศิลปะสมัยใหม่ แฝงด้วยร่องรอยประวัติศาสตร์และแนวคิดธรรมชาติ

กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ คือเมืองหลวงที่ใครหลายคนขนานนามให้เป็นเมืองแห่งคาเฟ่ เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็ต้องพบเข้ากับคาเฟ่สุดเก๋ ที่มาพร้อมคอนเซปต์หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบสไตล์มินิมอลไปจนถึงแนวคิดล้ำๆ แต่ความจริงแล้ว ไม่ไกลจากตัวสนามบินอินชอนเองก็มีคาเฟ่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะแต่เดิมที่นี่คือ ‘โบสถ์วังซาน’ โบสถ์คริสต์อายุ 120 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ‘NONE SPACE’ สตูดิโอออกแบบและก่อสร้างสัญชาติเกาหลีใต้ ได้รีโนเวตโบสถ์ 3 ชั้นแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘MADE LIM Café’ คาเฟ่และพื้นที่จัดแสดงศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังคงไว้ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ NONE SPACE เลือกใช้อิฐและกระจกสีเป็นวัสดุหลักในการรีโนเวต เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่คงไว้ซึ่งวัสดุตกแต่งเดิมของโบสถ์ให้ได้มากที่สุด และไม่ทำการรื้อถอนภายในหากไม่จำเป็น โดยมีคอนเซปต์คือ ‘MADE 林’ ที่สะท้อนถึงปรัชญาที่มองว่ามนุษย์จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ MADE LIM Café แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามการใช้งาน ได้แก่ ‘Forest Hall’ ห้องโถงหลักที่ประกอบด้วยคาเฟ่ ห้องรับประทานอาหาร และห้องโถงสำหรับจัดงาน ในขณะที่ ‘Detached Forest House’ และ ‘Heritage Hall’ ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ […]

ประกายแก้ว แบรนด์กระจกสีอายุ 29 ปี ที่รับทำตั้งแต่ซ่อมกระจกวัดจนถึงป้ายชื่อศิลปินเกาหลี

ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน อาจเป็นความโชคดีที่บางคนเจอสิ่งที่ชอบแล้วทำมันเป็นงานได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป กับบางคนที่ไม่ได้รักงานที่ทำมาก แต่งานนั้นมอบคุณภาพชีวิตดีๆ มีเวลาว่างให้ผ่อนคลาย นั่นอาจเป็นนิยามของชีวิตที่น่าพอใจแล้ว ถึงอย่างนั้น เราก็ยังรู้สึกสนุกทุกครั้งเวลาได้เจอคนที่ทำงานในสิ่งที่รัก เหมือนกับวันนี้ที่เรามาเจอ ‘พวงแก้ว นันทนาพรชัย’ เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งร้าน ประกายแก้ว แบรนด์รับทำ-ซ่อมกระจกสีที่เพิ่งเป่าเทียนฉลองวันเปิด 29 ปีไปหมาดๆ โดยมี ‘ฌัลลกัณฐ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา’ คอยหนุนหลังในฐานะทายาทผู้มารับช่วงต่อ ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน ความหลงใหลในอะไรบางอย่างจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์คือตัวอย่างของคนที่อยู่กับกระจกสีมาได้อย่างยาวนาน, อย่างน้อยๆ ก็ 29 ปี  แต่อยู่มานานก็ไม่ได้แปลว่าต้องทำแบบเดิมเสมอไป เพราะธุรกิจของพวกเธอดำเนินอยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในคำว่ายาวนานของร้านประกายแก้วนั้น มีการปรับตัวและพัฒนาบริการครั้งแล้วครั้งเล่า จากที่เคยรับทำกระจกสีซึ่งเราเห็นในบ้านและโบสถ์ ทุกวันนี้ประกายแก้วทำงานกระจกสีในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับกับกลุ่มลูกค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่นักสะสมไปจนถึงแฟนคลับศิลปินเกาหลี  ลัดเลาะเข้าไปในหมู่บ้านมหาวงษ์ 3 ในบ้านหลังไม่เล็กไม่ใหญ่ริมคลองพระโขนงอันเป็นที่ตั้งของร้านประกายแก้ว ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์เล่าเบื้องหลังให้เราฟังท่ามกลางเสียงเจียกระจกในโรงงาน Puangkaew’s Glass Glitter Studio ถ้าจะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระจกสีกับป้าพวงแก้วเป็น ‘รักแรกพบ’ ก็คงไม่ผิดนัก ป้าพวงแก้วเรียนจบโรงเรียนคาทอลิก หลงใหลในกระจกสีหรือ Stained Glass ถึงขนาดไปเรียนกับช่างทำกระจกสีอยู่ 2 ปี […]

กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional

รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง  แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้  Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.