ออกไปท่องอวกาศ สำรวจจักรวาลกับ Space Journey Bangkok นิทรรศการอวกาศระดับโลกที่ลงจอดครั้งแรกในเอเชีย วันนี้ – 16 เม.ย. 68 ที่ไบเทคบุรี

‘นักบินอวกาศ’ น่าจะเคยเป็นความฝันวัยเด็กของพวกเราหลายคน แต่ต้องยอมรับว่า พอโตขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะรู้ได้เองว่ามันเป็นความฝันที่อยู่แสนไกลไปหลายปีแสง ด้วยขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูล และการสัมผัสเทคโนโลยีอวกาศที่ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ ‘Space Journey’ คือนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่จะช่วยเติมเชื้อเพลิงความฝันในการทำงานด้านอวกาศให้ดูเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป ด้วยความตั้งใจของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ที่อยากยกอวกาศมาให้เด็กไทยเข้าถึงได้ง่ายๆ จึงติดต่อนิทรรศการระดับโลกนี้มาจัดแสดงที่ประเทศไทยด้วย นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ไม่ได้เป็นแค่ครั้งแรกของบ้านเรา แต่ยังหมายรวมถึงครั้งแรกในทวีปเอเชีย ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะได้เดินทางมาสัมผัสการสำรวจอวกาศกันอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568 ที่ไบเทคบุรี คอลัมน์ Events จะพาไปแหวกว่ายสำรวจอวกาศบางส่วนของนิทรรศการ Space Journey Bangkok กันว่า ทำไมนิทรรศการนี้ถึงเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่เราไม่อยากให้ทุกคนพลาด หลังจากเดินทางไปจัดแสดงมาหลายประเทศ ก็ถึงเวลาที่นิทรรศการ Space Journey มาลงจอดที่ประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในฝั่งประเทศเอเชียที่นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ได้มาจัดแสดง Space Journey บอกเล่าตั้งแต่ต้นกำเนิดของการศึกษา สำรวจ และการเดินทางในอวกาศ จนถึงการพัฒนาด้านอวกาศในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดแสดงวัตถุจริงหลายร้อยชิ้นจากสหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นๆ ซึ่งบางชิ้นส่วนเป็นชิ้นงานที่เคยใช้จริงในอวกาศ […]

แม้แต่ดาวเทียมก็ต้องยั่งยืน! ‘LignoSat’ ดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลก ช่วยลดขยะอวกาศ จากฝีมือนักวิจัยญี่ปุ่น

ถ้าถ่ายภาพจากอวกาศลงมาที่โลก สิ่งที่เราเห็นจะไม่ใช่ภาพของดาวเคราะห์สีเขียวตัดกับสีน้ำเงินที่มีชื่อว่าโลก แต่คือภาพขยะอวกาศที่เกิดจากดาวเทียมหมดอายุการใช้งาน เพราะจากการสำรวจในปี 2021 พบว่า มีขยะอวกาศที่ขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรมากกว่า 30,000 ชิ้น และมีชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรอยู่มากถึง 128 ล้านชิ้นที่ลอยอยู่ในวงโคจรของโลก ทำให้ปัจจุบันธุรกิจอวกาศเริ่มพัฒนาอุปกรณ์ในการกำจัดขยะอวกาศ รวมไปถึงมองหาวัสดุใหม่ๆ ที่จะทำให้การส่งดาวเทียมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ‘LignoSat’ คือดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร (250 ไมล์) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จากการร่วมมือพัฒนาของมหาวิทยาลัยเกียวโตและบริษัท Sumitomo Forestry ดาวเทียมดวงเล็กนี้มีขนาดความยาว 10 เซนติเมตรในแต่ละด้าน และมีน้ำหนักเพียง 900 กรัม สร้างขึ้นจากไม้ฮิโนกิ (Hinoki) เป็นไม้สนไซเปรสสายพันธุ์ญี่ปุ่น ที่ถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์หายากที่เหล่าจักรพรรดิหรือโชกุนมักนำมาใช้สร้างปราสาท พระราชวัง วัด ศาลเจ้า หรือทำฝักดาบ โดยหลังทำการทดลอง 10 เดือนบนสถานีอวกาศนานาชาติ พบว่าฮิโนกิเป็นไม้ที่มีความเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ ไม้แต่ละด้านของ LignoSat ยังประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้เทคนิคหัตถกรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ที่จะไม่มีการใช้สกรูหรือกาวในการประกอบ เพื่อช่วยลดการใช้โลหะหรือวัสดุที่อาจเป็นพิษจากการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ […]

‘Space Journey Bangkok’ นิทรรศการอวกาศระดับโลกลงจอดที่กรุงเทพฯ เปิดจักรวาล สร้างแรงบันดาลใจให้ชาวเนิร์ดอวกาศ 16 ธ.ค. 67 – 16 เม.ย. 68 ไบเทคบุรี

ความฝันในการเป็นนักบินอวกาศหรือออกไปสำรวจนอกโลกดูเหมือนจะเป็นแฟนตาซีของใครหลายๆ คนตั้งแต่เด็ก แต่ในขณะเดียวกัน เด็กๆ ในต่างประเทศที่ได้สัมผัสและใกล้ชิดเรื่องราวของอวกาศผ่านนิทรรศการต่างๆ กลับมองว่าตนเองมีโอกาสที่จะผลักดันความฝันของตนให้เกิดขึ้นจริงได้ เช่นเดียวกับ ‘เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด ที่มีโอกาสชม ‘Space Journey’ นิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก และประทับใจในการนำเสนอเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ของอวกาศที่หาดูได้ยาก เขามองว่านิทรรศการนี้ให้ความรู้ ให้แรงบันดาลใจ และน่าจะเปิดโอกาสในการเรียนรู้ด้านอวกาศให้คนไทยทุกคน จึงติดต่อนำนิทรรศการนี้มาจัดแสดงที่กรุงเทพฯ ในชื่อ ‘Space Journey Bangkok’ โดยเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย หลังจากเดินทางจัดแสดงในยุโรปถึง 5 ประเทศ และมีคนเข้าชมงานกว่า 1 ล้านคน Space Journey Bangkok ได้รับความร่วมมือจาก ‘ภิรัชบุรีกรุ๊ป’ ในการใช้พื้นที่ของ ‘ไบเทคบุรี’ กว่า 2,000 ตารางเมตรในการจัดแสดงนิทรรศการนี้ โดยจุดประสงค์หลักๆ ของการนำ Space Journey เข้ามานั้น ทางผู้จัดมองว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาที่มีมากกว่าแค่ห้องเรียนหรือการค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต แต่การได้มีประสบการณ์โดยตรงจะเป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมความรู้นั้นๆ และหวังว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนไทยและผู้ที่สนใจด้านอวกาศให้เติบโตต่อไป […]

นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ

น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4

ACRÓMNIA Orbital Hotel แนวคิดโรงแรมสำหรับพักอาศัยนอกโลก เปิดประสบการณ์ใช้ชีวิตนอกอวกาศในห้องหกเหลี่ยม

ในยุคที่การสำรวจอวกาศกลายเป็นเรื่องสามัญ หลายคนอาจเปลี่ยนจากการสงสัยว่าดาวแต่ละดวงมีลักษณะอย่างไร มาเป็นการใช้ชีวิตอยู่นอกอวกาศมีลักษณะเป็นอย่างไรแทน จากความสงสัยเหล่านั้น ถูกต่อยอดมาเป็น ‘ACRÓMNIA Orbital Hotel’ แนวคิดโรงแรมที่ต้องการจำลองการพักอาศัยที่นอกโลกอันเคว้งคว้างโดย ACRÓMNIA Studio สตูดิโอออกแบบที่ผสมผสานระหว่างโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัล ภายในเป็นห้องขนาดเล็กโครงสร้างรูปทรงหกเหลี่ยมสีขาวนวล ไม่มีเฟอร์นิเจอร์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมถึงไม่มีประตูเข้าออกที่จะเชื่อมโยงไปยังสิ่งที่มนุษย์โลกเรียกว่าบ้าน การตกแต่งภายในถูกติดตั้งด้วยวัสดุอัจฉริยะที่เปลี่ยนรูปร่างได้ตามการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการ กล่าวคือ เฟอร์นิเจอร์ในห้องนี้จะเกิดขึ้นตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย ส่วนผนังสร้างขึ้นจากวัสดุที่มีรูพรุนอย่างไมโครพอร์ (Micropore) ที่จะช่วยให้เสียง แสง กลิ่น และอากาศ ไหลผ่านพื้นที่ได้อย่างอิสระ อีกทั้งบนผนังยังมีอุปกรณ์นำทางและปุ่มต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก แต่ละโครงสร้างห้องของ ACRÓMNIA Orbital Hotel เชื่อมต่อกันได้ทุกเหลี่ยม ถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจที่มีศักยภาพในการเก็งกำไร และนำไปใช้ต่อยอดสำหรับอุตสาหกรรมการบริการบนอวกาศในอนาคต Sources :Designboom | t.ly/H8c20Yanko Design | t.ly/3Nn-0

นาซาเตรียมเปิดตัวบริการสตรีมมิง NASA+ ฉายวิดีโอตอนทำภารกิจและการสำรวจอวกาศ ปลายปีนี้

ทุกคนน่าจะรู้จัก NASA ในฐานะของหน่วยงานด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์สุดล้ำ ซึ่งหลายๆ ครั้งเรามักได้รับข้อมูล ภาพถ่าย และวิดีโอจากอวกาศที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นว่านอกจากโลกของเรา ยังมีความหลากหลายอีกกว้างใหญ่ไพศาลที่ประเมินขอบเขตไม่ได้ หลังจากก่อตั้งและดำเนินการในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอวกาศมาตั้งแต่ปี 1958 ปีนี้นาซามีแผนการยกระดับแพลตฟอร์มด้วยการปรับปรุงเว็บไซต์และเพิ่มบริการสตรีมมิงแบบออนดีมานด์ รวมถึงอัปเกรดแอปฯ NASA เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าถึงโลกใหม่ที่อุดมไปด้วยคอนเทนต์จากหน่วยงานอวกาศแห่งนี้ได้อย่างสะดวก “วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างแรงบันดาลใจให้มนุษยชาติผ่านประสบการณ์บนเว็บระดับโลกหนึ่งเดียวของ NASA” Jeff Seaton หัวหน้าเจ้าหน้าที่สารสนเทศประจำสำนักงานใหญ่ของหน่วยงานในเมืองวอชิงตันกล่าว และจากความตั้งใจนี้ เว็บใหม่ของนาซาจะทำหน้าที่เป็นฐานบ้านที่ขยายใหญ่ขึ้น สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจและการวิจัยของหน่วยงาน ข้อมูลสภาพอากาศ การอัปเดตของโปรเจกต์ Artemis ที่จะพานักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง และอื่นๆ อีกมากมาย มากไปกว่านั้น ในช่วงปลายปีนี้นาซาจะเปิดตัวแพลตฟอร์มสตรีมมิงใหม่ในชื่อ NASA+ ที่ไม่มีโฆษณา ไม่เก็บค่าเข้าชม และเหมาะสำหรับครอบครัว โดยจะมีการถ่ายทอดสดเวทีรางวัล Emmy Award ภารกิจของ NASA ในรูปแบบวิดีโอที่เป็นเนื้อหาออริจินัล รวมถึงซีรีส์ใหม่จำนวนหนึ่งที่เปิดตัวพร้อมบริการสตรีมมิง NASA+ ใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต iOS และ Android พร้อมกับเครื่องเล่นสตรีมมิง เช่น Roku, Apple TV และ Fire TV ส่วนใครอยากลองใช้งานเว็บไซต์ใหม่ในเวอร์ชันเบตา […]

StarCrete คอนกรีตประเภทใหม่ ทำจากมันฝรั่ง เกลือ และฝุ่นนอกโลก ใช้สร้างบ้านบนดาวอังคารได้

การส่งเหล่านักบินอวกาศออกไปสำรวจนอกโลก ทำให้มนุษย์ได้ค้นพบว่าจักรวาลอันกว้างใหญ่ยังมีอะไรอีกมากที่เราอาจคาดไม่ถึง และเมื่อมนุษย์โลกยังต้องออกสำรวจจักรวาลกันต่อไป จึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานนอกโลก แต่โครงสร้างต่างๆ ล้วนมีราคาแพงและวัสดุก็หายาก เมื่อต้องการวัสดุที่จะช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ จึงคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ที่เรียกว่า ‘StarCrete’ หรือคอนกรีตที่สามารถใช้สร้างบ้านบนดาวอังคารได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการคิดค้นนี้ เลือกใช้ดินจำลองบนดาวอังคารมาผสมกับแป้งมันฝรั่งและเกลือเพียงเล็กน้อย เพื่อสร้างวัสดุที่มีความแข็งแรงกว่าคอนกรีตทั่วไป และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานก่อสร้างในสภาพแวดล้อมนอกโลก ในบทความจากวารสาร Open Engineering ทีมวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า แป้งมันฝรั่งธรรมดาสามารถทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะได้ หลังจากที่ผลิต StarCrete ขึ้นและทำการทดสอบก็พบว่าคอนกรีตประเภทใหม่มีกำลังอัดถึง 72 MPa (เมกะปาสคาล) ซึ่งแข็งแรงกว่าคอนกรีตทั่วไปที่จะมีแรงอัดอยู่ที่ 32 MPa และหากว่าถ้าใช้ส่วนผสมอย่างฝุ่นจากดวงจันทร์จำลอง StarCrete ก็จะแข็งแกร่งขึ้นกว่าถึง 91 MPa กันเลยทีเดียว  เดิมทีส่วนผสมนั้นจะใช้เลือดและปัสสาวะของนักบินอวกาศเป็นสารยึดเกาะ แม้ว่าจะได้วัสดุที่มีกำลังอัดประมาณ 40 MPa ซึ่งดีกว่าคอนกรีตทั่วไปก็จริง แต่กระบวนการนี้ก็มีข้อเสียคือต้องใช้เลือดเป็นประจำ และการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรอย่างอวกาศ การใช้แป้งมันฝรั่งจึงดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่า “เพราะว่าแป้งเป็นอาหารสำหรับนักบินอวกาศ ดังนั้นแป้งควรเป็นสารยึดเกาะมากกว่าเลือดมนุษย์ นอกจากนี้ เทคโนโลยีอาคารในปัจจุบันยังต้องการการพัฒนาอีกหลายปี และต้องใช้พลังงานจำนวนมากและอุปกรณ์ต่างๆ มีขนาดที่ใหญ่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเพิ่มต้นทุนและความซับซ้อนให้กับภารกิจ ดังนั้น StarCrete จะเข้ามาช่วยลดความซับซ้อนดังว่าและมีราคาถูกกว่า” ดร.อเล็ด โรเบิร์ตส์ […]

จีนประดิษฐ์ดวงจันทร์เทียม สร้างแรงโน้มถ่วงจำลอง ก้าวใหญ่ในภารกิจอวกาศ

หากไม่นับดาวอังคาร ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกอยู่ในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์และเป็นเป้าหมายสำคัญในภารกิจท่องอวกาศมาโดยตลอด ซึ่งเทคโนโลยีใดก็ตามที่จะถูกนำไปใช้ในดวงจันทร์จะต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานได้ภายใต้สภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงเพียง 16 เปอร์เซ็นต์เทียบกับพื้นผิวโลก Christopher Baker ผู้บริหารของ NASA บอกว่าแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์คือหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของการทำงานและการใช้ชีวิตในอวกาศ ซึ่งระบบและอุปกรณ์จำนวนมากที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานบนโลก ไม่สามารถใช้งานได้ในสภาวะดังกล่าว  แม้ที่ผ่านมาเราจะสามารถเลียนแบบแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์บนโลกได้ เช่นการบินในลักษณะ Parabolic Flight หรือบินเป็นกราฟพาราโบลา ซึ่งสามารถจำลองสภาวะดังกล่าวได้เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นต่างกับดวงจันทร์ประดิษฐ์ของจีน ที่สามารถจำลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้นานเท่าที่ต้องการ  ประเทศจีนจึงสร้างแบบจำลองของดวงจันทร์ โดยใช้สนามแม่เหล็กในการเลียนแบบแรงโน้มถ่วง โดยในแกนกลางของดวงจันทร์เทียมจะเป็นห้องสุญญากาศทรงกระบอกกว้าง 23.6 นิ้ว ในขณะที่ด้านบนของดวงจันทร์ขนาดเล็กจะปกคลุมไปด้วยหินและฝุ่นละอองที่เลียนแบบพื้นผิวของดวงจันทร์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการปรับความแรงของสนามแม่เหล็กที่กระทำต่อดวงจันทร์ขนาดเล็ก ก็สามารถจำลองแรงโน้มถ่วงที่ใกล้เคียงกับดวงจันทร์ได้  วิวัฒนาการของดวงจันทร์ประดิษฐ์มีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อสำหรับการทดลองเทคโนโลยีที่ทำไปใช้บนดวงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้สิ่งนี้ในการทดสอบว่าเครื่องพิมพ์สามมิติจะมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือเปล่าสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย หรือประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสำรวจบนดวงจันทร์ ซึ่งจะทำให้แต่ละภารกิจมีความแน่นอนมากขึ้น  มีการคาดว่าดวงจันทร์จำลองจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเหยียบผิวดวงจันทร์ของประเทศจีนในอนาคต รวมถึงต้อนรับนักวิจัยจากทั่วโลกให้เข้ามาศึกษา แต่ยังไม่มีวี่แววว่า NASA จะเข้าร่วมด้วยแต่อย่างใด 

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.