เซฟเก็บไว้อ่านยามน้ำท่วม หนังสือ ‘คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด’ เปิดให้อ่านและดาวน์โหลดทางออนไลน์

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายๆ บ้านน่าจะประสบปัญหาฝนสาดน้ำท่วมกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าท่วมน้อยๆ แป๊บๆ แล้วน้ำลดก็คงไม่เป็นอะไร แต่บางบ้านไม่ใช่แบบนั้น เพราะต้องขนข้าวของขึ้นที่สูง อยู่กับน้ำท่วมเกือบครึ่งตัว และระบบต่างๆ ในบ้านใช้การไม่ได้เลย แต่เมื่อสถานการณ์กลับมาดีขึ้น น้ำลดลง ปัญหาที่ตามมาต่อคือ แล้วจะทำยังไงกับบ้านและทรัพย์สินของเราที่เสียหาย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำ คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกและประชาชนที่สนใจในรูปแบบออนไลน์ การเรียงลำดับหัวข้อเนื้อหาในเล่มจะเริ่มจากเรื่องที่สำคัญที่สุดไปยังสำคัญน้อยที่สุด โดยแนวทางและวิธีการที่นำเสนอนั้นเป็นหลักการเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นหลักการเตรียมตัวและดำเนินการ เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม การดำเนินการ การจัดการระบบไฟฟ้า ตรวจสอบโครงสร้างบ้าน การทำความสะอาด ระบบสุขาภิบาล ประตู หน้าต่าง พื้น ผนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และต้นไม้ อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ asa.or.th/handbook/home-affter-flood

ชวนอ่าน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ ที่รวบรวมสิ่งละอันพันละน้อยที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไทย

เวลาจะย้อนไปดูความเป็นมาของชาติ นอกจากคนและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าถึงบริบทของสังคมที่ผ่านมา ‘สิ่งของ’ ก็เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ศึกษาที่มาที่ไป เบื้องหลังความคิดการออกแบบ หรือกระทั่งอุดมการณ์ในการมีอยู่ของมัน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ คือหนังสือที่ปรับจากงานวิจัยเรื่อง ‘ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ โดยคณะผู้เขียน ได้แก่ ‘วิชญ มุกดามณี’, ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’, ‘วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร’ และ ‘กฤติยา กาวีวงศ์’ ซึ่งโครงการนี้เป็นงานวิจัยระยะยาว 3 ปี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อศึกษา รวบรวม และคัดเลือกผลงานศิลปะ งานสร้างสรรค์ หรือวัตถุชิ้นสำคัญที่ส่งผลและสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และสังคมในยุครัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดแสดงนิทรรศการและจัดทำองค์ความรู้ทางศิลปะของประเทศไทยตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เนื้อหาภายในหนังสือต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมระหว่างทศวรรษ 2470 – 2520 และเพื่อรวบรวมงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ส่งผลต่อสังคมไทยในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเน้นศึกษาที่ตัวชิ้นงานศิลปะเป็นศูนย์กลาง และวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก จนออกมาเป็น 50 ผลงานที่บอกเล่าบริบทในช่วงเวลาต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช […]

เปิดตัวแพลตฟอร์ม ‘ปิ่นโต อีบุ๊ก’ ใช้งานง่าย อ่านได้ทุกที่ ส่งเสริม Ecosystem การอ่านดิจิทัลที่ครบวงจร

หนอนหนังสือหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาในการพกพาหนังสือออกไปด้วยกันทุกที่ ไหนจะความไม่สะดวกบ้าง กลัวเปียกฝนบ้าง กลัวยับบ้าง การเลือกอ่านหนังสือรูปแบบอีบุ๊กจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในยุคดิจิทัลนี้ ปัจจุบันตลาดอีบุ๊กเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้เครือ ‘Ookbee’ ที่มีแพลตฟอร์มอีบุ๊ก Ookbee ได้มองหาช่องทางเพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับนักอ่าน ด้วยเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มเดิมนั้นเริ่มล้าสมัยและยากต่อการพัฒนา จึงเปิดตัวแพลตฟอร์มน้องใหม่อย่าง ‘ปิ่นโต อีบุ๊ก’ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมไปถึงฟังก์ชันที่ครบวงจรทั้งสำหรับนักอ่านและนักเขียน ความตั้งใจของ Ookbee คือการสร้าง Ecosystem การอ่านดิจิทัลที่ครบวงจร จากการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มการอ่านทั้งหมดในเครือ ไม่ว่าจะเป็น ‘Fictionlog’ บริการนิยายรายตอน และ ‘ธัญวลัย’ ตลาดนิยายออนไลน์ นั่นคือ เมื่อนิยายได้รับความนิยมอย่างมากในแพลตฟอร์มนั้นๆ แล้ว เหล่านักเขียนสามารถพัฒนาจากนิยายรายตอนให้เป็นอีบุ๊ก และลงขายในปิ่นโต อีบุ๊กได้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงผู้อ่านและสร้างรายได้ให้กับนักเขียน ทางแพลตฟอร์มยังมีการดูแลพาร์ตเนอร์ทั้งในส่วนของนักเขียนและสำนักพิมพ์อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการลงงาน การจัดทำไฟล์ หรือแม้แต่การวางแผนการตลาด ส่วนนักอ่านเองก็จะได้รับประสบการณ์การอ่านเหมือนกับเลือกหนังสืออยู่ในร้านโปรด จากการคัดสรรคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบทความแนะนำหนังสือหลากหลายแนวตรงใจผู้อ่านทุกกลุ่ม รวมถึงใช้อัลกอริทึมควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ทางแพลตฟอร์มยังมีทั้งระบบโค้ดคูปอง, Coin Back และระบบสมาชิกที่จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่า ทั้งในเรื่องของราคาหนังสือและสิทธิพิเศษต่างๆ ที่จะจูงใจและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของคนไทยให้มากขึ้น เข้าไปเลือกหาหนังสืออ่านจากปิ่นโตได้บนเว็บไซต์ www.pintobook.com หรือแอปพลิเคชัน ‘Pinto’ […]

All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving หนังสือสานต่อลมหายใจให้ศิลปะถักทอที่ใกล้สูญหายในฮ่องกง

‘สายคาดปักลายดอกไม้’ เป็นงานหัตถกรรมของชาวจีนแคะหรือฮากกา (Hakka) และชาวปุ๊นเต๋ (Punti) ในฮ่องกง ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี คนพื้นเมืองมักนำสายคาดมาตกแต่งบนเครื่องแต่งกายเพื่อเพิ่มสีสัน และใช้เป็นของมงคลสื่อความหมายที่ดี ยกตัวอย่าง การนำสายคาดไปถักทอกับเครื่องประดับในสินสอด เพื่ออวยพรบ่าวสาวให้มีชีวิตคู่ที่ราบรื่น งานฝีมือพื้นบ้านอันล้ำค่านี้เกือบจะกลายเป็นแค่ความทรงจำ เพราะกว่าจะได้สายคาดสักอันหนึ่ง นักสร้างสรรค์ต้องฝึกฝนอย่างยาวนานเพื่อถักทอสายคาดให้ออกมาสวยงามสมบูรณ์ สวนทางกับชีวิตคนสมัยใหม่ที่ดำเนินอย่างรวดเร็ว เน้นเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตอย่างฉับไว งานหัตถกรรมที่สรรค์สร้างด้วยความละเอียดลออจึงเสื่อมความนิยมไปโดยปริยาย และนี่จึงทำให้หนังสือ ‘All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving’ (สายใยแห่งความผูกพัน : การถอดรหัสสายคาดผมดอกไม้ของวัฒนธรรมฮากกาและปุ๊นเต๋แห่งฮ่องกง) เกิดขึ้นมา ก่อนจะเป็นหนังสือ Caritas Hong Kong องค์กรการกุศลในฮ่องกง ได้ร่วมมือกับคุณยายในหมู่บ้าน Lung Yeuk Tau ในพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) จัดเวิร์กช็อปถ่ายทอดศิลปะการถักทอให้กับคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ซึ่งเวิร์กช็อปก็ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ถึงอย่างนั้น องค์กรมองว่าการจัดเวิร์กช็อปอาจส่งต่อความรู้ไปไม่กว้างขวางพอ […]

สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

หนังสือภาพ ‘Moments in Chiang Mai’ บอกเล่าความประทับใจและเสน่ห์ในเชียงใหม่ ผ่านลายเส้นของ Louis Sketcher

หลังจากที่ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากหนังสือ ‘Bangkok Shophouses ตึกแถวกรุงเทพฯ และชีวิตชาวย่าน’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘หลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา’ นักวาดภาพเมือง (Urban Sketcher) เจ้าของเพจ Louis Sketcher ที่พาทุกคนไปพบกับความสวยงามของตึกเก่าในกรุงเทพฯ ครั้งนี้หลุยส์อยากแบ่งปันความประทับใจจากอาหารการกิน สถาปัตยกรรม และภาษาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ในจังหวัด ‘เชียงใหม่’ ที่มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา จนทำให้กลายเป็นจังหวัดที่ชวนให้เขากลับไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า และในวันที่เติบโตขึ้น การเตรียมพร้อมไปเชียงใหม่ของเขานั้นจะต้องมีสมุดสเก็ตช์ อุปกรณ์วาดรูป และแพสชันในการบันทึกความประทับใจที่เจอออกมาเป็นลายเส้นที่เต็มไปด้วยสีสัน ความประทับใจเหล่านั้นได้รวบรวมออกมาเป็นหนังสือ ‘Moments in Chiang Mai บันทึกช่วงเวลาในเชียงใหม่ ผ่านการเดินทางของลายเส้นและสีน้ำ’ ที่จะพาเราออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ในแต่ละช่วงเวลา ผ่านภาพวาดที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของ Louis Sketcher ด้วยดินสอ ปากกา สีน้ำ และลายเส้นเฉพาะตัว จำนวน 160 หน้า พิมพ์สีทั้งเล่ม และมาพร้อมกับเนื้อหาสองภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) Moments in Chiang Mai บันทึกช่วงเวลาในเชียงใหม่ ผ่านการเดินทางของลายเส้นและสีน้ำ เปิดให้ Pre-order […]

งาน Big Bad Wolf Books กลับมาอีกครั้ง พร้อมหนังสือ 2 ล้านเล่ม ลดราคากว่า 95% ที่ The Market Bangkok วันที่ 23 พ.ค. – 4 มิ.ย. 67

ถึงเวลาแล้วที่หนอนหนังสือทุกคนจะเติมกองดองให้สูงกว่าเดิม เพราะเทศกาล Big Bad Wolf Books ขนทัพหนังสือภาษาอังกฤษมาให้เลือกสรรกันมากถึง 2 ล้านเล่ม! ไม่ว่าสนใจหนังสือแนวไหน ภายในเทศกาลก็มีหนังสือมาให้จับจองกันอย่างครอบคลุม ตั้งแต่นิยาย หนังสือดีไซน์ หนังสือพัฒนาตัวเอง หนังสือธุรกิจ หนังสือภาพ หรือหนังสือท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีโปรโมชันล่อตาล่อใจอย่างราคาหนังสือที่เริ่มต้นเพียง 49 บาท และส่วนลดพิเศษที่ลดสูงสุด 95 เปอร์เซ็นต์ เตรียมเงินในกระเป๋าไว้ให้ดี แล้วเจอกันที่ The Market ราชประสงค์ ระหว่างวันที่ 23 พ.ค. – 4 มิ.ย. งานนี้เปิดให้ช้อปกันยาวๆ ตั้งแต่ 10.00 น. จนถึง 00.00 น. ติดตามรายละเอียดของงานเพิ่มเติมได้ที่ Big Bad Wolf Books

ให้หนังสือทำมือมีซีนที่ SPACEBAR ZINE

การจะทำหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้รู้จักกับซีน (Zine) หนังสือทำมือที่เราสามารถ สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ตั้งแต่การคิดเนื้อหาจนถึงการออกแบบรูปเล่ม โดยไม่ยึดอยู่กับกรอบของการบรรณาธิกรหรือสำนักพิมพ์ใดๆ สำหรับใครที่อยากสะสมซีนหรือเรียนรู้การทำซีน Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักกับ Spacebar Zine ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระจาก Spacebar Design Studio โดย ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ พื้นที่ให้ทุกคนที่สนใจทำสิ่งพิมพ์ ของตัวเองเข้ามาพูดคุยหรือเลือกหาซีนที่ชอบได้อย่างอิสระ

เสวนาหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ พร้อมชมนิทรรศการชิ้นงาน 365 ภาพ วันที่ 27 เม.ย. 67 ที่ G-OLD HOUSE คลองสาน

ใครที่อ่านหนังสือ ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ แล้ว หรือเป็นแฟนคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ เพจ Urban Creature หรือกระทั่งสนใจเรื่องเมืองๆ กับไอเดียการดีไอวายสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่าลืมมาพบกับ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Everyday Architect Design Studio ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ #สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด เพราะงานนี้ ชัชจะมาเปิดวงสนทนาพูดคุยถึงที่มาที่ไปของโปรเจกต์นี้ และไอเดียการริเริ่มเก็บภาพสิ่งของเรี่ยราดจนครบ 365 ภาพภายในหนึ่งปี จนออกมาเป็นหนังสือให้อ่านกัน โดยมี ‘เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา’ ผู้ดูแลคอนเทนต์จาก Urban Creature ร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังชมผลงาน 365 ภาพจากนิทรรศการ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ที่เคยจัดแสดงไปก่อนหน้านี้ในช่วง Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา ในรูปแบบของ Soft Launch แบบกันเองๆ ใครที่สนใจฟังเสวนาหนังสือหรืออยากชมนิทรรศการอีกครั้ง […]

‘TK Mini’ ตู้ยืม-คืนหนังสือตู้แรกของไทย เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงหนังสือได้ง่ายและสะดวกขึ้น

นานมาแล้ว ‘หนังสือ’ เป็นเรื่องของกลุ่มคนที่มีทุนทรัพย์ในระดับหนึ่ง การยืม-คืนหนังสือจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครหลายคนที่อยากอ่านหนังสือจำนวนมากๆ แต่อาจไม่มีกำลังทรัพย์มากพอ ทำให้ครั้งหนึ่งคอลัมน์ Urban Sketch ของ Urban Creature เคยออกแบบตู้ยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้ แต่ตู้หนังสือนี้จะไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป เพราะทางอุทยานการเรียนรู้ ‘TK Park’ ที่ให้ความใส่ใจเรื่องการเข้าถึงความรู้ผ่านการอ่านหนังสือ ได้มีการเปิดบริการตู้ยืม-คืนหนังสือ ‘TK Mini’ ซึ่งเป็นเครื่องอัตโนมัติบนพื้นที่สาธารณะตู้แรกของประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงหนังสือของคนไทยให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ในตู้ TK Mini มีหนังสือให้บริการถึง 320 เล่ม โดยคัดเลือกจากคลังหนังสือ TK Park ที่ชั้น 8 centralwOrld ประกอบไปด้วยหนังสือหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสารคดี หนังสือเด็ก หรือแม้แต่นวนิยาย โดยมีจำนวนการยืม-คืน รวมทั้งหมดแล้วกว่า 3,200 ครั้ง นับจากที่เปิดให้บริการมามากกว่า 6 เดือน ผู้ใช้บริการสามารถยืมและคืนหนังสือที่ตู้ TK Mini ผ่านแอปพลิเคชัน MyTK ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว แถมยังยืมหนังสือได้สูงสุดครั้งละ 10 เล่ม นานถึง […]

ส่องความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในเมือง ผ่านหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ นักอ่านคนไหนที่ชื่นชอบเรื่องเมืองแล้วยังไม่รู้ว่าจะซื้อเล่มไหนดี Urban Creature ขอแนะนำรวมบทความที่มีชื่อว่า ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ (และคอลัมนิสต์ของ Urban Creature) โดยภายในจะเป็นการบันทึกเรื่องราวสั้นๆ พร้อมภาพสเก็ตช์ 4 สี สิ่งของรอบตัวที่เห็นได้เรี่ยรายรอบเมือง ซึ่งเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ที่ดีไอวายสิ่งของเหล่านี้มาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตจริง ในโปรเจกต์นี้ชัชวาลตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปีวาดภาพสิ่งของและงานดีไซน์ไทยๆ ก่อนพบว่าเมืองที่อาศัยอยู่นี้มีปัญหาของผู้คนทาบทับอยู่ตามตึกรามบ้านช่องและสิ่งของที่เดินเจอในทุกวัน ตามไปซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดได้ที่บูท Salmon Books งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ store.minimore.com/salmonbooks/items/365Days  นอกจากนี้ ผู้อ่านยังติดตามคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ของชัชวาลได้ทุกเดือนทางเพจ […]

เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.