FYI

Mobility Data Dashboard แพลทฟอร์มช่วยแนะนำนโยบายส่งเสริมท่องเที่ยว ตามศักยภาพเมือง ในวันที่นโยบายท่องเที่ยวแบบเดียวใช้ไม่ได้กับทุกจังหวัด

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมรอบตัวเราเริ่มต้นวางแผนงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ถ้าคุณคือคนออกแบบนโยบายสาธารณะหรือเจ้าของธุรกิจสักแบรนด์ที่กำลังมองหาฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปพัฒนาแผนงานหรือสินค้าบริการของตัวเอง ‘Mobility Data Dashboard’ คือเครื่องมือที่ช่วยคุณทำแบบนั้นได้อย่างง่ายดาย โปรเจกต์นี้เกิดจากการที่ ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ จับมือกันสร้างแพลตฟอร์มเจาะลึกการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านข้อมูลมือถือ ต่อยอดจากการวิจัย ‘Mobility Data เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง’ ให้นักออกแบบนโยบายสาธารณะ ผู้ประกอบการ ผู้สนใจด้านข้อมูล รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 77 จังหวัดได้อย่างง่ายๆ ละเอียดถึงระดับอำเภอ แถมยังมีบทวิเคราะห์เมืองรอง ที่บอกว่าเมืองรองจังหวัดไหนมีศักยภาพด้านไหน นักท่องเที่ยวกลุ่มไหนชอบไปจังหวัดนั้น และคนในท้องที่ควรพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองแบบไหนเพื่อให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด ตัวเว็บไซต์ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถคลิกดูได้เป็นรายจังหวัดเลยว่ามีอัตราการกระจุกตัวในแต่ละช่วงเวลามากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ ใครสนใจลองเข้าไปเล่นได้เลยที่ dtac.co.th/mobility-data/dashboard/ หรือถ้าใครอยากรู้ว่าแพลตฟอร์มนี้เจ๋งยังไง เราจะพาไปสำรวจอย่างละเอียดในอัลบั้มนี้กัน ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ ได้นำข้อมูลการกระจุกตัวและต้นทาง-ปลายทางของนักท่องเที่ยวจาก Mobility Data Dashboard มาวิเคราะห์ว่ามวยรองอย่างเมืองรองมีศักยภาพในการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีขึ้นได้อย่างไร โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็น ‘ดัชนี’ วัดศักยภาพตามรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วยการท่องเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับ การท่องเที่ยวแบบค้างคืน และการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดหรือคลัสเตอร์ ดัชนีนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองรองแต่ละจังหวัดว่าควรส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบไหน จากข้อมูล Mobility Data […]

ท่องกรุงเทพฯ ส่องสถาปัตยกรรม พา New Honda Civic e:HEV RS ไปสร้างไลฟ์สไตล์ในเมือง

ถ้าเป็นคนเราอาจสังเกตรูปร่างหน้าตาภายนอกและพูดคุยเพื่อรับรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่สำหรับ ‘เมือง’ การได้ออกไปเห็นอาคาร บ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของย่านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน  ซึ่งทุกเมืองทั่วโลกล้วนมีเสน่ห์ในตัว ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ที่อัดแน่นด้วยเอกลักษณ์มากมายและยังมีอะไรให้น่าค้นหาอยู่ ไปย่านหนึ่งเราอาจได้บรรยากาศแบบหนึ่ง และเพียงเดินทางไม่นานไปอีกย่านหนึ่ง อาคาร บ้านเรือน และบริบทโดยรอบที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เราได้ซึมซับบรรยากาศแปลกใหม่แล้ว จึงไม่แปลกที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาเที่ยวในกรุงเทพฯ จะชื่นชอบ จนเอ่ยปากชมกันนักต่อนัก ไหนๆ วันนี้มีเวลาได้ชิล เราขอพาเพื่อนสาวชาว Urban Creature จัดทริปออกไปสำรวจเมืองให้กว้างขึ้น ส่องสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ แวะตามคาเฟ่สุดชิก พร้อมทำคอนเทนต์กับ New Honda Civic e:HEV RS ที่เป็นเจเนอเรชัน 11 ของรุ่น Civic ที่อยู่คู่คนไทยมานาน และครั้งนี้ก้าวสู่มิติใหม่ด้วยระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด ประหยัดน้ำมันยิ่งกว่าเดิม แต่ยังให้อัตราเร่งที่เร็วแรงเหมือนกับดีไซน์ตัวรถที่ดูสปอร์ตพรีเมียม หรูหราในทุกมุมมอง สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว เมื่อเป็นรถที่เข้ากับคนเมืองอย่างเราขนาดนี้แล้ว…งั้นขอสตาร์ทขับไปทั่วเมือง และแวะถ่ายรูปรถคู่กับเมืองย่านต่างๆ มาฝากชาว Urban Creature จะได้เห็นชัดกันเลยว่า New Honda Civic e:HEV RS ดีงามขนาดไหน ความโฮมมี่ ในย่านใจกลางเมือง เริ่มต้นเช้าแบบนี้ ต้องขอแวะดื่มกาแฟกันก่อนที่ […]

Masterplan Esbjerg Strand โปรเจกต์สร้างอาคารการเรียนรู้แห่งใหม่ของเดนมาร์ก ที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตและสร้างระบบนิเวศยั่งยืน

หนึ่งในบริษัทสถาปนิกไฟแรงชื่อดังระดับโลกอย่าง ‘Bjarke Ingels Group’ หรือ ‘BIG’ ได้เปิดเผยโปรเจกต์การออกแบบ ‘วิทยาเขตการศึกษาแห่งใหม่’ หรือ ‘New Education Campus’ บนเกาะเอสบีเยร์ (Esbjerg) เมืองท่าทางทะเลของประเทศเดนมาร์ก โดยมีเป้าหมายสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองและพื้นที่แคมปัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบเดิมของประเทศด้วย โครงการนี้ตั้งใจดำเนินการบริเวณพื้นที่ท่าเรือที่เดิมมีขนาด 15,000 ตารางเมตร โดยสถาปัตยกรรมแห่งใหม่นี้จะใช้พื้นที่เพียง 13,700 ตารางเมตร เนื่องจาก BIG ตั้งใจออกแบบอาคารโดยเหลือพื้นที่บริเวณโดยรอบไว้สำหรับสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่จะช่วยปกป้องผู้คนในแคมปัสจากลมแรงและเสียงรบกวน ทั้งยังเหมาะกับการนั่งชมทิวทัศน์ของท่าเรือและทะเลด้วย  แคมปัสแห่งใหม่บนเกาะเอสบีเยร์แห่งนี้จะมีความสูงทั้งหมด 7 ชั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวอาคาร ส่วนรูปทรงของตึกจะมีรูปทรงคล้ายคลื่นที่มีความสูงไม่เสมอกัน ซึ่งแนวคิดการออกแบบนี้จะช่วยลดเสียงรบกวน ปรับสภาพลมทั้งบนพื้นดินและบนหลังคาให้เหมาะสม รับแสงแดดให้ได้มากที่สุด และเอื้อให้ทุกคนสามารถมองเห็นวิวของท้องทะเลได้  ที่สำคัญ บริเวณหลังคายังสร้างเป็นสวนดาดฟ้าความยาวหนึ่งกิโลเมตรที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตรงกลางอาคารจะเปลี่ยนให้เป็นสวนที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบร่มรื่นภายในแคมปัส ค่อนข้างแตกต่างจากบรรยากาศของอุตสาหกรรมท่าเรือภายนอกมากเลยทีเดียว ไอเดียออกแบบอาคารที่น่าตื่นเต้นของ BIG ชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนเมืองอย่าง Esbjerg of the Future Vision 2025 ที่มีเป้าหมายเพิ่มประชากรในพื้นที่และผลักดันให้เอสบีเยร์กลายเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านการศึกษา โดยมีการอ้างว่าแผนดังกล่าวจะทำให้เมืองนี้มีตำแหน่งแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ที่รองรับทุกคน กลายเป็นผู้ผูกขาดทางพลังงานยั่งยืน […]

Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์

หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน  จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก  ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี  “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]

การอนุรักษ์อาคารเก่าในเมือง กับ Foto_momo | Unlock the City EP.06

หัวข้อการอนุรักษ์อาคารและสถาปัตยกรรมเก่า มักได้รับการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง เพราะนอกจากคุณค่าทางใจและความทรงจำของผู้คนที่เป็นส่วนหนึ่งของสถานที่เหล่านั้นแล้ว ยังมีมิติของกฎหมายและธุรกิจที่ซ้อนทับอยู่ด้วย ซึ่งเขตแดนพวกนี้ช่างพร่าเลือนและมักนำมาซึ่งข้อขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย กระแสการท่องเที่ยวที่สุดโต่ง มูลค่าของที่ดิน หลักเกณฑ์การตัดสินและวัดคุณค่าอาคารเก่า ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อพิพาทในการเลือกเก็บหรือไม่เก็บอาคารและสถาปัตยกรรมเก่าสักแห่งไว้  Unlock the City อีพีนี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ พูดคุยกับ ‘วีระพล สิงห์น้อย’ ช่างภาพสถาปัตยกรรม เพจ Foto_momo ถึงเหตุการณ์ทุบทำลายอาคารเก่าที่เกิดขึ้น แนวทางในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเมือง ไปจนถึงฮาวทูการอยู่ร่วมกันระหว่างคนในชุมชนกับเมืองที่พัฒนาก้าวหน้าไปทุกนาที

ชวนเข้าโรงแรม ชมงานศิลปะ ในงาน Cultural District 2022 ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ 9 – 15 ก.ค. 65

ปีที่แล้ว เทศกาล ‘Cultural District’ โดยผู้จัด ‘มิวเซียมสยาม’ ชวนทุกคนไป ‘ติดเกาะกับตึกเก่า’ โดยพาไปสำรวจบรรยากาศของเกาะรัตนโกสินทร์ ชมภาพความงามทรงคุณค่าของสถาปัตยกรรมเก่าแก่อายุนับร้อยปี รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์กันอย่างจุใจ  กลับมาปีนี้เตรียมเปิดเกาะรัตนโกสินทร์อีกรอบ ครั้งนี้มิวเซียมสยามพาเข้าโรงแรมในย่านประวัติศาสตร์ แต่ไม่ใช่เพียงการเดินชมภาพความงามของสถาปัตยกรรมเหมือนคราวก่อน เพราะ ‘Cultural District’ จะรังสรรค์ให้ทุกพื้นที่ในโรงแรมย่านเกาะรัตนโกสินทร์ รวมถึงตัวห้องพักแต่ละห้องแปรเปลี่ยนเป็นสตูดิโอและแกลเลอรีสำหรับจัดแสดงงานศิลปะภายใต้ธีม ‘Arts in the Hotel’  ภายในงานจัดแสดงผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ภาพวาด ภาพถ่าย กระทั่งเสียงเพลง โดยศิลปินร่วมสมัยหลากหลายสาขา เช่น ป๊อด-ธนชัย อุชชิน, วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์, วรรณฤทธิ์ พงศ์ประยูร, นักรบ มูลมานัส ฯลฯ และเหล่าหน่วยงานทางการศึกษาจากศิลปากร, เพาะช่าง, สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย เป็นต้น  ส่วนเหตุผลที่มิวเซียมสยามยกผลงานศิลปะมาไว้ที่โรงแรมย่านเมืองเก่านั้น เป็นเพราะว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รู้สึกเหมือนเป็นนักท่องเที่ยว เดินเข้าออกชมความงามของสถานที่และงานศิลปะไปพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างสถานที่จัดงาน ดังนี้ – ‘Mojo Old Town’ อดีตร้านโชห่วยที่ถูกปรับโฉมให้เป็นคาเฟ่และที่พักบนถนนตะนาวตรงข้ามกับศาลเจ้าพ่อเสือ– ‘1905 Heritage Corner’ […]

MILKBREW COFFEE ร้านกาแฟนมสุดชิกในอาคารมรดกทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ความผูกพันที่มีกับจังหวัดซะกะพาเรากลับไปเยี่ยมที่นี่ทุกครั้งที่มีโอกาส เมืองลูกรักที่แอบแวะไปบ่อยๆ คือ Ureshino ซึ่งมีทั้งเครื่องปั้นดินเผาเก๋ไก๋ อนเซ็น ชาเขียวและคาเฟ่กรุบกริบ สร้างความเพลิดเพลินแบบไม่เคยทำให้ผิดหวัง และแล้วทริปล่าสุด ซะกะก็กัมบัตเตะ (พยายาม) นำความกรุบกริบใหม่ๆ มาทำให้ประหลาดใจอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่ชาเขียวของดังประจำเมือง แต่เป็นร้านกาแฟในย่านอนุรักษ์อันเงียบสงบที่ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายเพราะความกรุบกริบหลายสิ่ง คุณ MILKBREW COFFEE เป็นร้านกาแฟนมสุดชิกภายในอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม การตกแต่งภายในดูล้ำอย่างไม่รุกรานความเก่าแก่ นอกจากนี้ยังนำเสนอกาแฟรูปแบบใหม่ที่นมได้รับบทเด่นไม่แพ้กันเพราะ Hirotaka Nakashima คุณพี่เจ้าของร้านคือทายาทของ Nakashima Farm ฟาร์มนมชื่อดังซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมจนได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว ยามบ่ายวันอาทิตย์ที่มีแดดออกหลังหิมะเพิ่งหยุดโปรยปราย ฮิโระทะกะพร้อมแจกแจงความกรุบกริบที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วให้เราฟังอย่างละเอียดยิบ เขาบอกว่าคาเฟ่แห่งนี้ไม่ใช่ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม แต่เป็นร้าน Monozukuri ที่แปลว่าการผลิต เพราะพวกเขามีแบ็กกราวนด์ที่แข็งแกร่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังไงล่ะ ชงนมกับกาแฟ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า MILKBREW COFFEE คืออะไร ทุกคนน่าจะรู้จักกาแฟ Cold Brew (กาแฟสกัดเย็น) อยู่แล้ว MILKBREW COFFEE เป็นกาแฟนมที่เกิดขึ้นจากหลักการเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะนำกาแฟไปแช่น้ำก็แช่นมสดจากเต้าของพี่วัวในฟาร์มจนได้กาแฟนมที่มีความละมุน รสเบาๆ แต่สัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมและเอกลักษณ์ของกาแฟได้อย่างชัดเจน ฮิโระทะกะค้นพบความอร่อยนี้โดยบังเอิญเมื่อเขาซื้อ Cold Brew Pack […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.