ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

รัฐทมิฬนาฑู ชีวิตในดินแดนใต้สุดของอินเดีย

คลื่นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เกินจะทน ถนนหนทางที่อัดแน่นไปด้วยผู้คนและสิงสาราสัตว์ที่เดินกันอย่างไม่เกรงกลัวใคร เสียงจ้อกแจ้กจอแจที่คลอเคลียตลอดสายผสมผสานกับแตรรถที่อึกทึกครึกโครม ภาพเหล่านี้คงเป็นบรรยากาศแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดของใครหลายคนเมื่อกล่าวถึงประเทศ ‘อินเดีย’ แต่หาใช่กับ ‘รัฐทมิฬนาฑู’ ทมิฬนาฑู คือรัฐทางตอนใต้สุดของอนุทวีปอินเดีย เมืองติดทะเลแสนสงบที่มีชายหาดยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งยังมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ทำให้ผู้คนส่วนมากในพื้นที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก เริ่มตั้งแต่กิจการเล็กๆ อย่างการขายดอกไม้ เครื่องประดับ ผ้าทอมือ อาหารคาวหวาน ของตกแต่งบ้าน ไปจนถึงของขึ้นชื่อประจำเมืองอย่างรถจักรยานยนต์ Royal Enfield ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้เศรษฐกิจของรัฐทมิฬนาฑูเฟื่องฟูเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย และผู้คนในพื้นที่ล้วนมีน้ำใจไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส และช่างพูดคุยอยู่เสมอ เนื่องจากต้องใช้การเจรจาประกอบอาชีพนั่นเอง นอกจากความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจแล้ว ทมิฬนาฑูยังเป็นพื้นที่แห่งอารยธรรม โดยในรัฐแห่งนี้ประกอบไปด้วยวัดทั้งหมด 38,165 วัด อีกทั้งยังมีศาสนสถานสำคัญที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกถึง 8 แห่ง ทำให้ตลอดการเดินทาง เราจะเห็นตึกรามบ้านช่องและร้านอาหารที่ทันสมัยสลับสับเปลี่ยนร่วมไปกับสถาปัตยกรรมโบราณที่ถูกทำนุบำรุงรักษาไว้ นอกจากนี้ ผู้คนในพื้นที่ยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เครื่องแต่งกายประจำชาติและภาษาทมิฬที่ถูกสืบทอดต่อกันมานานกว่า 2,500 ปีอีกด้วย หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Ordinary and Extraordinary ความ (ไม่) ธรรมดา

ในเมืองที่แสนวุ่นวาย ผู้คนมากมายอย่างกรุงเทพมหานคร ผมเลือกที่จะมองหาความธรรมดาที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายผ่านการตีความด้วยภาพถ่าย ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่มันอยู่ด้วยกันอย่างถูกที่ถูกเวลา ทั้งหมดจะส่งเสริมกันและกัน กลายเป็นเสน่ห์ที่มองได้ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Gateway to Isaan ประตูสู่อีสาน

10 ปีกับการอยู่โคราชตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย จนเรียนจบเข้ากรุงเทพฯ มาทำงานเก็บประสบการณ์ แล้วย้ายกลับมาทำงานที่โคราชอีกครั้ง เวลาเลิกงานหรือว่างๆ ผมจะเดินออกสำรวจไปบริเวณรอบๆ ตัวเมืองกับกล้องหนึ่งตัว บางสถานที่เป็นสถานที่ธรรมดาๆ ที่ผมชินตามากๆ เพราะเห็นมาตลอด จนวันหนึ่งผมลองเปิดใจหามุมมองจากสิ่งที่ชินตาเหล่านี้ และมันทำให้ผมหลงรักความธรรมดาที่แสนพิเศษตรงหน้าผมไปแล้ว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Reserve a chair in Thailand style อากาศร้อน ขอจองที่ไว้ก่อนนะ

ผมเป็นคนชอบถ่ายภาพแนว Street Photography เพราะเสน่ห์ของการถ่ายภาพแนวนี้คือ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในวันที่ออกไปถ่ายภาพเราจะได้ภาพอะไรบ้างหรืออาจไม่ได้อะไรเลย ส่วนใหญ่ภาพแนวสตรีทที่ผมถ่ายนั้นจะเป็น Single Photo หรือการเล่าเรื่องในภาพเดียว ซึ่งภาพเดี่ยวของภาพสตรีทนั้นมีแนวที่หลากหลาย ถ้าตามสากลที่ยึดแกนหลักกันคร่าวๆ จะมี Layer, Juxtaposition, Unposed เป็นต้น แต่บังเอิญว่าในวันที่ผมออกไปถ่ายภาพ ท่ามกลางแดดร้อนและเวลาที่จำกัด ผมที่เดินหาภาพก็ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะถ่ายภาพอะไรดี จนกระทั่งเห็นลานที่มีเก้าอี้เรียงเป็นทิวแถว ซึ่งบนเก้าอี้แต่ละตัวเต็มไปด้วยสิ่งของที่วางไว้เพื่อทำหน้าที่จับจองพื้นที่ ทำให้การถ่ายภาพในวันนั้นเปลี่ยนจาก Single Photo มาเป็น Mini Series Reserve a chair in Thailand style หรือการจองเก้าอี้ในแบบไทย เป็นชุดภาพที่ต้องการเล่าแบบเรียบง่าย แต่ก็แอบแฝงความไทยแทร่ของคนไทยในการครีเอตวิธีการจองที่ได้เป็นอย่างดี เพราะต่อให้ไม่มีการยืนยันตัวตนเหมือนซื้อบัตรเข้าชมงาน แต่ผู้คนที่จะหาที่นั่งต่างก็รู้ดีว่า เก้าอี้เหล่านี้มีเจ้าของเรียบร้อยแล้ว งานภาพชุดนี้ไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน เหมือนเราดู Review Before and After แค่ต้องอาศัยช่วงเวลาของแสงเพื่อทำให้เกิด Mood & Tone ของสิ่งที่ถ่ายให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

Kyoto, our first early spring in memory แม่ และช่วงเวลาก่อนซากุระบานที่เกียวโต

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราสองแม่ลูกตัดสินใจไปเที่ยวด้วยกัน 2 คนครั้งแรก และเป็นทริปแรกของแม่ที่ไปเที่ยวต่างประเทศ เราเคยถามแม่ว่า ‘ถ้าแม่อยากออกไปเห็นที่ไหนสักที่หนึ่งบนโลกใบนี้ แม่อยากไปที่ไหน’ และจากลิสต์ที่แม่ไล่มา ญี่ปุ่นดูมีความเป็นไปได้ที่สุดของพวกเราในตอนนี้ ทำให้เกิดเป็นทริปของสองเราในดินแดนแห่งซากุระ ในช่วงเวลาก่อนที่จะผลิบาน และรอคอยให้ความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิเข้ามาทักทาย อากาศที่ยังหนาวเย็น ส่งผลให้ทัศนียภาพของเมืองหลวงเก่าแก่แห่งนี้ถูกย้อมไปด้วยสีเทาและน้ำตาล แต่ก็มีใบไม้และดอกไม้ที่เริ่มผลิบานมาให้เราได้ชื่นใจ และฝนปรอยๆ ที่เข้ามาทักทายในวันแรก และกล่าวลาในวันสุดท้ายของทริป สร้างความหนาวเย็นและชุ่มฉ่ำในเวลาเดียวกัน  พวกเราใช้เวลาด้วยกัน เป็นบ้านของกันและกัน ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย ออกไปสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม เมืองที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมิตรภาพ ความโอบอ้อมอารีของคนที่นี่ทำให้เราอบอุ่นและปลอดภัย และถึงจะเจออุปสรรคบ้าง หลงทางบ้าง แต่รอยยิ้มของแม่ทำให้เราที่ตึงเครียดอยู่ผ่อนคลาย ความเหนื่อยล้าที่เคยได้เห็นบนใบหน้าของแม่แทนที่ด้วยความมีชีวิตชีวาและสดใส แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไปคือความโรยรา และร่องรอยของกาลเวลาของชีวิตที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง หากมองย้อนกลับไป ทุกอย่างได้กลายเป็นความทรงจำที่มีค่าของพวกเราสองคนเมื่อเวลาผ่านไป เราดีใจที่ได้ใช้เวลาด้วยกันกับคนที่เรารักและเป็นบ้านของเรา การผจญภัยและการอยู่ไกลบ้านของแม่ในวัย 60 ทำให้เรารู้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน เราก็สามารถตื่นเต้นกับสิ่งที่พบเจอ มีความสุขกับสิ่งเล็กๆ ได้ ตราบใดที่ยังไม่ลืมความเป็นเด็กที่ผลิบานในตัวของเราเอง หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Childhood Amnesia ความทรงจำสีจาง

เราแทบไม่มีความทรงจำตอนช่วงแรกเกิดหลงเหลืออยู่เลย ยิ่งเมื่อโตขึ้นความทรงจำเหล่านี้ก็ยิ่งเลือนหายไป เราจึงอยากบันทึกเรื่องราวแทนความทรงจำของลูกด้วยภาพถ่ายฟิล์มขาวดำ เพราะเด็กแรกเกิดจะมองเห็นภาพเป็นสีขาวดำ จากนั้นก็นำฟิล์มมา Soup ด้วยน้ำนมของภรรยา ทำให้เกิดปฏิกิริยากับฟิล์มที่สื่อถึงการมองเห็นของลูกและความทรงจำที่เลือนราง ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Hard Light แรงงานกลางแดดจ้า

เดือนเมษายน-พฤษภาคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนที่สุด หลายๆ คนคงเบื่อหน่ายและเกลียดฤดูกาลนี้จนไม่อยากออกไปไหน ทว่าในสังคมเมืองที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตมาอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางแสงของดวงอาทิตย์ได้ และถึงแม้ร่างกายจะถูกแผดเผาจากแสงแดด แต่ก็ไม่อาจที่จะแผดเผาความหวังและความฝันของชีวิตได้ เนื่องในวันแรงงานที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง ผมในฐานะแรงงานคนหนึ่งเฝ้าฝันอยากเห็นภาพที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

เลื้อยลอด (รอด) ร้อน ส่องดอกไม้ตามตรอกซอกเมือง

ในเมืองหลวงที่อากาศร้อนระอุ ทั้งคนทั้งสัตว์เลี้ยงต่างต้องปรับตัวสู้อุณหภูมิเดือดด้วยการเข้าไปอยู่ในที่เย็นสบาย เปิดแอร์ฉ่ำใจ แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ขยับอะไรมากไม่ได้แบบพืชนั้นน่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งว่า ปรับตัวได้อย่างไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยป่าซีเมนต์มากมาย และในหลายพื้นที่นั้นนอกจากจะไม่มีคนคอยให้น้ำแล้ว ยังผลิดอกออกสีสันให้จรรโลงตาได้อีก พุ่มเล็กๆ ในกระถางดินเผานี้อาจไม่ช่วยให้ร่มเงากับคนปลูกมากนัก แต่ช่วยให้สบายตาขึ้น ตาข่ายกันแดดนี้ก็สภาพไม่ต่างกัน แม้จะรุ่ยจนไม่อาจให้ร่มเงาอะไรได้อีกแล้ว แต่สีโทนเย็นของมันก็สอดรับกับสีชมพูนวลนี้ได้ดี ช่วยปรุงให้เหล็กและปูนที่แข็งกระด้างดูมีชีวิตชีวาขึ้นทันตา ดาดฟ้าคือพื้นที่ที่รับความร้อนโดยตรง การปลูกไม้ดอกไม้พุ่มจึงเป็นทางเลือกที่พอจะบรรเทาอุณหภูมิให้เย็นลงได้ น่าทึ่งที่ไม้พุ่มเหล่านี้นอกจากจะไม่เหี่ยวเฉาแล้ว ยังผลิดอกใบได้ดกดีท้าแดด ช่วยให้คนที่นั่งรถไฟฟ้าผ่านไปมาได้สัมผัสธรรมชาติใกล้ตาบ้าง ไม่ต้องมองทะลุไปไกลสุดลูกหูลูกตา ที่คุ้นตากันดีคงหนีไม่พ้นพุ่มไม้ผลิดอกสีเหลืองที่มักจะเห็นตามข้างถนนใหญ่ เป็นสัญญาณว่าหน้าร้อนมาถึงอย่างเป็นทางการแล้ว หากมองจากระนาบเดียวกันจากถนนไปยังต้นไม้อาจจะรู้สึกแสบตาอยู่บ้าง แต่หากแหงนหน้ามองจากใต้ต้นไม้ทะลุไปยังท้องฟ้า จะเห็นสีสันที่ค่อยสบายตามาหน่อย ด้วยสีท้องฟ้าที่ตัดกับสีของดอกเหลืองนี้พอดี และทำให้เห็นชัดขึ้นมาหน่อยว่ามันก็มีฝักเล็กๆ แซมอยู่ ไม่เพียงแต่ต้นไม้ใหญ่ดอกสีเหลืองที่เราคุ้นตากันดีในหน้าร้อนนี้ ดอกสีแดงอมแสดก็เป็นอีกสีคุ้นตากันดีในประเภทต้นไม้ใหญ่ที่มักขึ้นตามถนนหรืออาคารเก่าแก่เช่นกัน ต้นไม้ใหญ่ที่มีแต่ใบเขียวครึ้มแปะกับสีโทนเย็นอย่างฟ้าครามทำให้ดูเย็นตาเย็นใจ พอได้สีแดงแต้มใส่หน่อยก็เป็นลูกเล่นที่ลงตัวเข้ากันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ พุ่มชมพูแสบตานี้ไม่เพียงแต่เป็นไม้เลื้อยที่เรามักคุ้นตากันดีว่าอยู่ตามบ้านหรือกำแพงแล้วตั้งตระหง่านบานใหญ่โต บางอาคารที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถปลูกไว้บนดาดฟ้าได้ แล้วให้มันเลื้อยเป็นก้านเล็กๆ ชูไสวลู่ลมร้อน ทำให้แผ่นปูนแผ่นกระเบื้องจืดๆ ดูสดชื่นขึ้นในพริบตา สีละมุนขนาดนี้ มองเผินๆ นึกว่าดอกไม้ในหน้าหนาว แต่ที่จริงแล้วเป็นดอกไม้ที่ชูช่อสูงในหน้าร้อนนี่แหละ เป็นดอกไม้ที่ใครหลายคนก็คงนึกไม่ถึงว่าจะมีด้วย อาจเพราะสีของมันที่จืดชนิดที่ว่ากลืนไปกับท้องฟ้าหรือแผ่นปูน หากไม่มีสีของใบไม้ช่วยตัด และหากไม่แหงนไปสังเกตดีๆ ก็จะมองไม่เห็นเลย สีขาวสว่างนี้เป็นดอกไม้ที่หลายคนคุ้นตาดีว่ายืนต้นในหน้าร้อนได้ อาจจะเพราะความหลากหลายของมันที่อยู่ได้ทั้งกระถางเล็กๆ ไปจนถึงต้นสูงใหญ่ ปลูกได้ทั้งที่พักอาศัยหรือโรงแรม ไม่ต้องดูแลอะไรมากก็ทนแดดทนฝนได้ หลายแบบหลายฟังก์ชันขนาดนี้ ก็ไม่แปลกที่หลายคนจะคุ้นเคยกันดี ก้านลีบเรียว […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

Seashore Sadness ขยะริมทะเลหาดลับ พัทยา

พัทยาคือหนึ่งในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล และเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เท่าไรนัก ใช้เวลาแค่สองชั่วโมงก็มาพักผ่อนพักใจที่ริมทะเลได้แล้ว ภาพความทรงจำของเรากับพัทยาคือ การได้มานั่งเล่นริมชายหาด ใช้เวลานั่งมองท้องฟ้า หาดทราย และน้ำทะเลกับเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งกับครอบครัว ซึ่งก็ผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสกลับไปที่พัทยาอีกครั้งเพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหน้าร้อนกับเพื่อนๆ และก็อดไม่ได้ที่อยากจะสำรวจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ว่าแตกต่างจากครั้งสุดท้ายที่เราได้มีโอกาสมาไหม เราเลือกไปเดินสำรวจ ‘หาดลับ’ หนึ่งในหาดที่มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ภาพของชายหาดสีขาวกับโขดหินเล็กใหญ่รูปทรงแปลกตามักจะปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นแบ็กกราวนด์ให้เหล่าหนุ่มสาวมาถ่ายรูป อวดความงามของตนเองและภูมิทัศน์รอบข้างอยู่เสมอ แต่ความจริงแล้วริมหาดไม่ได้งดงามอย่างที่รู้กัน ความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยแค่ภาพถ่าย แต่เหล่าผู้มาเยือนยังคงทิ้งร่องรอยไว้ ด้วย ภาพขยะจากถุงพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวถูกทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่ธรรมชาติไม่ต้องการ ภาพถ่ายชุดนี้เป็นการบอกเล่าถึงความจริงที่ถูกมองข้ามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ธรรมชาติหรือสิ่งสวยงามสูญสลายไปในอนาคตอันใกล้ เราหวังเพียงแค่ให้มนุษย์ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดและระเบียบวินัย เพื่อที่ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.