สาวกจิบลิเตรียมขึ้นรถบัสแมวกับ Uniqlo นิทรรศการ #My style, My ghibli เริ่ม 11 ก.พ. 65 เข้าชมฟรีที่เซ็นทรัลเวิลด์

โทโทโร่ในป่า, เจ้ารถบัสแมวสุดว่องไว หรือโปเนียวแสนซน คุณหลงรักคาแรกเตอร์หรือชอบฉากไหนของสตูดิโอ Ghibli หลังจากโควิด-19 ทำเอาเราเดินทางข้ามประเทศไม่ได้พักใหญ่ ใครที่เป็นสาวกจิบลิหรือคิดถึงประเทศญี่ปุ่น เดือนกุมภาพันธ์นี้จะมีนิทรรศการใหญ่ครั้งแรกของสตูดิโอจิบลิในไทย ที่ยูนิโคล่ ประเทศไทย ร่วมกับ สตูดิโอจิบลิ สตูดิโอแอนิเมชันระดับแนวหน้าของญี่ปุ่น ให้สาวกจิบลิชาวไทยได้คลายความคิดถึงญี่ปุ่นและได้ท่องโลกจินตนาการอย่างสมจริงมากขึ้น  นิทรรศการนี้มีชื่อว่า My style, My ghibli คอนเซปต์คือการหลงไปในโลกของจิบลิด้วยกัน โดยไฮไลต์ของงานอยู่ที่จุดถ่ายภาพกับคาแรกเตอร์โทโทโร่และรถบัสแมวขนาดเท่าตัวจริงจากแอนิเมชันเรื่องโปรดของใครหลายคนอย่าง ‘My Neighbor Totoro’  นอกจากนี้ภายในงานยังมีโซนอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ นิทรรศการภาพแขวนขนาดใหญ่จากฉากประทับใจของ 7 แอนิเมชัน เช่น My Neighbor Totoro, Princess Mononoke และ Spirited Away เป็นต้น รวมถึงการถ่ายทอดถ้อยคำประทับใจของ โทชิโอะ ซูซูกิ โปรดิวเซอร์ของสตูดิโอจิบลิ ผ่านปลายพู่กัน พร้อมดึงดูดทุกคนเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของจิบลิ และ นิทรรศการภาพถ่าย ‘Ghibli Museum and the Landscape of […]

ชมผลงานกลุ่มนักวาดภาพประกอบแห่งยุคนิทรรศการ wrap ที่ SAC Gallery

ถ้าได้เห็นกระแสศิลปะร่วมสมัยในช่วง 2 – 3 ปีนี้ หลายคนคงได้เห็นว่างานศิลปะ ‘ภาพประกอบ’ มาแรงมาก ทั้งความนิยมบนหน้าสื่อ แบรนด์สินค้า หรือแม้แต่ในโลก NFT โดยมีเหตุผลง่ายๆ คือคนทั่วไปเข้าถึงได้ สวยงาม มีคาแรกเตอร์ แถมยังสื่อสารได้สนุก เพราะเห็นถึงความสำคัญของศิลปะแนวนี้ SAC Gallery จึงเริ่มต้นปีด้วยการจัดนิทรรศการ wrap exhibition โดยชักชวน 6 ศิลปินนักวาดภาพประกอบแห่งยุคมาร่วมงานด้วย ได้แก่  – 2CHOEY นักวาดภาพประกอบเจ้าของคาแรกเตอร์ ‘Fingies’ ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Pop Culture – Brightside ศิลปินที่เน้นการหยิบเรื่องราวความเคลื่อนไหวในสังคมร่วมสมัยมาสร้างเป็นงานคาแรกเตอร์ดีไซน์  – Pomme Chan กราฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบ และนักวาดภาพประกอบ ที่มีงานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตประจำวัน – TUNA Dunn ศิลปินผู้มีผลงานวาดภาพประกอบ การ์ตูนคอมิก แอนิเมชัน และงานออกแบบภาพสื่อสารผ่านลายเส้นที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง – Double O Seth […]

The Female Gaze นิทรรศการโปสเตอร์หนังที่ออกแบบผ่านสายตาผู้หญิง

ในโลกนี้มีอุตสาหกรรมและสายงานที่ถูกครอบงำโดยผู้ชายอยู่จำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ เห็นได้ตั้งแต่ผู้กำกับ ตากล้อง และทีมโปรดักชัน มากไปกว่านั้นบนเวทีรางวัลน้อยใหญ่คณะกรรมการก็มักเป็นผู้ชาย และถ้าสังเกตสักหน่อยคุณคงเห็นผู้ได้รับรางวัลที่มักเป็นผู้ชายด้วยเช่นเดียวกัน วงการคนทำงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์เองก็ไม่ต่างกัน ถ้าไปไล่ดูรายชื่อนักออกแบบบรรดาโปสเตอร์ภาพยนตร์ทั้งฟอร์มใหญ่ฟอร์มเล็กที่ผ่านๆ มา จะพบว่านักออกแบบมักเป็นผู้ชายเสียส่วนมาก บวกกับด้วยความที่นักออกแบบชายยึดสนามงานนี้มาอย่างเนิ่นนาน ทำให้นักออกแบบหญิงมักถูกละเลยมองข้ามไป Eileen Steinbach หรือที่รู้จักในชื่อ SG Posters นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบจากเยอรมนีที่มีลูกค้าตั้งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์อินดี้ไปถึงสตูดิโอใหญ่ๆ อย่าง Disney และ Pixar ทั้งยังคลุกคลีกับคอมมูนิตี้ศิลปินคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นประจำ จึงคิดไอเดียทำโปรเจกต์โปสเตอร์ภาพยนตร์ชื่อ THE FEMALE GAZE ขึ้น เธอเล่าว่าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนที่ได้เข้ามาในคอมมูนิตี้คนทำโปสเตอร์ภาพยนตร์ เธอเจอนักออกแบบผู้หญิงน้อยมาก อีกนัยหนึ่งคือสายงานนี้เป็นสนามที่ผู้ชายครอบงำ จนเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้เห็นผู้หญิงเริ่มเข้ามาทำงานในสายงานนี้มากขึ้น “มันเป็นความรู้สึกดีจริงๆ ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดก็จุดประกายฉันให้เกิดไอเดียโปรเจกต์โปสเตอร์นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองให้ศิลปินเจ๋งๆ เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าผู้หญิงผู้แข็งแกร่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังกล้อง” THE FEMALE GAZE คือโปรเจกต์ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบผู้หญิงส่งผลงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ (ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่ตัวเอกเป็นผู้หญิง) มาจัดแสดงในเว็บไซต์ poster-project.com พร้อมกับคำอธิบายถึงตัวเองและช่องทางในการติดต่อ แม้จำนวนโปสเตอร์ภาพยนตร์จะยังไม่เยอะมากนัก […]

ศิลปะ ฉายหนัง อ่านหนังสือ ใน Bangkok Book Festival 2021 PART II

เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีงานหนังสือที่เจ๋งมากๆ เกิดขึ้น นั่นคือ เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 หรือ Bangkok Book Festival (BBF2021) โดยคอนเซปต์ของงานคือ มนตราแห่งกระดาษ (The Magic of Paper) ที่ต้องการสื่อสารถึงแง่มุมต่างๆ ของกระดาษผ่านกิจกรรม 5 รูปแบบ ได้แก่ การเสวนา นิทรรศการ การจัดแสดงผลงานศิลปะ การฉายภาพยนตร์ และการจำหน่ายหนังสือและสินค้าพิเศษสำหรับคนรักหนังสือ แต่แล้วด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาระบาดหนักอีกระลอก ทำให้กิจกรรมบางส่วนต้องเลื่อนออกไป ในครั้งนั้นจึงทำได้เพียงกิจกรรมเสวนาออนไลน์ และจำหน่ายหนังสือและสินค้า โดยมีโปรเจกต์วรรณกรรมราคาประหยัดเป็นไฮไลต์ จำหน่ายหมดเกลี้ยงในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเมืองกลับมาเปิดอีกครั้ง BBF2021 ก็ได้ฤกษ์ได้ยามกลับมาจัดกิจกรรมต่อสักที โดยครั้งนี้นับเป็นงานพาร์ต 2 ที่ประกอบไปด้วยนิทรรศการ การฉายภาพยนตร์ และการจัดแสดงงานศิลปะ แยกเป็นตามสถานที่จัดงาน ดังนี้ 📍 ห้องสมุดสถาบันเกอเธ่ (Goethe-Institut Thailand) – BOOK ZOO EXHIBITION นิทรรศการที่บอกเล่าความหลากหลายของกระดาษ หนังสือ […]

สนุกกับประวัติศาสตร์นวัตกรรมผ่านโทรศัพท์กว่า 2,000 รุ่นที่ Mobile Phone Museum

เรามักได้ยินข่าวเปิดตัวโทรศัพท์ใหม่ พร้อมนวัตกรรมมากมายที่ชวนร้องว้าว เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์เครื่องหนึ่งทำอะไรได้มากมาย แต่คุณเคยสงสัยหรือนึกย้อนไปไหมว่าสมัยก่อนโทรศัพท์ที่เราใช้ๆ กันมีหน้าตายังไง ทำอะไรได้บ้าง เพราะนอกจากยี่ห้อดังๆ ที่คนไทยคุ้นเคยแล้ว ในโลกนี้ยังมีโทรศัพท์ยี่ห้ออื่นๆ และมีหน้าตาล้ำๆ อีกเยอะแยะเลย หากมีคำกล่าวว่าศิลปะสะท้อนถึงยุคสมัยได้ยังไง เราคิดว่าเทคโนโลยีก็ทำหน้าที่นี้ไม่ต่างกัน และหนึ่งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บ่งบอกความสนใจ พฤติกรรมการใช้งานของผู้คน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นเจ้าโทรศัพท์หรือมือถือที่เปรียบเป็นอวัยวะอีกส่วนของร่างกายเราไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ กลุ่มคนทำงานสาย Tech ผู้มีความหลงใหลในโทรศัพท์จึงได้รวมตัวกันทำ mobilephonemuseum.com หรือพิพิธภัณฑ์โทรศัพท์มือถือขึ้นมา Ben Wood คือผู้ริเริ่มโปรเจกต์นี้ขึ้นในปี 2004 ก่อนจะจอยน์กับเพื่อนนักสะสมโทรศัพท์มือถือชื่อ Matt Chatterley และอีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาก็ทำงานร่วมกับทีมเล็กๆ กลายเป็นองค์กรนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร เพื่อดูแลป้องกันคอลเลกชันโทรศัพท์ที่มี ทั้งยังช่วยกันจัดการเรื่องกองทุนด้วย ปัจจุบันโทรศัพท์ในคอลเลกชันมีมากกว่า 2,000 รุ่นจากมากกว่า 200 แบรนด์ทั่วโลก โดยนับเป็นจำนวนทั้งหมด 3,500 เครื่องเมื่อรวมรายการที่ซ้ำกันแล้ว ครอบคลุมย้อนหลังไปถึงเครื่องที่ผลิตตั้งแต่ปี 1984 Ben เล่าว่า เมื่อมีคนบริจาคโทรศัพท์มา ทางทีมจะนำไปจัดทำทะเบียน ติดฉลาก ถ่ายภาพ และย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีผู้บริจาคอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นโทรศัพท์หายาก จึงจำเป็นต้องประกาศหาในเว็บไซต์ หากเข้าไปชมนิทรรศการ คุณจะได้พบกับเหล่าโทรศัพท์หลากหลายหน้าตาที่มีการจัดประเภทเป็นรุ่นแรก […]

‘นิทรรศการการ์ตูนมังงะเงียบ’ 16 พ.ย. – 5 ธ.ค. 64 ที่ BACC

ช่วงนี้แกลเลอรีในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักและจัดแสดงนิทรรศการศิลปะกันอีกครั้ง ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ (BACC) ก็มีนิทรรศการดีๆ อัดแน่นเช่นเดียวกัน สำหรับแฟนมังงะช่วงนี้เราอยากชวนไป ‘นิทรรศการการ์ตูนมังงะเงียบ’ Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวผ่านทางภาพวาดโดยปราศจากบทพูด นิทรรศการจัดแสดงผลงาน 15 ชิ้นจาก 274 ชิ้นที่ศิลปิน 117 ประเทศส่งเข้าประกวดในการแข่งขัน SILENT MANGA AUDITION® (SMA) รอบที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นในหัวข้อ Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) การประกวดจัดขึ้นโดยบริษัท COAMIX ที่กรุงโตเกียว ร่วมด้วยสำนักงานยูเนสโกเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ยูเนสโก กรุงเทพฯ) งานนี้เป็นนิทรรศการ SMA ครั้งแรกในเอเชียนอกญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยยูเนสโก กรุงเทพฯ ร่วมด้วยเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ  การ์ตูนมังงะเหล่านี้เป็นผลงานของศิลปินจากทั่วโลก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอลจีเรีย รัสเซีย […]

ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด

เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]

RIP ร่วมวางดอกไม้จันทน์ให้ตัวละครที่ตายจากมังงะเรื่องโปรด ณ สุสานในนิทรรศการ 2 D Afterlife

‘2 D Afterlife’ นิทรรศการจากศิลปนิพนธ์ของ จิณห์นิภา นิวาศะบุตร ผู้จัดงานไว้อาลัยให้การ์ตูนตัวโปรดที่ตายเป็นงานศิลปะ

‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

เสพงานศิลป์สะท้อนความหลากหลายกับนิทรรศการ ‘Pockets Full of Rainbows’ ที่ ‘โพธิสัตวา’ แกลเลอรี LGBTQ+ ที่แรกของไทย

ร่วมฉลอง Pride Month กับนิทรรศการ ‘Pockets Full of Rainbows’ โดย ‘อร ทองไทย’ ศิลปินเลสเบี้ยนชาวไทย ที่อยากให้ผู้ชมมองภาพของความรักและเพศสภาพความหลากหลาย ด้วยความรู้สึกที่อบอุ่นและเป็นมิตร ผ่านผลงานภาพพิมพ์และสื่อผสมด้วยเทคนิคการพิมพ์เชิงทดลองที่สั่งสมมาตลอด 10 ปี นิทรรศการนี้นำเสนอภาพพิมพ์ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการพิมพ์ที่หลากหลาย ทั้งเทคนิคพิมพ์กัดกรด (Etching), เทคนิคซิลก์สกรีน (Screen Print) ด้วยสีสะท้อนแสง, เทคนิคการพิมพ์ด้วยเครื่องริโซกราฟ (Risography) อีกทั้งผลงานยังมีนัยสื่อถึงความหลากหลายทางเพศและความสัมพันธ์แบบเควียร์ (Queer) ด้วยความรู้สึกเชิงบวกที่เรียบง่าย มีอารมณ์ขันและตรงไปตรงมาตามแบบฉบับของคุณอร ทองไทย ‘โอ๊ต มณเฑียร’ เพื่อนของคุณอรและเจ้าของแกลเลอรี ‘โพธิสัตวา LQBTQ+’ แกลเลอรี LGBTQ+ ที่แรกของเมืองไทยบอกว่า อยากให้นิทรรศการนี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับชาว LGBTQ+ และผู้สนับสนุนให้กล้าที่จะออกมาพูดคุย เฉลิมฉลอง และแสดงจุดยืนกันได้อย่างอิสระ และในวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายนที่จะถึงนี้ ถือเป็นวันแรกของการเปิดนิทรรศการโดยภายในงานได้มีการเชิญนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศอย่าง ‘อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์’ ‘คุณชานันท์ ยอดหงษ์’ จากกลุ่มเสรีเทยพลัส และมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) […]

โลกใบใหม่ของ ‘นิวเวิลด์’ ห้างร้างย่านบางลำพู อดีตวังมัจฉาในความทรงจำชาวเมือง

ชวนดูนิทรรศการที่เล่าเรื่องย่านบางลำพู ผ่าน ‘ห้างนิวเวิลด์’ ตึกร้างที่อยู่คู่ย่านมาร่วม 40 ปี

1 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.