สัมผัสฮ่องกงในซีนหนังของหว่อง กาไว กับนิทรรศการภาพถ่าย โดย Wing Shya วันนี้ – 29 ม.ค. 66 ที่ HOP ศรีนครินทร์

‘ฮ่องกง’ ของคุณหน้าตาเป็นแบบไหน  เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายๆ คนน่าจะเป็นฮ่องกงที่เป็นเมืองคนเหงา ซึ่งทั้งเศร้าและโรแมนติก เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ของผู้กำกับ ‘Wong Kar-Wai (หว่อง กาไว)’ ใครที่ยังติดตรึงกับภาพเมืองฮ่องกงที่ฉาบไปด้วยแสงไฟสีแดง และปกคลุมไปด้วยบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกแสนโดดเดี่ยว HOP หรือ Hub Of Photography ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายของศิลปินชาวฮ่องกง ‘Wing Shya’ ผู้ทำงานบันทึกเบื้องหลังภาพยนตร์ของผู้กำกับ หว่อง กาไว ที่เป็นดั่งสื่อกลางช่วยให้ผู้คนเข้าใจภาพของฮ่องกงในเฟรมหนังที่คุ้นเคย Wing Shya คือช่างภาพที่ถ่ายภาพเบื้องหลังภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Happy Together (1997) และ In the Mood for Love (2000) จนถูกใจผู้ชมจำนวนมาก นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายของภาพยนตร์ Eros (2004) และ 2046 (2004) อีกด้วย นอกจากจะเป็นการย้อนกลับไปรำลึกถึงภาพเมืองฮ่องกงเมื่อหลายสิบปีก่อนในความทรงจำ ที่หลายๆ คนรับรู้ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวฮ่องกงแล้ว ภาพถ่ายของ Wing Shya ยังงดงาม ดูเป็นธรรมชาติ ให้แรงบันดาลใจ […]

สุ่มกาชาปองตุ๊กตาดินเผาในนิทรรศการเซรามิกฯ ถึง 14 ธ.ค. ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

‘เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก’

สำรวจการจัดการขยะใน 6 เมืองใหญ่กับนิทรรศการภาพถ่าย Wasteland ที่สวนลุมพินี วันนี้ – 25 ต.ค. 65

‘ขยะ’ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อประหยัดงบประมาณกำจัดขยะและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นอกจากจะต้องจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องหาทางลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในแต่ละปี เพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปด้วย เพราะเชื่อว่าปัญหาขยะคือเรื่องของทุกคน จึงเป็นที่มาของ Wasteland นิทรรศการภาพถ่ายของคาเดีย ฟัน โลฮูสเซิน (Kadir van Lohuizen) ช่างภาพข่าวแนวสารคดีชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั้งที่ถูกวิธีและไม่ถูกวิธี ผ่านชุดภาพถ่ายจาก 6 เมืองใหญ่ของโลก ได้แก่ จาการ์ตา โตเกียว ลากอส นิวยอร์ก เซาเปาโล และอัมสเตอร์ดัม ระหว่างที่ทำโปรเจกต์นี้ คาเดียได้ค้นพบว่า ประชากรโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การอุปโภคบริโภคจึงเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือปริมาณขยะถูกสร้างขึ้นมากกว่าที่เคย ที่น่าสนใจก็คือ ภาพถ่ายชุดนี้ยังนำเสนอมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะของแต่ละเมือง เช่น การเผาขยะ การฝังกลบ ขยะอาหาร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คาเดียหวังว่า Wasteland จะสร้างความตระหนักเรื่องปัญหาขยะที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับขยะ และร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเสียที ใครสนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ Wasteland ได้ฟรี ที่ลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี ตั้งแต่วันนี้ – 25 […]

สำรวจศิลปะแทนใจผู้ป่วยจิตเวชกับนิทรรศการ Hide & Seek ที่ Palette Artspace วันที่ 14 – 19 ก.ย. 65

ทุกวันนี้สังคมของเรามี ‘ผู้ป่วยจิตเวช’ และ ‘ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า’ จำนวนไม่น้อยเลย แต่ส่วนใหญ่ต่างต้องซ่อนตัวและพยายามใช้ชีวิตตามปกติ เพราะกลัวสังคมไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจอาการ และมองว่าตัวเองมีความบกพร่อง เปรียบเสมือนการเล่นซ่อนแอบที่ไม่รู้ว่าสังคมจะพบเจอผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อไหร่ และเมื่อถูกหาเจอแล้ว พวกเขาจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร เพราะโรคทางจิตเวชไม่ใช่สิ่งน่าอาย เราจึงอยากชวนทุกคนไปทำความเข้าใจภาวะเหล่านี้ที่ ‘Hide and Seek #มันไม่ได้เศร้าอย่างที่คิดหรอกนะ’ นิทรรศการศิลปะการกุศลสุดอบอุ่นที่จัดแสดงผลงาน โดยศิลปินชาวไทยและต่างประเทศกว่า 50 คน ซึ่งกลั่นกรองออกมาแทนใจและความรู้สึกของผู้ป่วยจิตเวชทุกคน เป็นครั้งแรกที่บรรดาศิลปินจะร่วมกัน Call Out และเป็นกระบอกเสียงให้เหล่าผู้ป่วยจิตเวชภายใต้คอนเซปต์ ‘ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนอีกต่อไป เพราะยังไงศิลปะก็ตามหาใจของคุณเจอ’ ใครสนใจแวะไปดูนิทรรศการ ‘Hide and Seek #มันไม่ได้เศร้าอย่างที่คิดหรอกนะ’ ได้ฟรีที่ Palette Artspace (t.ly/6iPO) ระหว่างวันที่ 14 – 19 กันยายน 2565 ที่สำคัญ ทางนิทรรศการยังเปิดรับบริจาค เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายไปมอบให้ ‘กองทุนเพื่อผู้ป่วยจิตเวชยากไร้’ เพื่อซัปพอร์ตและส่งเสริมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย โดยวันที่ 17 กันยายน 2565 ศิลปินจะร่วมกันจัดเสวนาที่พูดถึงโรคทางจิตเวชและโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่างๆ อีกทั้งยังมีกิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจอย่างการแสดงมายากล […]

วิพากษ์ศิลปะจากดินโคกหนองนากับ UN-EARTH Provenience Unfold ที่นัวโรว์อาร์ตสเปซ อุดรฯ วันนี้ – 15 ต.ค. 65

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ‘โครงการโคกหนองนา’ และ ‘โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง’ โมเดลของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมผ่านการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญา เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน แต่โครงการเหล่านี้อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่ภาพวาดไว้ เพราะ ‘โคกหนองนา’ ถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน การใช้ พ.ร.บ.เงินกู้หลายพันล้านบาทเร่งทำโครงการในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนัก ไปจนถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนไม่น้อยต้องพบเจออย่างผู้รับเหมาขุดปรับพื้นที่ไม่ตรงแบบหรือทิ้งงาน ความซับซ้อนของโมเดลเกษตรกรรมนี้ทำให้ ‘ส้มผัก-สุรสิทธิ์ มั่นคง’ ศิลปินจากอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จัดทำนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘UN-EARTH Provenience Unfold’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองของเขาในฐานะคนท้องถิ่นที่ได้ใกล้ชิดกับโครงการเหล่านี้ “ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว เรามีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการดินของชาวบ้านและคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นการขุดหน้าดินขาย เอาโฉนดที่ดินไปจำนำ หรือแม้แต่ปล่อยเช่าพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และเอาตัวรอดในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากการจัดการพื้นที่ในสมัยก่อนที่มักใช้เพื่อผลิตพืชผลทางการเกษตร และกักเก็บน้ำไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก “ในช่วงเวลาเดียวกัน เราก็ได้เห็นรัฐนำโครงการต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ ทั้งโครงการโคกหนองนาและการจัดการปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากการใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ประมาณ 4,800 ล้านบาท ทำให้เราตั้งคำถามว่าแทนที่จะเอาเงินมาให้ชาวบ้านขุดพื้นที่ทำโคกหนองนา รัฐควรนำงบประมาณเหล่านี้ไปแก้ปัญหาที่เร่งด่วนอย่างโรคระบาดให้เสร็จก่อนดีมั้ย นี่คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะเชิงการเมืองครั้งนี้” ส้มผักได้ลงพื้นที่ทั่วภาคอีสานด้วยตัวเองเพื่อรวบรวมดินและวัสดุจากโครงการโคกหนองนาและโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะนำมารังสรรค์ชิ้นงานศิลปะเชิงเปรียบเปรยทั้งหมด 12 ชุด โดยแต่ละชุดใช้วัสดุและมีรูปแบบที่ต่างกันไป เช่น ป้ายเหล็กของโคกหนองนา แผ่นดินสลักพิกัดโครงการต่างๆ แท่งยางมะตอย แปลนโคกหนองนาในมุมมองของศิลปิน รวมไปถึงศิลปะผ้าใบที่เขียนด้วยดิน  […]

ชมเครื่องดูดฝุ่นสีทองดูดประชาธิปไตย ในนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง’ วันนี้ – 28 ส.ค. 65 ที่ VS Gallery

เมื่อปี 2020 ‘จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์’ นักเขียนเจ้าของผลงานวรรณกรรมวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองได้จัดนิทรรศการศิลปะ ‘คิดถึงคนบนฝ้า (Our Daddy Always Looks Down on Us)’ ที่ชวนคนปีนบันไดขึ้นไปชะโงกมองว่าข้างบนฝ้าเพดานที่คนมองแล้วซาบซึ้งจนน้ำตาไหลมีอะไรอยู่กันแน่ ครั้งนี้เขากลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง (From Dawn Till Dust)’ ที่กล่าวได้ว่าเป็นภาคต่อของความแสบสันนี้  โดยทั้งสองนิทรรศการต่างเป็นชื่อเรื่องสั้นของจิรัฏฐ์ที่จะตีพิมพ์ในชื่อหนังสือ ‘รักในลวง’ ช่วงปลายปี 2565 นี้ ‘ฝ่าละออง’ คือนิทรรศการที่สร้างจากเสี้ยวหนึ่งของเรื่องสั้นในชื่อเดียวกัน กล่าวถึงเจ้าหน้าที่รัฐผู้ขยันและซื่อตรงในหน้าที่ แต่สุดท้ายผลตอบแทนของความจงรักภักดีนั้นกลับกลายเป็นเรื่องราวน่าอดสูและสยองขวัญ นัยของนิทรรศการ คือการเน้นย้ำให้คนดูย้อนกลับมาสำรวจภูมิทัศน์หลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่ถูกรัฐพยายามจะเปลี่ยนความหมาย รวมถึงทำลายมัน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอนุสรณ์สถานที่เชื่อมโยงไปยังคณะราษฎร เช่น ลานพระบรมรูปทรงม้าที่เคยมีหมุดคณะราษฎรวางอยู่ แต่ตอนนี้ถูกล้อมรั้วไปแล้ว หรือวงเวียนหลักสี่ที่เคยเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ถูกรื้อทิ้งจนไม่เหลือเค้าเดิม กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้า  จิรัฏฐ์บันทึกฟุตเทจเหล่านี้ด้วยการนำเครื่องดูดฝุ่นไปดูดตามสถานที่นั้นๆ และนำมาเล่าซ้อนกับเรื่องสั้น O-Robot ที่ล้อไปกับนิยายเรื่อง 1984 โดย จอร์จ ออร์เวลล์ อีกทีหนึ่ง โดยนำเสนอผ่านโทรทัศน์ 6 จอ ที่ล้อไปกับหลัก 6 […]

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง Yala Stories ที่อยากขับเคลื่อนยะลาด้วยงานสร้างสรรค์

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับ Yala Stories ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กที่มิตรสหายคนทำงานสร้างสรรค์แชร์กัน ซึ่งโพสต์นั้นว่าด้วยการนำภาพของตัวอักษรบนป้ายร้านรวง ย่านสายกลาง จังหวัดยะลา มาเรียงกันเป็นคำว่า ‘ยะลา สตอรี่’  แน่นอนว่าความสวยเก๋ต้องไม่รองใคร เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่ยังมีการวาดโปสเตอร์ภาพยนตร์ด้วยมืออยู่ ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าสุนทรียะในศิลปะการออกแบบป้ายต้องหรอยแรงอยู่แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ตัวอักษรหรือฟอนต์ (Font) เหล่านี้ล้วนมีประวัติศาสตร์ของเมืองซุกซ่อนอยู่ ซึ่ง ‘Yala Stories’ ก็ได้พาเราไปทัวร์ชมฟอนต์เหล่านี้ผ่านหน้าจอไปด้วย หลังจากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองยะลาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ย่านสายกลาง ซึ่ง ‘Yala Stories’ เป็นชื่อของนิทรรศการนี้นั่นเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาที่มีการจัดงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีครบหมดตั้งแต่นิทรรศการบอกเล่าเมืองยะลา งานศิลปะ วงเสวนา ฉายหนังสั้น การแสดงสด คอนเสิร์ต งานคราฟต์ แฟชั่น ไปจนถึงอาหารกับกาแฟ  ด้วยความชอบใจและดีใจที่เห็นจังหวัดอื่นๆ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวในแวดวงงานสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากขึ้น ทำให้เราติดต่อขอพูดคุยกับกลุ่มคนผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Yala Stories’ และได้พบกับ ‘บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์’ หัวหอกของโปรเจกต์นี้ […]

แอบย่องสำรวจห้องนอนเด็กหญิงยินดี ในนิทรรศการครั้งแรกของ faan.peeti 9 ก.ค. – 4 ก.ย. 65 ที่ River City Bangkok

หลายคนน่าจะคุ้นตากับลายเส้นละเอียดอ่อน สีสันที่มองแล้วรู้สึกบอบอุ่นใจของ ‘ฟาน.ปีิติ’ นักวาดภาพประกอบเจ้าของหนังสือ ‘London Book Sanctuary’ และเคยร่วมงานกับแบรนด์ดังอย่าง Vespa, SMEG และ Estée Lauder ครั้งนี้เธอจะมีนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรกในชื่อ เด็กหญิงยินดี ‘Yindee’s Mysterious Friends’ ‘ฟาน.ปีิติ’จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘เด็กหญิงยินดี’ เด็กหญิงผู้ไม่เคยมีเพื่อน เธอใช้เวลาอย่างลำพังกับการเขียนไดอารีเล่มเดิมที่เปรียบเสมือนเพื่อนคนหนึ่งตลอดมา แต่โลกใบเก่ากลับเปลี่ยนไป เมื่อเด็กหญิงค้นพบว่าเธออาจไม่ได้มีเพื่อนเพียงแค่คนเดียว โดยสิ่งที่เด็กหญิงค้นพบจะอยู่ในนิทรรศการนี้ โดยฟาน.ปีติจะทำหน้าที่เป็นไกด์พาทัวร์ทั่ว ‘ห้องนอน’ ของเด็กหญิงยินดี และเดินสำรวจพื้นที่ส่วนตัวที่ตั้งอยู่ในสวนซึ่งแวดล้อมไปด้วยพรรณไม้ สถานที่ดังกล่าวที่ว่าช่างแสนลึกลับ มีเพียงยินดีเท่านั้นที่จะล่วงรู้  ในสถานที่แห่งนั้น พวกเราจะได้แอบอ่านไดอารีบนหัวเตียงของเด็กหญิง พบเจอเรื่องราวที่เด็กหญิงและครอบครัวเก็บซ่อนเอาไว้ และในดินแดนที่ประดับประดาด้วยร่มเงาของพรรณไม้ ทุกคนจะได้ทำความรู้จักกับบรรดาเพื่อนๆ ในจินตนาการของยินดี หลากหลายตัวละครที่หลบซ่อนรอพบมิตรภาพใหม่ๆ เช่น เจ้างูสามหัวชื่อ ‘ซามูเอล’, นักแสดงละครสัตว์ชำนาญการอย่าง ‘โทมัส’ และ ‘จูดี้’ ตุ๊กตานุ่มนิ่มที่เจ้าของรักมาก เป็นต้น นอกจากทุกคนจะได้ไปย้อนความทรงจำในวัยเยาว์ เข้าไปสำรวจห้องนอนของเด็กหญิงยินดีหมายเลข 248 ที่ชั้น 2 ของโรงแรมริเวอร์ ซิตี้ แบง็กค็อกแล้ว […]

เปิดหูเปิดตา ฟังเสียงกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ในนิทรรศการ ‘Sound of the Soul’ 19 – 31 ก.ค. 65 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

เดือนกรกฎาคมนี้ หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC) ชวนมางาน ‘Sound of the Soul’ นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ว่ากันด้วยเรื่องเสียงที่ไม่ค่อยถูกได้ยินในสื่อกระแสหลัก เพื่อมุ่งหวังให้ระยะห่างของผู้คนใกล้กันมากขึ้น  นิทรรศการครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการฟัง พูด คุย รับรู้ความเป็นไปและการมีอยู่ เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นอันเป็นวิถีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างหลากหลายและห่างไกลของผู้คนจากผืนดินอื่น อาทิ กลุ่มปกาเกอะญอ กลุ่มไทดำ กลุ่มไทกะเลิง กลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ กลุ่มมูเซอ กลุ่มอาข่า กลุ่มอูรักลาโว้ย ฯลฯ ภายในงานมีกิจกรรมที่ชวนเปิดผัสสะผ่าน Visual Performance ฟังและมองดูสิ่งต่างๆ ที่บันทึกจากการไปสัมผัสถิ่นที่อยู่จริง โดยกลุ่มศิลปิน 3 สาขา ได้แก่ – ‘Hear&Found’ กลุ่มคนทำงานที่ใช้ดนตรีเพื่อลดการแบ่งแยกในสังคม ประกอบด้วย ‘เม-ศิรษา บุญมา’ กับ ‘รักษ์-ปานสิตา ศศิรวุฒิ’ ที่ตั้งใจสร้างพื้นที่ส่งเสียงความหลากหลายทางวัฒนธรรมออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ ผ่านการใช้ความถนัดคือ เสียง ดนตรี และการสื่อสาร – ‘ศุภชัย เกศการุณกุล’ ช่างภาพผู้โดดเด่นเรื่องการถ่าย Portrait […]

‘แรงงานข้ามเส้น’ โดยศิลปินหญิงและเควียร์ นิทรรศการที่ยืนหยัดว่าทุกคนคือคนทำงาน วันนี้ – 16 ก.ค. 65 ที่ SAC Gallery

ที่ผ่านมา ภาพจำของแรงงานที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักของบ้านเรามักฉายแต่เพียงภาพของผู้ใช้แรงกายที่เป็นคนชนชั้นรากหญ้า ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ ขบวนการประชาธิปไตยที่เบ่งบานในไทยก็พยายามส่งเสียงเรียกร้องและสร้างความเข้าใจใหม่ว่า แท้จริงแล้ว ‘พวกเราทุกคนคือคนทำงาน’ ต่อให้คุณใช้ฝีมือ ไอเดีย หรือกระทั่งทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นงาน แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจ และค่าเสียโอกาสด้วยทั้งสิ้น นิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ คือนิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวหลากหลายแง่มุมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมักไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก โดยร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านการข้ามเส้นแบ่งทั้งทางกายภาพและนามธรรม นำเสนอผ่านผลงานหลากหลายรูปแบบจาก 6 ศิลปินหญิงและเควียร์ เมนส์ ภาระค่าใช้จ่ายของคนทำงานที่เป็นผู้มีประจำเดือน การกดทับของคนทำอาชีพ Sex Worker ความพร่าเลือนของเส้นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน ความทรงจำของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้าสยามที่เลือนหายไปตามกาลเวลา การตั้งคำถามถึงการบวชเป็นพระที่สงวนให้แต่เพศชายตามกำเนิดเท่านั้น เหล่านี้คือตัวอย่างของประเด็นที่เหล่าศิลปินเลือกมาถ่ายทอดผ่านชิ้นงานอย่างคอลลาจ เซตภาพถ่าย งานจัดวาง เป็นต้น ใครที่สนใจนิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ เปิดให้เข้าชมที่อาคารหอศิลป์ ชั้น 2 เอส เอ ซี แกลเลอรี กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ – 16 กรกฎาคม 2565 เปิดบริการทุกวันอังคาร-เสาร์ […]

พาทัวร์อีเวนต์ไพรด์ Bangkok Pride: Rainbowtopia 17 – 19 มิ.ย. 65 ที่ BACC และ Siam Square

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการเดินไพรด์พาเหรดในงาน ‘นฤมิตไพรด์’ เฉลิมฉลองความหลากหลาย และเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมทางเพศไปอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ คราวนี้ถึงคิวของ ‘Bangkok Pride 2022: Rainbowtopia’ อีเวนต์ไพรด์อีกงานที่จัดเต็มทั้งศิลปะ เวิร์กช็อป เสวนา มาร์เก็ต และคอนเสิร์ต เพื่อร่วมเฉลิมฉลองคอมมูนิตี้ LGBTQ+  เทศกาลนี้จัดขึ้นโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานและสื่อสารเรื่องเพศมาอย่างยาวนาน โดยร่วมมือกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ วงการภาพยนตร์ หรือศิลปินนักดนตรี โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน ธีมของงานใช้ชื่อว่า ‘Rainbowtopia’ เนื่องจากต้องการชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ที่คนทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ และทุกช่วงวัย ได้มีพื้นที่ปลอดภัยในเป็นตัวของตัวเอง รวมถึงได้รับสิทธิ สวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน  ภายในงานได้มีการแบ่งโซนกิจกรรมออกเป็นหลากหลายรูปแบบตามธีมย่อยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทั้ง 6 บนธงไพรด์ โดยแบ่งพื้นที่จัดกิจกรรมออกมาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ ภายในหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (BACC) และ สยามสแควร์ บล็อก I  บรรยากาศงานเป็นยังไงบ้าง สนุกสุดต๊าชแค่ไหน มีกิจกรรมใดที่ไม่ควรพลาด Urban Creature […]

‘ร้อยปีตึกเรา’ มหกรรมเปิดบ้านฉลองครบรอบ 100 ปี อาคารมิวเซียมสยาม กิจกรรมตลอดปีตั้งแต่ เม.ย. – พ.ย. 65

รู้ไหมว่าตึกมิวเซียมสยามจะมีอายุครบ 100 ปีในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 นี้แล้วนะ ทางพิพิธภัณฑ์จึงถือโอกาสฉลองครบรอบหนึ่งศตวรรษ ผ่านการเปิดบ้านและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แนวคิด ‘ร้อยปีตึกเรา’ เพื่อให้ผู้คนเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้งยังมีแรงบันดาลใจในการรักษาอาคารทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมอันสวยงามของไทยอย่างยั่งยืนด้วย กิจกรรมหลักที่จะเกิดขึ้นภายใต้มหกรรมเฉลิมฉลอง ‘ร้อยปีตึกเรา’ ที่มิวเซียมสยามจะจัดขึ้นตลอดปี ได้แก่  นิทรรศการ ‘ตึกเก่า เล่าใหม่ New Take on Old Building’ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมาร่วมร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก รื้อฟื้นความทรงจำ และรำลึกการเปลี่ยนผ่านก่อนจะมาเป็นตึกมิวเซียมสยามในปัจจุบัน  โดยนิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร–วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.00 – 18.00 น. และทุกวันเสาร์ที่จัดงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ เวลา 10.00 – 20.00 น. ตั้งแต่วันนี้ – เดือนธันวาคม 2565 เสาร์สนามไชย Saturday Happening ถือเป็นไฮไลต์กิจกรรมชุดใหญ่ ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมหลากหลายที่เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย และมีความรื่นรมย์ที่มิวเซียมสยามทุกวันเสาร์ต้นเดือน […]

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.