‘ความมืดนั้นสำคัญไฉน’ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดกับผลกระทบต่อเมือง ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต

‘ฟ้ามืดทีไรมันเหงาทุกคืน’ ท่อนหนึ่งในเพลงฟ้ามืดทีไร ของวง Dept ว่าไว้อย่างนั้น อย่างที่คุ้นชินกันว่า ความมืดมักถูกยึดโยงกับสิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ความเศร้าซึม หรือความเหงา แต่แท้จริงแล้วความมืดมิดยามค่ำคืนกลับมอบสุนทรียศาสตร์ที่ไม่มีสิ่งไหนสามารถแทนที่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า อุปสรรคใหญ่ที่คอยขัดขวางความมืดคือมลภาวะทางแสงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม โดยที่ไม่รู้ถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ทั้งต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศในตอนกลางคืน แน่นอนว่ารวมถึงการศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องพึ่งพาความมืดมิดในการสังเกตธรรมชาติและดวงดาว จนนำไปสู่การจัดตั้ง ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ ด้วย ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงและเพิ่มจำนวนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมากขึ้นทุกปี คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลดแสงไฟ มุ่งหน้าสำรวจความมืดมิดถึงที่มาของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ความสำคัญของความมืดต่อเมือง และตัวอย่างนโยบายการจัดการแสงสว่างจากทั่วโลก เมื่อเมืองสว่างเกินไปจนลดความมืดของธรรมชาติ แสงรถ แสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง และการใช้งานแสงสว่างด้านอื่นๆ ของมนุษย์ ล้วนเติบโตขยายตามขนาดของเมืองและเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จนเกิดการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลพิษทางแสงที่ลดความมืดของท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามมา ทั้งเรื่องเล่าจากดวงดาว ทางช้างเผือกที่พาดผ่านในยามค่ำคืน และจินตนาการในอวกาศอันไกลโพ้นล้วนค่อยๆ ถูกลบหายไปพร้อมกับแสงสว่างจ้าที่บดบังความสวยงามในธรรมชาติ มิหนำซ้ำแสงเหล่านี้ยังรบกวนพฤติกรรมของสัตว์ป่าและการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจมลภาวะทางแสงเสียก่อน ‘มลภาวะทางแสง’ คือแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งเกิดจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ได้ควบคุมปริมาณและทิศทางให้เหมาะสมกับบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แสงเหล่านี้ส่องสว่างไปบนท้องฟ้า ส่งผลให้ท้องฟ้าที่เคยมืดมิดกลับไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เราสามารถแบ่งมลพิษทางแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แสงเรืองบนท้องฟ้า แสงจ้าบาดตา และแสงรุกล้ำ […]

แพ็กกระเป๋าเข้าป่า สู่ปฐมบทแดนอีสานโรงเรียนนักเดินป่าของนักเรียนเดินป่ารุ่นที่ 1 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง

ชีวิตในเมืองที่ทำให้เราเผชิญอยู่กับจังหวะที่เร่งรีบของชีวิตประจำวัน ความวุ่นวาย ตึกสูง และการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่น้อยลง อาจทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติดูห่างไกลออกไป พร้อมๆ กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราและผู้คนรอบตัว หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเราเอง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกหลีกหนีจากความวุ่นวายและชีวิตที่รีบเร่งนี้ ออกเดินทางหาความสงบสุขและรื่นรมย์จากธรรมชาติ ให้ตัวเองได้ผ่อนลมหายใจ และได้รับการปลอบประโลมจากทิวเขา ต้นไม้ หรือท้องทะเล ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทย และประเทศไทยเองก็มีอัตราการท่องเที่ยวในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อุทยานแห่งชาติต่างๆ ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี แต่ด้วยจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ย่อมส่งผลให้ธรรมชาติถูกรบกวนมากขึ้น ขยะที่เพิ่มปริมาณขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ปฐมบทการเดินทาง จากปัญหาและความกังวลเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนนักเดินป่าขึ้นมา โดยการนำของ ‘ใหญ่-ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย’ ที่ปัจจุบันเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำพอง และ ‘พี่งบ-ธัชรวี หาริกุล’ ผู้ก่อตั้ง Thailand Outdoor ที่นอกจากมาร่วมบุกเบิกเส้นทางการเดินป่าแห่งนี้แล้ว ยังช่วยออกข้อสอบให้เหล่านักเรียนได้ผ่านด่านทดสอบด่านแรกก่อนการสมัครจริงอีกด้วย ร่วมด้วยเหล่าพี่ๆ น้องๆ ที่เชื่อในอุดมการณ์ที่ว่า ‘การเดินป่าที่ถูกต้องสร้างได้’ และส่วนสำคัญที่สุดคือแรงกายแรงใจสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า เจ้าหน้าที่อุทยาน และศิษย์เก่า ที่พร้อมใจมาเป็นครูผู้ช่วยถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง และทำให้พื้นที่แห่งนี้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และส่งต่อทัศนคติที่ดีในการเคารพธรรมชาติให้เกิดขึ้นระหว่างนักเดินป่ามือใหม่และนักเดินป่ามากประสบการณ์ ผ่านแนวคิด ‘เราจะเดินป่าโดยสร้างผลกระทบให้ธรรมชาติให้น้อยที่สุดได้อย่างไร’ ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักเรียนจำนวน 20 คนของโรงเรียนนักเดินป่า อุทยานแห่งชาติน้ำพอง […]

‘Immersive Resilience Garden’ โครงการสวนเขาวงกต ใจกลางกรุงโซล ที่ช่วยพาให้ผู้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

ความวุ่นวายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เราสามารถพักผ่อนและหลบหนีจากความวุ่นวายในระยะสั้นๆ ได้บ้างด้วยการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะ มีโครงการ ‘Immersive Resilience Garden’ ภายในสวนสาธารณะ TTukseom Hanriver ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนพลุกพล่านมากที่สุดในโซล เพื่อให้ผู้คนได้หลีกหนีความวุ่นวายด้วยการเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติใจกลางเมืองแบบ 360 องศากันอย่างเต็มที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกและสร้างขึ้นสำหรับงาน International Garden Fair ปี 2024 ซึ่งจัดโดยรัฐบาลกรุงโซลผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยจะจัดตั้งไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคมปีนี้ Studio ReBuild เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจในการออกแบบสวนแห่งนี้จากปฏิสัมพันธ์ของผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อกับธรรมชาติ ทำให้ตัวสวนออกมาในโครงสร้างแบบชั้นที่สร้างพื้นที่ปิด เพื่อหลบหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง รวมถึงมีลักษณะคล้ายกับเขาวงกต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ทอดยาวในพื้นที่กว่า 400 เมตร ภายในสวนยังประกอบไปด้วยกลุ่มพืชที่แตกต่างกัน 3 ชั้น โดยไล่ระดับตามความสูง เราจึงจะเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขอบนอกของสวน ส่วนชั้นถัดมาเป็นต้นไม้ขนาดกลาง และชั้นในสุดจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ที่นี่ก็มีโต๊ะและเก้าอี้ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามานั่งพักผ่อนท่ามกลางการโอบล้อมของต้นไม้ เพื่อให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ รับรองว่าหากเข้าไปอยู่ด้านในของเขาวงกตแห่งนี้แล้ว จะแทบลืมไปเลยว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงของเกาหลีใต้ Sources :Designboom […]

จากภูเขาถึงทะเล บันทึกความทรงจำผ่านธรรมชาติเมื่อครั้งยังเด็ก

เมื่อครั้งยังเด็ก บ้านของฉันโอบล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และหมอกจางๆ ในฤดูหนาว อีกทั้งยังห่างไกลจากตัวเมืองมากพอสมควร แต่ที่นั่นฉันก็มีความสุขดี และในขณะเดียวกัน ทะเลก็คือโลกอีกฟากหนึ่งที่หัวใจและความไร้เดียงสาในวันนั้นถวิลหาทุกค่ำเช้า ภาพถ่ายชุดนี้เปรียบเสมือนการเดินทางย้อนเวลากลับไปปะติดปะต่อร่องรอย เพื่อรื้อฟื้นเรื่องราวและซ่อมแซมความทรงจำเหล่านั้นที่ถูกทิ้งไว้ในกาลเวลาจนชำรุดทรุดโทรมให้กลับมามีสีสันสดใส มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง สะท้อนถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังเด็กที่แสนอบอุ่นและมีความสุขอย่างเรียบง่าย ไร้ซึ่งความซับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Ordinary and Extraordinary ความ (ไม่) ธรรมดา

ในเมืองที่แสนวุ่นวาย ผู้คนมากมายอย่างกรุงเทพมหานคร ผมเลือกที่จะมองหาความธรรมดาที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายผ่านการตีความด้วยภาพถ่าย ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่มันอยู่ด้วยกันอย่างถูกที่ถูกเวลา ทั้งหมดจะส่งเสริมกันและกัน กลายเป็นเสน่ห์ที่มองได้ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ส่องชีวิตน้องๆ ใน ‘สวนสัตว์เปิดเขาเขียว’ อย่างใกล้ชิด ตามติดตลอด 24 ชั่วโมง ที่แพลตฟอร์ม Zoodio

เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่ายีราฟนอนอย่างไร เจ้าสล็อตที่เชื่องช้าแอบวิ่งเร็วตอนเราเผลอบ้างไหม ถึงเวลาค้นพบความลับของจักรวาลกันแล้ว เพราะแพลตฟอร์ม Zoodio เปิดโอกาสให้เราส่องชีวิตน้องๆ ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวกันแบบสดๆ ตลอด 24 ชั่วโมง Zoodio เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ บนเว็บไซต์มีทัพสัตว์มากหน้าหลายตาที่พร้อมเปิดชีวิตแบบหมดเปลือกผ่าน Live Streaming ไม่ว่าจะเป็นเพนกวินฮัมโบลด์ ช้างเอเชีย โคอาลา ฮิปโปโปเตมัส หรือคาปิบารา เท่านั้นยังไม่พอ นอกจาก Live Streaming แล้ว บน Zoodio ยังมีข้อมูลของสัตว์ต่างๆ ให้อ่านอย่างละเอียด พร้อมทั้งสื่อสารคดีและ Infographic แสนน่ารัก ที่จัดหนักจัดเต็มความรู้ให้เราทุกคน อย่าลืมแวะไปทักทายสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ที่ www.zoodio.live

Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซใจกลางเอกมัย ที่อยากให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ และกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

“เราอยากให้คนที่มารู้สึกว่าทุกช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่คือ Kind Moment ทั้งกับตัวเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ‘แพม-เปรมมิกา ศรีชวาลา’ ผู้ก่อตั้ง ‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซสีเขียวเล็กๆ ภายในซอยเอกมัย 6 บอกกับเราถึงสิ่งที่อยากส่งต่อไปยังผู้เข้าใช้บริการ หลายคนอาจไม่รู้ว่า ภายในใจกลางย่านเอกมัยยังมีสถานที่หนึ่งที่เป็นเหมือนโอเอซิสสำหรับคนรักสุขภาพให้ได้มาใช้เวลาร่วมกับธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน โดยชื่อของ EKM6 ถูกตั้งขึ้นให้ล้อไปกับสถานที่ตั้งของตัวโครงการอย่าง ‘ซอยเอกมัย 6’ และคำว่า ‘E(very) K(ind) M(oment)’ ยังเป็นการย้ำเตือนว่าที่นี่จะทำให้คุณได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบตัว รวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Plant-based จากผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศไทย จนทุกช่วงเวลากลายเป็น Every Kind Moment E(verything) has a beginning. “เราไม่ได้คิดเรื่องธุรกิจตั้งแต่ต้น แต่มันเริ่มมาจากลูกแพ้นมและไข่ แล้วเขาอยากกินไอศกรีม เราเลยลองหาสูตรจากอินเทอร์เน็ตมาทำ จนกลายเป็นไอเดียเล็กๆ ที่ผุดมาจากลูกชายว่าทำไมไม่ลองทำขายดู” แพมเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเข้าสู่วงการแพลนต์เบสด์อย่างเป็นทางการ ก่อนเริ่มขยับขยายมาเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ออกอีเวนต์ขายไอศกรีมแพลนต์เบสด์ในชื่อ Beyond Pops และได้พบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นที่มีความสนใจในเรื่องสุขภาพเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เมืองไทยไม่ค่อยมีคอมมูนิตี้ของคนชื่นชอบอาหารแพลนต์เบสด์ให้รวมตัวกัน บวกกับแพมเองก็เห็นช่องว่างว่าบ้านเรายังไม่มีพื้นที่ที่รวมธุรกิจเหล่านี้ไว้และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรองานอีเวนต์ นั่นจึงทำให้เธอตัดสินใจสร้างสถานที่แบบนั้นขึ้นมาด้วยตนเอง “เรารู้สึกว่าคนที่มาอีเวนต์เกี่ยวกับแพลนต์เบสด์ มันมีตั้งแต่คนที่ให้ความสนใจแพลนต์เบสด์อยู่แล้วไปจนถึงคนทั่วไปที่เขาสงสัยว่าอาหารประเภทนี้คืออะไร เราเลยคิดเล่นๆ […]

FYI

อารียา พรอพเพอร์ตี้ พา UNBOX กล่อง COMO Botanica II รวมไอเทมพิเศษเพื่อชุบชูใจคนเมืองที่รักธรรมชาติ

เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานในเมือง กิจวัตรประจำวันคงหนีไม่พ้นต้องเริ่มต้นจากการเดินทางฝ่ารถติดไปทำงาน โชว์ฝีมือในออฟฟิศอย่างสุดความสามารถ แล้วพาร่างกายที่คล้ายเป็นแบตฯ ใกล้หมดของตัวเองกลับมายังห้องพักสี่เหลี่ยม ไม่แปลกหรอกที่ชีวิตในเมืองจะดูดพลังเราให้ร่อยหรอได้แทบทุกวัน ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองมีโอกาสและประสบการณ์ชีวิตที่มีสีสันที่หาไม่ได้จากที่ไหน แต่บางครั้งการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกว่าได้พักผ่อนจริงๆ นั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นสิ่งที่คนเมืองโหยหา โดยเฉพาะกับคนวัยทำงานที่กำลังไปได้ดีทั้งหน้าที่การงานและการสร้างครอบครัว สำหรับมนุษย์ที่ใช้สีเขียวของต้นไม้ ใบหญ้า เสียงน้ำไหลเป็นเครื่องรีชาร์จตอนวันหยุด ทว่าต้องขับรถออกไปคาเฟ่หรือต่างจังหวัดใกล้ๆ ทุกครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเจอสิ่งเหล่านี้ได้ทุกวันโดยที่ไม่ต้องละทิ้งชีวิตในเมืองของเราเลย ถ้าคำตอบของคุณคือใช่ เราขอแนะนำให้รู้จัก COMO Botanica II โครงการบ้านจัดสรรใหม่ล่าสุดของอารียา พรอพเพอร์ตี้ ออกแบบชีวิตให้ชิดธรรมชาติ (Craft Your Own Nature)  เช่นเดียวกับทุกโครงการของอารียา พรอพเพอร์ตี้ พวกเขาดีไซน์ COMO Botanica II อย่างพิถีพิถันเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกบ้านมากที่สุด คราวนี้เขามาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘ออกแบบชีวิตให้ชิดธรรมชาติ’ (Craft Your Own Nature) ภายใต้การออกแบบสไตล์ Urban Botanical ที่แบ่งสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวในบ้านกับการใช้ชีวิตได้ลงตัว พูดง่ายๆ คือคล้ายบ้านใหญ่ในเขตป่าเมืองร้อนที่สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบาย มีสเปซขนาดใหญ่ ห้องนอนหลายห้อง เหมาะสำหรับคนที่อาจเคยรู้สึกอึดอัดกับชีวิตในห้องสี่เหลี่ยมหรือกำแพงคอนกรีต ที่อยากเปลี่ยนชีวิตให้กลับมาร่มรื่นใกล้ชิดธรรมชาติอีกครั้ง ธรรมชาติที่ดีไซน์เองได้ ความชุบชูใจยังไม่หมดเท่านั้น จากคอนเซปต์ ‘ออกแบบชีวิตให้ชิดธรรมชาติ’ […]

เที่ยวทั่วไทยผ่านเสียงป่าเขา เงาเมฆ นกร้อง กับ ‘Praisan’ เว็บไซต์เสียงธรรมชาติที่รวบรวมเสียงจากเหนือจรดใต้

หลังจากฟังเสียงแอมเบียนต์ธรรมชาติจากสถานที่ในต่างประเทศกันมานาน ในที่สุดเราก็เจอเว็บไซต์ที่รวบรวมเสียงจากสถานที่ธรรมชาติในประเทศไทยกับเขาบ้างแล้ว ‘Praisan’ คือเว็บไซต์เสียงธรรมชาติจาก ‘โครงการสื่อเสียงธรรมชาติเพื่อความงอกงามทั้งจิตใจและความรู้’ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับทุนประจำปี 2565 ภายใต้ ‘สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ (Thai Media Fund) ภายในเว็บไซต์ไพรสารมีการรวบรวมเสียงจากสถานที่ทั่วประเทศไทยมาบันทึกและจัดเรียงไว้บนโลกออนไลน์ ให้ผู้ใช้งานเลือกฟังเสียงธรรมชาติได้ตามต้องการจากหมุดบนแผนที่ประเทศไทย หรือเลือกจากลักษณะทางชีวภาพของสถานที่นั้นๆ โดยมีคอนเซปต์หลักคือ ‘หลับตาแล้ว รับฟัง เสียงของธรรมชาติ’ จุดประสงค์ของเว็บไซต์คือ ต้องการให้ผู้ใช้งานได้ทำความรู้จักกับลักษณะระบบนิเวศในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยผ่านสุ้มเสียงต่างๆ ตั้งแต่ป่าดิบชื้นใต้สุดของประเทศ ป่าดิบเขาบนยอดดอย หมู่เกาะกลางทะเล ทุ่งหญ้า แม่น้ำ หรือแม้กระทั่งสวนสาธารณะใจกลางเมือง (รวมไปถึงเสียงจากสิงสาราสัตว์ด้วย) เปรียบเทียบแล้วเว็บไซต์นี้ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางรับ ‘สาร’ จาก ‘ไพร’ (ป่า) ผ่านโลกออนไลน์ เพื่อเป็นตัวการในการนำพาผู้คนกลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ทั้งยังทำให้เราได้รู้ว่าประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลายและน่าสนใจไม่แพ้ชาติใดในโลก ใครอยากฟังเสียงธรรมชาติของประเทศไทยในระบบนิเวศต่างๆ ลองเข้าไปฟังได้ที่ praisan.org

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.