Writer
พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ
ติ่งเกาหลีเป็นงานหลัก เจนจัดเรื่องกินเผ็ด เสพเพลง K-Indie ทุกเช้า ส่วนงานหลัก (กว่า) เป็นนักร้อยเรียงที่พยายามเชื่อมเรื่องราวดีๆ ลงในใจคนอ่านอย่างเนียนๆ
ใช่ว่าเชียงใหม่จะมีแค่วัดวาอารามศิลปะล้านนา หากแต่บนถนนท่าแพ ถนนสายเศรษฐกิจดั้งเดิมที่โดดเด่นด้วยทิวอาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ยังมีวัดเก่าแก่ที่สะท้อนอิทธิพลของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพม่าอายุเกินร้อยปีแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืนและสง่างาม ดังชื่อบทความ เราจะพาเดินสำรวจมรดกจากศิลปะพม่า รวมถึงย้อนรอยถึงที่มาของวัดวาอารามบนถนนสายนี้ แต่ก่อนอื่น มีบุคคลสองท่านที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘จ่อย-อินทนนท์ สุกกรี’ คือชื่อแรก ชายชาวเชียงใหม่ลูกเสี้ยวพม่าวัยสามสิบเศษ นักสะสมของเก่า และเจ้าของร้าน ‘ชเว ผ้าพิมพ์ลุนตยา’ เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จ่อยได้ร่วมกับกลุ่มแม่ข่าซิตี้แลป จัดกิจกรรม ‘Mae Kha Walk Along เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า’ พาผู้ที่สนใจไปเดินชมสถาปัตยกรรมแบบพม่าในวัดบนถนนท่าแพ ถนนสายสำคัญที่ลำน้ำแม่ข่าตัดผ่าน อันเป็นที่มาของบทความนี้ ส่วนคนที่สอง หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะมีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว ‘เมาง์ปานโหย่ว’ หรือ ‘รองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้สักจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ที่ต่อมากลายเป็นคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากดินแดนบ้านเกิดมาสู่เชียงใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งบนถนนท่าแพ อันเป็นที่มาของกิจกรรมครั้งนี้ “จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี (พ.ศ. 2101 – 2317) แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ของอิทธิพลจากศิลปกรรมจากพม่าในสมัยนั้นก็มีอยู่น้อยเต็มที ในขณะที่ศิลปะพม่ามาเบ่งบานในเมืองนี้ โดยเฉพาะบนถนนสายนี้จริงๆ คือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะเหตุผลด้านการเมือง แต่เป็นผลพวงจากการค้าขาย ซึ่งวันนี้เราจะไปตามรอยกัน” จ่อย ไกด์อาสาในทริปนี้กล่าว […]
สำหรับย่านบางกอกใหญ่ แลนด์มาร์กที่คนรู้จักคงหนีไม่พ้น ‘วัดอรุณฯ’ จุดที่หลายคนแต่งองค์ทรงเครื่องสวมชุดไทยไปถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมสวยๆ แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ภายในย่านบางกอกใหญ่ยังมีอีกหลายสิ่งรอให้เราไปค้นหา ‘mapmap GO!’ คือแผนที่ข้อมูลและเส้นทางแนะนำสำหรับวางแผนท่องย่านบางกอกใหญ่ในรูปแบบกระดาษ ผลงานจากการรวมตัวกันระหว่างทีม ‘mor and farmer’ ที่มีสมาชิกคือ ‘ธาริต บรรเทิงจิตร’, ‘ภาสุร์ นิมมล’ และ ‘รินรดา ราชคีรี’ และทีม ‘Refield Lab’ อย่าง ‘นักรบ สายเทพ’, ‘อรกมล นิละนนท์’ และ ‘อัตนา วสุวัฒนะ’ ในนาม ‘CAN : Community Act Network’ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนที่สนใจเรื่องชุมชนและเมืองเอาไว้ด้วยกัน รวมคนและข้อมูลให้เดินเที่ยวดี “เราสนใจเรื่องของการทำข้อมูลและงานแผนที่กันอยู่แล้ว เลยคิดกันเล่นๆ ว่า แล้วถ้าข้อมูลที่เรามีสามารถแปลออกมาเป็นกระดาษให้คนมาใช้งานมันจะเวิร์กไหม เลยเลือกย่านหนึ่งที่ไม่ใหญ่มากอย่างย่านบางกอกใหญ่มาทำ” นักรบ หนึ่งในสมาชิกผู้จัดทำ mapmap GO! บอกกับเรา นอกจากนี้ อีกหนึ่งเหตุผลที่ลงเอยที่ย่านบางกอกใหญ่คือ ย่านนี้มีกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนอย่าง ‘ยังธน’ และ […]
นิสัยช่างสังเกตและความชอบในการเดินเมือง ทำให้ ‘ปิ๊ก-ชาคริยา เนียมสมบุญ’ บัณฑิตจากสาขาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ ได้ไปเดินยังจุดต่างๆ ของเมือง และพบความสนใจในการสร้างเครื่องเคลือบดินเผาจากไอเดียที่พบเห็นสิ่งของข้างทาง จนทำให้เกิดเป็นงานธีสิสชิ้นนี้ขึ้นมา ‘จุดนำสายตา’ เป็นคำนิยามที่ปิ๊กรู้สึกต่อตะกร้าผลไม้ ยางรถยนต์ แกลลอน หรือข้าวของที่วางอยู่ระเกะระกะ ควบคู่ไปกับความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ที่มักหยิบจับสิ่งของที่ดูไม่เข้ากันมาประกอบเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนแค่ไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตคนไทย ที่เมื่อปัญหาบางอย่างไม่สามารถแก้ไขอย่างถาวรได้ คนไทยก็มักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยไอเดียการประยุกต์ใช้สิ่งของบางอย่าง เช่น ถ้าไม่อยากให้ใครมาจอดรถหน้าบ้าน ก็เอาแกลลอนหรือสิ่งของมาประกอบกันแล้ววางขวางพื้นที่ไว้ รวมถึงสิ่งของบางอย่างที่อาจใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว อย่างตะกร้าพลาสติกที่แตกบริเวณฐาน พ่อค้าแม่ค้าก็ดัดแปลงด้วยการนำมาตั้งเรียงกันเป็นโต๊ะ เพื่อไม่ให้ตะกร้าเหล่านั้นกลายเป็นขยะพลาสติกเสียเปล่าไปเฉยๆ จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากการไปเดินย่านทรงวาดของปิ๊ก และพบเข้ากับเสาไฟที่มีแกลลอนขวดนมตั้งอยู่ตรงฐาน แต่เมื่อมองเข้าไปข้างในขวดนมจะพบปลั๊กพ่วงซ่อนอยู่ ซึ่งตัวปิ๊กเองคาดเดาว่าอาจจะใช้เพื่อกันน้ำฝน หรือป้องกันไม่ให้ใครเห็น เพราะถ้าจะต่อปลั๊กจากไฟเหล่านี้ต้องมีการขออนุญาตก่อน เสาไฟและขวดนมที่ทรงวาดจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปิ๊กอัปสกิลการสังเกตของตนเองและค่อยๆ พัฒนามาเป็น ‘The junk, the gems’ ธีสิสที่บอกเล่าตามชื่อด้วยเรื่องราวของสิ่งของข้างทางที่เป็นขยะ แต่ถูกนำมาดัดแปลงจนเห็นถึง Gems ที่แทรกอยู่ในขยะเหล่านั้น โดยจุดสำคัญของผลงานชุดนี้คือ การนำเสนอไอเดียและการแก้ปัญหาของคนเมือง พร้อมสอดแทรกความเป็นตัวปิ๊กลงไป ด้วยความตั้งใจที่ไม่อยากเพียงแค่คัดลอกไอเดียที่เห็น แต่อยากจินตนาการเสียมากกว่าว่า ถ้าเธอเป็นคนทำงานชิ้นนี้ออกมา แต่ละงานจะออกมาหน้าตาแบบใด ปิ๊กเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟังว่า นอกจากย่านทรงวาดที่ทำให้ได้เจอกับเสาไฟที่จุดประกายไอเดียแล้ว […]
ไม่ต้องรอให้ถึงวันเด็กอีกรอบก็พาเด็กๆ ไปสนุกได้ที่งาน Bangkok Design Week 2025 กับ ‘มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม’ ตอน รองเมือง พร้อมบวก เพื่อให้ทุกการบวกคือพลังที่สร้างการเปลี่ยนแปลง งานนี้นับว่าเป็นพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนเมือง ซึ่งชักชวนเด็กและเยาวชนในย่านหัวลำโพง ทั้งชุมชนวัดดวงแข ชุมชนตรอกสลักหิน ชุมชนแฟลตรถไฟ และชุมชนจรัสเมือง มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อีกทั้งยังเป็นจุดพักผ่อนกายใจ พื้นที่เล่น และพื้นที่ปลอดภัยของเด็กๆ อีกด้วย ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการพร้อมบวก กิจกรรมเวิร์กช็อป เวทีเสวนา การแสดงของเด็กๆ ร้านอาหารจากชุมชน และ Loose Part Play โซนเล่นอิสระกับกิจกรรมที่จะชวนให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกกันอย่างปลอดภัย พร้อมกับเสริมพัฒนาการเต็มวัยให้กับเด็กน้อยทุกคนที่มาร่วมสนุก รองเมืองเรืองยิ้ม จัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 วันเดียวเท่านั้น ตั้งแต่เวลา 16.30 – 20.00 น. ณ บริเวณถนนรองเมือง (ติดกำแพงรถไฟหัวลำโพง) ติดตามข้อมูลและกิจกรรมภายในงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : […]