สองมือจับคุกกี้แป้งกรอบทรงพระจันทร์เสี้ยว และหลับตาอธิษฐานพร “ขอให้ชีวิตดีขึ้นสักทีเถิดดดดด”
3 2 1 ให้คุกกี้ทำนายกัน
เป๊าะ!
หรี่ตาดูคุกกี้ที่หัก อ่านข้อความบนกระดาษซึ่งซ่อนอยู่ตรงกลาง “อนาคตอันใกล้จะเจอสิ่งดีๆ” เอาว่ะ ใจมา คุกกี้เสี่ยงทายทำนายว่า ‘ใกล้’ แสดงว่าอีกไม่นานต้องดีขึ้นแน่นอน
การขอให้ชีวิตดีขึ้น แทบเป็นคำอธิษฐานของเหล่าสายมู (เตลู) ที่แมสแซงทุกแรงก์ จะดีขึ้นด้านความรัก คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ หรือหน้าที่การงาน ก็ล้วนอยากให้ดีขึ้นทั้งนั้น ‘แคน-นายิกา ศรีเนียน’ หญิงสาวรุ่นราวคราวเดียวกับผู้เขียนก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะเธอเป็นสายมู ชอบดูดวง และมีงานอดิเรกคือการเสี่ยงเซียมซี
แต่มีอยู่หนึ่งเรื่องที่เธอคนนี้ไม่เคยขอพร นั่นคือเส้นทางชีวิตตลอด 23 ปี ที่ขอกำหนดโชคชะตาเองสักตั้ง ตั้งแต่ฝันอยากเป็นสัตวแพทย์ เข้ามหาวิทยาลัยทำค่ายช่วยเหลือเด็กที่ไม่มีโอกาส สมัครวงไอดอลเพราะอยากทำ CSR (กิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม) และ ‘สมาชิกพรรคการเมือง’ บทบาทล่าสุดที่เลือกเอง ทำเอง ไม่ได้มาจากพ่อ ไม่ได้มาจากพร ไม่ได้เสี่ยงทาย แต่มาจากความตั้งใจที่อยากเห็นประเทศไทยพัฒนา และผู้คนมีคุณภาพชีวิตเท่าเทียมในอนาคตอัน ‘ใกล้’ จริงๆ
01 ถนนสาย Public Figure ของกระป๋องสองใบ
2 ป๋อง มาจาก แคนแคน (Can = กระป๋อง)
แคนแคน มาจาก แคน
แต่ไม่ว่าชื่อเรียกไหนที่แฟนคลับหรือคนรอบข้างเรียก ‘แคน นายิกา’ ก็ยังมีคนเดียว และรับบทบุคคลสาธารณะมาตั้งแต่ปีแรกในรั้วมหาวิทยาลัย เพราะอยากใช้สปอตไลต์ที่ส่องมายังตัวเธอ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกที่กำลังลำบากจากการที่แสงส่องไม่ถึง
เดิมที สัตว์ตัวน้อย ตัวใหญ่ คือเพื่อนร่วมโลกแรกที่แคนอยากดูแล ช่วงประถมฯ ถึงมัธยมฯ แคนจึงฝันอยากเป็นสัตวแพทย์มาโดยตลอด เพราะมีคุณอาแท้ๆ เป็นอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ ช่วยสอนเนื้อหาคร่าวๆ หรือบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาชีพให้ฟัง รู้ตัวอีกทีโรลโมเดลคนนี้ก็ทำให้หลานสาวอย่างแคนฝันอยากโตมาเป็นสัตวแพทย์นานถึง 10 ปี
ทว่าภาพดูแลเจ้าสัตว์ร้องโฮ่งๆ เมี้ยวๆ หรือมอๆ ที่แคนตั้งใจเรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ฮอกไกโดหรือสกอตแลนด์ ค่อยๆ เลือนราง เนื่องจากการเข้ามาของระบบการสอบ IGCSE หรือการสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งแคนในฐานะเด็กอินเตอร์สอบผ่าน คุณพ่อกับคุณแม่จึงแนะให้เธอเข้ามหาวิทยาลัยในไทย เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรียนต่อระดับมอปลาย แต่คณะสัตวแพทย์รูปแบบอินเตอร์ในไทยนั้นไม่ค่อยมี เธอจึงเบนเข็มเลือกเรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล และผันตัวมาสนใจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแทน
“พอเราเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งรู้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมันใกล้ตัว เช่น ประเทศไทยมีคลองเยอะมาก ถ้าอนุรักษ์ดีๆ คลองบ้านเราอาจไปไกลถึงคลองในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ที่เป็นคมนาคมสำคัญของเมือง แต่ปัจจุบันคนไทยยังต้องปิดจมูกเวลาเดินผ่านคลอง เพราะกลิ่นเหม็น น้ำดำ และเน่าเสียอยู่เลย”
ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาเดียวที่แคนรู้สึกเอะใจกับประเทศที่ยืนอยู่ แต่คำว่า ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ที่เธอบอกว่าอาจฟังดูคลีเช เพราะเป็นคำที่ถูกยกมาพูดกันบ่อยครั้ง กลับแทรกซึมสังคมไทยตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุว่าทำไมความเหลื่อมล้ำถึงยังถูกพูด และยังต้องพูดอยู่
“ตอนอายุสิบสี่ปี เราตามพ่อ (ภูวกร ศรีเนียน อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขต 1 พะเยา) ไปลงพื้นที่ละแวกแฟลตดินแดง เราเห็นบ้าน เห็นคน เห็นชีวิตที่อาศัยอยู่ตามซอกตึก ไม่มีรั้ว ไม่มีประตู ซึ่งครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ตั้งคำถามกับสังคมว่า ทำไมเขาถึงมีชีวิตแบบนี้ ทั้งๆ ที่บ้านเขาห่างจากบ้านเราไม่เท่าไหร่เอง
“เข้ามหาวิทยาลัย เราถูกเรียกว่า ‘เด็กค่าย’ เพราะเป็นทั้งกรรมการรุ่น พยาบาลรุ่น จัดค่ายรับน้อง ออกค่ายอาสาต่างจังหวัดที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งการที่เราทำเยอะๆ เจอคนเยอะๆ ทำให้รู้ว่าชีวิตการเติบโตของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน เช่น ตอนไปทำค่ายที่โรงเรียนต่างจังหวัด เราพบว่าบางโรงเรียนมีครูแค่สองคน แต่เขาต้องสอนกันหกถึงเจ็ดวิชา เราจึงเข้าไปสอนภาษาอังกฤษอาทิตย์ละครั้งตลอดเทอม
“เด็กๆ ที่นั่นหากทำรองเท้าหาย ก็ไม่มีรองเท้ามาเรียนอีกในวันรุ่งขึ้น ถ้าวันนั้นเราไม่เตรียมรองเท้าไปให้พอดี พวกเขาก็ไม่มี หรือการที่โรงเรียนไม่มีกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กคลายเครียดเลยก็น่าเป็นห่วง เราจึงเข้าไปจัดกีฬาสีให้ พอเห็นพวกเขามีความสุขเราก็ดีใจ แต่ก็รู้สึกไม่ปกติกับการจัดการของหน่วยงานไทยไปด้วย”
บางคนไม่มีแม้แต่โอกาสและโชคหล่นทับเพื่อเข้าถึงการศึกษา บ้านหลังแข็งแรง อาหารครบ 5 หมู่ หรือคุณภาพชีวิตที่ไม่ต้องรอของบริจาค ภาพสะท้อนเหล่านี้คือเหตุผลชั้นดีว่าทำไมแคนถึงอยากเป็นบุคคลสาธารณะเพื่อช่วยเหลือพวกเขา
02 อดีตไอดอลที่ใช้งานจับมือเป็นเวทีให้กำลังใจคน
“อ้าว แล้วทำไมก่อนหน้านี้ถึงเป็นไอดอล ทั้งๆ ที่ดูคอนทราสต์กับสิ่งที่ตั้งใจ” คำถามจากความสงสัยของผู้เขียนถูกแทนที่ด้วยการพยักหน้าตามหลายหนกับสิ่งที่แคนตอบ
แคนเล่าว่า เธอบังเอิญได้ดูการ์ตูนแอนิเมชันเรื่องหนึ่งจาก AKB48 วงไอดอลหญิงประเทศญี่ปุ่น โดยเรื่องราวในการ์ตูนแฝงการสร้างแรงบันดาลใจซึ่งจุดประกายให้เธออยากเป็นไอดอล เรื่องย่อคร่าวๆ คือการเล่าคอนเซปต์ ‘ไอดอลที่คุณสามารถพบเจอได้’ ของวงผ่านฉากโลกอนาคตที่สมาชิกแต่ละคนสามารถเดินข้ามดวงดาวได้ ทว่าดาวบางดวงในจักรวาลกลับถูกห้ามจัดการแสดงดนตรีและงานรื่นรมย์ท่ามกลางเศรษฐกิจย่ำแย่ สาวๆ AKB48 เห็นท่าไม่ดี เลยอาสาแอบไปเล่นคอนเสิร์ตเพื่อให้กำลังใจผู้คน จนที่นี่กลับมามีสีสันอีกครั้ง และเป็นพลังให้ก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ได้
“แวบแรกในหัวเราคือ เฮ้ย วงนี้มีอะไร มีการแฝง CSR (Corporate Social Responsibility) หรือความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจ เราที่เป็นเด็กสาย CSR ก็เลยลองสมัครไอดอลวงหนึ่งไป แต่สุดท้ายพอเข้าไปอยู่จริงๆ กิจกรรม CSR มีนานๆ ครั้ง กลายเป็นไม่ตรงกับความตั้งใจเท่าไหร่”
เหนื่อย กับ เหนื่อยมาก 2 นิยามชีวิตโดยรวมในช่วงเป็นไอดอลของแคน เธอหัวเราะกับ 2 คำที่พูดไป ก่อนบอกว่า ลูปชีวิตประจำวันคือเลิกเรียน 4 โมง กระโดดขึ้นรถกับรุ่นพี่ในวงที่เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน เพราะถ้าขึ้นรถไม่ทัน 4 โมงครึ่ง การจราจรติดขัดบนถนนจะทำให้เธอไปไม่ทันซ้อมตอน 6 โมง ช่วงเวลาการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในมหาวิทยาลัยของแคนจึงหายไปอย่างสิ้นเชิง
กิจกรรมของเธอคือการอยู่กับสมาชิกในวงและฝึกซ้อม วนแบบนี้ไปทุกวัน แถมพ่วงด้วยกรอบ กฎ ระเบียบ (เยอะมาก) ที่แฟนคลับมองเข้ามายังรู้สึกว่าต้องอยู่ในกรอบตลอดเวลา มีเพียงอย่างเดียวที่เธอรู้สึกว่าเป็น Magic Hour ในฐานะไอดอล คืองานจับมือ ที่ได้พูดคุยกับแฟนคลับนับร้อย
“ถึงงานจับมือจะได้เจอแฟนคลับแต่ละคน คนละไม่กี่วินาที แต่พลังงานที่ใช้ไปกับการฟังเรื่องของคนตรงหน้าที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เด็กประถมฯ ผู้พิการ คนที่มีปัญหาทางใจ คนที่มาเล่าว่าเขาเจออะไรมาบ้าง ทำให้เรารู้สึกดีมากที่เขาไว้ใจเราจนต้องถามว่า ทำไมถึงมาหาเรา ในเมื่อก็รู้อยู่ว่าตอนนั้นมีข่าวมากมายที่ชี้ว่าเราไม่ได้อยู่ในกรอบ เขาตอบเราว่าชอบทัศนคติ ที่ตามอ่านจากบทสัมภาษณ์”
มุมจากคนนอกมองว่างานจับมือผ่านๆ เป็นงานที่ให้ภาพลักษณ์เพียงชายหนุ่มมาจับมือหญิงสาว แต่แคนกลับบอกว่าเบื้องหลังคือการให้กำลังใจกันและกันที่ไอดอลจะมอบให้แฟนคลับที่คอยสนับสนุนได้
เมื่อเธอเริ่มมองว่า การแสดง ร้อง เต้น เป็นแค่งานอดิเรก บทบาทไอดอลที่แคนเลือกเลยไม่เป็นตัวเธออีกต่อไป การช่วยเหลือสังคมก็แทบจะไม่เยอะเท่าตอนเป็นนักศึกษาธรรมดา และแล้วเธอก็จบการศึกษาในฐานะไอดอล และไม่กี่ปีถัดมา เธอเปิดการศึกษาใหม่ในภาคเรียนปฏิบัติที่ได้ลงมือช่วยเหลือ รับฟัง และแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของคนได้มากขึ้นในฐานะ ‘สมาชิกพรรคการเมือง’
03 นายิกาและการเมือง
นายิกา แปลความหมายได้ว่า นายกฯ หญิง แต่แคนกลับไม่อยากเป็นนายกฯ แค่อยากเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่ได้โฟกัสการทำงานอย่างสุดความสามารถในแต่ละภาคส่วนย่อย ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่จะทำให้ประเทศแข็งแรงได้
แคนไม่ได้เดินเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองโดยไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย แต่เรื่องราวของเธอที่ผู้เขียนเล่ามาก่อนหน้า คงทำให้ผู้อ่านเห็นแววนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีใจอยากพัฒนาประเทศอยู่บ้าง คนด้านนอกอาจมองว่าคุณพ่อนักการเมืองของเธอเป็นคนปูพรมให้เธอเดินในเส้นทางนักการเมือง แต่แคนค้านสุดใจ เพราะเธอเลือกจะทำมันเอง
ทั้งตามพ่อไปสัมภาษณ์ครอบครัวที่โดนคดีทางการเมือง หรือไปช่วยพ่อจัดค่ายให้เด็กที่สูญเสียผู้ปกครองไปกับคดีทางการเมือง
มีเพียงสิ่งเดียวที่เธอยอมรับตรงๆ ว่าให้คุณพ่อช่วยคือปัญหาจำชื่อคนไม่ได้! แคนพูดปนขำว่าเธอจำชื่อผู้ใหญ่ในแวดวงการเมืองที่เธอเกิดไม่ทัน คนไหนเคยเป็น ส.ส. คนนั้นรับหน้าที่บริหารอะไร คุณพ่อจะช่วยเล่าประวัติความเป็นมาเพื่อหนุนสิ่งที่เธอถาม
เธอเห็นการทำงาน เธอเห็นมุมมองประเทศที่ไม่มีในโทรทัศน์ เธอเห็นจนอยากทำอะไรสักอย่าง
“ช่วงที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล) เราใส่หูฟัง เปิดดูพร้อมคิด วิเคราะห์ และทำความเข้าใจเหมือนดูหนังยาวสักเรื่อง สิ่งที่เรารู้สึกคืองงว่าทำไมคนเหล่านั้นถึงบริหารประเทศแบบนี้ แก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ ก็เลยคิดว่า เออ งั้นเราเข้าไปบริหารดีไหมนะ”
บันไดขั้นแรกที่แคนขึ้น คือการเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต เธอบอกว่าปัญหาการทำงานของภาครัฐที่ชวนหงุดหงิดคือการประสานงานและการโยนงานไปมา ไร้เจ้าภาพตัดสินใจ
“ถ้าแคนอยากพัฒนางานในคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ ไม่มีใครมาบอกว่าคุณจะต้องไปเบิกเงินมาพัฒนาจากสำนักไหน หรือกระทรวงไหน เราต้องลิสต์ออกมาหมดเลย ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
“สรุปพอเราเรียกมาคุย ไม่มีใครหนักแน่นที่จะรับหน้าที่รับผิดชอบตรงนี้ โยนกันไป โยนกันมา เหมือนไม่อยากรับหน้าที่พัฒนา ไม่มีใครลุกขึ้นมาบอกว่าเรามาช่วยกันเปลี่ยนสิ่งนี้กันสักคน”
ทอล์กโชว์ “ฉุกคิด ชีวิตเปลี่ยน
บันไดขั้นแรกที่แคนขึ้น คือการเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต เธอบอกว่าปัญหาการทำงานของภาครัฐที่ชวนหงุดหงิดคือการประสานงานและการโยนงานไปมา ไร้เจ้าภาพตัดสินใจ
“ถ้าแคนอยากพัฒนางานในคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ ไม่มีใครมาบอกว่าคุณจะต้องไปเบิกเงินมาพัฒนาจากสำนักไหน หรือกระทรวงไหน เราต้องลิสต์ออกมาหมดเลย ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
“สรุปพอเราเรียกมาคุย ไม่มีใครหนักแน่นที่จะรับหน้าที่รับผิดชอบตรงนี้ โยนกันไป โยนกันมา เหมือนไม่อยากรับหน้าที่พัฒนา ไม่มีใครลุกขึ้นมาบอกว่าเรามาช่วยกันเปลี่ยนสิ่งนี้กันสักคน”
ทอล์กโชว์ “ฉุกคิด ชีวิตเปลี่ยน” โดยกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เป็นงานที่แคนได้รับเชิญขึ้นพูดประเด็นโซเชียลมีเดีย เพื่อให้คนในสังคมฉุกคิดเรื่องกระแสสังคมผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้เธอได้พบกับ นพ.เฉลิมชัย กุลาเลิศ หรือ หมอออย ที่เตรียมขึ้นพูดเรื่องโฆษณาทางสุขภาพในโลกออนไลน์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
เธอและหมอออยจึงสนิทกันไวจากการเวิร์กช็อป ได้ฝึกพูด แลกเปลี่ยนประเด็นการเมือง และเหตุผลที่อยากเปลี่ยนแปลงประเทศ คุยไปคุยมา เอ้า! คนบ้านเดียวกัน งั้นไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเขตเดียวกันซะเลย
เธอเริ่มติวเข้มกับรุ่นพี่เขตอื่นๆ ด้วยการลงพื้นที่ไปดูวิธีการทำงาน จินตนาการว่าภาพนักการเมืองที่ชาวบ้านต้องการเป็นอย่างไร และตัวเธอคิดว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นในฐานะสมาชิกพรรคก้าวไกล เขตบึงกุ่ม-คันนายาว ตำแหน่งล่าสุดของแคน
โดยกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เป็นงานที่แคนได้รับเชิญขึ้นพูดประเด็นโซเชียลมีเดีย เพื่อให้คนในสังคมฉุกคิดเรื่องกระแสสังคมผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้เธอได้พบกับ นพ.เฉลิมชัย กุลาเลิศ หรือ หมอออย ที่เตรียมขึ้นพูดเรื่องโฆษณาทางสุขภาพในโลกออนไลน์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
เธอและหมอออยจึงสนิทกันไวจากการเวิร์กช็อป ได้ฝึกพูด แลกเปลี่ยนประเด็นการเมือง และเหตุผลที่อยากเปลี่ยนแปลงประเทศ คุยไปคุยมา เอ้า! คนบ้านเดียวกัน งั้นไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเขตเดียวกันซะเลย
เธอเริ่มติวเข้มกับรุ่นพี่เขตอื่นๆ ด้วยการลงพื้นที่ไปดูวิธีการทำงาน จินตนาการว่าภาพนักการเมืองที่ชาวบ้านต้องการเป็นอย่างไร และตัวเธอคิดว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นในฐานะสมาชิกพรรคก้าวไกล เขตบึงกุ่ม-คันนายาว ตำแหน่งล่าสุดของแคน
การทำงานของแคนคือการวางแผนร่วมกับหมอออยและทีมงานอีก 5 คน ภายใต้แนวคิด “โตไปพร้อมชุมชน” ในการลงพื้นที่ เธอบอกว่าไม่สามารถทำคนเดียวได้ เพราะปัญหาความทุกข์ร้อนมีเยอะ ต้องช่วยกันเค้นปัญหาว่าแต่ละชุมชนมีปัญหาอะไร แล้วค่อยหาวิธีแก้ปัญหาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“คนในชุมชนไม่เข้าถึงการประชาสัมพันธ์ของรัฐ พวกเขาไม่รู้สิทธิของตัวเอง ไม่รู้ว่าถ้าถนนมีปัญหาหรือท่อมีปัญหา สามารถเขียนร้องเรียนได้ทันที แต่เขาทำกันไม่เป็น ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้บ้าง เขากลัวผู้มีอิทธิพล เขารู้สึกว่าพลังของเขามันเล็กนิดเดียว
“ปัญหาน้ำเน่าเสียในลำคลองก็แก้ไขไม่ได้สักที มันเกิดจากคนบริหารเอาเงินไปทุ่มกับคลองแสนแสบหนักๆ แต่หลงลืมต้นคลองและคลองเล็กๆ ของแต่ละชุมชน เหมือนแก้แค่ปลายน้ำ แต่ต้นน้ำเสีย มันก็วนกลับมาที่เดิม ปัญหาก็แช่แข็งอยู่แบบนั้น” แคนว่า
หมอออย พาร์ตเนอร์ร่วมอุดมการณ์ของแคน เสริมขึ้นถึงปัญหาด้านสาธารณสุขว่า ชาวบ้านติดปัญหาแง่การเข้าถึง พวกเขามีสิทธิ์บัตรทองรักษาฟรีก็จริง แต่ค่ารถกว่าจะถึงโรงพยาบาลก็ปาไป 200 – 300 บาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ขาดโอกาสในการรักษา
อีกทั้งความเหลื่อมล้ำในระบบบัตรประกันสุขภาพที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น เพราะบางโรคไม่สามารถเบิกได้ เช่น ยามะเร็งเฉพาะทาง สิทธิ์ข้าราชการเบิกได้ แต่สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรคของประชาชนกลับเบิกไม่ได้
รวมไปถึงวิกฤตหน้ากากอนามัยแพงเกินกว่าเหตุ ที่หมอออยบอกว่า หากรัฐบาลจัดการได้ดีกว่านี้หน้ากากอนามัยจะไม่แพง ไม่มีการกักตุน ไม่มีการขายตลาดมืด และประชาชนจะเข้าถึงง่ายมากกว่านี้
อย่างกรณีประเทศไต้หวันที่ใช้ระบบไอทีจำกัดว่าแต่ละคนจะได้กี่ชิ้น ทำให้ประชาชนได้รับหน้ากากอนามัยครบถ้วน จนไต้หวันติดอันดับหนึ่งของโลกด้านการป้องกันโควิด
“พวกเราจะเป็นตัวประสานให้หน่วยงานราชการเข้ามาแก้ไข เพราะบางทีชาวบ้านร้องไป เสียงของเขาอาจจะไม่ดังพอ เราจึงอยากช่วยเป็นกระบอกเสียงให้มันดังจนหน่วยงานราชการได้ยิน เพราะหลายครั้งที่ชาวบ้านร้องเรื่องถนน ฟุตพาท ไฟฟ้า พอเป็นนักการเมืองไปกระตุ้นให้ เขาจะมาแก้ไขได้เร็วกว่า” หมอออยกล่าว
04 นักการเมืองชื่อนายิกา
นักการเมืองในอุดมคติของแคนต้องไม่ใช่คนที่รับปากไปวันๆ แต่ไม่ทำอะไรเลย หากรู้ว่าทำไม่ได้ ก็ควรทำอะไรสักอย่าง และแถลงเหตุผลให้กระจ่างต่อประชาชน
ทุกครั้งที่ลงพื้นที่ เธอจึงบอกข้อมูลข่าวสารเรื่องสิทธิที่ชาวบ้านควรรู้ และทำให้เห็นว่าชุมชนสามารถลุกขึ้นมาเรียกร้องและเสียงของพวกเขามีค่า รวมถึงคอยรับฟังทุกปัญหา บ้างก็พยายามแก้ไขให้เห็นเลย เช่น พาทีมไปซ่อมไฟ ซ่อมถนน ในกรณีเร่งด่วน เพื่อให้ชุมชนมั่นใจว่า แคนเข้ามาเป็นนักการเมืองด้วยความสามารถจริงๆ ไม่ใช่ดวง
“ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ถ้าเชื่อในอุดมการณ์เปลี่ยนแปลงประเทศ คุณก็เป็นนักการเมืองได้” แคนพูดพลางยกตัวอย่างกรณีอัยการสั่งฟ้อง 3 นักเรียนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อไม่นานนี้ว่า การนำ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาใช้คือการปิดปาก และบังคับว่าชีวิตเด็กๆ ต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ ห้ามคิดต่าง ห้ามคิดเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่เยาวชนหลายคนมีสิทธิ์ออกเสียง แถมมีแพสชันที่อยากให้ประเทศดีขึ้น
“เป็นกลางไม่มีจริง เป็นกลางคือคนที่ไม่สนใจปัญหา ถ้าสนใจเขาคงไม่พาตัวเองมาอยู่ตรงกลาง ซึ่งแคนดีใจที่เด็กๆ ยุคนี้ไม่เป็นแบบนั้น”
10 ปีข้างหน้าของแคน เธอคงเป็นใครสักคนที่มีตำแหน่งและบทบาทช่วยคนในประเทศ ทุกย่างก้าวก่อนออกไปทำงานเธอผลักตัวเองด้วยความตั้งใจที่อยากให้ทุกคนเชื่อมั่นและวางใจในตัวเธอว่าเธอทำได้
“ตอนเป็นไอดอลมันเหนื่อยใจ เพราะเราเป็นที่คาดหวังว่าต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ ซึ่งเราเลือกจะไม่บังคับตัวเองให้เป็นแบบที่เขาคาดหวัง แต่งานนี้มันเหนื่อยกาย พื้นที่มันใหญ่ เดินวันเดียวก็หมดแรง แต่ถามว่าท้อไหม ไม่ท้อ ในอนาคตก็อาจจะมีโอกาสเหนื่อยใจได้เหมือนกัน ถ้างั้นฝากผู้อ่านเป็นกำลังใจให้แคนด้วยนะ (ยิ้ม)”
เป้าหมายที่เหนียวแน่นกว่านามสกุลวงไอดอลที่เป็นภาพจำเก่าของแคน คือการช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก
วันนี้แคนเปลี่ยนโพซิชันจากรอให้คนเดินทางมาหา เพราะอยากคุยด้วยในงานจับมือ เป็นการลงชุมชน เดินเข้าไปหาผู้คนด้วยรอยยิ้ม รับฟังปัญหาตรงหน้าว่าโลกใบใหญ่นี้เกิดอะไรขึ้น และผลักดันการแก้ไขปัญหา เพื่ออนาคตประเทศดีๆ ที่ไม่ต้องพึ่งดวง โชค หรือคุกกี้เสี่ยงทาย