Writer
benz
Social Addict ที่สนใจสไตล์จากตัวตนมากกว่าแฟชั่นตามกระแส อินสไปเรชั่นส่วนใหญ่ได้จากหนัง เพลง และงานศิลปะ ชอบชีวิตในเมืองพอๆกับเที่ยวธรรมชาติ
อีกหนึ่งปัญหาของลูกหลานชาวพุทธที่ติดสอยห้อยตามที่บ้านไปทำบุญที่วัดทุกวันสำคัญทางศาสนาคือ การไม่รู้จะเอาตัวเองไปแปะไว้ตรงไหนของวัดดี เพราะไม่ว่าจะไปบริเวณใดก็รู้สึกเกร็งๆ เหมือนไม่ใช่ที่ของเรา คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่ภายในวัดให้เฟรนด์ลีและโอบรับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพื่อทำให้การไปวัดของศาสนิกชนไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต้องไปไหว้พระหรือทำสังฆทาน แต่เป็นการที่เราได้ใช้เวลาภายในวัดอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกแปลกแยก แบ่งโซนพื้นที่นั่งรอออกจากพื้นที่ทำบุญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกทำอะไรไม่ถูกเวลาไปวัดคือ การต้องเจอพระพุทธรูปวางเรียงรายและพระประจำวัด โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้ว่าควรไหว้ นั่งนิ่งๆ หลบตา หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นอย่างเล่นโทรศัพท์ อ่านการ์ตูนไปด้วยได้หรือเปล่า การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำบุญออกมาเป็นจุดนั่งรอที่เหมาะสม โดยมีพระประธานเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่าการเข้าวัดไม่ใช่เรื่องยากเท่าเดิม เพราะหลังจากไหว้พระเสร็จก็ขอปลีกตัวไปทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจในอีกพื้นที่หนึ่ง คาเฟ่เล็กๆ สำหรับนั่งรอและเติมพลัง การนั่งรอเฉยๆ ทำให้เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า การมีคาเฟ่คอยให้บริการเครื่องดื่มและของหวานเล็กๆ น้อยๆ ให้พอชุบชูใจ น่าจะทำให้เวลาผ่านไปไวขึ้นอีกหน่อย บริการปลั๊กและ Wi-Fi สำหรับทำงาน ต่อให้ไปวัดวันหยุด แต่ใช่ว่าหนุ่มสาววัยทำงานจะไม่ต้องทำงานสักหน่อย ทว่าปัญหาของการเปลี่ยนจาก Work from Home มาเป็น Work from Temple คือ การไม่มีพื้นที่ทำงานที่มีปลั๊กและ Wi-Fi ให้ใช้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดเพราะต้องใช้ไฟวัด จะดีกว่าไหมถ้าเราบริจาคเงินให้วัดเพื่อแลกกับการใช้ไฟฟ้าและ Wi-Fi ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากจะได้ทำงานแล้วยังไม่รู้สึกผิดด้วย เข้าคลาสทำกิจกรรม ไหนๆ […]
ปกติแล้วหอศิลปกรุงเทพฯ จะจัดนิทรรศการ โครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ (Early Years Project : EYP) เป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้มาในแนวคิด ‘Be Your Own Island-ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน’ หลังจากที่ไปเดินดูมา งานที่จัดแสดงล้วนมีคอนเซปต์ที่สะท้อนสังคม และนำเสนอผลงานได้สวยงาม ตั้งแต่ประเด็นสิ่งแวดล้อม เพศ ข่าวสารข้อมูล ไปจนถึงเรื่องปมวัยเด็ก แต่หนึ่งงานที่เราในฐานะคนทำงานเมืองสะดุดตาสุดๆ คือ โปรเจกต์ Unexpected Growth ของ ‘อภิสรา ห่อไพศาล’ ตั้งแต่โครงสร้างอิฐที่เรียงราย ดูเป็นสิ่งที่ถ้าเดินลัดเลาะตามตรอกซอกซอยของเมืองจะพบเห็นได้เป็นปกติ ก่อนจะสังเกตเห็นต้นหญ้าเล็กๆ แซมอยู่ และถ้าไปสังเกตแผ่นที่มีลวดลายคล้ายเชื้อราแบคทีเรียใกล้ๆ จะพบว่า จริงๆ แล้วมันคือใบหรือชิ้นส่วนของวัชพืช และได้รู้ในเวลาต่อมาว่าแผ่นๆ ที่เห็นคือกระดาษที่ทำจากวัชพืชในเมืองที่ศิลปินเก็บมาทดลองทำกระดาษกับผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตกระดาษ มากไปกว่านั้น ตรงแท่นอิฐที่ก่อตัวสูงยังมีซีนหรือหนังสือทำมือของศิลปินแนบอยู่ พอหยิบมาเปิดอ่านเนื้อหาข้างในก็จะเห็นการนำเสนอภาพในขั้นตอนระหว่างทำงานโปรเจกต์นี้ รวมไปถึงการจัดเรียงข้อมูลเพื่อนำเสนอกระบวนการเก็บรวบรวมแพตเทิร์นของวัชพืชที่ขึ้นในเมือง และสังเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นอินโฟกราฟิก อ่านเข้าใจง่าย “โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากความพยายามทำความเข้าใจและตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับความรู้สึกภายในที่ต้องการหลีกหนีหรือก้าวผ่านสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ทำให้เธอเริ่มต้นสำรวจเมืองที่อาศัยอยู่ เป็นเมืองที่ให้ความรู้สึกแห้งแล้งและแข็งกระด้าง “ระหว่างการสำรวจ ศิลปินได้พบเจอมุมมองของนักสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเมือง ทำให้มองเห็นสิ่งที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน เช่น พืชขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นอย่างลิเวอร์เวิร์ต เสียงของสัตว์หลากชนิดที่สามารถจำแนกเสียงได้ไม่ซ้ำเมื่อยืนฟังใต้ร่มไม้ใหญ่ ความสัมพันธ์ของต้นแม่และต้นลูกที่กระจายพันธุ์ใกล้ๆ […]
อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]
ประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตันต่อปี ใช้ขวดพลาสติกเป็นหมื่นล้านขวด แล้วมันจะไปอยู่ที่ไหน คุยกับคุณเบียร์-กฤตวิทย์ เลาหธนาพร กรรมการบริหาร น้ำดื่มสปริงเคิล ผู้เรียนจบด้าน Product Design ที่นำเอาการออกแบบมาใช้แก้ปัญหาจนได้มาเป็นขวดน้ำดื่ม Sprinkle ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์.Urban Vision รายการใหม่จาก Urban Creature ที่จะชวนไปสำรวจวิสัยทัศน์จากผู้บริหารชั้นนำถึงภาพในอนาคต แผนการเตรียมพร้อมที่ยั่งยืนต่อสินค้าและบริการ ที่ไม่เพียงมอบความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค แต่ยังมอบอนาคตที่ดีต่อโลกด้วย