GREEN ROAD รับบริจาคถุงอาหารแมว เปลี่ยนขยะเป็นบล็อกแมวรักษ์โลก

‘บล็อกแมวรักษ์โลก’ ไอเดียรีไซเคิลขยะพลาสติกสุดน่ารัก ที่เปลี่ยนถุงอาหารแมวให้เป็นบล็อกปูพื้นจากโครงการ GREEN ROAD (กรีนโรด) ถุงอาหารแมวคือขยะพลาสติกประจำบ้านของทาสแมวที่ต้องจัดการทุกๆ เดือน ยิ่งบ้านไหนเลี้ยงแมวเยอะ ก็ยิ่งมีถุงอาหารเยอะตามไปด้วย การจะเอาถุงเหล่านี้ไปรียูสด้วยตัวเองคงไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายจึงมักจะทิ้งลงถังขยะไปเฉยๆ  โครงการ GREEN ROAD จึงเปิดรับบริจาคถุงอาหารแมว เพื่อทำบล็อกแมวรักษ์โลก หรือบล็อกที่ผลิตจากถุงอาหารแมวรีไซเคิล 100% โดยไม่ใช้ขยะพลาสติกประเภทอื่นผสมเลย เป็นขยะจากแมวและผลิตออกมาเพื่อทาสแมวโดยเฉพาะ ซึ่งบล็อกแมวรักษ์โลก 1 ตัว สามารถมากำจัดขยะพลาสติกได้ 4.4 กก. (ใช้ถุงอาหารแมว 44 ถุง) หากต้องการต่อให้ได้ 1 ตร.ม. จะต้องใช้ถุงอาหารแมวถึง 44 กก. ตอนนี้สามารถบริจาคได้เรื่อยๆ จนกว่าแมวจะหมดโลก! วิธีทำบล็อกแมวรักษ์โลก 1. ทางโครงการจะนำถุงอาหารแมวที่ได้รับบริจาคทั้งหมดมาบดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 2.5 ซม.  2. นำถุงที่ย่อยแล้วเทลงในเครื่องหลอมขยะพลาสติก (Extruder Machine) ที่อุณหภูมิ 200 – 220 ºC  3. เมื่อถุงพลาสติกหลอมละลายดีแล้ว […]

‘Name of the Will’ เกมจากความสิ้นหวังในฮ่องกง ที่หวังว่าสักวันประชาธิปไตยจะเบ่งบาน

‘Name of the Will’ โปรเจกต์สร้างเกมที่จำลองสถานการณ์การเมืองที่สิ้นหวังในฮ่องกง เพื่อชวนทบทวน โอบรับความรู้สึก และก้าวเดินต่อไป

เกมเมอร์ถูกใจสิ่งนี้! Netflix เปิดตัว 5 เกมลิขสิทธิ์แท้ สมาชิกเล่นฟรีบน Android

ข่าวดีสำหรับแฟน Netflix และคอเกมทั้งหลาย เพราะล่าสุด Netflix ได้เปิดตัว ‘Netflix Games’ หรือเกมลิขสิทธิ์แท้จาก Netflix อย่างเป็นทางการแล้ว โดยทางบริษัทได้ประเดิมเปิดตัว 5 เกมแรก ได้แก่ Stranger Things: 1984, Stranger Things 3: The Game, Shooting Hoops, Card Blast และ Teeter Up ทั้งหมดจะเป็นเกมสำหรับเล่นบนสมาร์ตโฟน แต่ตอนนี้เปิดให้เล่นเฉพาะมือถือ Android ก่อน ผู้ใช้ Android สามารถค้นหาชื่อเกมและเลือกดาวน์โหลดเกมได้ที่ Play Store แต่ผู้ใช้ต้องสมัครสมาชิกรายเดือนของ Netflix ก่อนจึงจะเล่นเกมได้ (ใครที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถเล่นฟรีได้เลย ไม่ต้องสมัครใหม่) สำหรับสมาร์ตโฟน iOS ยังไม่มีกำหนดว่าจะรองรับเกมเมื่อไหร่ แต่ทางบริษัทเปิดเผยว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้แน่นอน ผู้ใช้งาน iPhone และ iPad ต้องอดใจรอกันไปอีกหน่อย นอกจากนั้น […]

Tarket แพลตฟอร์มของมือสองที่จะทำให้การซื้อขายของใช้แล้วเป็นเรื่องสนุก

เมื่อปัญหาโลกร้อนกลายเป็นกระแสสังคมที่รังแต่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนทั่วโลกหรือกระทั่งในบ้านเราเองหันมาใส่ใจและร่วมกันรณรงค์ใช้ชีวิตอย่างนึกถึงโลกใบนี้กันมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่มาแรงมากๆ คือการลดการซื้อของใหม่แล้วใช้ของมือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ภาดา กาญจนภิญพงศ์ กับเพื่อนๆ จึงร่วมกันคิดแพลตฟอร์มส่งต่อของมือสองรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Tarket ซึ่งมีความแตกต่างจากแอปพลิเคชันขายของอื่นๆ ขึ้นมา ความพิเศษคือการเจาะกลุ่มผู้ใช้คนรุ่นใหม่ ทำให้มีการนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วัยรุ่นอย่างฟังก์ชันการปัดแบบแอปฯ เดตติ้ง ชอบ-ไม่ชอบชิ้นไหนก็ปัดใช่ปัดชอบได้ มากไปกว่านั้นตัวแพลตฟอร์มยังให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการแสดงข้อมูลต่างๆ อีกด้วย “ที่ผ่านมา เรายังไม่เคยเจอแพลตฟอร์มขายของมือสองไทยที่สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะ ก็เลยทำให้คิดว่านี่อาจเป็นอุปสรรคในการซื้อ-ขายของมือสองของคนรุ่นเราด้วยหรือเปล่า เราจึงสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาพร้อมกับจุดดึงดูดใหม่ๆ ที่ปกติคนไม่น่าจะเคยเห็นกันในตลาดขายของออนไลน์” ตัวอย่างฟีเจอร์ใน Tarket ที่ภาดากับทีมวางแผนดีไซน์ไว้ มีดังนี้ – ให้อิสระกับคนซื้อในการเสนอราคาที่ชอบ และให้โอกาสกับคนขายให้เลือกราคาที่ใช่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า – มี AI เช็กปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ของสินค้าชิ้นนั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นแต้มส่วนลดได้ รวมถึงนำเสนอข้อมูลว่าเราช่วยโลกได้ยังไงอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เสื้อที่คุณส่งต่อ ช่วยลดมลพิษเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 10 ต้น – มีความปลอดภัยสูง เพราะทุกคนต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้ นอกจากนี้ภาดายังเสริมถึงมิชชันระยะยาวของเขาอีกว่าต้องการที่จะเห็นคนรุ่นใหม่เปลี่ยนมายด์เซตเกี่ยวกับของมือสอง โดยหวังว่า Tarket จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างค่านิยมในการส่งต่อและใช้ของมือสองให้กลายเป็นเรื่องปกติ สนุก และไม่ว่าใครก็ทำได้เหมือนการซื้อของใหม่ […]

นักวิจัยทำฟอนต์ไทยประหยัดพลังงานลดใช้หมึกพิมพ์ 30%

โดยปกติแล้วหน่วยงานราชการในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ฟอนต์ TH Sarabun ทำงานเสมอมา แต่ติดตรงที่เจ้าฟอนต์ประเภทนี้น่ะเป็นฟอนต์ที่มีขนาดหนาไปสักหน่อย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการต้องใช้หมึกพรินต์ตัวหนังสือซะเยอะ ส่งผลให้ปีหนึ่งๆ บรรดาหน่วยงานต่างๆ ต้องทุ่มเทค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณไปกับการจัดซื้อหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารจำนวนมหาศาลกันเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เลยตัดสินใจจับมือกับ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช และทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. ด้วยโจทย์การแก้ไขปัญหาที่ว่า ทำยังไงให้เราลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ให้เหมือนเดิมที่สุดด้วยเหมือนกัน คราวนี้ก็เลยตกผลึก ผุดเป็นไอเดียการดีไซน์ชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน หรือที่เรียกกันว่า Thai Eco font ครั้งนี้ ทีมงานไม่ได้เอาฟอนต์พิสดารหรือแหวกแนวจากที่ไหนมาเป็นเรฟเฟอเรนซ์หรอก แต่เป็นการหยิบเอาสิ่งใกล้ตัวอย่าง TH Sarabun มาพัฒนาและต่อยอด ทำออกมาแล้วนำมาทดสอบว่าประหยัดหมึกพรินต์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งหลักการของไอเดียนี้ก็คือการลดขนาดพื้นที่ภายในแต่ละตัวอักษรลง และลดปริมาณ Black Pixel ให้มากด้วยวิธีการประมวลผลภาพถ่าย  เมื่อทำกันจริง ทีมวิจัยก็ค้นพบว่า Thai Eco font ให้ผลลัพธ์ด้วยการประหยัดหมึกพรินต์ได้จำนวนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และที่น่าสนใจมากคือตัวหนังสือยังคงชัดแจ๋วเหมือนเดิม แถมสังเกตเห็นการลดลงของขนาดไม่ได้ ที่ขนาดตัวอักษรสูงสุดถึง 18 pt ซะด้วย  […]

PriestmanGoode ออกแบบฟังก์ชันให้คนพิการนั่งบนรถเข็นตัวเองได้ตลอดเที่ยวบิน

PriestmanGoode บริษัทมัลติดีไซน์ประเทศอังกฤษที่มีชื่อด้านงานออกแบบและการปรึกษาด้านงานดีไซน์ต่างๆ ได้เปิดตัว Air 4 All ระบบที่นั่งบนเครื่องบินที่ทำให้ผู้ใช้งานรถเข็นแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้านั่งอยู่บนรถเข็นของตัวเองได้ตลอดการเดินทาง ด้วยกลไกที่นั่งบนเครื่องบินแบบใหม่ที่พับขึ้นและยึดติดกับวีลแชร์ได้ดี เพียงแค่เข้ารับการติดตั้งกลไกการยึดของบริษัท เจ้าเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ตัวนี้มีการพัฒนาร่วมกับแคมเปญ Flying Disabled และ SWS Certification บริษัทด้านความปลอดภัยของเครื่องบิน ซึ่งแนวคิดนี้ออกแบบมาสำหรับเที่ยวบินพาณิชย์ และกำลังถูกพัฒนาให้เป็นตัวต้นแบบที่สมบูรณ์ต่อไป  การออกแบบภายนอกของที่นั่งต่างๆ ยังคงดูเหมือนเก้าอี้ในสายการบินมาตรฐานทั่วโลก แต่ด้านล่างที่นั่งปกตินั้นแตกต่าง เพราะมันพลิกขึ้นเพื่อเก็บได้ เมื่อต้องการพื้นที่ว่างให้รถเข็นเสียบเข้ามา พร้อมด้วยรางช่วยจัดการตำแหน่งเก้าอี้ และระบบการยึดที่ยึดเข้าที่ได้อย่างแน่นหนา หากไม่มีวีลแชร์เข้ามา ที่นั่งเหล่านี้ก็ทำหน้าที่เหมือนเดิมได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และไม่ได้ลดทอนจำนวนการจุคนออกไปแม้แต่ที่เดียว PriestmanGoode ตั้งใจทำให้ระบบ Air 4 All เพื่อช่วยให้สายการบินต่างๆ รองรับผู้ใช้วีลแชร์ได้อย่างง่ายดาย และเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการเดินทางบนเครื่องบินที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย แถมยังแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน  Paul Priestman ประธานบริษัท PriestmanGoode กล่าวว่าอุปสรรคใหญ่ที่สุดในอดีตคือเมื่อมีผู้โดยสารนั่งรถเข็นขึ้นมา ก็จะทำให้จำนวนที่นั่งทั่วไปลดลง ซึ่งส่งผลให้สายการบินต้องสูญเสียรายได้ ไม่เพียงแค่ทำให้คนนั่งวีลแชร์และสายการบินหมดปัญหาด้านการจัดการที่นั่ง แต่ Air 4 All ยังอำนวยความสะดวกให้ PRM (ผู้โดยสารที่มีความคล่องตัวน้อย) ได้ขึ้นและลงจากเครื่องบินอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้สายการบินทำวีลแชร์ของผู้โดยสารเสียหาย วิสัยทัศน์ของ […]

Tardigrade ต้นแบบมอ’ไซค์นอกโลก เตรียมให้นักบินอวกาศบิดคันเร่ง สำรวจพื้นผิวบนดวงจันทร์

Tardigrade ต้นแบบมอ’ไซค์นอกโลก เตรียมให้นักบินอวกาศบิดคันเร่ง สำรวจพื้นผิวบนดวงจันทร์

บริการภาครัฐไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แอปฯ ‘ทางรัฐ’ มาพร้อมบริการเด่น ตอบโจทย์ประชาชนทุกช่วงวัย

เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในยุค New Normal ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงบริการของรัฐได้ง่ายขึ้น ตามความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการเข้าถึงบริการรัฐได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ในเวลาราชการเท่านั้น  สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงร่วมกับ สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดตัว แอปพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ เพื่อเป็นเสมือนทางลัดที่นำประชาชนไปสู่การบริการของภาครัฐได้ในแอปฯ เดียว โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่หน่วยงาน สำหรับแอปฯ ทางรัฐมีบริการครอบคลุมตอบโจทย์ทุกช่วงวัยได้ทั้งครอบครัว ตัวอย่างเช่น บริการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด สำหรับผู้เริ่มสร้างครอบครัวที่เพิ่งมีลูก บริการขอหนังสือรับรองผล O-NET สำหรับวัยเรียน สำหรับวัยทำงานจะเช็กข้อมูลเครดิตบูโร หรือจะตรวจสอบสิทธิประกันสังคม สิทธิรักษาพยาบาล หรือข้าราชการจะเช็กสิทธิ กบข. ก็ง่ายไม่กี่คลิก ส่วนวัยเกษียณก็เช็กเงินสะสมชราภาพได้ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังมีบริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เลือกใช้บริการและสามารถติดตามความคืบหน้าของบริการที่ได้ร้องขอไปแล้วได้ด้วย ส่วนการใช้บริการแอปฯ ‘ทางรัฐ’ นั้นง่ายมาก หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสำเร็จ สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องทำ มีเพียงพิสูจน์ยืนยันตัวตนสแกนบัตรประชาชนซึ่งจะมีการเชื่อมต่อข้อมูลไปยังกรมการปกครองเพื่อให้พิสูจน์และยืนยันตัวตนว่าเป็นบุคคลคนนั้นจริง เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าใช้บริการได้ทันที ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ ได้ทั้ง App Store และ Google Play ได้ที่ : https://czp.dga.or.th/cportal/sdk/landing/index.html […]

ญี่ปุ่นใช้ AR สอนเด็กประถม เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน

ถ้าอยากให้เด็กโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ก็ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เนิ่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีหลายโรงเรียนที่นำเรื่อง ‘ภัยพิบัติ’ เข้าไปอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างจริงจัง เพื่อให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) ได้เผยแพร่ภาพโรงเรียนประถมในญี่ปุ่นกำลังทำเวิร์กช็อปกับนักเรียน ในการเรียนรู้เรื่องน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในญี่ปุ่นหลังจากเกิดแผ่นดินไหว  โดยจะใช้แท็บเล็ตที่มีเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) จำลองภาพน้ำท่วมเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพเสมือนจริง ไม่ต่างจากการเล่นเกม Pokémon Go และประเมินความเสี่ยงได้ว่าหากเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันขึ้นจริงๆ ระดับน้ำจะท่วมสูงมากแค่ไหน และพวกเขาควรทำอย่างไรบ้างเมื่อเจอสถานการณ์นี้ ทำให้เด็กได้อยู่ในสถานการณ์จำลอง เรียนรู้การวางแผนเอาตัวรอด และที่สำคัญคือช่วยลดความตระหนกเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงในอนาคต ซึ่งเด็กนักเรียนอายุ 6 ปีที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปนี้ยังบอกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เพราะทำให้เขาเข้าใจเรื่องน้ำท่วมได้มากกว่าวิธีแบบอื่นๆ ผลงานการออกแบบ AR ชุดนี้เป็นของโทโมกิ อิตามิยะ (Tomoki Itamiya) ศาสตราจารย์ด้านการพัฒนาหลักสูตรประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทันตกรรมคานางาวะ เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้พัฒนา AR ในการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติมาแล้วหลายชิ้น เช่น น้ำท่วม สึนามิ […]

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

ญี่ปุ่นใช้โดรนขนส่งในพื้นที่ห่างไกล แก้ปัญหาขาดแคลนคนขับรถบรรทุกส่งของและคอยช่วยเหลือเวลาเกิดภัยพิบัติ

สำหรับพื้นที่ชนบทบางแห่ง การสั่งซื้อสินค้าทางอีคอมเมิร์ซต่างๆ นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอตัว ไหนจะต้องรอรอบขนส่ง ยิ่งถ้าเจอภัยพิบัติแล้วล่ะก็ กว่าจะถึงมือผู้รับก็คงไม่ทันใช้งาน ซึ่งญี่ปุ่นเองก็เจอปัญหานี้ในพื้นที่ห่างไกลหลายๆ แห่ง ประกอบกับขาดแคลนคนขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆ ยิ่งทวีคูณความล่าช้าเข้าไปอีกเท่าตัว Aeronext สตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือเรียกแบบง่ายๆ ก็คือ ‘โดรน’ นั่นแหละ ซึ่งหลังจากพวกเขาประสบความสำเร็จกับการใช้โดรนเดลิเวอรีข้าวหน้าเนื้อไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา กลับมาคราวนี้พวกเขามองไปถึงระบบขนส่งสินค้าว่าญี่ปุ่นกำลังเผชิญปัญหาทั้งเรื่อง ‘จำนวนคน’ และ ‘เวลา’ ทำให้เขาแท็กทีมกับพันธมิตรอย่าง ‘Seino Holdings’ บริษัทด้านโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมไปทั่วเอเชีย สร้าง ‘SkyHubTM’ ระบบขนส่งอัจฉริยะขึ้นมา โดยให้หมู่บ้านโคซุเกะ (Kosuge Village) ชุมชนขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาของจังหวัดยามานาชิเป็นสนามทดลองแห่งแรก เพราะเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรในหมู่บ้านจาก 700 คน เป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป อีกทั้งจำนวนประชากรที่มีน้อย ทำให้ร้านค้าน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้ชาวบ้านซื้ออาหาร ยารักษาโรค และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ได้ยากขึ้น หรือกรณีที่ต้องเจอสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น หิมะถล่มปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออก หมู่บ้านขนาดเล็ก-กลางในพื้นที่ห่างไกลก็อาจถูกลืมให้ความช่วยเหลือได้ ส่วนวิธีการทำงานของ SkyHubTM ก็ไม่ซับซ้อนวุ่นวาย เพียงแค่ลูกค้ากดสั่งซื้อของ ร้านค้าจะรับออเดอร์และถูกรวบรวมไปยังโกดังสินค้า และจัดส่งโดยรถมายังคลังพัสดุโดรน จากนั้นจะส่งสินค้าไปยังฮับอื่นๆ […]

1 6 7 8 9 10 20

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.