อีสานซิ่ง เมื่อคนอีสานใช้ศิลปะเล่าว่าบ้านเฮามีดี

วิถีชีวิตอีสานไม่ได้เท่ากับความแร้นแค้นอีกต่อไป เมื่อคอมมูนิตี้และกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ กำลังผุดขึ้นมาในภูมิภาคเป็นดอกเห็ด ซึ่งให้ทั้งความรู้สึกม่วนอีหลี (สนุกจริงๆ) น่าสนใจ และยังมีตัวเลือกการเสพที่หลากหลาย  เห็นแล้วมันมีแฮง (ชื่นใจ) เพราะล่าสุดชุมชนคนอีสานรุ่นใหม่จับมือกับ TCDC จังหวัดขอนแก่น จัดงาน Isan Creative Festival 2021 อีสานโคตรซิ่ง เทศกาลสร้างสรรค์ของคนในภูมิภาคที่ปรุงรสงานเทศกาลจนออกมาแซ่บอีหลีเด้อ โดยเฉพาะ Weaving Factory หนึ่งในนิทรรศการหลัก ฝีมือกลุ่ม FOUNDISAN ที่ถ่ายทอดงานสิ่งทอและงานจักสานภูมิปัญญาชาวท้องถิ่น ผ่านมุมมองความรักในรูปแบบต่างๆ ของคนในชุมชนตัวเอง กลุ่ม FOUNDISAN ก่อตั้งปี 2560 มีสมาชิกตั้งต้นเป็นคนรุ่นใหม่ 3 คน ได้แก่ ‘อีฟ-ณัฐธิดา พะศักดิ์’ สาวอุบลฯ เจ้าของ Zao (ซาว) ร้านอาหารอีสานรสนัวที่ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล, ‘ตั้ว-พุฒิพงษ์ พิจิตร์’ ดีไซเนอร์มืออาชีพจากกรุงเทพฯ และ ‘พลัง-วรพัฒน์ ดวงศร’ ลูกศิษย์ของอีฟ ซึ่งทั้งสามคนได้ทำงานร่วมกับบรรดาแม่ๆ ผู้เชี่ยวชาญงานหัตถกรรมทั่วทั้งอีสาน ด้วยการผลักดันงานคราฟต์และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีคุณค่าสูง และไปต่อได้ไกลในแง่โอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ […]

เตียงว่างบอกด้วย BedMap-TH แพลตฟอร์มที่จะช่วย รายงานเตียงว่างแบบเรียลไทม์

จากยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ทะลุสองหมื่นคนต่อวัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาจากตัวเลขผู้ติดเชื้อคือ ปัญหาจำนวนเตียงรักษาของโรงพยาบาลและ Hospitel มีไม่เพียงพอ มากไปกว่านั้นการจะหาเตียงผู้ป่วยในช่วงเวลานี้เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เปรียบดั่งการงมเข็มในมหาสมุทร ที่ต้องคอยลุ้นว่าสถานพยาบาลไหนมีเตียงว่างสำหรับเราบ้าง หากเราและคนในครอบครัวติดเชื้อขึ้นมาสักวันหนึ่ง  จากปัญหาดังกล่าวจึงเกิด BedMap-TH แพลตฟอร์มจากความร่วมมือกันเองของภาคประชาชน ที่จะช่วยให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงข้อมูลสำคัญ อย่างจุดให้บริการรักษาเชื้อ COVID-19 ทั่วประเทศที่มีทีมแพทย์คอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด อาทิ สถานพยาบาล โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลทหาร ศูนย์พักคอย Hospitel พร้อมทั้งยังบอกจำนวนเตียงที่เหลือว่างอยู่ ณ ขณะนี้แบบเรียลไทม์ แพลตฟอร์มนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้ประชาชน วางแผนการจัดการรักษาตัวเอง รักษาคนในครอบครัวให้ทันท่วงที วางแผนการเดินทางไปยังสถานพยาบาลได้โดยไม่ต้องคอยชิงโชคว่าไปถึงแล้วจะมีเตียงว่างหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดต่อผู้อื่น และเราหวังว่าการเกิดขึ้นของ BedMap-TH จะช่วยให้ประชาชนที่ป่วยและล้มตายที่บ้านของตัวเองดีขึ้นในไม่ช้า สามารถค้นหาเตียงได้ที่ : https://bedmap-th.web.app

ไต้หวันสร้าง Hub อัจฉริยะให้นำถ่านใช้แล้วมารีไซเคิลได้แต้มซื้อของและใช้ขนส่งฟรีๆ

ทุกวันนี้คนไต้หวันใช้แบตเตอรี่เซลล์แห้ง จำพวกถ่านที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากถึง 11,000 ตัน หรือ 11,000,000 กิโลกรัมต่อปี สวนทางกับกำลังการรีไซเคิลของไต้หวันที่ทำได้แค่เพียง 4,000 ตันต่อปีเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้นี่เองทำให้เกิดสถานีรีไซเคิลแบตเตอรี่อัจฉริยะถึง 3 แห่ง ที่เปิดแบบไม่มีวันหลับใหลตลอด 24 ชั่วโมงในเมืองซินจู๋ (Hsinchu) ทั้งในพื้นที่สาธารณะ ร้านชานมไข่มุก และมินิมาร์ต ซึ่งแต่ละ Hub รับแบตเตอรี่เซลล์แห้งไปรีไซเคิลได้ถึง 7 ขนาดด้วยกัน เช่น ถ่านหรือแบตฯ D, C, AA, AAA และ AAAA รวมถึงแบตเตอรี่ 9 โวลต์  หลิน ฉือเจียน (Lin Chih-chien) ผู้ว่าเมืองซินจู๋ตัดสินใจจับมือกับบริษัทสตาร์ทอัปรีไซเคิลชื่อ Ecoco โดยตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วย  แต่จะให้ทำโปรเจกต์เบาๆ ก็คงไม่สมชื่อซินจู๋ เมืองแห่งเทคโนโลยี ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนเลยสร้างแรงจูงใจดีๆ เพื่อให้ผู้คนนำถ่านและแบตเตอรี่มารีไซเคิลกันมากขึ้น ด้วยการให้แบตฯ แต่ละก้อนสามารถแลกแต้มได้ 2 รูปแบบ ทั้งแต้มจาก […]

‘pong’ ไม้ปิงปองลาย Terrazzo จากพลาสติก HDPE รีไซเคิล

ทุกวันนี้มีสตูดิโอเจ๋งๆ หันมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้กันเยอะมาก งานหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสนุก สะดุดตา และยังไม่ค่อยเห็นใครทำคืออุปกรณ์กีฬาจากวัสดุรีไซเคิล  Préssec คือสตูดิโอออกแบบในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ผู้ออกแบบและพัฒนา ‘pong’ ไม้ตีปิงปองที่ทำจาก พลาสติก HDPE รีไซเคิลออกมาเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) หรืองานหินขัดที่เก๋ น่าใช้ และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ แม้จะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้กีฬาปิงปอง แต่เห็นดีไซน์แล้วก็กระตุ้นต่อมความอยากเป็นเจ้าของได้เช่นกัน โปรเจกต์นี้ Préssec เล่าว่าพวกเขาคิดขึ้นได้ในระหว่างช่วงที่ซิดนีย์ล็อกดาวน์ ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตในบ้านจึงฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปองในครัวกันบ่อยๆ พวกเขาพบว่าปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ แค่มีโต๊ะยาวและไม้ปิงปองก็เล่นตรงไหนก็ได้ และนึกสงสัยขึ้นมาว่าทำไมไม่เคยเห็นใครทำไม้ปิงปองให้มันดูสนุกขึ้นบ้าง จะเป็นอย่างไรถ้าเขาลองเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำดู จากที่ฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปอง พวกเขาเลยเปลี่ยนมาฆ่าเวลาด้วยการทำไม้ปิงปองกันแทน  Préssec ทดลองสเก็ตช์แบบไม้ปิงปองเพื่อหาความเป็นไปได้กันทุกสัปดาห์ และพบว่าการเอาเศษพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ มีลักษณะขุ่น มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็ง เหนียว ไม่เปราะแตกง่าย และทนสารเคมี มาลองหลอมและขึ้นรูปใหม่แทนการใช้วัสดุที่เป็นไม้  ไม้ปิงปองเป็นวัสดุที่มีมานาน ถ้าดัดแปลงมาก็อาจจะใช้งานไม่ได้จริง Préssec จึงใช้วิธีคิดแบบใหม่กับการออกแบบวัสดุเดิม เพราะการจะเป็นไม้ปิงปองได้ไม่ใช่แค่รูปทรงถูกต้องเท่านั้น น้ำหนัก สัมผัส และการใช้งานต้องเหมาะสมด้วย […]

‘Mirrored Fabric’ ผ้าสะท้อนรังสี แฟชั่นใหม่ของมนุษย์ เพื่อการอยู่อาศัยในสภาวะโลกร้อน

หลักการง่ายๆ ของการแต่งตัวในชีวิตประจำวันคือ ถ้าคุณอยากรู้สึกเย็นสบายในวันที่ร้อนเหลือเกิน ให้เลือกใส่เสื้อผ้าสีขาวหรือเสื้อสีอ่อน เพราะสามารถช่วยสะท้อนแสงแดด ระบายความร้อน ทำให้ร่างกายเย็นสบาย ในทางกลับกันหากเลือกผ้าสีเข้มผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะตรงกันข้าม  จากหลักวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน นักวิจัยจากจีนได้พัฒนาไปอีกขั้น โดยใช้เทคโนโลยีสร้างเป็นผ้าชนิดพิเศษที่รูปลักษณ์ภายนอกดูผิวเผินเหมือนผ้าธรรมดา แต่กลับมีคุณสมบัติที่สะท้อนแสงแดดและรังสี UV หรือรังสีอินฟราเรดชนิดต่างๆ ได้มากกว่าเนื้อผ้าธรรมดาทั่วไป ผ้าชนิดพิเศษนี้มีชื่อว่า ‘Meta Fabric’ ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ผสมกับพอลิแลกติกแอซิด เคลือบอนุภาคนาโนด้วยแร่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในยานอวกาศ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงสรรพคุณนี้ นักวิจัยได้ทดลองให้คนใส่เสื้อกั๊กที่ครึ่งหนึ่งตัดเย็บจากผ้าฝ้ายสีขาวธรรมดา และอีกครึ่งทำจากเนื้อผ้า Meta Fabric ผลปรากฏว่าหลังจากนั่งตากแดดเป็นเวลา 1 ชม. ร่างกายที่หุ้มด้วยผ้าชนิดพิเศษนี้มีอุณหภูมิเย็นกว่าผ้าฝ้ายถึง 5 องศาเซลเซียส  แม้ว่าผ้าดังกล่าวจะอยู่ในช่วงพัฒนา แต่ก็ทำให้เราเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาของเทคโนโลยีของเสื้อผ้าในอนาคต เพราะในอนาคตอันใกล้ท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนระอุของโลก เสื้อผ้าอาจจำเป็นต้องมีนวัตกรรมที่ช่วยให้มนุษย์ใช้ชีวิตในโลกที่ร้อนขึ้นทุกวันได้ดีขึ้นก็เป็นได้ Source : https://www.freethink.com/environment/mirrored-fabric

ผู้ป่วยเบาหวานเตรียมเลิกเจาะนิ้ว ออสเตรเลียคิดแผ่นเซนเซอร์ แค่เลียก็รู้ระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาด้วยวิธีการฉีดอินซูลินเข้าไปในร่างกายเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ แต่ก่อนที่จะฉีดอินซูลิน ต้องรู้ก่อนว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่เท่าไหร่โดยการ ‘เจาะปลายนิ้ว’ อยู่หลายครั้ง จากการศึกษาพบว่ากว่า 30% ของผู้ป่วยมักเกิดอาการกลัวการเจาะปลายนิ้วพลอยไม่อยากตรวจระดับน้ำตาลไปด้วย ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย จึงคิดค้นที่ตรวจเบาหวานแบบไม่ต้องเจาะเลือด แต่ใช้การ ‘เลีย’ แถบไบโอเซนเซอร์ที่มีขนาดเล็กเท่าแผ่นหมากฝรั่งแทน เมื่อผู้ป่วยเลียแผ่นตรวจ น้ำลายจะทำปฏิกิริยากับเซนเซอร์แล้วจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด  ถึงแม้ว่าระดับน้ำตาลที่มีในน้ำลายจะเข้มข้นน้อยกว่าที่มีในเลือด แต่เจ้าแผ่นตรวจจิ๋วนี้ก็ตรวจได้อย่างแม่นยำ เพราะว่าไบโอเซนเซอร์นี้ไวต่อระดับน้ำตาลมาก นี่จึงเป็นครั้งแรกของโลกที่ตรวจเบาหวานจากน้ำลายได้ ทีมนักวิจัยและพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง GBS Inc. จึงของบประมาณจากรัฐบาลออสเตรเลียจำนวน 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 150 ล้านบาท เพื่อดำเนินการผลิตก่อนสิ้นปี 2021 และวางจำหน่ายเจ้าแผ่นเซนเซอร์ตรวจเบาหวานนี้ภายในปี 2023

‘กี่คนแล้ว’ ตื่นปุ๊บเปิดแอปฯ ปั๊บ เช็กจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันง่ายขึ้น ไม่ต้องค้นหาข้อมูลให้ลำบาก

เชื่อว่าทุกวันนี้กิจวัตรยามเช้าของหลายคน คงเป็นการติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อดูยอดผู้ติดเชื้อ ข้อมูลข่าวสาร ประกาศสำคัญต่างๆ สำหรับเตรียมตัวรับมือในการใช้ชีวิต ทว่าความลำบากคือข้อมูลต่างๆ ล้วนกระจัดกระจายและยุ่งยากในการค้นหา มันจะดีกว่าไหมหากตื่นนอนเราสามารถเปิดหน้าจอโทรศัพท์เพื่อทราบข้อมูลชุดนั้นในทันที ‘กี่คนแล้ว’ แอปพลิเคชันไม่แสวงผลกำไร จากผู้พัฒนานามว่า Sunday Technology และ @puhn สองคนผู้ตั้งใจสร้างเครื่องมือช่วยให้คนไทยเข้าถึงตัวเลขของผู้ติดเชื้อโควิด ของประเทศไทยได้ง่ายขึ้น ผ่าน Android Widget ที่ใช้งานง่ายเพียงแค่เปิดหน้า Home ของโทรศัพท์ ก็จะปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ยอดสะสม ผู้เสียชีวิต และยอดการรักษาตัว โดยไม่จำเป็นต้องไปค้นหาข้อมูลในแต่ละวันให้ยากลำบากอีกต่อไป  โปรเจกต์ดังกล่าวเป็นการพัฒนาของภาคประชาชน เพื่อช่วยเหลือกันในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพิ่มความตระหนักรู้และคอยเฝ้าระวังกันมากขึ้น สำหรับผู้สนใจใช้งานดาวน์โหลดในรูปแบบ APK ได้ที่ : https://bit.ly/3wXVIwG ส่วนฟากฝั่ง IOS กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและน่าจะออกมาให้ใช้ได้จริงภายในสัปดาห์นี้

สวิตฯ เป็นประเทศแรกของโลก เพาะเซลล์ช็อกโกแลตจากแล็บลดการทำลายป่าและใช้แรงงานเด็ก

เตรียมเพิ่มรายการขนมหวานลงในลิสต์อาหารแห่งโลกอนาคต เพราะเรากำลังจะได้กิน ‘Chocolate Lab-grown’ หรือช็อกโกแลตสังเคราะห์ที่เพาะจากห้องแล็บอีกไม่นานเกินรอ! ฟังชื่อแล้วอาจดูไม่น่ากิน แต่ทีมนักวิจัยจาก ‘Zurich University of Applied Sciences (ZHAW)’ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บอกว่ารสชาติและเทกซ์เจอร์คล้ายกับของออริจินัล ซึ่งต้องปรับเพิ่มเล็กน้อยเพื่อให้สมจริงมากที่สุด วิธีการทำช็อกโกแลตสังเคราะห์ นักวิจัยจะเริ่มจากการสกัดเมล็ดโกโก้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้วมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแล้วนำไปบ่มในห้องมืด ซึ่งตัวเมล็ดจะแตกหน่อออกมา หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ส่วนที่งอกออกจะถูกขูด แล้วนำไปใส่ ‘เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ’ (Bioreactor) เพื่อให้เซลล์เจริญเติบโต ก่อนเอาไปทำให้แห้งและได้เป็น ‘ผงโกโก้’ จากนั้นนำเอาผงโกโก้ที่ได้จากการเพาะไปผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อผลิตช็อกโกแลตบาร์ให้ได้รสชาติสมจริงมากที่สุด ถึงแม้ว่ากระบวนการของช็อกโกแลตจะดูคืบหน้าไปแล้วกว่า 90% แต่ในความเป็นจริงยังไม่พร้อมวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากช็อกโกแลตสังเคราะห์ราคาสูงกว่าช็อกโกแลตธรรมดาถึง 6.5 เท่า! ช็อกโกแลตสังเคราะห์ปริมาณ 100 กรัม ราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 660 บาท) ในขณะที่ช็อกโกแลตธรรมดาราคาเพียง 3 ดอลลาร์ (ประมาณ 99 บาท) เท่านั้น ทำให้ทีมนักวิจัยต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตต่อไป เพื่อให้ช็อกโกแลตสังเคราะห์กลายเป็นอาหารทางเลือกของผู้บริโภคได้ เพราะหากสามารถทำให้คนสนใจกินช็อกโกแลตสังเคราะห์มากกว่าออริจินัลได้ […]

แค่แยกขยะก็ช่วย ‘ขยะกำพร้า’ ได้ NIA ช่วยอุปถัมภ์ขยะมูลฝอย เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานทางเลือก

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน คนหันมาใช้บริการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือขยะพลาสติกแบบ Single-use เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก กล่องโฟม แล้วยังมีหน้ากากอนามัยใช้แล้วอีก ขยะเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกวันแต่ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง เพราะไม่มีราคา และไม่รู้วิธีจัดการต่อ สุดท้ายจึงกลายเป็น ‘ขยะกำพร้า’ ที่ไม่มีใครอยากรับไปจัดการ ถูกทิ้งตามลำคลอง ที่รกร้าง ถูกเผาหรือถูกฝังกลบ จนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป  ‘สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)’ หรือ NIA ได้ค้นพบทางออกให้กับปัญหานี้ด้วยวิธีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy) โดยการนำไปเผาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานทดแทนอื่นๆ ต่อไป แต่เพื่อให้กระบวนการแปรรูปเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขยะกำพร้าเหล่านี้จึงควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง NIA จึงอยากให้ผู้บริโภคช่วยกันคัดแยกขยะ เพื่อให้ขยะเหล่านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้  แต่ถึงจะมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง หรือนำขยะกลับไปรีไซเคิลใช้ประโยชน์อย่างไร ปัญหาขยะล้นเมืองคงแก้ไม่ได้ง่ายๆ NIA จึงมี ‘โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (The Electric Playground)’ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานนี้ ภายใต้หลักสูตรบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการสร้างสรรค์นวัตกรรม (STEAM4INNOVATOR) ไปสู่เยาวชน ประชาชนที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้จึงเป็นเหมือนพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามาประลองไอเดียนวัตกรรมแก้ไขปัญหาขยะและจุดประกายความหวังที่จะได้เห็นสังคมไทยเข้าใกล้การใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น

ถุงยางเอ้ย เป็นกามโรคอะไรบอกได้! เด็กอังกฤษคิดค้นถุงยางเปลี่ยนสีตามกามโรค รู้เองได้ไม่ต้องไปหาหมอ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หากไม่ตรวจก็คงไม่รู้ว่าติด แต่จริงๆ แล้วยิ่งตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ยิ่งรักษาได้ทันท่วงที แต่การไปหาหมอเพื่อตรวจหาโรคนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน กลุ่มนักเรียนชาวอังกฤษจึงคิดค้นถุงยางอนามัยที่เปลี่ยนสีได้หากผู้ใช้มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อบรรเทาปัญหาการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ถุงยางอนามัยสุดเจ๋งนี้มีชื่อว่า ‘The S.T.EYE condom’ มาจากคำว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) และคำว่า Eye เหมือนเป็นตาคอยสอดส่องหาการติดเชื้อนั่นเอง เจ้าของไอเดียนี้คือกลุ่มนักเรียนชาวอังกฤษวัย 13 – 14 ปี 3 คน ได้แก่ Muaz Nawaz, Daanyaal Ali และ Chirag Shah จากโรงเรียน London’s Isaac Newton Academy ที่ส่งไอเดียนี้เข้าประกวดในงาน TeenTech Awards และได้ชนะรางวัลเป็นเงิน 1,000 ปอนด์หรือราว 45,000 บาท ถุงยางอนามัยนี้ประกอบด้วยชั้นโมเลกุลที่จะเรืองแสงเมื่อสัมผัสโดนแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งยังเรืองแสงแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้ออีกด้วย เช่น เชื้อคลาไมเดียเป็นสีเขียว เริมเป็นสีเหลือง ซิฟิลิสเป็นสีฟ้า และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหากผู้ใช้มีเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ กลุ่มนักเรียนที่คิดค้นอยากให้ถุงยางนี้เป็นส่วนช่วยให้ผู้คนตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยตัวเอง หากใครไม่สบายใจจะเข้าพบแพทย์ เพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ […]

มนุษย์ต่างดาวก็เป็นลูกค้า IKEA ได้ IKEA ออกคู่มือประกอบเฟอร์นิเจอร์ เป็นภาษาเอเลี่ยน

ทุกครั้งที่เห็นข่าวการค้นพบร่องรอยประหลาดบนโลก หรือดาวเคราะห์ดวงอื่น หลายสันนิษฐานก็ชี้กันว่า หรือมนุษย์ต่างดาว ‘อาจ’ จะมีจริง เอ้อ งั้นลองคิดเล่นๆ สิว่าถ้ามีจริงขึ้นมา พวกมันจะอยู่ร่วมกับมนุษย์ยังไง IKEA สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่รอช้า จับมือทีมออกแบบประจำ Ogilvy ประเทศดูไบ สร้างคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์สำหรับมนุษย์ต่างดาวโดยเฉพาะ ในโปรเจกต์ #furnitureforall ที่มีทั้ง POÄNG เก้าอี้ไม้บุนวมรูปทรงโค้งมน ซึ่งเป็นเก้าอี้ที่อิเกียวางขายมากว่า 40 ปี ตู้หนังสือ และเตียง โดยนักออกแบบได้แปลคู่มือประกอบเฟอร์นิเจอร์เป็นภาษาเอเลี่ยน และมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์ต่างดาวซึ่งเป็นพลเมืองใหม่บนโลก เช่น การเตือนไม่ให้ขนชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ได้มาใหม่ขึ้นบนยานอวกาศด้วยตัวเอง แต่ให้ใช้บริการรถเดลิเวอรีจากทาง IKEA ดีกว่า จะได้ไม่พัง (น่ารักเชียว) หรือรายละเอียดการประกอบชิ้นส่วนตู้หนังสือไว้ให้ชาวเอเลี่ยนสะสมความรู้เกี่ยวกับมนุษยชาติ เป็นต้น “ในกรณีที่มนุษย์ต่างดาวย้ายมายังโลกของเราจริงๆ เราต้องการช่วยให้พวกเขาสร้างบ้านในฝันใหม่ได้อย่างง่ายดายบนโลกนี้” IKEA กล่าว Source : Designboom | https://bit.ly/2UNpSW2

1 8 9 10 11 12 20

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.