ฟื้นตลาดเก่าเศร้าซึมให้สดใสภายใต้โครงการสังกะสีสตรีทอาร์ท โดยความร่วมมือของชาวบ้านและศิลปินจากชุมชนตลาดเก่าแม่กลอง

หากใครได้ไปเยือน ‘ตลาดเก่าแม่กลอง’ หรือ ‘ตลาดเก่าริมน้ำเพชรสมุทรฯ’ ชุมชนย่านการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม จะเห็นแผ่นสังกะสีสีเขียวล้อมรอบพื้นที่ตลาดเก่าบางส่วน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารจอดรถ 5 ชั้น ทำให้พื้นที่ตรงนั้นดูรกร้างและไม่ปลอดภัย ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ตลาดเก่าแม่กลองดูเงียบเหงาจนพ่อค้าแม่ค้ารู้สึกเศร้าซึมตามไปด้วย ‘มานะชัย ทองยัง’ ทันตแพทย์ที่เติบโตมาในชุมชนแม่กลองที่เห็นปัญหาดังกล่าว จึงหาวิธีปรับปรุงทัศนียภาพของพื้นที่โดยใช้ศิลปะผลักดันการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการ ‘สังกะสีสตรีทอาร์ท’ ที่รับสมัครนักศิลปะอาสามาแต่งแต้มสีสันให้สังกะสีที่ล้อมรอบไซต์ก่อสร้างในพื้นที่ตลาดเก่าแม่กลอง “เราเคยมีโอกาสทำงานอีเวนต์กับเยาวชนร่วมกับองค์กรในจังหวัดอยู่บ้าง และเห็นการใช้ศิลปะในการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น การออกแบบมาสคอตปาป้า-ทูทู่ การจัดกิจกรรมภาพถ่ายและจัดแสดง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี จึงลองหยิบศิลปะมาช่วยแก้ปัญหาและคลายข้อกังวลของชาวบ้าน” มานะชัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นโครงการของเขา กิจกรรมสังกะสีสตรีทอาร์ทเริ่มด้วยการให้ศิลปินที่เคยร่วมกิจกรรมภาพวาดและงานศิลปะอื่นๆ มาพูดคุยกับคนในชุมชนว่า อยากให้อัตลักษณ์ของชุมชนถูกสื่อสารออกมาเป็นภาพแบบไหน และหวังว่างานศิลปะบนสังกะสีเหล่านี้จะกลายเป็นจุดเช็กพอยต์ของนักท่องเที่ยวตลอดช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง มานะชัยเล่าว่า ชาวบ้านหลายคนรู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่จะได้ร่วมพัฒนาพื้นที่กับศิลปิน อีกทั้งยังพร้อมสนับสนุนโครงการเต็มที่ เช่น การสนับสนุนอาหาร โดยบางส่วนก็มาร่วมลงแรงทาสีด้วย “อยากให้โครงการนี้สะท้อนให้เห็นคุณค่าของงานสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยต้องมีคนในชุมชนเป็นตัวหลักในการดำเนินการ ไม่ใช่การคิดแทนและดำเนินการโดยส่วนกลางอย่างเดียว” เขาเล่า ทั้งนี้ สังกะสีสตรีทอาร์ทได้ผ่านกระบวนการพูดคุยระหว่างศิลปินและชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอดำเนินการลงพื้นที่ระบายสีสังกะสี แต่เพื่อความปลอดภัยของศิลปินและคนในชุมชน ทางผู้รับเหมาโครงการอาคารจอดรถได้ขอชะลอโครงการให้เริ่มขึ้นหลังลงเสาเข็มอาคารก่อน ติดตามความคืบหน้าโครงการหรือสนับสนุนสีและอุปกรณ์ทาสีได้ที่ Facebook : Manachai Na

นิทรรศการทาสแมว ‘MAMA MEOW’ ที่ชวนให้ทุกคนรับเลี้ยงแมวจรจัด พร้อมให้ความรักเหมือนกับแม่แมว วันนี้ – 9 ก.ย. 2567 ที่ Charoen 43

ปัจจุบันหลายคนเลือกที่จะเลี้ยงสัตว์แทนการมีลูก ทำให้เกิดธุรกิจการซื้อขายสัตว์มากขึ้น แต่การทำธุรกิจเหล่านี้ก็ตามมาด้วยผลกระทบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทำให้น้องๆ สุขภาพไม่แข็งแรง หรือแม้แต่ปัญหาสัตว์จรจัดที่มีเยอะจนแทบจะล้นเมือง จนทำให้เราเห็นการรณรงค์รับเลี้ยงสัตว์แทนการซื้อขายสัตว์ในโลกออนไลน์อยู่เป็นประจำเพื่อลดจำนวนประชากรสัตว์จรจัดในอนาคต หลายคนอาจมองว่าสัตว์จรจัดเหล่านี้ไม่ค่อยน่ารักเท่าไรนัก ทาง ‘Charoen 43’ จึงจัดนิทรรศการ ‘MAMA MEOW : The love of CAT’s mommy is no reason’ เพื่อให้ทุกคนที่มีความเป็นแม่แมวพ่อแมวในหัวใจได้เห็นความน่ารักของเหล่าแมวจรจัดผ่านงานศิลปะจากศิลปินหลายแขนง โดยตั้งใจจะเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ช่วยรณรงค์ให้เหล่าคนรักสัตว์หันมารับเลี้ยงแมวจรจัดกับเทรนด์ #adoptdontshop และหวังว่าจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงแนวคิด #ไม่รักก็อย่าทำร้ายหมาแมวจรจัด ด้วยการมอบความรักความอบอุ่นให้กับสัตว์ตัวน้อยเหล่านี้ ที่ถึงแม้จะไม่ได้มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ก็ยังได้รับความเอ็นดูจากคนใจดีที่ผ่านไปผ่านมาได้ ภายในนิทรรศการมีทั้งรูปถ่าย ภาพวาด เซรามิก งานคราฟต์ และงานศิลปะประเภทต่างๆ รวมไปถึงสินค้าเกี่ยวกับแมววางจำหน่ายด้วย ซึ่งรายได้นั้นจะหักค่าใช้จ่าย 30 เปอร์เซ็นต์ให้กับสามองค์กรที่ดูแลและช่วยเหลือหมาจรจัด ได้แก่ ‘มูลนิธิรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร’, ‘Cat Lumpini แมวสวนลุม’ และ ‘Catster by Kingdomoftigers’ MAMA MEOW : The […]

ชมภาพถ่าย ตามเรื่องเล่า ย่านเก่าพิษณุโลก กับนิทรรศการ ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ วันนี้ – 18 ส.ค. ที่ย่านตลาดใต้

‘ตลาดใต้-ประตูมอญ’ คือย่านค้าขายเก่าแก่ที่อยู่คู่จังหวัดพิษณุโลกมานมนาน นอกจากจะเปี่ยมด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหารรสโอชา สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า และผู้คนที่โอบอ้อมอารี ย่านนี้ยังอัดแน่นด้วยประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตอันมีเสน่ห์ ที่รอคอยให้ทุกคนได้มาสัมผัส ถ้าใครอยากรู้จักย่านตลาดใต้-ประตูมอญมากขึ้น คงไม่มีโอกาสไหนดีกว่าการได้ไปนิทรรศการภาพถ่าย ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ ในตอนนี้อีกแล้ว นิทรรศการภาพถ่าย เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลก ชุมชนพุทธบูชา ชุมชนพญาเสือ และนักสร้างสรรค์ในและนอกพื้นที่ งานนี้เกิดจากเวิร์กช็อปสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ได้คนในชุมชนและศิลปินภายนอกมาเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นนิทรรศการที่เสนอเอกลักษณ์ของย่านในรูปแบบ ‘คนในอยากบอก คนนอกอยากเล่า’ แสดงภาพถ่ายที่สะท้อนมุมมองจากคนในชุมชนเองและคนนอกชุมชน ทำให้คนที่มาแวะชมได้ชื่นชมเรื่องราวของย่านอย่างรอบด้าน ค้นพบความงามและเสน่ห์ของย่านตลาดใต้-ประตูมอญไปด้วยกันที่นิทรรศการภาพถ่าย ‘เล่าย่าน ตลาดใต้-ประตูมอญ’ นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 18 สิงหาคม 2567 ที่ถนนสุรสีห์ ย่านตลาดใต้ ในสี่พื้นที่ด้วยกันคือ อาคารบ้านก๋ง (โอฬาร ลานสร้างสรรค์), หน้าโรงงิ้ว ศาลเจ้าปุนเถ้ากง, Treat Tea House และชั้น 2 Finally Coffee Co. […]

‘COTTO Cube Design Stage’ เวทีเฟ้นหานักออกแบบรุ่นใหม่ กับโจทย์การออกแบบพื้นที่ลูกบาศก์ ส่งผลงานตั้งแต่วันนี้ – 30 ก.ย. 67

หลังจากประสบความสำเร็จจาก ‘COTTO Design Contest’ เวทีการประกวดออกแบบ Public Space ในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนของเมืองเมื่อปีที่แล้ว ‘COTTO’ ผู้นำแบรนด์กระเบื้องและสุขภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ก็กลับมาเปิดพื้นที่ให้นักออกแบบได้โชว์ผลงานกันอีกครั้ง ปีนี้ COTTO กลับมาพร้อมกับเวทีประกวดรูปแบบใหม่ ‘COTTO Cube Design Stage’ ในการเฟ้นหานิสิตนักศึกษานักออกแบบรุ่นใหม่ที่คำนึงถึงการออกแบบได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ บนพื้นที่ ‘ลูกบาศก์’ (Cube) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้สังคม ผ่านการนำเสนอในรูปแบบของการรวมงานประกวดแบบและงาน Showcase เข้าไว้ด้วยกัน การประกวดครั้งนี้เปิดรับผลงานนักศึกษาสายออกแบบ ไม่จำกัดสถาบัน ภาควิชา และชั้นปี ร่วมออกแบบผลงานได้ทั้งรูปแบบเดี่ยวและแบบทีมจำนวนไม่เกิน 3 คน ภายใต้โจทย์ ‘Reimagine Self-Tainable Living : เปลี่ยนมุมมองให้พื้นที่ชีวิตยั่งยืนในแบบของตัวเอง’ สำหรับการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อแก้ปัญหาของผู้คน พื้นที่ หรือวิกฤตในปัจจุบันโดยไม่จำกัดขนาดพื้นที่ และต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ COTTO อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ พร้อมนำเสนอแนวความคิดหลักด้วย Cube Presentation อย่างครบถ้วน โดยความยั่งยืนที่นำเสนอนั้นต้องสอดคล้องกับลักษณะของชีวิตในพื้นที่นั้นอย่างแท้จริง งานนี้ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับแบรนด์ดังเท่านั้น แต่ผู้เข้าร่วมการประกวดยังจะได้แสดงฝีมือ จัดแสดงผลงาน […]

สำรวจการแก้ปัญหาริมถนนแบบบ้านๆ ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ TCDC กรุงเทพฯ วันที่ 6 ส.ค. – 8 ก.ย. 67

ก้อนอิฐเทิร์นขาโต๊ะให้ได้ระดับเท่ากัน ผ้าใบที่ผูกไว้กับร่มเพื่อบังแดด โครงเก้าอี้เปล่าที่มีเชือกร้อยรึงกลายเป็นเบาะ เหล่านี้คืองานออกแบบริมท้องถนนที่ ‘Everyday Architect Design Studio’ นิยามไว้ว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ และได้รวบรวมมาจัดแสดงในรูปแบบภาพวาดกว่า 365 ภาพ ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพราะเป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีเซเลบคนไหนมาสร้าง แถมวาง ‘เรี่ยราด’ ริมถนนอย่างไม่มีแบบแผน สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดจึงถูกละเลยและไม่ค่อยมีใครเห็นประโยชน์เสียเท่าไหร่ แต่จากความหลงใหลในความสร้างสรรค์ของการแก้ปัญหาริมถนน Everyday Architect Design Studio จึงตามบันทึกสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดมาตลอดหลายปี พร้อมจัดเรียงหมวดหมู่ให้เป็นระบบ จนทำให้เห็นมุมมองแสนบรรเจิดของนักสร้างสรรค์นิรนาม และสะท้อนถึงปัญหาการออกแบบเมืองไปในตัว ไปสำรวจการแก้ปัญหาแบบบ้านๆ ที่เผยให้เห็นมุมมองเหนือความคาดหมาย เทคนิคการก่อสร้างเหนือการคาดเดา ในนิทรรศการสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 6 สิงหาคม – 8 กันยายน พ.ศ. 2567 ที่ TCDC กรุงเทพฯ บริเวณทางเดินด้านหน้า Public Rooftop Garden ชั้น 5 เข้าชมนิทรรศการได้ฟรี

‘Immersive Resilience Garden’ โครงการสวนเขาวงกต ใจกลางกรุงโซล ที่ช่วยพาให้ผู้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

ความวุ่นวายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เราสามารถพักผ่อนและหลบหนีจากความวุ่นวายในระยะสั้นๆ ได้บ้างด้วยการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะ มีโครงการ ‘Immersive Resilience Garden’ ภายในสวนสาธารณะ TTukseom Hanriver ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนพลุกพล่านมากที่สุดในโซล เพื่อให้ผู้คนได้หลีกหนีความวุ่นวายด้วยการเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติใจกลางเมืองแบบ 360 องศากันอย่างเต็มที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกและสร้างขึ้นสำหรับงาน International Garden Fair ปี 2024 ซึ่งจัดโดยรัฐบาลกรุงโซลผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยจะจัดตั้งไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคมปีนี้ Studio ReBuild เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจในการออกแบบสวนแห่งนี้จากปฏิสัมพันธ์ของผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อกับธรรมชาติ ทำให้ตัวสวนออกมาในโครงสร้างแบบชั้นที่สร้างพื้นที่ปิด เพื่อหลบหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง รวมถึงมีลักษณะคล้ายกับเขาวงกต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ทอดยาวในพื้นที่กว่า 400 เมตร ภายในสวนยังประกอบไปด้วยกลุ่มพืชที่แตกต่างกัน 3 ชั้น โดยไล่ระดับตามความสูง เราจึงจะเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขอบนอกของสวน ส่วนชั้นถัดมาเป็นต้นไม้ขนาดกลาง และชั้นในสุดจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ที่นี่ก็มีโต๊ะและเก้าอี้ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามานั่งพักผ่อนท่ามกลางการโอบล้อมของต้นไม้ เพื่อให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ รับรองว่าหากเข้าไปอยู่ด้านในของเขาวงกตแห่งนี้แล้ว จะแทบลืมไปเลยว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงของเกาหลีใต้ Sources :Designboom […]

เผยโฉมดีไซน์ New TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC คือสถานที่ที่ใครหลายคนนึกถึงเวลาโหยหาไอเดียทำงานออกแบบ แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือขอนแก่น การค้นหาแรงบันดาลใจอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประเทศไทยมี TCDC อยู่ใน 3 จังหวัดนี้เท่านั้น (ขอทดสงขลาไว้ที่หนึ่ง เพราะ TCDC ที่นี่จะเสร็จตอนต้นปี 2568) ด้วยเหตุผลนี้เอง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) : สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA เลยเกิดไอเดียตั้ง ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบใหม่’ (New TCDC) เพิ่มใน 10 จังหวัด พร้อมจับมือกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA) เปิดรับไอเดียดีไซน์ New TCDC จากนักออกแบบทั่วประเทศ จากผลงานที่ส่งเข้ามากว่า 173 ผลงาน จาก 113 ทีมนักออกแบบ ในที่สุดก็ได้ 10 ผลงานชนะเลิศที่จะได้รับการต่อยอดเป็น New TCDC […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567

“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]

The Scoop ออฟฟิศรูปทรงแหวกแถวที่แหวกแนวอาคารให้โบสถ์เก่าเฉิดฉาย

คำตอบของการสร้างอาคารใหม่ให้เคารพอาคารเก่าข้างเคียงที่คุ้นเคยอาจหมายถึงการคุมโทนสี คุมโทนวัสดุอาคารใหม่ให้ใกล้เคียงอาคารเก่า แต่มันจะมีโซลูชันที่น่าตื่นเต้นกว่านี้อีกหรือเปล่า Corstorphine & Wright ออฟฟิศสถาปัตยกรรมในสหราชอาณาจักร ออกแบบอาคาร ‘The Scoop’ ให้เว้าเข้าไปด้านใน เพื่อสร้างกรอบให้คนเดินถนนเห็นรูปโฉมของโบสถ์เก่าที่อยู่ข้างเคียง The Scoop เป็นอาคารออฟฟิศส่วนต่อเติมของอาคารอิฐหัวมุมถนนที่อยู่ติดกัน โดยอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของย่าน Southwark เมือง London และอยู่เคียงข้างโบสถ์คริสต์ ‘Catholic Church of the Most Precious Blood’ สไตล์โรมาเนสก์ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1892 การคว้านส่วนกลางของอาคารออก ทำให้ผู้คนที่สัญจรบริเวณหัวมุมถนน Union Street และ O’Meara Street เห็นบานหน้าต่างกลมหรือ Rose Window ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโบสถ์ แต่กว่าที่จะได้หน้าตาตึกอย่างที่เห็น สถาปนิกต้องขึ้นโมเดลตึกสามมิติเพื่อกะเกณฑ์ดูว่าจะต้องคว้านตึกไปเท่าไหร่คนถึงจะเห็นหน้าต่างโบสถ์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ โมเดลสามมิติยังช่วยให้สถาปนิกคำนวณได้ว่าจะต้องวางอิฐอย่างไร และใช้อิฐขนาดแบบไหนมาเรียงเพื่อให้เกิดเอฟเฟกต์ดั่งหวัง โดยก้อนอิฐที่หยึกหยักไปมาถูกยึดติดด้วยโครงเหล็กสเตนเลสอันซับซ้อนที่แอบซ่อนด้านใน หากมองตัวอาคาร The Scoop แบบโดดๆ ดูแล้วเป็นอาคารที่เท่ไม่เบา แต่เมื่ออาคารเปิดพื้นที่ความเท่ให้เพื่อนเก่า ความหล่อเหลาของ The Scoop […]

Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน

หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]

‘สมุดลายไทยประยุกต์’ อุปกรณ์การเรียนสุดคลาสสิกโฉมใหม่ มาพร้อมกับลวดลายที่ทันสมัยมากขึ้น

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก ‘สมุดลายไทย’ สุดคลาสสิก ที่มาพร้อมสีสันหลากหลายและปกหลังที่เป็นสูตรคณิตศาสตร์ หนึ่งในอุปกรณ์การเรียนที่นักเรียนไทยต้องเคยใช้งานมาบ้าง แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้สมุดลายไทยสุดคลาสสิกอาจจะดูตกยุคไปบ้าง ‘มิน-ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ’ หรือ ‘ItsMinute’ จึงอยากรีดีไซน์ปก ‘สมุดลายไทยประยุกต์’ โดยปรับลวดลาย สีสัน และเนื้อหาที่ปกหลังสมุดให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เดิมทีมินเป็นเด็กที่โตมากับบ้านที่ทำโรงงานผลิตสมุด ประจวบกับก่อนหน้านี้มินก็กำลังอยู่ระหว่างรอสอบเข้ามหาวิทยาลัยพอดี ครอบครัวเห็นว่าลูกมีความสามารถด้านการออกแบบกราฟิกอยู่แล้ว เลยเสนอให้มินลองออกแบบปกสมุดในแบบของตัวเอง “ช่วงนั้นสมุดลายไทยล็อตเก่าที่บ้านเราหมดพอดี ครอบครัวถามว่าเราอยากออกแบบลายใหม่ไหม เราเห็นว่าปกติกระดาษหนึ่งแผ่นสามารถพิมพ์เป็นปกสมุดได้แปดเล่ม แต่สมุดลายไทยดั้งเดิมเกือบทุกที่มีประมาณสี่ลาย เลยเกิดไอเดียว่า ไหนๆ ก็พิมพ์ได้ครั้งละแปดเล่มแล้ว ทำไมเราไม่ออกแบบให้สอดคล้องกับแปดวิชาบังคับของหลักสูตรการศึกษาไปเลย” มินเล่าถึงจุดเริ่มต้นการออกแบบสมุดลายไทยแบบใหม่ ด้วยพื้นฐานที่ชอบงานลายไทยอยู่แล้ว เมื่อได้โจทย์ออกแบบสมุดลายไทยใหม่ มินจึงศึกษาตำราลายไทยของพระเทวาภินิมมิต ศิลปินเอกของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 – 7 และค่อยๆ แกะลายพื้นฐาน ก่อนจะนำมาลดทอน จับคู่สี และหาสัดส่วนที่เหมาะสมทั้งหมด 8 ลาย เพื่อผลิตออกมาเป็นปกสมุดทั้ง 8 เล่ม 8 วิชา ส่วนเนื้อหาความรู้บนปกหลังของสมุดนั้น มินมองว่าความรู้จากวิชาอื่นก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสูตรคูณและมาตราการชั่ง ตวง วัด จากวิชาคณิตศาสตร์ มินจึงเลือกเนื้อหาจาก 8 […]

กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

1 2 3 4 5 6 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.