วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย

ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]

เรื่องเล่าหลังความตายกับเพื่อนคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ‘สัปเหร่อ’

ความตั้งใจของเฟิร์นนิสิตจุฬาฯ ชั้นปีสุดท้ายที่เลือกทำโปรเจกต์นี้คือ การสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ว่าสัปเหร่อในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของอาชีพนี้ เพราะการทำงานของสัปเหร่อนั้นมีรายละเอียดมากมายกว่าที่พวกเราเคยเห็น

Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

‘คนอยู่ไม่ได้สร้าง คนสร้างไม่ได้อยู่’ ชุดภาพสะท้อนชีวิตคนก่อสร้าง

HIGH- RISE BUILDINGS, LOW- RISE BUILDERS?  ที่อยู่อาศัยบนตึกสูงระฟ้าเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาทั่วกรุงเทพฯ ผู้คนมากหน้าหลายตาจับจองเป็นเจ้าของ พร้อมเข้าอยู่ อยู่ในที่ที่ไม่ได้สร้าง หากคนที่ลงมือสร้างกลับไม่ได้อยู่ ปาณศานต์ พัฒนกุลชัย ชวนมองภาพสะท้อนชีวิตและความฝันของคนสร้างผ่านชุดภาพ ‘คนอยู่ไม่ได้สร้าง คนสร้างไม่ได้อยู่’ ที่ตั้งคำถามถึงความหรูหราของที่พักอาศัย แต่คนสร้างตึกเหล่านั้นกลับเผชิญความยากลำบาก จึงเลือกใช้ Backdrop คอนโดมิเนียมเปรียบเป็นภาพในความฝันของใครหลายคน รวมถึงคนลงมือสร้าง

บ้านเอาถ่าน! Char Co- ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ดำแต่เท่ ดูดกลิ่น ไม่เลอะมือ

จับถ่านทีมือดำปี๋ ไม่ระวังให้ดีหล่นนิดเดียวก็แตก ทำเอาหลายคนไม่อยากสัมผัสถ่าน จะหยิบก็ต้องควานหาถุงมือมาใส่กันเลอะ ความไม่อยากจับถ่านที่ใครๆ รู้สึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Char Co- แบรนด์ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ของสามนักออกแบบเอาถ่านอย่าง ปอนด์-ธีรศักดิ์ ลิ้มทัตธนกุล น็อต-นภดล สังวาลเพ็ชร และ แนค-วรภัทร์ เมืองรวมญาติ ที่ฉีกกฎความเป็นถ่านว่าต้องใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น สู่การเพิ่มคุณค่าเป็นของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง “Char Co- มาจากคำว่าถ่าน แต่ตัด al ออกจากคำว่า Coal แล้วเติม – เพื่อสื่อว่า จะเอาถ่านมาสร้างความเป็นไปได้รูปแบบใหม่ ผ่านการใช้ร่วมกับวัสดุต่างๆ ไปจนถึงการนำถ่านไปร่วมงานกับแบรนด์อื่นๆ” ซึ่งของแต่งบ้านแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ที่รองแก้ว นาฬิกา แผ่นแต่งผนัง ไปจนถึงท็อปโต๊ะนั้นไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะต้องเดินทางไปถึงชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อตามหาถ่านไม้โกงกาง ก่อนนำมาผสมเรซิน กลึง หั่น เพาะ เชื่อม แล้วขึ้นรูปเป็นของแต่งบ้านจากถ่านที่มีคุณสมบัติดูดกลิ่น ซับความชื้น กรองความสกปรก และหากวันหนึ่งเกิดแตกหักก็สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง หรือกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง คนเอาถ่าน  เปลี่ยนมุมมองถ่านที่ประโยชน์เยอะ แต่ไม่มีใครอยากสัมผัส […]

‘กลิ่นหนังสือ’ ร้านหนังสือออนไลน์เปิดยืมหนังสือฟรี เสียแค่ค่าส่ง!

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้ต้องคิดหนักขึ้น หากอยากซื้อสิ่งจรรโลงใจอย่าง ‘หนังสือ’ สักเล่ม แต่โชคดีที่มีร้านหนังสือออนไลน์ใจดีอย่าง ‘กลิ่นหนังสือ’ ที่นอกจากจะมีกิมมิกน่ารักๆ อย่าง ‘Blind date with a book’ ให้ลูกค้าเลือกซื้อหนังสือซึ่งห่อปกจริงด้วยกระดาษน้ำตาลพร้อมคำโปรยสั้นๆ แล้ว ยังมี ‘ห้องสมุดออนไลน์’ ที่รวบรวมหนังสือรวมเรื่องสั้น วรรณกรรม ไปจนถึงนิยายเก่าและใหม่ทั้งของไทยและต่างประเทศให้หยิบยืมได้ฟรี เสียเฉพาะค่าส่ง  โดยทางร้านจะมีรอบจัดส่งให้ผู้ยืมเดือนละ 2 ครั้ง คือวันจันทร์ที่ 2 และที่ 4 ของเดือน ซึ่งสามารถยืมได้นาน 1 เดือน และยืมได้มากกว่า 1 เล่มต่อครั้งอีกด้วย เรื่องราวดีๆ แบบนี้คนรักหนังสือพลาดไม่ได้แล้ว เยี่ยมห้องสมุดร้านกลิ่นหนังสือได้ที่ https://t.co/W88x5JNIUm?amp=1 หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมหนังสือของร้านกลิ่นหนังสือ ก็สามารถเข้าได้ที่ https://klinnangsue.co/shop/ Source : ร้านกลิ่นหนังสือ | https://twitter.com/klinnangsue/status/1402567853295816704

‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ สะท้อนชีวิตในรั้ว รร. ผ่านเลนส์กล้องฟิล์มเด็กมัธยมฯ ขอนแก่น

ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ชีวิตในรั้วการศึกษาของเด็กรุ่นนี้ก็ยาวนานขึ้นไปโดยปริยาย นักเรียนบางกลุ่มยังคงต้องเรียนออนไลน์ บ้างกำลังจะเปิดเทอมในวันพรุ่งนี้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายนมาเป็น 14 มิถุนายน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการเรียนแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน  คอลัมน์ Urban Eyes ชวนมองภาพสะท้อนการศึกษาผ่านชุดภาพ ‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ จากฝีมือเด็กนักเรียนมัธยมที่ 1 – 5 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่นที่ได้จับกล้องฟิล์มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆ จาก มูลนิธิ Teach For Thailand และ FilmGalong จังหวัดขอนแก่น ก่อนนำมาพิมพ์เป็นโปสต์การ์ดเพื่อส่งต่อความรู้สึกถึงกัน เพราะเชื่อว่าภาพหนึ่งใบสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในใจได้อย่างมากมาย  ทางหนึ่ง…นี่อาจเป็นของที่ระลึกบันทึกความรู้สึกใน ‘ภาพปัจจุบัน’ ก่อนจะกลายเป็นอดีต และอีกทางหนึ่ง ชุดภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉันอาจเป็นไทม์แมชชีนพาย้อนกลับสู่ ‘ภาพวันเก่า’ ก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพื่อนสนิท – เด็กหญิงอรินนา ดุสิทธิ์ ม.2 ทำไมต้องใส่กระโปรง – นางสาวมัตตัญญุตา อภัยพลชาญ ม.5 ฉันคือใครในวันนี้ […]

BPMC2021 คอนเซปต์ Wish เตรียมเติมสีสัน ให้กรุงเทพฯ ด้วยการฉายภาพเคลื่อนไหว ไอเดียจากทั่วโลกบนอาคาร East Asiatique

Bangkok Projection Mapping Competition 2021 หรือ BPMC2021 ฉายภาพเคลื่อนไหวบนอาคาร East Asiatique ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง

มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต  มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]

‘โฆษณารถเมล์’ สิ่งกวนใจคนโหน มรดกยุค 60 ที่หันมาใช้เทคโนโลยีเดียวกับ ‘ผ้าม่านบังแสง’

‘รถเมล์ไทย’ กับ ‘โฆษณา’ ของคู่กันที่เกิดมาก่อน ขสมก. ตั้งแต่เวอร์ชันแปะท้าย Wrap รอบคัน จนสติกเกอร์ปรุ

เปลี่ยนพื้นที่ว่างบนดาดฟ้าให้โดดเด่นด้วย ‘Rooftop Catalogue’ คู่มือรวมไอเดียใช้ดาดฟ้าจากเมืองรอตเตอร์ดัม

เมืองรอตเตอร์ดัม เปลี่ยนดาดฟ้าเปล่าภายในเมืองให้เป็นพื้นที่ใช้สอย พร้อมออก ‘Rooftop Catalogue’ รวมไอเดียดาดฟ้าและวิธีการใช้กว่า 130 วิธี

Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง

เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]

1 31 32 33 34 35 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.