ช่วงมัธยมฯ เรามองตัวอักษรบนจอโปรเจกเตอร์หน้าห้องเรียนแทบไม่เห็น เพราะทั้งเบลอและสีเพี้ยนจนปวดตา ตอนมหาวิทยาลัยก็ไม่ต่างกัน เพราะแม้สีสันจะดีกว่าสมัยก่อนแต่ภาพกลับแตกระแหงจากการซูมให้เต็มจอ ทว่าเวลาผ่านไป เทคโนโลยีสุดล้ำนำพาโปรเจกเตอร์ในสื่อการเรียนการสอนให้มีภาพที่คมชัด เด็กๆ ไม่ต้องปวดตา และก้าวกระโดดออกนอกห้องเรียนสู่งานสาธารณะระดับโลก ทั้งฉากหลังงานคอนเสิร์ต แสงสีในนิทรรศการ งานศิลปะบนสถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งการนอนดูซีรีส์อยู่บ้านก็สร้างอรรถรสเหมือนมีนักแสดงคนโปรดมาแสดงตรงหน้า !
เราอาสาชวนนั่งไทม์แมชชีนย้อนอดีตกว่าจะเป็นโปรเจกเตอร์สุดเจ๋งในวันนี้ ในแต่ละช่วงเวลามีวิธีการฉายภาพอย่างไร ตั้งแต่ยุคมนุษย์ถ้ำส่องสัตว์ในที่มืด มาจนถึงยุคที่โปรเจกเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถสร้างโลกจินตนาการให้ออกมาอยู่ในโลกความจริงได้
| โรงหนังมนุษย์ถ้ำเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน
2.5 ล้านปีถึง 12,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคสมัยที่ผนังถ้ำเป็นจอภาพยนตร์ชั้นดีให้มนุษย์ไว้ดูความเคลื่อนไหวของสัตว์ป่าราวกับสารคดีสัตว์โลก โดยมีหลักการฉายภาพที่เกิดจากรูเล็กๆ ภายในถ้ำมืดที่รับแสงสว่างด้านนอกเข้ามา เมื่อสัตว์ป่าแอบเดินอิงแอบ หรือซ่อนตัว จะถูกฉายบนผนังถ้ำในลักษณะภาพเคลื่อนไหวหัวกลับให้มนุษย์ถ้ำแอบมองเงียบๆ
ซึ่งใครจะไปคิดว่าวิธีการส่องสัตว์สุดคราฟต์ยุคนั้นจะคล้ายกล้องออบสคิวราในคริสต์ศักราชที่ 11 ที่ Alhazen นักวิทยาศาสตร์อิรักทดลองตั้งเทียนไขไว้ด้านนอกกล้องรูเข็ม หรือ ห้องดำที่สร้างจากกล่องสี่เหลี่ยมและเปิดรูเล็กๆ ให้แสงเข้ามา ทำให้เกิดการเดินทางของแสงเป็นเส้นตรงหัวกลับ และฉายภาพเทียนไขกลับหัวที่ไม่ต่างจากหลักการของมนุษย์ถ้ำ ผ่านไปจนถึงปี 1659 Christian Huygens นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์พัฒนาเครื่องฉายภาพที่คล้ายโปรเจกเตอร์ในปัจจุบันอย่าง ‘Magic Lantern’ ตะเกียงวิเศษฉายภาพเคลื่อนไหวบนผนังที่มีกลไกหักเหแสง โดยควบคุมแสงสว่างจากตะเกียงผ่านกระจกเว้า ซึ่งเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมบันเทิง
Sources :
https://bit.ly/2Yem8LR
https://bit.ly/3l1P3g8
| Slide Projector ป๊อปตั้งแต่ก่อนยุค 90
เครื่องฉายภาพยังคงพัฒนาตามความอัจฉริยะของนักคิดในแต่ละยุค ปี 1872 เกิด The Megascope เครื่องฉายภาพด้วยตะเกียงจากก๊าซ Oxy-Hydrogen ที่รองรับผู้ชมจำนวนมาก และรุ่งเรืองสุดขีดช่วงปี 1940-1960 กับ Slide Projector เครื่องฉายภาพโปร่งใสที่แหล่งกำเนิดแสงมาจากหลอดไส้ร้อนทะลุผ่านเลนส์รวมแสงและแผ่นสะท้อนแสงจนเกิดภาพบนจอ รวมไปถึง Overhead Projector ที่เกิดขึ้นยาวมาถึงยุค 2000 ซึ่งคุ้นกันดีในการฉายเอกสารหน้าห้องเรียน (บ้างก็เบลอจนไม่เห็น เพราะไม่เหมาะกับที่สว่าง)
ปัจจุบันผู้ผลิตบางเจ้าทำให้โปรเจกเตอร์มีความละเอียดสูง และตอบทุกโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างครอบคลุมด้วย LCD Projector หรือเครื่องฉายภาพจากคริสตัลโมเลกุลและการสะท้อนแสงผ่านกระจกกรองแสง รวมไปถึง Laser Projector ที่มีแหล่งกำเนิดแสงจากเลเซอร์แทนหลอดไฟที่ให้ภาพคมชัด มีอายุการใช้งานยาวนาน เพื่อทำให้ทุกๆ ภาพในหัวเป็นจริงได้ด้วยโปรเจกเตอร์
Source :
https://bit.ly/327oEF9
| (เฉิด) ฉายในวงการอาร์ต
ภาพในหัวที่อยากเปลี่ยนวัดเป็นเธียเตอร์แสดงงานศิลปะของ 3 ศิลปิน ป้อง-ปานปอง วงศ์สิรสวัสดิ์, แก่น-สารัตถะ จึงเสถียรทรัพย์ และ ฮ่องเต้-กนต์ธร เตโชฬาร เป็นจริงได้ด้วยเทคนิค Projection Mapping หรือการฉายกราฟิกสุดเท่ผ่านโปรเจกเตอร์ทั่วกำแพงโบสถ์วัดสุทธิวรารามให้เป็นงาน ‘BODHI THEATER: Buddhist Prayer RE-TOLD’ ที่ตีความวัดแบบเดิมให้ล้ำสมัยแต่ยังเปี่ยมไปด้วยศรัทธา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Epson
หรือเมื่อปีที่แล้วเจ้าเครื่องโปรเจกเตอร์ยังพางานศิลปะระดับตำนานที่อยู่ในใจใครหลายคนหวนคืนมาอีกครั้งกับงาน ‘From Monet to Kandinsky ‘Visions Alive’ in Bangkok’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ 1,200 ตารางเมตรใน RCB Galleria ณ River City ให้เต็มไปด้วยจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ที่ล้อมไปด้วยผลงานศิลปินยุคอิมเพรสชันนิสต์อย่าง Van Gogh, Claude Monet และอีก 14 ศิลปินหน้าประวัติศาตร์ที่เราคิดถึง
| ลวดลายบนพื้นผิวหอประชุม
พิธีปฐมนิเทศต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 1 หลายคนมีภาพจำว่าจะต้องเป็นพิธีการในหอประชุมที่เคร่งขรึม นั่งฟังบรรยายในรูปแบบทางการเสมอ แต่โปรเจกเตอร์ได้เข้ามาเปลี่ยนภาพจำนี้ให้การเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของน้องๆ นิสิตจุฬาฯ รุ่น 103 เต็มไปด้วยแสงสีเสียงทั่วหอประชุมจุฬาฯ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทีมงาน Yimsamer (ยิ้มเสมอ) บริษัทผลิตงานมัลติมีเดียที่อยากสร้างประสบการณ์แขนงศิลปะให้กับผู้ชม ร่วมกับ Epson สรรค์สร้างเทคนิค Lighting Performance สาดแสงสีระยิบระยับพาดผ่านเหล่านิสิต และ Projection Mapping ฉายลวดลายแสงอาทิตย์ ดอกไม้ปลิวไหว หรือละอองน้ำแสนสงบบนพื้นผิวทั่วกำแพง เพื่อเป็นของขวัญชิ้นพิเศษให้กับเด็กๆ ที่เริ่มต้นเข้าสู่โลกแห่งมหาวิทยาลัย
ซึ่งโปรเจกเตอร์ที่ Yimsamer เลือกใช้ในงานเป็นโปรเจกเตอร์ Epson แบบระบบเลเซอร์ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องพักเครื่องเหมือนโปรเจกเตอร์แบบหลอดไฟ เหล่านิสิตในวันนั้นจึงได้เห็นแสงสีสุดอลังการได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีใครมาขวางจินตนาการตรงหน้าได้
| เรียนสนุก พรีเซนต์สบาย
‘มีนักเรียนเกินกว่าครึ่งที่ไม่สามารถอ่านเนื้อหาบนจอ 70 นิ้วได้’ คือปัญหาที่งานวิจัย Radius Research พบจากนักเรียน 58 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐอเมริกา 61 เปอร์เซ็นต์ในสหราชอาณาจักร และ 57 เปอร์เซ็นต์ในสิงคโปร์ ซึ่งในไทยก็ไม่น้อยหน้าเพราะเด็กไทยหลายคนก็ประสบปัญหาจ้องจอโปรเจกเตอร์จนปวดตาเพราะข้อความเบลอสุดขีด
นั่นทำให้ Epson ผู้ผลิตโปรเจกเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีรายใหญ่อยากแก้ปัญหาเหล่านั้นให้หมดไปด้วยการสร้างโปรเจกเตอร์รุ่น EB-L610U และ L510U ที่ให้ความคมชัดระดับ HD ด้วยความละเอียดแบบ WUXGA ที่มีความละเอียดสูง ความสว่างสูงสุดถึง 6,000 ลูเมน และอัตราส่วนความคมชัดสูงถึง 2,500,000 : 1 ที่แม้จะมีแสงสว่างโดยรอบมารบกวนจอแสดงผลก็ไม่หวั่น ภาพคมชัด สีแจ่มไว้ให้การพรีเซนต์งานลูกค้าหรือการเรียนรู้ไร้อุปสรรคอย่างลงตัว
| โลกส่วนตัวบนจอห้องนอน
การสร้างโรงภาพยนตร์ในบ้านไม่ใช่เรื่องเวอร์หรือไกลตัวอีกต่อไป ด้วยโปรเจกเตอร์ดีๆ สักเครื่องที่ให้ภาพคมชัด สมจริงเหมือนเราไปดูที่โรงภาพยนตร์ โปรเจกเตอร์ Epson EF-100B/EF-100W มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก หมดห่วงเมื่อวางตั้งในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น ด้วยดีไซน์มินิมอล เรียบง่าย ตัวเครื่องมีให้เลือกใช้ทั้งแบบสีขาวขอบเงินหรือสีดำขอบทองสบายตา การจัดวงสามารถวางได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ให้คุณเลือกรับชมได้ถึง 360 องศา จะนอนดูซีรีส์ท่าไหนก็ได้อรรถรสเหมือนเดิม ที่สำคัญไม่ต้องดูแลรักษาให้ยุ่งยาก
| Epson Projector
สิ่งที่ทำให้ Epson โดดเด่นในวงการโปรเจกเตอร์ด้วยเทคโนโลยี 3LCD ที่ให้ภาพสีสันสดใส คมชัด เสมือนจริง ด้วยการให้ความสมดุลของความสว่างทั้งแสงสีขาวและแสงสีเท่าๆ กัน เทียบกับโปรเจกเตอร์ 1-chip DLP ที่จะเน้นความสว่างของแสงสีขาวมากกว่าแสงสี ความสว่างแสงจึงไม่สมดุล ทำให้ภาพมืดและไม่คมชัด ต่างจากเทคโนโลยี 3LCD ของ Epson ที่ให้สีละมุน และยังไม่ทำให้เกิด Rainbow Effect ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเมื่อมองภาพเป็นเวลานานๆ
นอกจากนี้การใช้โปรเจกเตอร์เลเซอร์ยังมีข้อดีที่คุณอาจคาดไม่ถึง เพราะแหล่งกำเนิดมาจากแสงเลเซอร์ ใช้งานได้ยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟ ที่สำคัญหมดห่วงกับสุขภาพของคนในบ้าน และสิ่งแวดล้อมเพราะในขั้นตอนการผลิตโปรเจกเตอร์ของ Epson ปราศจากการก่อสารปรอทที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในผิวหนัง และระบบหายใจ
ฉะนั้นไม่ว่าภาพจินตนาการในหัวของคุณเป็นแบบใด จะสร้างนิทรรศการศิลปะ วาดลวดลาย 3 มิติบนสถาปัตยกรรม สาดกราฟิกในฮอลล์คอนเสิร์ต พรีเซนต์งานอย่างมีคุณภาพกว่าที่เคย หรือเปิดโรงภาพยนตร์บนผนังห้องนอน ก็สามารถเกิดขึ้นจริงได้ด้วยโปรเจกเตอร์จาก Epson เพียงเครื่องเดียว