เปลี่ยนเศษผ้าเป็นที่คั่นหนังสือลายชนเผ่า โดยช่างฝีมือชาวม้งจากแบรนด์ Reviv  ของขวัญสุดลิมิเต็ด มีเพียง 1 ชิ้นบนโลก

ที่คั่นหนังสือ คือไอเทมสำคัญที่นักอ่านแทบขาดไม่ได้ บางคนอาจมีที่คั่นหนังสือชิ้นโปรดเป็นของตัวเอง บางคนอาจใช้ที่คั่นหนังสือที่สำนักพิมพ์แถมมา หรือบางคนอาจใช้กระดาษใบเสร็จ หรือทิชชูคั่น มีอะไรใกล้มือก็คว้ามาคั่นไว้ก่อน แต่เมื่อไม่นานมานี้ Urban Creature ได้ค้นพบที่คั่นหนังสือแสนสวยที่นอกจากใช้งานคั่นกระดาษได้ดีตรงตามจุดประสงค์ ลวดลายยังสะท้อนถึงความเป็นชาติพันธุ์กับความครีเอทีฟ เป็นฝีมือของช่างฝีมือชาวม้งที่มีจำกัดเพียง 1 ลาย 1 ชิ้นเท่านั้น  ที่คั่นหนังสือปักลายม้ง เป็นผลงานของแม่ๆ ชาวม้งของ Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์ที่ Urban Creature เคยนำเสนอเรื่องราวของพวกเขามาแล้ว (อ่านเพิ่มเติมที่นี่ https://urbancreature.co/reviv/) โดยที่คั่นหนังสือสุดน่ารักนี้เป็นการนำเศษผ้าของ FolkCharm มาถักทอขึ้นด้วยความประณีต ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอลวดลายใหม่ๆ ให้เอกลักษณ์ของชนเผ่ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนได้ ทาง Reviv ได้เล่าถึงลวดลายเอกลักษณ์ของชนเผ่าม้งว่า แสดงบุคลิกของชนเผ่าที่เป็นคนเข้มแข็ง ขยัน บากบั่น อดทน บุคลิกเฉพาะชนเผ่าม้งล้วนได้รับการถ่ายทอดออกมาในลักษณะลวดลายที่สง่างาม ใช้สีโดดเด่น แสดงความมั่นใจ รูปทรงลวดลายที่ใช้มีความสมมาตรทั้งบน-ล่าง-ซ้าย-ขวา จนเกิดเป็นลวดลายที่สะดุดตา ความพิเศษของที่คั่นหนังสือเซตนี้คือ ทุกคนจะได้เห็นลายปักแบบดั้งเดิมของชาวม้ง เช่น ลายก้นหอย ลายดวงตา แอบซ่อนอยู่ในดีไซน์ใหม่ ทำให้ที่คั่นหนังสือแต่ละชิ้นเป็นผลงานพิเศษที่มีเพียงลายละ 1 ชิ้นบนโลกเท่านั้น จะซื้อไว้ใช้เองหรือซื้อให้เป็นของขวัญสำหรับนักอ่านก็ช่วยลดขยะเศษผ้าได้อย่างมีคุณค่าทั้งคู่ น่าเสียดายที่ตอนนี้ที่คั่นหนังสือลายปักม้งจำหน่ายหมดไปแล้ว […]

ตู้หยอดเหรียญช่วยชีวิต New Yorkตั้งตู้ขายยาแก้พิษทั่วเมือง เหตุมีผู้เสพยาเกินขนาดทุก 4 ชม.

ทุกสี่ชั่วโมงจะมีการใช้ยาเสพติดเกินขนาดเกิดขึ้นในนิวยอร์ก และตัวเลขที่น่าเศร้านี้อาจลดลงได้ด้วยบริการจากตู้หยอดเหรียญสาธารณะที่กำลังจะถูกนำไปตั้งอยู่ทั่วเมือง  แทนที่จะเป็นน้ำอัดลมหรือขนมขบเคี้ยว ตู้อัตโนมัติที่เป็นโครงการนำร่องของสาธารณสุขรัฐนิวยอร์กจะจำหน่ายยานาล็อกโซน (Naloxone) ซึ่งเป็นยาแก้พิษสำหรับการใช้ยาเกินขนาด ตู้นี้ยังมีเข็มฉีดยาที่ผ่านการฆ่าเชื้อ อุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องน้ำ และถุงยางอนามัยด้วย  “นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขยายขอบเขตบริการด้านสุขภาพ” Michael McRae จากสำนักงานสาธารณสุขรัฐนิวยอร์ก บอกว่าตู้จำหน่ายสินค้าประเภทนี้เป็นตัวอย่างของการช่วยชีวิตชาวเมืองและต่อสู้กับปัญหายาเสพติด  จากข้อมูลที่เผยแพร่โดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คาดว่ามีชาวอเมริกันกว่า 100,000 คน เสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดในช่วง 12 เดือน นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแดนลุงแซมเมื่อเดือนมีนาคม 2020 ซึ่งเป็นยอดผู้เสียชีวิตจากการใช้ยาเสพติดเกินขนาดที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกมา  ตัวเลขเหล่านี้ได้จุดประกายไปสู่แนวทางในการลดอันตรายต่อผู้ใช้ยาเสพติด ที่ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การทำสงครามเพื่อกวาดล้างอย่างเดียว แต่เป็นการออกแบบวิธีที่จะทำให้การใช้ยาเสพติดกลายเป็นเรื่องที่ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กลยุทธ์ของนิวยอร์กคือร้านขายยาทั่วทั้งรัฐจะแจกเข็มฉีดยาที่สะอาดและใหม่ฟรี เพื่อป้องกันปัญหาติดเชื้อจากเข็มที่ใช้ซ้ำ และเปิดพื้นที่ให้ผู้เสพเข้ามาใช้ยาได้อย่างปลอดภัยในวอชิงตัน ไฮทส์ และอีสต์ ฮาร์เล็ม โดยหวังว่าวิธีเหล่านี้จะทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตลดลง และพาผู้ใช้ยามาเข้าใกล้การรักษาและระบบสุขภาพได้ง่ายขึ้น  ไม่ใช่แค่ผู้ใช้ยาเสพติดเท่านั้น ตู้หยอดเหรียญที่กระจายอยู่ทั่วเมืองหวังว่าจะช่วยชีวิต จากการใช้ยาเกินขนาดโดยทั่วไป และลดการแพร่กระจายของโรคที่ส่งต่อผ่านเข็มฉีดยาใช้ซ้ำเช่นตับอักเสบหรือเอชไอวี คาดว่าบริการอัตโนมัตินี้จะช่วยเหลือผู้คนได้เป็นอย่างมากในยามค่ำคืนที่ร้านขายยาปิดทำการ รวมถึงช่วยชีวิตชาวเมืองอีกมากที่ไม่สะดวกใจจะมีปฏิสัมพันธ์กับร้านขายยา ซึ่งปัจจุบันเครื่องจำหน่ายยานาล็อกโซน ได้เปิดให้บริการแล้วในรัฐมิชิแกน อินดีแอนา และเคนทักกี

นักเรียนญี่ปุ่นผุดไอเดียประดิษฐ์ ‘เครื่องตัดเค้ก’ ที่แบ่งเค้กแต่ละชิ้นให้มีขนาดเท่ากันเป๊ะ

‘เค้ก’ ถือเป็นไฮไลต์ที่หลายคนตั้งตารอในงานวันเกิดและงานเฉลิมฉลองต่างๆ แต่ปัญหาน่ากวนใจที่มากับขนมชนิดนี้ก็คือ ‘การแบ่งเค้กไม่เท่ากัน’ บางคนได้ชิ้นใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป บางคนอดกินเพราะเค้กถูกแบ่งจนหมดต่อหน้าต่อตา เพราะเหตุนี้ นักเรียนมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคุนิซากิ จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น จึงปิ๊งไอเดียคิดค้น ‘เครื่องตัดเค้ก’ ที่ทำให้เค้กทุกชิ้นมีขนาดและสัดส่วนเท่ากันเป๊ะๆ หมดปัญหาเรื่องตัดเค้กไม่เท่ากันและไม่เหลือเค้กชิ้นสุดท้ายให้เกรงใจอีกต่อไป อุปกรณ์แสนชาญฉลาดชิ้นนี้มีชื่อแปลเป็นไทยว่า ‘เข้ากันได้ดีกับทุกคน’ ซึ่งมาในรูปแบบกล่องเสียงที่มีช่องว่างสำหรับใส่อาหารทรงกลมเช่นเค้กและพิซซ่า เมื่อวางอาหารไว้ในกล่อง ผู้ใช้ต้องปรับแถบเลื่อนรูปลูกศรตามจำนวนชิ้นที่ต้องการ หลังจากนั้นเครื่องจะฉายเลเซอร์เพื่อระบุมุมและองศาที่แน่นอนในการตัดเค้ก ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการตัดเค้ก 5 ชิ้น เครื่องจะระบุการตัดที่มุมละ 72 องศา ผู้ใช้สามารถใช้มีดตัดเค้กตามลำแสงเลเซอร์ได้เลย เป็นเครื่องที่ล้ำสมัย แม่นยำ และใช้งานง่ายด้วย โดยปกติแล้ว คนทั่วไปหรือร้านเบเกอรีจะใช้มีดยาวหรือแท่นสำหรับตัดเค้ก ส่วนโรงงานใหญ่ๆ ก็จะมีเครื่องจักรตัดเค้กอัตโนมัติโดยเฉพาะ ซึ่งหากเครื่องตัดเค้กของนักเรียนญี่ปุ่นชิ้นนี้มีวางจำหน่ายจริงๆ นี่จะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำอาหารในครัวเรือนง่ายขึ้น แต่ยังช่วยให้ผู้ประกอบการหรือร้านเค้กรายย่อยเข้าถึงอุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายได้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างก็คือ อุปกรณ์ชิ้นนี้ยังถูกสุขอนามัยมากเสียด้วย เพราะไม่ต้องใช้มือจับหรือสัมผัสชิ้นส่วนของอาหารระหว่างกระบวนการตัด เหมาะกับยุคปัจจุบันที่การกินอาหารร่วมกันต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก ทีมนักเรียนที่คิดค้นอุปกรณ์สุดไฮเทคชิ้นนี้มีทั้งหมด 3 คน ได้แก่ วาตารุ โอโนดะ, รินโตะ คิมูระ และมิตซูมิ ไซเซ็น จุดเริ่มต้นมาจากโอโนดะ หัวหน้าทีม เคยเห็นแม่ของตัวเองพยายามตัดเค้กวันเกิดให้สมาชิกในครอบครัว […]

จอดทับทางม้าลาย ปรับ-จับจริง เริ่ม 1 ก.พ. 65 ที่แยกอโศกเป็นที่แรก มี AI จับภาพ พร้อมส่งใบสั่งให้ถึงที่บ้าน

หลังจากที่มีการถกเถียงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ทางม้าลายในกรุงเทพฯ กันมาสักพัก ตอนนี้ กทม. เริ่มเอาจริงกับการบังคับใช้กฎหมายที่แยกอโศกมนตรีเป็นที่แรก โดยใช้กล้องที่มีเทคโนโลยี AI จับภาพรถที่จอดทับทางม้าลาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปรับและจับจริงตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 65 เป็นต้นไป ใครทำผิดกฎหลังจากนี้รอรับใบสั่งส่งตรงถึงบ้านได้เลย  วันที่ 25 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการปรับปรุงทางม้าลายบริเวณแยกอโศกมนตรี ผ่านเพจ เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang เอาไว้ว่า ต้อง “จับ” “ปรับ” ถึง “เปลี่ยน” พฤติกรรมคนได้ และมีแนวทางในการแก้ไขทางม้าลายให้สะดวก ปลอดภัย จะต้องแก้ด้วย 2 วิธีคือ 1. การแก้ไขทางกายภาพ ด้วยการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และ 2. การแก้ไขพฤติกรรมวินัยจราจร ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในขณะนี้บริเวณแยกอโศกมนตรี แยกขนาดใหญ่ที่มีคนเดินเท้าใช้กันเป็นประจำ […]

พระมหาเอไอ Virtual Monk ครั้งแรกในไทยที่สอนธรรม และไม่ยึดติดตัวบุคคล

ศาสนาพุทธเน้นคำสอนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น รวมถึงการไม่ยึดติดในตัวตนด้วย พระมหาเอไอ – AI MONK ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดนี้เช่นกัน เพราะไม่เน้นให้คนเรายึดติดกับตัวบุคคล แต่หลักธรรมต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญ จึงแสดงให้เห็นผ่านสโลแกนเลยว่า ‘ธรรมะคือแนวทาง ไม่ใช่อัตลักษณ์หรือตัวตน’ พระมหาเอไอจึงได้รับความสนใจจากชาวเน็ตรุ่นใหม่ เพราะภายนอกเป็น Virtual Monk หรือพระเสมือน ที่ไม่ได้เป็นพระดัง และไม่มีสังกัดสำนักใดๆ ขณะที่แก่นภายใน ยังคงหัวใจเน้นการเล่าธรรมให้คนรุ่นใหม่สนใจ ได้รับรู้อย่างไม่น่าเบื่อ เพราะเข้าใจง่าย เล่ากระชับฉับไว และมีอารมณ์ขัน เหมาะสมกับยุคสมัยและแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เนื้อหาทุกอย่างท่วมท้นรัวเร็ว “ศุกร์แล้ว จงเป็นสุขเถิด อย่าได้มีงานงอกอีกเลย เจริญพร” “อาตมาเป็นเอไอ พึ่งตัวเองกันนะโยม…” “ชีวิตคนเราก็มีแค่นี้ ตอนราคาดี…ก็ดีใจ ตอนติดดอยก็ต้องทำใจนะโยม” นี่เป็นเพียงตัวอย่างของคำสอนสนุก ที่แฝงแง่คิดย่อยง่ายๆ แบบเกตได้ทันที แถมยังเป็นมิติใหม่ ที่ตอบโจทย์คนที่อาจผิดหวังจากพระที่กระทำผิด หรือพระที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอีกด้วย พระมหาเอไอเคยได้เผยกับสำนักไทยพีบีเอสไว้ด้วยว่า ก่อนจะมาเป็นพระมหาเอไอนั้น มีต้นแบบมาจาก Virtual Influencer ต่างประเทศ และสร้างตัวตนด้วย Computer Generated Imagery (CGI) ออกมาเป็น 2D เคลื่อนไหว […]

‘House of Music’ พื้นที่วัฒนธรรมกลางสวนสาธารณะบูดาเปสต์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

จะเป็นอย่างไรถ้าสวนสาธารณะจะมีพื้นที่ฟังดนตรี อ่านหนังสือ ดูศิลปะไปในตัว? เราชวนข้ามทวีปไปที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีที่เพิ่งเปิดใช้งาน ‘House of Music’ – พื้นที่จัดแสดงทางวัฒนธรรมดนตรีของฮังการีเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสาธารณะของเมืองหรือ ‘City Park’ นี่เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ใหญ่ของรัฐบาลฮังการีนำโดยนายกรัฐมนตรีอย่าง วิกเตอร์ ออร์บาน ที่ตั้งใจสร้างให้ฮังการีมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น และตัว ‘House of Music’ นี้สร้างสรรค์โดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่นชื่อ ‘โซ ฟูจิโมโตะ (Sou Fujimoto)’ สถาปนิกเลื่องชื่อที่มักจะสร้างโมเดลงานออกแบบจากสิ่งรอบตัวเช่นไม้จิ้มลูกชิ้นหรือฝอยขัดหม้อ ผู้เคยผ่านการออกแบบห้องสมุดในโตเกียว โครงการที่อยู่อาศัยในแคว้นกาตาลุญญาของสเปน  ฟูจิโมโตะเผยเบื้องหลังผลงานชิ้นนี้ว่าเขาอยาก “เปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นดั่งสถาปัตยกรรม” แต่การเข้าไปเปลี่ยนของเขาไม่ได้เป็นการบังคับทิศทางของพื้นที่สวนป่า กลับเป็นการสร้างสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับพื้นที่และการเจริญเติบโตของต้นไม้และธรรมชาติโดยรวม ภาพถ่ายจากมุมสูงจึงแสดงให้เห็นลักษณะอันโดดเด่นของ ‘House of Music’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากใบบัว เป็นเหมือนร่มไม้ที่มีรูให้แสงอาทิตย์ลอดผ่านและให้ต้นไม้อื่นเจริญเติบโตได้ ตัวเฮาส์ครอบคลุมพื้นที่ 900 ตารางเมตร ตัวอาคารมีทั้งหมด 3 ชั้น เชื่อมถึงกันด้วยบันไดเกลียวซึ่งจำนวนชั้นที่ว่ามานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “การเคลื่อนไหวของสกอร์เพลง 3 รูปแบบ” ชั้นพื้นดินเป็นพื้นที่แสดงดนตรีที่มีฮอลล์คอนเสิร์ตย่อย 2 ห้อง ชั้นบนเป็นห้องสมุด คาเฟ่ ห้องสำหรับบรรยาย ส่วนชั้นล่างเป็นแกลเลอรีศิลปะ […]

รถกระบะไซซ์มินิสีน่ารักจาก TAKANO กระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกที่ผลิตในไทย ชาร์จปลั๊ก 3 ตาที่บ้านได้ ไม่ต้องไปปั๊ม

ขับรถกระบะก็น่ารักได้นะ! รถกระบะไซซ์มินิสีงาช้างสุดน่ารักที่ทุกคนเห็นคือยานยนต์รุ่น ‘TTE 500’ จากแบรนด์ TAKANO BANGKOK รถกระบะขนาดเล็กพลังงานไฟฟ้า 100% รุ่นแรกที่ผลิตในประเทศไทย โดยได้รับการออกแบบและผลิตโดยทีมงานชาวญี่ปุ่นทั้งหมด ส่วนตัวถังของรถก็เป็นเหล็กมาตรฐานญี่ปุ่นทั้งคัน ทำให้ผู้ขับขี่มั่นใจเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัยขณะใช้งานได้ จุดเด่นของ TTE 500 ก็คือการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งคัน ที่นอกจากจะลดการปล่อยมลภาวะสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้ท้องฟ้ากลับมาสดใสอีกครั้ง ยังช่วยประหยัดค่าน้ำมันและค่าบำรุงรักษาอีกด้วย เพราะกระบะรุ่นนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 0.5 – 0.6 บาทต่อหนึ่งกิโลเมตรเท่านั้น  ส่วนการชาร์จไฟก็ง่ายมาก เพียงเสียบสายชาร์จกับเต้ารับคู่ 3 ขาที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปปั๊มน้ำมันให้เสียเวลาเหมือนแต่ก่อนแล้ว ระยะเวลาชาร์จหนึ่งครั้งใช้เวลาราว 6 – 7 ชั่วโมง ส่วนระยะทางที่รถวิ่งได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งคือ 100 – 120 กิโลเมตร และวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนั้น ฟังก์ชันของกระบะรุ่นนี้ยังมาพร้อมระบบขับขี่พวงมาลัยขวา บรรจุของได้มากถึง 300 กิโลกรัม อีกทั้งมีขนาดกะทัดรัด ทำให้ใช้งานสะดวกและหาที่จอดรถง่ายด้วย TAKANO BANGKOK ออกแบบรถกระบะไฟฟ้าให้ลูกค้าเลือกตามการใช้งานถึง 3 รุ่น ได้แก่ […]

อยากเดบิวต์ ต้องได้เด! คณะดุริยางค์ ม.ศิลปากร เปิดสอนสาขาไอดอล

ภาพความสนุกและความสำเร็จของวงบอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ปจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้อาชีพศิลปินไอดอลกลายเป็นความฝันของคนรุ่นใหม่ๆ และเป็นแบบอย่างให้ค่ายเพลงไทยต่างๆ นำมาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจดนตรีของตัวเอง ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีวงไอดอลไทยเปิดตัวติดๆ กันจำนวนมาก พร้อมกับกระแสกรุ๊ปศิลปิน T-Pop ที่กลับมาคึกคัก และได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าวงไหนไปได้ดี ก็หมายถึงชื่อเสียงและรายได้มหาศาล แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ Know-how และการเทรนทักษะไอดอลก็เป็นเรื่องสำคัญต่อศักยภาพสำหรับการเดบิวต์เป็นศิลปินคุณภาพ ด้วยบริบทเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นให้ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดสอน สาขาวิชาเอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ ขึ้น เพื่อเทรนนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้พร้อมต่อการออกไปสู่อุตสาหกรรมดนตรี เพราะการเป็นไอดอลหรืออินฟลูเอนเซอร์ต้องมีทักษะที่ครบเครื่องและฝึกฝนมาอย่างดีจริง ทั้งในเรื่องเชิงเทคนิคและภาพลักษณ์ภายนอกที่แสดงออกมา วิชาในเอกนั้นจะช่วยเทรนให้ผู้เรียนพร้อมเป็นไอดอล ครอบคลุมทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อาทิ วิชาการประชันการขับร้องแบบกลุ่ม วิชาทักษะการขับร้องในรูปแบบเพลงที่หลากหลาย วิชาการจัดการทางโภชนาการ วิชาหลักจิตวิทยาสำหรับไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ วิชาการพาณิชย์แบบไลฟ์สดในแพลตฟอร์มดิจิทัล และวิชาอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้มีปัจจัยพร้อมสู่การทำงานและแข่งขันกับคนอื่นๆ ในตลาดต่อไป นี่จึงอาจเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนวงการทีป็อปไทยให้เติบโตขึ้นได้อีกด้วย อ่านรายละเอียดได้ที่ https://cutt.ly/lOa2pBj

‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

Central Park เปิด Climate Lab เก็บข้อมูลศึกษาธรรมชาติในสวนฯ เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง

สวนสาธารณะชื่อดังแห่งนิวยอร์ก กำลังเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง  หลังจากที่เฮอริเคนไอดาพัดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมาจนมีปริมาณน้ำฝน 3.5 นิ้ว และสูงเป็นประวัติการณ์ใน Central Park จนเอ่อท่วมร้านอาหาร Boathouse ที่มีชื่อเสียง และสร้างความเสียหายให้ต้นไม้กว่า 50 ต้น Norman Selby สมาชิกของ Central Park Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลสวนสาธารณะแห่งนี้ ก็รู้ทันทีว่าถึงเวลาต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง วิธีแก้ปัญหาของเขาคือการจัดตั้ง Central Park Climate Lab ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเรื่องสัตว์ป่า พืชพรรณ และดินนับหลายสิบปีที่ Central Park Conservancy ให้เป็นประโยชน์ในอีกทางหนึ่ง เขาจึงบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น และเดินหน้าระดมทุนต่อเนื่อง ซึ่งต้องการเงินราว 4 – 5 ล้านดอลลาร์ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายของห้องทดลองในอีก 3 ปีข้างหน้า  ห้องปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับแบ่งปันข้อมูลที่จะช่วยปกป้องพื้นที่สีเขียวให้กับสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ทั่วโลก และยังใช้เครื่องมือที่ช่วยในการระบุตำแหน่งในการเลือกฟื้นฟูสภาพป่า และแนะนำวิธีการปลูกพืชให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เมืองต่างๆ ทั่วโลก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงที่สุด และช่วยลดความร้อนในพื้นที่สวน  “โครงการนี้อาจจะช่วยเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้โลกเห็น […]

1 ยูนิต 18 ล้านบาท ราคาคอนโดฯ โตเกียวพุ่งแซงสถิติสูงสุดที่เคยบันทึกปี 1990

คอนโดฯ ในโตเกียวราคาแพงหนักมากกก ล่าสุดมีรายงานว่าปี 2021 ที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมใหม่ต่อหนึ่งยูนิต ทั้งในพื้นที่โตเกียวและบริเวณใกล้เคียงพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ตัวเลข 62.60 ล้านเยน (ราคา 18 ล้านบาทนิดๆ) แซงหน้าจำนวนสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ในปี 1990 เลยทีเดียว ราคาคอนโดฯ ที่ว่า เพิ่มขึ้นเป็น 2.9 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า เพิ่มทั้งในเขตเมืองหลวงและในอีกสามจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ คานางาวะ, ชิบะ และไซตามะ  สาเหตุของราคาแพงลิบลิ่ว มาจากความนิยมที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์หรูหราที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดฯ สูงใจกลางเมืองโตเกียว ก็คือย่านที่อยู่ฮอตฮิตที่ทุกคนล้วนใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของ เมื่อเทียบราคาคอนโดฯ ต่อยูนิตที่เคยมียอดเฉลี่ยแตะเพดานสูงสุด ระหว่างปี 1990 กับปี 2021 ช่วงต้น 90s ราคาคอนโดฯ แถบเขตโตเกียวอยู่ที่จำนวน 61.23 ล้านเยน (ราคาประมาณ 17 ล้านกว่าบาท) ราคาที่แพงมากในปัจจุบันนี้ มาจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ญี่ปุ่นเริ่มเตรียมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโตเกียวปี 2013 ประกอบกับปัจจัยการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และแน่นอน ต่อจากนี้ราคาไม่อาจลดต่ำลงได้ง่ายๆ […]

ชม 7 หนังวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชีย เทศกาล CROSSCUT ASIA Delicious! ดูฟรีออนไลน์ วันนี้ – 3 ก.พ. 65

ใครอยากดูภาพยนตร์ ‘รสดี’ บ้าง? สำหรับปี 2022 เจแปนฟาวน์เดชั่นได้จัดงานเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ ‘CROSSCUT ASIA Delicious!’ อีกครั้ง ในปีนี้เทศกาลพร้อมเสิร์ฟ 7 ภาพยนตร์ที่เล่าถึงวัฒนธรรมอาหารจากญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ทุกคนได้ลิ้มลองและสัมผัสวัฒนธรรมอาหารของแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้ง ภาพยนตร์ 7 เรื่องแสนเลิศรสที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นคัดสรรมา ได้แก่ 1) Aruna & Her Palate (2018) เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘อรุณา’ นักระบาดวิทยาที่ถูกส่งตัวไปตรวจสอบโรคไข้หวัดนกที่กำลังระบาด เธอจึงชวนเพื่อนอีกสามคนไปด้วย ทุกคนจึงได้ใช้เวลาและทานอาหารต่างๆ ร่วมกันตลอดการเดินทาง ผู้ชมจะได้เห็นความหลากหลายของอาหารอินโดนีเซีย พร้อมๆ กับฟังดนตรีแจ๊สรื่นหูผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้  2) Balut Country (2015) เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘จุน’ ชายหนุ่มที่ได้รับฟาร์มเป็ดจากพ่อผู้ล่วงลับ เขาต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่จะส่งผลต่อชีวิตของผู้คนนับร้อย เพราะเขาต้องเลือกระหว่างการขายฟาร์มเพื่อรองรับอนาคตของตัวเอง และการรักษาฟาร์มไว้เพื่อให้ผู้ดูแลฟาร์มทั้งหลายยังมีงานทำและดำเนินชีวิตต่อไปได้ 3) Kampai! Sake Sisters (2019) สารคดีที่เล่าเรื่องของผู้หญิงสามคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าของอุตสาหกรรมหมักสาเก ทั้งผู้หญิงที่ได้รับมรดกตกทอดเป็นโรงหมักอายุกว่าร้อยปี จนกลายเป็นหัวหน้าโรงหมัก อีกหนึ่งคนคือที่ปรึกษาด้านสาเกจากนิวซีแลนด์ที่ทำงานสนับสนุนให้สาเกแพร่หลายไปทั่วโลก ส่วนคนสุดท้ายคือบริกรสาเก ผู้เป็นนักจับคู่เมนูอาหารเพื่อกินคู่กับสาเก ผู้หญิงทั้งสามคนทำให้เห็นว่าโลกของสาเกพัฒนาไปไกลและเปิดกว้างมากขึ้น […]

1 72 73 74 75 76 119

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.