
WHAT’S UP
อ่านบันทึกเรื่องราวของชาว LGBTQ+ ที่เชื่อมโยงความทรงจำกับสถานที่ บนแผนที่ออนไลน์ ‘Queering the Map’
ทุกคนย่อมมีพื้นที่หรือสถานที่ในความทรงจำ เช่น สวนสาธารณะแห่งนี้เพื่อนสนิทที่เคยแอบชอบมักพามานั่งเล่น ใต้ต้นไม้ต้นนี้เป็นที่ที่เราบอกชอบแฟนคนแรก หรือกระทั่งถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นโปรดของแฟนเก่าที่เธอใช้บอกเลิกเราเมื่อหลายปีก่อน ฯลฯ หลายคนอาจเลือกที่จะเก็บงำไว้กับตัว แต่บางคนก็อยากบอกเล่าความทรงจำเหล่านี้ให้คนอื่นได้รับรู้ Queering the Map เป็นแพลตฟอร์มที่มีหน้าตาคล้ายกับ Google Maps ที่เรารู้จักกันดี แต่ความพิเศษคือ มันเป็นแผนที่สีชมพูที่เปิดให้กลุ่ม LGBTQ+ เข้ามาบันทึกหรือแบ่งปันเรื่องราวในความทรงจำหรือความรู้สึกต่อสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่เรื่องเล่าผ่านความทรงจำเท่านั้น แต่ในแผนที่นี้ยังอัดแน่นไปด้วยการเปิดเผยตัวตน การเผชิญหน้ากับความรุนแรง ช่วงเวลาแห่งความรักที่ลืมไม่ลง หรือแม้แต่ความอาลัยต่อช่วงเวลาในอดีต พูดง่ายๆ ว่า Queering the Map ทำหน้าที่เป็นเหมือนที่เก็บบันทึกชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งถ้าใครคิดว่าเรื่องราวเหล่านั้นมีความสำคัญกับตัวเอง แน่นอนว่าสำหรับ Queering the Map ก็มองว่าเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้มีความสำคัญต่อเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน ‘Lucas LaRochelle’ ผู้สร้างโปรเจกต์นี้เล่าถึงจุดกำเนิดของ Queering the Map ต่อสื่อต่างๆ ว่า ตัวเองได้แรงบันดาลใจจากต้นไม้ที่มักขี่จักรยานผ่าน ซึ่งเป็นจุดที่เขาได้เจอกับคู่ชีวิต และยังเป็นที่ที่พวกเขาทั้งคู่ได้พูดคุยและเปิดเผยตัวตนทางเพศของตัวเอง หลังจากนั้นเมื่อเขาผ่านไปยังต้นไม้ต้นนั้นอีกครั้ง ก็จะรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับพื้นที่ตรงนั้นเสมอ และทำให้เขาคิดถึงสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้ด้วยเหมือนกัน ตามไปอ่านเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ บนแผนที่สีชมพูฉบับนี้ได้ที่ […]
ตัวช่วยพ่อแม่รุ่นใหม่รับมือลูกเล็ก แอปฯ วิเคราะห์เสียงร้องไห้ ‘CryAnalyzer’ เพื่อแปลงเป็น 5 อารมณ์ ผ่านอีโมจิน่ารัก
สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การต้องรับมือกับเสียงร้องไห้ของลูกเล็กคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ว่าจะฟังอย่างไรก็แยกไม่ออกอยู่ดีว่า ระหว่างร้องไห้เพราะหิวกับร้องไห้เพราะง่วงนอน มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ‘CryAnalyzer’ คือแอปพลิเคชันวิเคราะห์เสียงเด็กร้องไห้ ที่อาจเป็นตัวช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจเสียงร้องไห้ของเด็กได้มากขึ้นผ่านการวิเคราะห์เสียงจาก AI CryAnalyzer เป็นผลงานการออกแบบของ ‘First Ascent inc.’ บริษัทเทคโนโลยีสำหรับเด็ก สัญชาติญี่ปุ่น ที่เกิดขึ้นจากการเก็บตัวอย่างช่วงอารมณ์ต่างๆ ของทารกอายุตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี จำนวนมากกว่า 20,000 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เสียงร้องไห้และแปลงเป็น 5 อารมณ์ ได้แก่ หิว ง่วงนอน เบื่อ โกรธ หรือรู้สึกไม่สบายตัว ผ่านอีโมจิน่ารักๆ ส่วนวิธีการอ่านค่าความรู้สึกก็ทำได้ง่ายๆ แค่กดบันทึกเสียงร้องของทารกเป็นเวลา 5 – 10 วินาที จากนั้นแอปฯ จะทำการวิเคราะห์อารมณ์ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของทารกตามข้อมูลประวัติที่จัดเก็บไว้ โดยคำนึงถึงเพศและอายุของทารกร่วมด้วย ซึ่งทางทีมผู้พัฒนาแอปฯ อ้างว่ามีความแม่นยำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการระบุสภาวะทางอารมณ์ เพื่อให้พ่อแม่มือใหม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของทารกดีขึ้น นอกจากนี้ ภายในแอปฯ ยังมีการแสดงประวัติการร้องไห้ย้อนหลัง สำหรับดูความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของลูกน้อยได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจ ดาวน์โหลดแอปฯ ‘CryAnalyzer’ […]
เคลียร์กองดอง บริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางคลองเปรม วันนี้ – 30 เม.ย. 66
หลายคนไม่รู้ว่ากิจกรรมที่เป็นหนึ่งในความรื่นรมย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำคือการอ่านหนังสือ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นักกิจกรรมที่เคยถูกคุมขังในเรือนจำเนื่องจากคดีทางการเมือง เคยเล่าว่า การอ่านหนังสือคือกิจกรรมที่เขาทำมากที่สุดตอนอยู่ในเรือนจำ โดยอ่านทุกอย่างตั้งแต่วรรณกรรม หนังสือประวัติศาสตร์ ยันนิตยสารรถยนต์ หลังหยุดยาววันสงกรานต์ที่ผ่านมา ชวนทุกคนเคลียร์กองดอง แยกหนังสือที่อ่านจนหนำใจแล้ว หรือซื้อหนังสือใหม่อ่านสนุก ส่งไปยังโครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.) ที่เปิดรับบริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือตำรา สารคดี หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ก็นำมาบริจาคได้หมดที่ กล่องรับบริจาคบริเวณหน้าศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชั้น 1 ของคณะนิติศาสตร์ ส่วนคนที่ไม่สะดวกเดินทาง ทางโครงการฯ ก็เปิดให้ส่งหนังสือที่อยากบริจาคมาที่ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12121 บริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง โครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.)
AG Campus โครงการเชื่อมต่อความรู้สู่ธรรมชาติ ด้วยห้องเรียนสีเขียวใจกลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
จากกระแสที่สังคมให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวของเมืองและความยั่งยืนกันมากขึ้น ทำให้ ‘AG Insurance’ บริษัทประกันภัยสัญชาติเบลเยียมตัดสินใจรีโนเวตอาคารสำนักงานใหม่ เพื่อให้บริเวณชั้นใต้ดินและชั้นหนึ่งเป็นเหมือนห้องเรียนสีเขียวที่เชื่อมต่อความรู้สู่ธรรมชาติในชื่อ ‘AG Campus’ AG Campus ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ภายในประกอบด้วยห้องเรียน ห้องประชุม พื้นที่เลานจ์ และ 2 หอประชุมขนาดใหญ่ ที่ออกแบบโดยมีเป้าหมายหลักคือการเล่นกับแสงสว่าง พื้นที่ว่าง และเชื่อมต่อกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานอาคาร และสร้างความยั่งยืนในโลกของเรา AG Insurance ออกแบบอาคารโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการกักเก็บน้ำฝนสำหรับนำมาใช้ในอาคาร รวมถึงสร้างหลังคาสีเขียวขึ้นจากพืชคลุมดิน และสวนสาธารณะขนาดเล็กภายในพื้นที่ว่างที่ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 1,500 ตารางเมตร คำแนะนำทั้งหมดเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างและระบบต่างๆ ที่มีความยั่งยืนของ AG Campus ต่างได้รับความช่วยเหลือจาก ‘Rotor’ สตูดิโอออกแบบที่สร้างแนวปฏิบัติการออกแบบอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อให้ AG Campus แห่งนี้เป็นเหมือนโครงการตัวอย่างสำหรับการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนในอนาคต Sources : ArchDaily | t.ly/0UZYArchiweek | t.ly/O-Sy
ไม่ต้องตบก้นขวดอีกต่อไป Heinz ดีไซน์ขวดที่มีฝาปิดสองฝั่ง บีบซอสมะเขือเทศได้หมดจนหยดสุดท้าย
สาวกซอสมะเขือเทศคงรู้ดีว่า การเทซอสออกจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคสารพัด ทั้งการเขย่าขวดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนเปิดฝาครั้งแรก ไปจนถึงการตบก้นขวดหรือเขย่าแรงๆ เพื่อเทซอสที่เหลืออยู่ก้นขวดให้ไหลออกมา ซึ่งวิธีนี้มักทำให้ซอสกระเด็นและหกเลอะเทอะไปทั่ว เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่คนชอบกินซอสต้องเจอ แบรนด์ซอสมะเขือเทศระดับโลก Heinz จึงปิ๊งไอเดีย คิดค้น ‘Heinz Ketch-Up & Down Bottle’ ซอสมะเขือเทศรุ่นพิเศษที่มีฝาปิดอยู่สองฝั่งตรงข้ามกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเทซอสได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากซอสขวดคว่ำที่ทางแบรนด์เคยเปิดตัวเมื่อปี 2010 ทาง Heinz เปิดเผยว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทางแบรนด์พบว่าลูกค้าแต่ละคนมีวิธีการใช้สินค้าที่แตกต่างกันไป บางคนชอบบีบขวดแรงๆ ขณะที่บางคนอาจชอบเขย่าขวดซอสก่อนใช้ ส่วนวิธีจัดเก็บก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะบางคนอาจวางขวดให้ตั้งตรง คว่ำ หรือตั้งตะแคง “จากความสำเร็จของขวดซอสกลับหัวที่เปิดตัวเมื่อปี 2010 เรามองเห็นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนของ Heinz เผชิญอยู่ หากแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เราอาจพลิกโฉมการทานซอสมะเขือเทศให้ผู้บริโภคก็เป็นได้” Passant El Ghannam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Heinz กล่าว ตอนนี้ Heinz Ketch-Up & Down Bottle เป็นเพียงแนวคิดต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายจริง แต่ถ้าทาง Heinz […]
‘Sabus’ รถบัสเก่าที่เปลี่ยนให้เป็นซาวน่าเคลื่อนที่ ออกเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ
เมื่อไม่มีการนำไปใช้งานต่อ ‘รถบัสรุ่นเก่า’ อาจต้องจอดทิ้งไว้เฉยๆ เพื่อรอการแยกชิ้นส่วน แต่บริษัทสตาร์ทอัปในประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ยังใช้งานได้ของรถโดยสารประเภทนี้ จึงเกิดเป็นไอเดียที่ผสมผสานการชมวิวผ่านหน้าต่างรถและการอบซาวน่าไว้ในรถคันเดียวกัน ‘OSTR’ บริษัทสถาปัตยกรรมในโอซาก้าได้ร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัป ‘Sauna Ikitai’ ในการเปลี่ยนรถบัสเก่าให้กลับมาใช้งานได้ แต่เป็นในรูปแบบของซาวน่าเคลื่อนที่ ที่จะเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ ซาวน่าติดล้อนี้มีชื่อว่า ‘Sabus’ เป็นรถบัสที่ได้รับการปรับปรุงให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกระดับความร้อนได้จากตำแหน่งที่นั่งและระยะห่างจากเพดาน โดยแถวแรกจะอยู่ใกล้เตาที่สุดและได้รับความร้อนโดยตรง ซึ่งสามารถควบคุมปุ่มทำความร้อนเองได้ แถวที่สองจะมีพื้นสูงและอยู่ใกล้เพดานมากที่สุด และแถวสุดท้ายจะนั่งสบายที่สุด ด้วยม้านั่งแบบยาวที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการยืดขาหรือจะนอนก็ยังได้ อุปกรณ์ซาวน่าส่วนใหญ่ทำขึ้นจากการนำชิ้นส่วนในรถบัสมาใช้ใหม่หรือปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นราวจับที่ติดกับที่นั่งที่นำป่านมาหุ้มเพื่อให้รู้สึกสบายยิ่งขึ้น สายสำหรับห่วงจับถูกนำมาใช้กับเทอร์โมมิเตอร์เพื่อบอกอุณหภูมิภายใน กล่องตั๋วที่มีหมายเลขก็ถูกเปลี่ยนเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำหอม ส่วนบริเวณด้านหน้าของรถบัสยังถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนและเก็บสัมภาระ โดยรถคันนี้ยังคงรักษาหน้าต่างขนาดใหญ่เอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ชมวิวทิวทัศน์ระหว่างที่ซาวน่าเคลื่อนตัวไปด้วย สำหรับรูปลักษณ์ด้านนอกนั้นยังคงลักษณะของรถบัสสีส้มเอาไว้ แต่มีการเพิ่มเติมองค์ประกอบบางอย่าง เช่น เติมเส้นสีฟ้าอ่อนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างซาวน่ากับอ่างน้ำเย็น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการใช้งานใหม่ และป้ายข้อมูลไฟฟ้าด้านหน้ารถบัสที่เปลี่ยนให้เป็น ‘ซาวน่าไอน้ำ 37’ ซึ่งหมายถึงซาวน่าที่จะพกพาไปยังที่ต่างๆ รวมไปถึงรูปสัญลักษณ์ของรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญลักษณ์ของห้องซาวน่าแทน Sources :Designboom | bit.ly/3zP5bdyOSTR | bit.ly/3ZWpnVySauna Ikitai | bit.ly/3mrI6dW
โรงเรียนอนุบาลใต้ทางรถไฟยกระดับในโตเกียว บรรยากาศอบอุ่น มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้ง ไอเดียเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้มีประโยชน์และปลอดภัย
ในความหนาแน่นของเมืองและผู้คน การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยคือหนึ่งในโจทย์สำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกยังคงหาทางออกอยู่เสมอ วันนี้เราอยากพาไปดูหนึ่งไอเดียสำหรับการออกแบบพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สถานที่แห่งนี้คือ ‘โรงเรียนอนุบาล’ ที่ตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟยกระดับในมาจิยะ ใจกลางเมืองโตเกียว ทางรถไฟที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2474 เมื่อมีการเกิดขึ้นของทางรถไฟยกระดับแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือมีร้านค้าและบ้านเรือนถูกสร้างขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ทางด้านล่าง ก่อเกิดเป็นภูมิทัศน์ใจกลางเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัย ในเวลาต่อมา ชาวเมืองถูกเวนคืนพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับการเสริมโครงสร้างยกระดับจากแผ่นดินไหว สถานที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างให้ว่างเปล่าเป็นเวลานาน และได้เริ่มต้นนำกลับมาใช้ใหม่โดยปรับปรุงพื้นที่ด้วยการสร้างโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เมืองกำลังขาดแคลนเพราะไม่มีที่ทางจะสร้างนั่นเอง โดยโครงสร้างทางยกระดับที่ตัดผ่านตัวเมืองแห่งนี้มีคานที่สูงประมาณ 3.9 เมตร และมีระยะความกว้างระหว่างเสาประมาณ 6 เมตร ซึ่งกว้างขวางพอเหมาะมากสำหรับการสร้างพื้นที่ห้องเรียนหรือห้องอเนกประสงค์ต่างๆ ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และทางสถาปนิกก็ยังทำการออกแบบหลังคาขนาดใหญ่ยาว 70 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกันระหว่างขนาดของโครงสร้างยกระดับและขนาดของสถาปัตยกรรม รวมถึงยังทำผนังของโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ให้ปลอดภัยและห่างไกลอันตรายจากความเร่งรีบของการจราจรบนท้องถนน ภายใต้สะพานยกระดับซึ่งเป็นหลังคาขนาดใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้งที่ไม่เหมือนใคร สร้างขึ้นจากการซ้อนทับของโครงสร้าง และโครงสร้างที่สูงก็กลายเป็นหลังคาช่วยปกป้องสนามเด็กเล่นจากแดดจ้า ฝนชุ่มช่ำ และทำให้แสงยังสอดส่องได้อย่างเพียงพอ นอกจากเครื่องเล่นแล้ว โรงเรียนอนุบาลยังมีลานซักล้างและลานจอดจักรยานด้วย จากพื้นที่ที่คนเมืองรู้สึกอันตรายอย่างใต้ชายคาทางยกระดับ ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยและกลายเป็นอีกสถานที่ในเมืองที่ทำให้ผู้คนได้เพลิดเพลินไปกับดอกไม้และต้นไม้ที่ปลูกบริเวณโรงเรียน และเมื่อมีการสัญจรผ่านไปบนท้องถนนก็จะทำให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นชีวิตประจำวันของเด็กๆ เป็นเสมือนฉากการเติบโตขึ้นของอนาคตประชากรของเมืองที่เลื่อนเปลี่ยนผ่านไปในทุกวัน Source :ArchDaily | t.ly/Oq4jd
‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูแม่เหล็ก ที่ทุบแตกกี่ครั้ง ก็ประกอบใหม่ได้
ถ้าถามถึงความเศร้าหนึ่งที่เราต้องเผชิญในวัยเด็ก คงเป็นการหยอดกระปุกออมสินหมูมานานแรมปี แต่เมื่อต้องทุบหมูเซรามิกเพื่อเอาเหรียญที่หยอดไว้ออกมากลับทำใจไม่ได้ซะอย่างนั้น เพื่อให้ฝันของเด็กไม่ต้องสลายไป ‘Dario Narvaez’ จึงได้ออกแบบกระปุกออมสินหมูขึ้นมาใหม่ โดยมีความพิเศษคือสามารถทุบเพื่อนำเศษเหรียญออกมา และประกอบกระปุกออมสินเข้าด้วยกันใหม่ได้ โดยตั้งชื่อให้การออกแบบนี้ว่า ‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูสีขาวล้วนที่เผยให้เห็นพื้นผิวที่แตกร้าวแทนที่จะปกปิดไว้อย่างแนบเนียน เป็นกิมมิกเล็กๆ ของ The Penny Piggy Bank ที่ Dario Narvaez ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาด้วยทองและยางไม้ ที่รู้จักกันในชื่อ ‘คินสึงิ (Kintsugi)’ เมื่อออกแรงทุบไปที่ The Penny Piggy Bank รอยแตกร้าวดังกล่าวจะแบ่งตัวกระปุกออมสินหมูออกเป็นชิ้นส่วน PVC ทั้งหมด 12 ชิ้น ที่ทนทานต่อแรงกระแทกสูง ทนต่อรอยขีดข่วนที่เกิดจากการทุบกระปุกออมสินซ้ำๆ และสามารถประกอบขึ้นใหม่ได้ตลอดการใช้งานด้วยแม่เหล็กที่ถูกซ่อนไว้ภายใน นอกจากนี้ The Penny Piggy Bank ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการสำหรับเด็กผ่านการประกอบกระปุกออมสินขึ้นมาใหม่ เพราะโครงสร้างที่ไม่เหมือนใครของกระปุกออมสินจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ได้หลายพันวิธี ผ่านการจัดเรียงหรือหมุนชิ้นส่วนบางชิ้นในลักษณะต่างๆ คล้ายตัวการ์ตูน Mr. Potato Head ในเรื่อง Toy […]
บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัด สำหรับครอบครัวที่ไม่สะดวกพาไปเอง กับเพจเฟซบุ๊ก ‘ลูกสาวพาหาหมอ’
เมื่อถึงวัยหนึ่ง การไปหาหมอตามนัดอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่พออายุมากขึ้น การจะไปไหนมาไหนเองคงไม่สะดวก ลูกหลานก็อาจไม่ว่างพาไปหาหมอทุกครั้ง บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัดจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ข้อนี้ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ คือธุรกิจให้บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เกิดขึ้นจาก ‘เอมี่-อมรรัตน์ ขันตยาภรณ์’ และลูกสาวผู้ทำหน้าที่พาผู้สูงอายุในบ้านไปหาหมอเป็นประจำ เนื่องจากญาติคนอื่นๆ มักไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทำให้ทั้งคู่นึกถึงครอบครัวอื่นๆ ที่คนในครอบครัวอาจประสบปัญหาไม่ว่างพาผู้สูงอายุไปหาหมอ จนเกิดเป็นไอเดียที่อยากให้บริการนี้ขึ้นมา หน้าที่ของ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จะเริ่มต้นตั้งแต่รับผู้สูงอายุจากที่บ้าน พาไปโรงพยาบาล ดำเนินการเรื่องเอกสาร เข้าพบคุณหมอพร้อมกับผู้ป่วยด้วยหากเป็นเคสที่ต้องการ ไปจนถึงพากลับบ้านอย่างปลอดภัย โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลนั้นจะมีการอัปเดตความคืบหน้าให้ญาติผู้สูงอายุทราบอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากเป็นงานที่ต้องนัดล่วงหน้า ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จึงไม่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ รวมถึงผู้ป่วยเองต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น พูดคุยสื่อสารและเดินได้ เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่รถยนต์ ทำให้พวกเธอไม่สะดวกรับผู้ป่วยที่นั่งวีลแชร์ตลอดเวลาได้ อัตราค่าบริการนี้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อ 8 ชั่วโมง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางที่เริ่มต้นด้วย 300 บาท หรือคิดตามระยะทางระหว่างบ้านลูกค้าถึงโรงพยาบาลทั้งขาไป-ขากลับ ซึ่งหากใครต้องการใช้บริการต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนถึงวันนัด เพราะถ้าจองช้าคิวอาจเต็มก่อนได้ ปัจจุบัน ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ เน้นการให้บริการเพียงพาผู้สูงอายุไปหาหมอเท่านั้น แต่ในอนาคต หากลูกค้ามีความต้องการอื่นๆ ก็อาจมีบริการเพิ่มเติม เช่น การพาไปซื้อของหรือบริการอื่นๆ […]
Light Rail Tunnel Karlsruhe ชานชาลารถไฟฟ้าที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นตัวเอกในหนังรักโรแมนติก
แม้ว่าชานชาลารถไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นฉากที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในหนังรักโรแมนติก แต่ความเป็นจริงแล้วที่นี่กลับเป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศอึมครึม เต็มไปด้วยผู้คน เสียงดัง และความวุ่นวายจนมองหาความโรแมนติกไม่ค่อยจะเจอ ถ้าคุณกำลังมองภาพสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นแบบนี้ เราอยากชวนไปสัมผัสความโรแมนติกของชานชาลารอรถไฟฟ้าใต้ดินรางเบาทั้ง 7 แห่งบริเวณใจกลางเมืองคาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี อย่าง ‘Light Rail Tunnel Karlsruhe’ พร้อมๆ กัน ผ่านการออกแบบและติดตั้งไฟที่จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนกำลังเป็นตัวเอกในหนังรักโรแมนติกสักเรื่อง Light Rail Tunnel Karlsruhe เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอออกแบบ ‘allmannwappner’ ร่วมกับ ‘Ingo Maurer’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโคมไฟและการติดตั้งไฟ ทำให้ชานชาลาทั้ง 7 แห่งสามารถถ่ายทอดความเรียบง่ายออกมาได้ จนทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสงบ ไม่ต้องเร่งรีบตลอดเวลาเหมือนตอนใช้งานรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งอื่นๆ พื้นที่สีขาวที่เรียบง่ายและสม่ำเสมอตลอดเส้นทาง เกิดจากการใช้วัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบนเพดาน ผนัง หรือพื้น เพื่อลดสัญญาณรบกวนทางสายตาและให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อย่างรถไฟ สัญลักษณ์ และตัวอักษรสีแดงภายในชานชาลาได้มากขึ้น นอกจากนี้ Ingo Maurer ยังใช้หลอดไฟ LED สีขาวให้แสงสว่างกับสถานี ส่งผลให้ชานชาลาแห่งนี้มีความมินิมอลเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น และพิเศษไปกว่าเดิมด้วยการเล่นแสงจากสปอตไลต์ RGB สีแดง น้ำเงิน […]
ตามล่าขุมทรัพย์ปริศนาแห่งธนบุรีไปกับ ‘เกมท่องธน’ (Game of Thon) ที่ผสมการเล่นบนจอและโลกจริงไว้ด้วยกัน
‘ธนบุรี’ คืออดีตเมืองหลวงที่มีเรื่องราวมากมายซ่อนไว้ ซึ่งไม่ได้อยู่เพียงแค่ในวัดวังและโบราณสถานอันยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ยังซุกซ่อนอยู่ตามซอกซอย เส้นทาง และผู้คน รอคอยให้ใครสักคนมาค้นพบในสักวัน เร็วๆ นี้ ทุกคนจะได้สัมผัสการผจญภัยครั้งสำคัญกับ ‘เกมท่องธน’ (Game of Thon) เกมรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการเล่นบนหน้าจอสมาร์ตโฟนกับการเล่นในสถานที่จริงเข้าไว้ด้วยกัน โดยตัวเกมจะพาทุกคนไปตามหาเรื่องราวในอดีตของฝั่งธนฯ และเปลี่ยนประสบการณ์การท่องเที่ยวในย่านนี้ให้แตกต่างไปจากเดิม ผู้นำเสนอเกมท่องธนคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากพัฒนาย่านฝั่งธนบุรี ‘ยังธน’ ร่วมกับ ‘CROSSs’ และ ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ ซึ่งภายในเกมมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) สวมบทบาทเป็นนักผจญภัย ตามหาขุมทรัพย์ในอดีตของธนบุรีที่หายไป2) ผสมผสานการเล่นทั้งโลกหน้าจอและโลกจริงเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน3) เปลี่ยนย่านบางกอกใหญ่ให้เป็นดินแดนการผจญภัยแสนสนุก4) ลับสมองประลองปัญหากับมินิเกมจากสถานที่ต่างๆ ทั่วบางกอกใหญ่5) เพิ่มความสนุกและตื่นเต้นไปกับเรื่องราวของย่าน ด้วยการสะสมสัตว์เลี้ยงและการ์ดต่างๆ6) สนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ด้วยระบบคูปองแลกซื้อสินค้าจากร้านชุมชน “Game of Thon คือเกมที่จะทำให้ผู้เล่นได้รู้จักฝั่งธนฯ มากขึ้น เราอยากให้เกมนี้เป็นเหมือนตัวกลางที่ทำให้คนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ได้เจอมาเจอกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ คุณค่าของย่าน รวมไปถึงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนด้วย” ‘เมฆ สายะเสวี’ สมาชิกกลุ่มยังธน เล่าให้ฟังถึงความตั้งใจของการพัฒนาเกมนี้ มากไปกว่านั้น กลุ่มยังธนยังคาดหวังว่า เกมท่องธนจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ผู้คนรู้จักย่านต่างๆ ในธนบุรีมากขึ้น โดยผู้เล่นเกมสามารถใช้เกมนี้ในการชักชวนเพื่อนๆ […]
O_building เปลี่ยนเส้นทางระหว่างอาคารที่มืดทึบให้น่าเดิน ด้วยกระจกครึ่งบาน รับแสงแดดและเพิ่มพื้นที่
เมื่อพูดถึงอาคารที่อยู่อาศัย เรามักนึกถึงตึกสูงที่ตั้งชิดกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่างให้เดิน เช่นเดียวกันกับเมือง Musashino ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารพาณิชย์ตั้งเรียงรายจนทำให้เกิดทางเดินที่คับแคบและมืดทึบ สตูดิโอ Yohei Kawashima Architects จึงออกแบบ ‘O_building’ อาคารที่ล้อมรอบไปด้วยกระจกครึ่งบานและทางเดินที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมุมมองที่สวยงามของเมืองโตเกียว O_building เป็นอาคารสามชั้นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ‘Yohei Kawashima’ มีลักษณะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยรูปทรงเสาธง (Flagpole-shaped Residence) ที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติทั้งทิศเหนือและทิศใต้ของโครงสร้างอาคาร Yohei Kawashima Architects พยายามออกแบบให้พื้นที่ทางเดินด้านข้างมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการวางแผ่นกระจกครึ่งบานไว้ตามทาง เพื่อทำหน้าที่รับแสงและเงาของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาตามช่องว่าง ทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่ามีพื้นที่มากขึ้นจากการสะท้อนภาพอาคารและด้านหลังของอาคารอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ติดกันด้วย นอกจากนี้ ทางทีมสถาปนิกยังเสริมความน่ามองของทางเดินด้วยต้นไม้เขียวขจี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมาใช้เวลาพักผ่อนตรงบริเวณนี้ หรือผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้สัมผัสกับธรรมชาติ และพวกเขายังเชื่อว่าทางเดินเล็กๆ ข้างอาคารแห่งนี้จะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การเดินท่ามกลางแสงแดดให้สดชื่นขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคุณภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารได้อย่างแน่นอน Source :Designboom | bit.ly/40A77Cm