‘Sydney Fish Market’ ตลาดปลาแห่งใหม่ในซิดนีย์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งท่องเที่ยว และช่วยฟื้นฟูพื้นที่ไปด้วย

ตลาดปลาในอดีตอาจไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการท่องเที่ยวนัก แต่ในปัจจุบันหลายๆ เมืองที่นำเอาอาหารทะเลมาเป็นจุดขายก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลาดปลาให้น่าเดิน และเพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการซื้อขายอาหารทะเลอย่างเดียว เช่นเดียวกับ ‘Sydney Fish Market’ ตลาดปลาแห่งใหม่ของซิดนีย์ที่ย้ายมาอยู่บนอ่าว Blackwattle ด้วยขนาดกว่า 3.6 เฮกตาร์ หรือประมาณ 36,000 ตารางเมตรที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเมืองที่ชักชวนผู้คนให้มาลิ้มรสอาหารทะเลสดๆ พร้อมซึมซับบรรยากาศสวยงามจากการเดินริมทะเล ตลาดปลาแห่งใหม่นี้เป็นการร่วมมือกันของสตูดิโอ 3XN, BVN และ Aspect Studios ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มชื่อเสียงแห่งการเป็นจุดหมายด้านอาหารทะเลของเมืองซิดนีย์ ด้วยการทำให้พื้นที่แห่งนี้มีทั้งร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และตลาดอาหารทะเลสด เพื่อดึงดูดทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวให้แวะมาเยี่ยมเยียนตลาดแห่งนี้ รวมไปถึงการฟื้นฟู Blackwattle Bay ให้มีชีวิตชีวาขึ้น สิ่งที่ทำให้ตลาดปลาแห่งนี้ไม่เหมือนใครคือ โครงสร้างหลังคาความยาวกว่า 200 เมตรที่มีการออกแบบให้คล้ายเกล็ดปลา โดยทำขึ้นจากไม้และอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน ช่วยเรื่องระบายอากาศ กักเก็บน้ำฝน รองรับความต้องการในการใช้น้ำ มีแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้แสงอาทิตย์ช่วยผลิตไฟฟ้าใช้ภายในตลาด และสกายไลต์ให้แสงแดดส่องเข้าไปในตัวอาคาร เพิ่มความสวยงามให้ดูสดใส น่าเดินจากแสงธรรมชาติภายนอก ด้วยความที่ตลาดปลาตั้งอยู่บนน้ำและสวนสาธารณะ ภายนอกอาคารจึงมีทางเดินริมทะเลรอบๆ เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนเดินเล่นในเส้นทางริมน้ำ รับบรรยากาศสบายๆ รวมถึงมีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะเป็นพื้นที่สังสรรค์และสร้างปฏิสัมพันธ์ของชุมชนอีกด้วย Sources :3XN […]

War & Women’s Human Rights Museum สถานที่บอกเล่าเรื่องราวที่สตรีเกาหลีใต้ต้องเผชิญในสงครามญี่ปุ่น-เกาหลี

แม้สงครามระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีจะจบลงนานแล้ว แต่ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต้องเผชิญในเวลานั้นยังคงอยู่ และรอคอยคำขอโทษมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day หรือ IWD) ที่ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี Urban Creature ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘War & Women’s Human Rights Museum’ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี ในประเทศเกาหลีใต้ War & Women’s Human Rights Museum อาจไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ที่คุ้นหูนักท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดมาแล้วกว่า 13 ปี ตั้งแต่ปี 2012 โดยปรับปรุงจากบ้านที่มีอยู่เดิมบนเชิงเขาซองมี ในเขตมาโปของกรุงโซล บนพื้นที่ทั้งหมด 308 ตารางเมตร ที่แบ่งออกเป็นสองชั้นบนดินและหนึ่งชั้นใต้ดิน พิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบมาในรูปแบบของกำแพงอิฐสีเทาดำ มีประตูที่เล็กกว่าประตูบ้านขนาดปกติเพียงบานเดียวเป็นทางเข้า-ออก อีกทั้งยังไม่มีป้ายบอกทางขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆ มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินไปในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เชิงบรรยาย ที่จะมีไกด์ร่วมเดินกับผู้เยี่ยมชมคอยบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกพิพิธภัณฑ์ไปแต่ละส่วน โดยที่ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถรู้ล่วงหน้าผ่านป้ายได้ว่าพวกเขาจะต้องเจอเข้ากับอะไรเป็นลำดับถัดไป เพื่อนำเสนอถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่หญิงชราต้องเผชิญเมื่อพวกเธอถูกพาตัวไปในสงครามในฐานะสตรีบำเรอกาม การออกแบบภายใน War & Women’s Human […]

‘Offline Love’ เรียลลิตี้หาคู่จากญี่ปุ่น ที่ให้พรหมลิขิตทำงานคู่กับแผนที่ ผ่านการเดินเมืองแบบไม่พึ่งพาสมาร์ตโฟน

การติดตามเรื่องราวความรักในมุมมองของคนที่สามกลายเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง จนทำให้มีรายการแนวหาคู่ออกมาให้เราได้เห็นอยู่เรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Offline Love’ รายการเรียลลิตี้ญี่ปุ่นจาก Netflix ที่จะพาคนดูอย่างเราไปลุ้นเรื่องราวความรักระหว่างคนแปลกหน้ากัน แต่จะให้เดตกันเฉยๆ ก็ธรรมดาไป แทนที่จะเป็นการจับมารวมกลุ่มเพื่อหาคู่รักที่เคมีเข้ากันที่สุด รายการนี้กลับไม่ให้ผู้เข้าร่วมรายการใช้สมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ออนไลน์ใดๆ และเลือกให้หนังสือนำเที่ยวพร้อมแผนที่ เพื่อให้แต่ละคนออกไปผจญความแปลกใหม่ของเมืองที่ไม่รู้จัก เพราะรายการนี้แม้จะเป็นของญี่ปุ่น แต่สถานที่ถ่ายทำคือเมือง ‘Nice’ ประเทศฝรั่งเศส พูดให้โรแมนติกคือ รายการนำไอเดียเรื่องของพรหมลิขิตและการตกหลุมรักในสมัยก่อนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนมาใช้ หวังให้แต่ละคนพบเจอกันด้วยความบังเอิญจากการเดินตามท้องถนน แล้วสังเกตมือที่ถือหนังสือนำเที่ยวกับแผนที่ของกันและกัน ดังนั้นนอกจากจะได้ลุ้นว่าใครจะเจอกับใคร และคู่ไหนจะตกหลุมรักกันแล้ว การผจญภัยในเมือง Nice ของผู้เข้าร่วมรายการทั้งสิบคนยังทำให้เราได้เห็นถึงความสวยงามของบรรยากาศรอบตัว ความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการเดินเมืองที่สะดวกสบายและเอื้อต่อการตกหลุมรักกันอีกด้วย ติดตามเส้นทางพรหมลิขิตใน Offline Love ทั้ง 10 ตอนได้ทาง Netflix หรือชมตัวอย่างที่ tinyurl.com/4yzt8r4t

กินอร่อยแถมสบายใจ ไม่สร้างขยะ ส่อง 600 ร้านอาหารบน ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ โครงการใหม่ที่ กทม.ปักหมุดร้านที่แยกขยะดี

หลังจากความสำเร็จของโครงการไม่เทรวม ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะของ กทม. และลดปริมาณขยะได้อย่างต่อเนื่อง จาก 11,000 ตันต่อวันในปี 2562 เหลือ 9,000 ตันต่อวันในปีนี้ และยังช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะได้ถึง 300 ล้านบาท ปีนี้ กทม.จึงทำโครงการใหม่ที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดย ‘พรพรหม วิกิตเศรษฐ์’ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายถึงระบบการจัดการขยะของ กทม.ว่า มีการแบ่งขนาดเป็น S M และ L  ไซซ์ S คือการจัดการขยะของประชาชนทั่วไปตามบ้านเรือนต่างๆ ไซซ์ M คือร้านอาหาร ส่วนไซซ์ L คือห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ขนาดใหญ่ที่มีขยะจำนวนมาก ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีร้านอาหารกว่า 200,000 ร้าน และเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนไม่น้อย กทม.จึงเข้าไปดูแลขยะหลังครัวและหลังกินจากการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางผ่านโครงการ ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ ที่ร่วมมือกับร้านอาหารที่มีการจัดการขยะถูกต้อง พร้อมปักหมุดร้านที่เข้าร่วมโครงการบนเว็บไซต์ Greener Bangkok เพื่อให้ทุกคนเลือกอุดหนุนร้านที่แยกขยะดีๆ กันได้ง่ายขึ้น นอกจากเป็นการชี้เป้าร้านอาหารที่แยกขยะได้ดีแล้ว โครงการนี้ยังช่วยคาดการณ์ปริมาณขยะที่เกิดจากร้านอาหารและงบประมาณในการจัดการขยะอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะรูปแบบใหม่ของกรุงเทพมหานครที่จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2568 ตามประเภทผู้ก่อขยะ […]

‘North Boulder Library’ ห้องสมุดอเนกประสงค์ของชุมชน ให้ความรู้พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนต่อพื้นที่

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หน้าที่ของห้องสมุดที่ทุกคนรู้จักคือพื้นที่สำหรับให้บริการการอ่าน รวมถึงให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ แต่ในปัจจุบันหลายๆ ห้องสมุดเป็นมากกว่าแค่พื้นที่สำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว หนึ่งในนั้นคือ ‘North Boulder’ ห้องสมุดในรัฐ Colorado ที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนเลยก็ได้ North Boulder เป็นห้องสมุดที่ชุมชนรอคอยมานาน ด้วยเหตุนี้ ‘WORKac’ สตูดิโอออกแบบจากนิวยอร์กที่ยึดหลักคิดเรื่องความยั่งยืนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงออกแบบให้ห้องสมุดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์อเนกประสงค์ของชุมชนด้วย เพราะโครงการนี้ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก ส่งผลให้มีโซน Boulder Reads ที่สนับสนุนผลักดันให้ผู้ใหญ่และเด็กมีทักษะในการอ่าน รวมถึงโซน Maker Kitchen ที่มาจากความสนใจของชุมชนในเรื่องพื้นที่เรียนรู้ความสร้างสรรค์และครัวส่วนกลาง ภายในห้องสมุดแห่งนี้ยังมีห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ที่แบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้กับผู้ใหญ่ และพื้นที่สำหรับเด็กที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการอ่าน แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้พร้อมเล่นสนุกด้วยองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปีนผาหรือสไลเดอร์ แถมยังมีกระจกบานใหญ่ที่มองวิวภูเขาด้านหน้าได้ มากไปกว่านั้น ส่วน Maker Kitchen ยังเชื่อมต่อออกไปยังสวนกินได้และสนามเด็กเล่นด้านนอก ส่วนโซนด้านนอกมีพื้นทางลาดที่เชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นสองของห้องสมุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับชุมชนที่มีบางโปรแกรมเปิดให้เข้าในช่วงกลางคืน เช่น ห้องเรียน ESL (English as a Second Language) ซึ่งผู้เข้าเรียนสามารถใช้ทางลาดนี้ขึ้นไปยังชั้นสองโดยไม่ต้องผ่านห้องสมุดชั้นล่างที่ปิดอยู่ ปิดท้ายด้วยการออกแบบในด้านความยั่งยืน ที่มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาของห้องสมุดเพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี Rain Garden หรือสวนซับน้ำฝน ที่ช่วยรับน้ำฝน […]

Chicken Hero Pavilion เล้าไก่ใต้เนินเล็กๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาขยะอาหารด้วยการทำฟาร์มแบบยั่งยืน

ขยะอาหารกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศอินโดนีเซียหลังก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีปริมาณขยะอาหารมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนและอันดับสองของโลก โดยมีปริมาณขยะอาหารสูงถึง 1.6 ล้านตัน หรือประมาณ 300 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ด้วยเหตุนี้ อินโดนีเซียจึงเริ่มมองหาวิธีจัดการขยะอาหารพวกนี้ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือการสร้าง ‘Chicken Hero Pavilion’ เล้าไก่ใต้เนินเล็กๆ ในสวนบนเนินเขาของ Urban Forest Jakarta ที่กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบ จากการออกแบบของสตูดิโอ ‘RAD+ar’ โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถลดขยะอาหารในครัวเรือนและชุมชน ด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ภายใต้เนินมีลักษณะเป็นอุโมงค์คล้ายถ้ำ แบ่งตัวเล้าไก่ออกเป็นสองฝั่ง โดยมีพื้นที่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นทางเดินและช่องระบายอากาศ ช่วยให้อากาศไหลเวียนได้อย่างเหมาะสม และมีอุณหภูมิคงที่สำหรับการเลี้ยงไก่ ส่วนโครงสร้างหลังคาทำจากไม้ไผ่รีไซเคิลที่ถูกสานกันเป็นแพเพื่อรองรับน้ำหนักของเนินไม่ให้ถล่มลงมาเมื่อเจอกับแรงกดทับบริเวณด้านบน และใช้ใบไม้แห้งภายในสวน Urban Forest Jakarta มาเป็นวัสดุรองพื้นภายในเล้าเพื่อช่วยลดความชื้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างไปแล้วก็ขยับมาที่ไก่ภายใน Chicken Hero Pavilion ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการขยะอาหารที่รับมาจากร้านอาหาร 6 แห่งในบริเวณใกล้เคียง ก่อนที่ขยะอาหารที่เหลือจะถูกนำไปหมักรวมกับใบไม้แห้งแปลงเป็นปุ๋ยหมักในสวนและปุ๋ยเชิงพาณิชย์ต่อไป และเมื่อไก่ออกไข่ ไข่เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกแจกจ่ายกลับไปยังร้านอาหารต้นทาง อีกส่วนหนึ่งจะเปิดให้ผู้เยี่ยมชมเก็บเป็นของที่ระลึกกลับบ้านกันแบบสดๆ รัฐบาลอินโดนีเซียและ RAD+ar หวังว่า Chicken Hero Pavilion จะสามารถทำลายอคติที่มีต่อการเลี้ยงสัตว์ปีก และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เยี่ยมชมหันมาจัดการขยะอาหารในครัวเรือน […]

ลัดเข้าวัด เลาะเข้าศาลเจ้า แวะเข้าโบสถ์ ทริปเดินสำรวจชุมชน ความเชื่อ และศรัทธาในพื้นที่สามย่านกับ TedxChula

เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึงสามย่าน หลายคนคงคิดถึงบรรทัดทอง หมาล่า หรือเขตอาหารที่คึกคักตลอดคืน แต่จริงๆ พื้นที่ตรงนี้ได้ชื่อ ‘สามย่าน’ จากจุดตัดถนน 3 สาย คือ ถนนพระรามที่ 4 ถนนพญาไท และถนนสี่พระยา ซึ่งไม่เพียงแต่จุดตัดของถนนสามสาย ที่นี่ยังมีสามความเชื่อ สามรูปแบบความศรัทธาที่ปรากฏตั้งแต่อดีตกาลยาวนานมา ยามบ่ายของวันเสาร์ที่ผ่านมา TEDXChulalongkornU ได้ชวน Urban Creature ไปเดินสำรวจหลากหลายความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่สามย่าน ในธีม How to train your jargon ที่มีไกด์ทัวร์ท้องถิ่นของแต่ละสถานที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาดำเนินกิจกรรม ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า สถานที่แห่งความศรัทธาที่ไม่อาจรักษาสัญญา “เขาขอเข้ามาปรับปรุง มีแพลนมาให้ดูว่าจะสร้างนู่นสร้างนี่ ย้ายเรามาตรงนี้ให้มีพื้นที่มากขึ้น สะดวกขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างที่บอก” เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าเล่าให้ฟัง สถานที่นี้คือศาลเจ้าที่เดิมเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชุมชน ด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของเทพทีกงและทีม่า ที่เล่าขานกันว่า ในวันที่เกิดเหตุไฟไหม้โดยรอบ ถึงแม้ศาลเจ้านี้สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแต่พวกเป็ดไก่ที่วิ่งพากันเข้ามาหลบไฟในศาลเจ้ากลับมีชีวิตรอดกันทั้งหมด แต่ตอนนี้ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าได้ย้ายเข้ามาตั้งอยู่ภายในโครงการ Dragon Town ซึ่งเป็นโครงการที่มีร้านค้า ร้านอาหาร ด้วยข้อต่อรองในการปรับปรุงพื้นที่ โดยสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไป […]

ชวนย้อนเวลากลับไปในลอนดอนยุค 90 ผ่านเว็บไซต์ ‘Public Lettering’ เพื่อศึกษากราฟิกดีไซน์บนป้ายในช่วงเวลานั้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้การเดินในเมืองสนุกขึ้นคือ การที่ระหว่างทางเราได้สำรวจมองหาความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายที่พบเห็นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณาหรือป้ายร้านค้า เพราะนั่นคือสิ่งเล็กๆ ที่บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์และสถานที่นั้นๆ ต้องการนำเสนอ ถ้าเดินดูป้ายในไทยจนฉ่ำใจ แล้วอยากดูงานออกแบบป้ายของประเทศอื่นๆ บ้าง Urban Creature อยากแนะนำอีกหนึ่งเว็บไซต์ให้รู้จัก นั่นก็คือ ‘Public Lettering’ ที่รวบรวมป้ายโฆษณา ป้ายร้านค้า และงานออกแบบกราฟิกที่นำเสนอเอกลักษณ์องค์กรบริเวณใจกลางกรุงลอนดอนในยุค 90 Public Lettering สร้างขึ้นโดย ‘Phil Baines’ (ฟิล เบนส์) กราฟิกดีไซเนอร์ผู้ออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ Penguin Books ไปจนถึงป้ายพิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถานในลอนดอน เพื่อส่งต่อภาพถ่ายงานออกแบบกราฟิกให้กับนักเรียนออกแบบกราฟิกดีไซน์ของเขา หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในการประชุมของ ATypI (Association Typographique Internationale) องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นด้านการออกแบบ Typography และ Typeface ในปี 1997 เรียกว่าเป็นเว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายโดยฟิล เบนส์ ที่ส่งผลต่องานออกแบบของเขาตั้งแต่ปี 1992 อีกทั้งยังทำให้เห็นความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายของลอนดอนในยุคหนึ่งที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ยากจะพบเจอในปัจจุบัน ใครที่เอนจอยงานออกแบบลักษณะนี้ ลองไปสำรวจตัวอักษรและป้ายกราฟิกในลอนดอนครั้งอดีตได้ที่ publiclettering.org.uk Sources :Planet Typography | […]

ค้นหาพื้นที่สุขภาพใกล้ฉัน ติดตามข้อมูลสุขภาพและกิจกรรมทางกายบน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้คนไทย

สุขภาพของคนไทยเป็นอย่างไร พื้นที่ใกล้ๆ ที่เราจะไปออกกำลังกายได้อยู่ตรงไหนบ้าง จังหวัดเรามีพื้นที่สีเขียวมากเพียงพอหรือยัง ที่ผ่านมาหัวข้อทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องที่ติดตามได้ยาก แต่ในตอนนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพเหล่านี้ได้ง่ายๆ บนช่องทางออนไลน์ผ่าน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มกิจกรรมทางกายจากความร่วมมือกันของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ Bedrock Analytics City Health Check TH คือแพลตฟอร์มส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่รวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ในรูปแบบ Open Data จากหลากหลายแหล่งและหลากหลายมิติ เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานเห็นภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมด และนำไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลได้ โดยข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองในหลายๆ ทาง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้นได้ โดยกิจกรรมทางกายที่ว่านั้นคือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานที่ช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ กิจกรรมทางกายในการทำงานต่างๆ และการเรียน กิจกรรมทางกายในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และกิจกรรมทางกายเพื่อการนันทนาการหรือกิจกรรมยามว่าง ส่วนจุดประสงค์ของแพลตฟอร์มนี้ก็เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาแผนงานในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เหมาะกับการใช้งานทั้งในระดับใหญ่และปัจเจก เช่น – นักวิชาการหรือนักวิจัย ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ในเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ– หน่วยงาน ที่เก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดไหนที่ต้องการแก้ปัญหาบ้าง– องค์กรหรือบริษัท ที่ต้องการข้อมูลไปใช้เพื่อการตลาด– บุคคลทั่วไป ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกในเรื่องที่สนใจ นอกจากเรื่องสุขภาพของประชากรแล้ว บนแพลตฟอร์มนี้ยังมีฟังก์ชันติดตามข้อมูลพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ ศูนย์กีฬา […]

Na Pan School จากโรงเรียนสภาพทรุดโทรมสู่พื้นที่การเรียนรู้ใหม่ ด้วยแรงกายและใจของคนในหมู่บ้าน

โรงเรียน Na Pan ตั้งอยู่บนเชิงเขา Pa Han ที่เวียดนาม เป็นพื้นที่การเรียนรู้ของนักเรียน 204 คน จากหกชั้นเรียน โรงเรียนตั้งอยู่บนที่ดินกลางหมู่บ้าน โดยมีประตูหันหน้าไปทางถนนระหว่างหมู่บ้าน ด้านหลังติดกับลำน้ำและทุ่งนาอันกว้างใหญ่ ก่อนการปรับปรุง โรงเรียนนี้มีห้องเรียนที่ผุพังอย่างหนักถึงสามห้อง และต้องใช้ห้องเรียนชั่วคราวที่สร้างจากไม้ ผนังดิน พื้นกระเบื้องธรรมดา และหลังคาใยหินที่ซีดจาง ความท้าทายในการปรับปรุงที่นี่จึงเป็นการรวมโครงสร้างสามส่วนอย่างอาคารไม้เก่าแก่เกือบ 30 ปี อาคารอิฐอายุ 20 ปี และอาคารสร้างใหม่ที่ได้รับทุนจากมูลนิธิ VNHelp ให้กลายเป็นพื้นที่สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบให้เปิดโล่งด้วยหน้าต่างจำนวนมากเพื่อเพิ่มแสงธรรมชาติ และเปิดให้บรรยากาศโดยรอบเข้ามาสู่ห้องเรียน ผสมผสานกับการจัดเรียงหน้าต่างอย่างเป็นระเบียบ สะท้อนถึงการเต้น ‘Pieu Scarf’ แบบดั้งเดิมของคนท้องถิ่น ส่วนอาคารใหม่สร้างด้วยอิฐดินและมีทรงโค้งมน ชวนให้นึกถึงเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยมีส่วนเชื่อมต่ออาคารใหม่และอาคารเก่าคือห้องอเนกประสงค์ที่ชาวบ้านร่วมกันเก็บหินจากแม่น้ำเพื่อสร้างขึ้นมา โครงการนี้ใช้เวลาเพียงสี่เดือน จากความร่วมมือของ 300 ครอบครัว มาใช้เวลาร่วมกันสร้างสิ่งนี้ โดยแต่ละคนนำหินกรวดจากแม่น้ำมา 30 ก้อน รวมกันประมาณ 80,000 ก้อน เพื่อให้เพียงพอต่อการสร้างห้องอเนกประสงค์ ปูพื้นลาน และตกแต่งพื้นที่อื่นๆ โครงการนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนรูปลักษณ์ของโรงเรียน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนความคิดของคนทั้งหมู่บ้าน […]

‘สองแถวแปลงร่าง’ นิทรรศการที่ชวนมองความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรถสองแถวให้ดีขึ้น พร้อมทดลองนั่งสองแถวโฉมใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิม

‘รถสองแถว’ เป็นรถโดยสารที่เราอาจไม่ค่อยนึกถึงเท่าไรเพราะไม่ได้ใช้บริการมากนัก ทั้งที่ความจริงแล้ว ในหลายๆ พื้นที่สองแถวยังคงเป็นขนส่งที่จำเป็นต่อการเดินทางอยู่ ถึงอย่างนั้น รถโดยสารประเภทนี้กลับไม่ค่อยได้รับการพัฒนาในแง่ฟังก์ชันการออกแบบเท่าไร ทาง โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บัสซิ่ง ทรานสิท และ MAYDAY! จึงร่วมมือกันปรับโฉมรถสองแถว พร้อมชวนทุกคนมาสำรวจในนิทรรศการ ‘สองแถวแปลงร่าง’ งาน Bangkok Design Week 2025 ณ ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นอกจากนิทรรศการที่ชวนไปทำความเข้าใจขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยอย่างรถสองแถวแล้ว ภายในงานยังมีโมเดลรถสองแถวแปลงร่างที่เปิดให้ใช้บริการในช่วง BKKDW 2025 ด้วย เพื่อให้ผู้โดยสารบางส่วนได้ลองสัมผัสประสบการณ์การนั่งรถสองแถวแบบใหม่ ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้ใช้รถสองแถวแบบใหม่นี้มากขึ้นก็ได้ ออกแบบใหม่เพื่อการใช้งานและความปลอดภัย ‘ศุภกร ศิริสุนทร’ Co-founder และ CFO บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด เล่าให้เราฟังว่า โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากทางโตโยต้า ที่มีแนวคิด Mobility For All สนับสนุนความหลากหลายในการเดินทางได้เลือกรถสองแถวมาเป็นโจทย์เพราะพนักงานในโรงงานหลายคนต้องอาศัยรถสองแถวในการเดินทางระยะสุดท้าย (Last Mile Transportation) ส่วนทางบัสซิ่งเองก็เคยร่วมงานกับโตโยต้ามาก่อนแล้ว จึงร่วมมือกันพูดคุยและลงมือพัฒนารถสองแถวว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนได้บ้าง […]

mapmap GO! แผนที่ย่านบางกอกใหญ่ที่อยากให้คนได้เดินเที่ยวดี

สำหรับย่านบางกอกใหญ่ แลนด์มาร์กที่คนรู้จักคงหนีไม่พ้น ‘วัดอรุณฯ’ จุดที่หลายคนแต่งองค์ทรงเครื่องสวมชุดไทยไปถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมสวยๆ แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ภายในย่านบางกอกใหญ่ยังมีอีกหลายสิ่งรอให้เราไปค้นหา ‘mapmap GO!’ คือแผนที่ข้อมูลและเส้นทางแนะนำสำหรับวางแผนท่องย่านบางกอกใหญ่ในรูปแบบกระดาษ ผลงานจากการรวมตัวกันระหว่างทีม ‘mor and farmer’ ที่มีสมาชิกคือ ‘ธาริต บรรเทิงจิตร’, ‘ภาสุร์ นิมมล’ และ ‘รินรดา ราชคีรี’ และทีม ‘Refield Lab’ อย่าง ‘นักรบ สายเทพ’, ‘อรกมล นิละนนท์’ และ ‘อัตนา วสุวัฒนะ’ ในนาม ‘CAN : Community Act Network’ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนที่สนใจเรื่องชุมชนและเมืองเอาไว้ด้วยกัน รวมคนและข้อมูลให้เดินเที่ยวดี “เราสนใจเรื่องของการทำข้อมูลและงานแผนที่กันอยู่แล้ว เลยคิดกันเล่นๆ ว่า แล้วถ้าข้อมูลที่เรามีสามารถแปลออกมาเป็นกระดาษให้คนมาใช้งานมันจะเวิร์กไหม เลยเลือกย่านหนึ่งที่ไม่ใหญ่มากอย่างย่านบางกอกใหญ่มาทำ” นักรบ หนึ่งในสมาชิกผู้จัดทำ mapmap GO! บอกกับเรา นอกจากนี้ อีกหนึ่งเหตุผลที่ลงเอยที่ย่านบางกอกใหญ่คือ ย่านนี้มีกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนอย่าง ‘ยังธน’ และ […]

1 2 3 4 139

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.