WHAT’S UP
Makro เปิดตัว ‘Sticker Salva-vidas’ สติกเกอร์แนะนำผลไม้ตามความสุก เพื่อสู้กับปัญหาขยะอาหารในโคลอมเบีย
จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอาหารทั่วโลกกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เป็นผลมาจากผักและผลไม้เหลือทิ้ง ที่ส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายตลาดโดยไม่มีความเข้าใจต่อวัตถุดิบ เพราะความสุกหรือดิบของผักผลไม้แต่ละชนิดล้วนส่งผลต่อการนำไปประกอบอาหาร เช่น ส้มตำที่ใช้มะละกอดิบ ยำมะม่วงที่ต้องให้รสชาติเปรี้ยวจี๊ด ไปจนถึงข้าวผัดสับปะรดรสชาติกลมกล่อม ซึ่งหากเราเลือกซื้อผักผลไม้ที่ยังสุกหรือดิบไม่พอดี อาจทำให้นำมาใช้ทำอาหารไม่ได้ จนก่อให้เกิดขยะอาหารจำนวนมาก ‘Makro’ และเอเจนซีโฆษณา ‘Grey Colombia’ ได้จับมือกันเปิดตัว ‘Sticker Salva-vidas’ สติกเกอร์สำหรับแนะนำผลไม้ตามความสุกให้แมตช์กับการประกอบอาหารประเภทต่างๆ Sticker Salva-vidas แต่ละชิ้นถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายโดนัตที่ภายนอกล้อมรอบด้วยการไล่ระดับสี แสดงถึงระดับความสุกที่แตกต่างกัน เพื่อแนะนำความเป็นไปได้ในการทำอาหารที่หลากหลาย รวมถึงมีรูตรงกลางเพื่อเปรียบเทียบกับสีจริงของผักผลไม้ อาทิ กล้วย มะม่วง มะละกอ อะโวคาโด และมะเขือเทศ Makro และ Grey Colombia หวังว่าสติกเกอร์อัจฉริยะเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ขยะอาหารจากผักและผลไม้ภายในประเทศลดลง และทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อของสดได้อย่างรอบคอบมากขึ้น รวมไปถึงให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับวิธีการใช้ผักและผลไม้ในระดับความสุกที่ต่างกัน ปัจจุบันผักและผลไม้ที่มีการติดสติกเกอร์ Sticker Salva-vidas ถูกวางขายเฉพาะวันพุธและวันอาทิตย์บน Makro ในประเทศโคลอมเบีย เพื่อเป็นการนำร่องโครงการ และตรวจสอบปริมาณขยะที่ลดลงเมื่อเทียบกับวันอื่นๆ ในสัปดาห์เดียวกัน ก่อนที่ในอนาคตอาจมีการขยายวันเพิ่มเติมออกไป Sources : DesignTAXI | […]
Mamkkeot House สนามเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องเล่นในเกาหลีใต้ พื้นที่ที่สร้างให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกอย่างเป็นอิสระ
ในยุคที่เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น เมืองขยายตัวขึ้น พื้นที่ที่เด็กๆ วิ่งเล่นได้อย่างอิสระกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพื่อแก้ปัญหานี้ บริษัทสถาปนิกในเกาหลีใต้ชื่อ ‘ilsangarchitects’ จึงสร้าง ‘Mamkkeot House’ หรือสนามเด็กเล่นที่ไม่มีเครื่องเล่นขึ้นมา เพื่อให้เด็กๆ ได้มีพื้นที่เล่นสนุกอย่างเต็มที่ โดยสถาปนิกเล่าว่า โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างเมืองจอนจู (Jeonju) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) เพื่อเปลี่ยนสระน้ำกลางแจ้งที่ถูกทิ้งร้างนาน 30 ปีให้กลับมามีชีวิตชีวาและกลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับเด็กๆ ในเมืองอีกครั้งหนึ่ง สระน้ำร้างใน Doekjin Park สวนสาธารณะกลางเมืองจอนจู ถูกชุบชีวิตใหม่จนกลายเป็นสนามเด็กเล่น Mamkkeot House ซึ่งจุดเด่นของที่นี่ไม่ได้อยู่ที่ตัวสถาปัตยกรรม แต่อยู่ที่ภูมิทัศน์มากกว่า เพราะสถาปนิกของโครงการตั้งใจออกแบบให้ Mamkkeot เป็นพื้นที่วิ่งเล่นขนาดใหญ่มากกว่าที่จะเป็นเพียงอาคารหลังหนึ่ง แม้ตัวอาคารจะเป็นพื้นที่ส่วนน้อยของโครงการ แต่ก็ถูกออกแบบมาอย่างประณีต โดยเลือกใช้โครงสร้างไม้ Glulam ทรงจั่วครอบบนทางเดินชั้นลอยเพื่อสร้างร่มเงา รวมถึงทำหน้าที่เป็นราวจับที่เพิ่มความปลอดภัย รองรับการเล่นที่หลากหลาย ส่วนพื้นที่ใช้สอยหลักทั้งชั้นบนและชั้นล่างยังถูกออกแบบให้เป็นห้องกระจกที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ การออกแบบ Mamkkeot House ยังตั้งใจลดพื้นที่ในร่มให้เหลือน้อยที่สุด และทำให้พื้นที่ในร่มรู้สึกเหมือนอยู่กลางแจ้ง รวมถึงพยายามทำให้เด็กได้สัมผัสภาพและเสียงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยการสร้างพื้นที่โล่งที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เชื่อมต่อกับโลกนอกห้องเรียน สามารถวิ่งเล่นเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและมีข้อจำกัดน้อยที่สุด Source :ArchDaily | […]
สำรวจ ‘จะนะ’ ผ่าน ‘Voice of Chana’ แพลตฟอร์มข้อมูลจาก Greenpeace ที่จะทำให้รู้จักจะนะมากกว่าแค่ข่าวนิคมฯ
เมื่อปี 2562 โครงการ ‘นิคมอุตสาหกรรมจะนะ’ ได้ผ่านมติพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึก และโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งดูเหมือนว่าโครงการนี้จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมของชาวจะนะมากกว่าช่วยพัฒนาพื้นที่โดยรอบ จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น และกระแส #saveจะนะ บนแพลตฟอร์มโซเชียล จนทำให้ปัจจุบันโครงการถูกชะลอออกไปจนกว่าการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์จะเสร็จสิ้น หากสงสัย อยากทำความเข้าใจ และหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่จะนะนั้นจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง และทำไมชาวบ้านถึงออกมาเรียกร้องปกป้องบ้านเกิด Urban Creature ชวนไปติดตามข้อมูลทั้งหมดจาก ‘Voice of Chana’ Voice of Chana เป็นแพลตฟอร์มที่ชาวจะนะและกรีนพีซ (Greenpeace) ใช้เวลากว่าสองปีในการรวบรวมข้อมูลและศึกษาผลกระทบของโครงการนิคมฯ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต่ออาชีพ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ก่อนจะนำมาย่อยเพื่อเล่าใหม่ให้เข้าใจง่าย โดยใช้วิธีเล่าข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) รวมไปถึงเป็นช่องทางการส่งเสียงของชาวจะนะให้สังคมได้รับรู้ว่าชาวบ้านไม่ได้จะขัดขวางการพัฒนา เพียงแต่ต้องการอยู่ในบ้านเกิดของตนเองภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี และมีสิทธิ์มีเสียงในการออกแบบการพัฒนาบ้านเกิดของตนเองด้วยเช่นกัน ตามไปสำรวจชีวิตชาวจะนะและผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมได้ที่ : voiceofchana.greenpeace.org
‘Tactical Urbanism’ โครงการปรับพื้นที่ถนนในบาร์เซโลนา ที่ใช้กราฟิกลายพื้นเมืองชวนให้คนเดินเท้ากันมากขึ้น
หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงที่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จากพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสัญจรกันไปมา โดยหลายพื้นที่ในเมืองบาร์เซโลนาเองก็กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่เหมือนกัน รวมไปถึงการใช้ชีวิตในเมืองที่เร่งรีบยังส่งผลให้การพบปะสังสรรค์หรือหาพื้นที่พักผ่อนในเขตเมืองนั้นเป็นไปได้ยาก ‘Arauna’ สตูดิโอออกแบบกราฟิกในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จึงเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนฟังก์ชันถนนที่ทำได้อย่างรวดเร็วและไม่แพง เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวา เรียกคืนพื้นที่ในเมือง พร้อมกับสร้างประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านการสร้างถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินถนนมากขึ้น และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีโดยทำให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินเล่นและพักผ่อนได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดของโครงการ ‘Tactical Urbanism’ ที่ทั้งเพิ่มพื้นที่ในการเดิน เติมเต็มพื้นถนนด้วยกราฟิกสีสันสดใส เพื่อชวนให้คนมาเดินกันมากขึ้น Arauna ได้คิดค้นระบบกราฟิกโดยใช้เวลาในการออกแบบลายและเทคนิคการลงสีสร้างองค์ประกอบต่างๆ อย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการ และบริบทอันหลากหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่เหล่านี้ กราฟิกที่ปรากฏบนพื้นนั้นมีที่มาจากหินปูพื้นแบบดั้งเดิมของบาร์เซโลนาที่เรียกว่า ‘Panot’ ซึ่งถูกนำมาใช้สร้างทางเท้าของเมืองตั้งแต่ปี 1906 โดยทีมออกแบบของ Arauna นำลายเหล่านี้มาทาสีให้กลายเป็นภาพกราฟิกลงบนพื้น โดยไม่ลืมที่จะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของถนนแต่ละสาย ละแวกบ้าน และหัวมุม นำไปสู่การปรับกราฟิกให้เข้ากับความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่ในเมืองแต่ละแห่ง นอกจากนี้ Arauna ยังเสนอให้สลักชื่อถนนบนทางเท้าทั่วบาร์เซโลนา เพื่อนำทางและเป็นหมุดหมายให้คนเดินเท้า แทนที่จะใช้ป้ายชื่อถนนที่ออกแบบมาสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทีมออกแบบก็ได้ใช้ส่วนประกอบจาก Panot ประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายให้กลายเป็นอักขระแต่ละตัว เพื่อใช้ระบุถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ ชื่อถนน โรงเรียน และอื่นๆ Sources :Barcelona Secreta | tinyurl.com/3tbr2wh8Designboom | tinyurl.com/3tnwrmc3
Tutiru Café คาเฟ่และร้านดอกไม้จากมือเกษตรกรญี่ปุ่น ที่อยากให้ดอกเบญจมาศไม่ถูกใช้แค่ในงานศพและงานแต่ง
สำหรับคนไทย ดอกไม้ในตระกูลเบญจมาศ (Chrysanthemum) ถือเป็นดอกไม้ทั่วไปที่เห็นบ่อยครั้งในการจัดช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น ดอกไม้ตระกูลนี้กลับถูกใช้ในพิธีสำคัญอย่างงานแต่งงานและงานศพเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกับดอกเบญจมาศในชีวิตประจำวันมากขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศในเมือง Marugame จังหวัด Kagawa ประเทศญี่ปุ่น จึงตัดสินใจเปิด ‘Tutiru Café’ คาเฟ่ที่มีการขายดอกเบญจมาศร่วมด้วย ภายใต้การออกแบบของสตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ‘Fathom’ ที่แบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมแห่งนี้ออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรก นักออกแบบได้เปลี่ยนโกดังเก่าในฟาร์มให้เป็นบริเวณที่รวมร้านดอกไม้และคาเฟ่เข้าไว้ด้วยกัน และตกแต่งด้วยวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้มีความหมายซ่อนอยู่ เส้นตรงในแนวนอนสื่อถึงผืนดินอันกว้างใหญ่ ส่วนเส้นตรงในแนวตั้งแทนการเจริญเติบโตของดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ สำหรับพื้นที่อีกส่วนที่แยกตัวออกมาจะถูกใช้เป็นโกดังเก็บดอกเบญจมาศโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับดอกไม้เหล่านี้ นอกจากนี้ ภายในคาเฟ่ Tutiru Café ยังมีโต๊ะแบบเคาน์เตอร์บาร์ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นโกดังและโต๊ะสำหรับทำเวิร์กช็อปจัดดอกไม้ ตามความตั้งใจเดิมของเจ้าของร้านและ Fathom ที่ต้องการให้ดอกเบญจมาศกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำวันของผู้เข้าใช้บริการได้ Sources : ArchDaily | t.ly/G-XfFathom | t.ly/5QOW
กิจกรรม My Story, Our Story ฉายหนังจากกองทุน Netflix เพื่อความหลากหลายบนหน้าจอ
ในเดือนแห่งความหลากหลายนี้ นอกจากเรื่องเพศที่สังคมควรให้ความสำคัญและผลักดันอย่างเต็มที่แล้ว ภายใต้ร่มของความหลากหลายก็ยังมีมิติอื่นๆ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สีผิว หรือความเชื่อ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา Netflix ได้จัดงานฉายภาพยนตร์ ‘My Story, Our Story’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนผู้สร้างผลงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเอง ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและร่วมเฉลิมฉลองการเล่าเรื่องที่แตกต่างหลากหลาย ภายในกิจกรรมมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสนับสนุนและสร้างขึ้นจากกองทุน ‘Netflix Fund for Creative Equity’ ที่ทาง Netflix ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอดระยะเวลา 5 ปี เพื่อปูเส้นทางให้แก่ผู้สร้างผลงานที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเองทั่วโลก ภาพยนตร์ที่ฉายในงานมีทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย ‘Dear You’ (ประเทศไทย) โดย ‘เหมือนดาว กมลธรรม’ ที่เล่าเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้ต่อสู้ดิ้นรนในช่วงโรคระบาด ‘Soul-Kadhi’ (ประเทศอินเดีย) โดย ‘Sameeha Sabnis’ ที่หยิบเอาความแฟนตาซีมาผสมกับดราม่า เพื่อสำรวจถึงเสรีภาพผ่านสายสัมพันธ์ของลูกสะใภ้และแม่สามี และ ‘Pao’s Forest’ (ประเทศเวียดนาม) โดย […]
คุยกับเจ้าของแบรนด์ ‘Pop Icon’ ไอศกรีมลายกระเบื้องพระปรางค์วัดอรุณฯ ขายความเป็นไทยกินได้ แถมน่ารักด้วย
ในช่วงไม่กี่วันมานี้ หลายคนน่าจะได้เห็นไวรัลไอศกรีมลายกระเบื้องวัดอรุณฯ สีส้มและสีฟ้าผ่านตาจำนวนมาก ซึ่งบางคนอาจไม่ได้แค่เห็นเท่านั้น แต่ยังตามไปซื้อมาถ่ายภาพคู่กับพระปรางค์ที่วัดอรุณฯ ถึงที่ด้วยซ้ำ ส่วนใครที่อยากกินช่วงนี้ก็อาจต้องพึ่งความไวสักนิด เพราะทางแบรนด์ ‘Pop Icon’ เจ้าของไอศกรีม 3 มิติกำลังอยู่ในช่วงรีสต็อก หลังจากขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และจะกลับมาขายอีกทีวันที่ 15 มิถุนายนหรือวันนี้นี่เอง ระหว่างที่รอเวลาเลิกงานหรือเลิกเรียนเพื่อแวะไปที่วัดเย็นนี้ Urban Creature ได้ต่อสายตรงคุยกับ ‘ตาล ศิริญญา’ เจ้าของแบรนด์ Pop Icon ที่ใช้เวลาทำไอศกรีมลายดอกไม้รุ่งอรุณที่ป็อปที่สุดในเวลานี้มาเป็นเวลากว่า 2 ปีเลยทีเดียว “แบรนด์นี้เกิดจากความชอบไอศกรีมของเรา บวกกับความอยากส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อีกอย่างตัวเราก็ชอบเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมไทยอยู่แล้ว ซึ่งก็มองเห็นว่าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบ้านเรา พวกของที่ระลึกยังเป็นรูปแบบเดิมๆ อยู่ เช่น โปสต์การ์ด แม่เหล็ก พวงกุญแจ ถ้าเราสามารถทำให้มันมีสีสันมากขึ้นด้วยการตีความใหม่ก็น่าจะดีต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ” ตาลเท้าความถึงจุดเริ่มต้นของไอเดีย ส่วนเหตุผลที่เลือกทำไอศกรีม เธอเล่าว่านอกจากความชอบแล้ว ขนมชนิดนี้ยังเหมาะกับประเทศไทย เพราะอากาศบ้านเราร้อน และแลนด์มาร์กของไทยส่วนใหญ่อยู่กลางแจ้ง การทานไอศกรีมในวันร้อนๆ จึงตอบโจทย์ที่สุด นอกจากนี้ เธอยังมองว่าวัฒนธรรมไทยไม่จำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบเดิมๆ หรือความโบราณเก่าก่อนเสมอไป การหยิบเอาศิลปะไทยมานำเสนอผ่านไอศกรีมน่าจะทำให้คนเข้าถึงความเป็นไทยมากขึ้น แถมยังอาจทำให้คนเกิดความสนใจ […]
Samsung เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับเครื่องซักผ้า ที่ดักจับพลาสติกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติรายงานว่า ปัจจุบันในทะเลทั่วโลกมีไมโครพลาสติกสะสมถึง 171 ล้านล้านชิ้น โดยมีไมโครพลาสติกกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ที่มีแหล่งที่มาจากสิ่งทอสังเคราะห์ที่หลุดออกมาในช่วงซักล้าง เพื่อเป็นด่านแรกในการดักจับไมโครพลาสติกระหว่างการปล่อยน้ำเสียหลังการซักเสื้อผ้าในแต่ละวัน ‘Samsung’ ได้เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับติดตั้งบนเครื่องซักผ้า ที่ช่วยดักจับไมโครพลาสติกที่ปะปนในน้ำได้มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่ากับขวดพลาสติกขนาด 500 มิลลิลิตร 8 ขวดต่อปี ด้วยตาข่ายดักจับไมโครพลาสติกขนาด 65 – 70 ไมโครเมตรที่อยู่ภายใน Less Microfiber™ Filter เป็นผลงานการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ ‘Patagonia’ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอนุรักษ์มหาสมุทรระดับโลกอย่าง ‘Ocean Wise’ ผ่านเป้าหมายการลดปริมาณไมโครพลาสติกในท้องทะเล และช่วยให้การซักผ้าเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องซักผ้าของแบรนด์ Samsung เท่านั้น แต่ Less Microfiber™ Filter ยังนำไปติดตั้งอยู่บนเครื่องซักผ้าแบรนด์อื่นๆ ได้ด้วย ผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน ‘SmartThings’ แพลตฟอร์มการเชื่อมต่ออัจฉริยะของ Samsung ที่จะแสดงผลการใช้งานของตัวกรอง และแจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อจำเป็นต้องทำความสะอาด ปัจจุบัน Less Microfiber™ […]
Volkswagen เปิดตัวรถตู้โฟล์กไฟฟ้า ที่ผสมผสานความเรโทรและร่วมสมัย ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เป็นสิ่งที่หลายบริษัทยานยนต์กำลังพัฒนาออกมาเพื่อเป็นทางเลือกการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปีที่แล้ว ‘Volkswagen’ แบรนด์รถตู้โฟล์กสุดคลาสสิกได้เปิดตัว ‘2025 ID. Buzz’ มินิแวนไฟฟ้ามาสร้างความประทับใจให้ผู้ที่ชื่นชอบรถยนต์ ความเรโทร และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รถตู้โฟล์กไฟฟ้ารุ่นล่าสุดที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะสำหรับตลาดอเมริกา ก็ได้เดินทางมาถึงอเมริกาเหนือและเปิดตัวในงาน Volkswagen Bus Day ไปเป็นที่เรียบร้อย แน่นอนว่ารถตู้โฟล์กรุ่นนี้เป็นที่ฮือฮาของมหาชนชาวเรโทร เพราะ ‘2025 ID. Buzz’ ได้มีการอัปเกรดพละกำลังให้เพิ่มขึ้นด้วย โดยรุ่นพื้นฐานขับเคลื่อนล้อหลังมาพร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยวกำลังสูงสุด 286 แรงม้า ส่วนรุ่นมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ที่ขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อกำลังสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเป็น 335 แรงม้า สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 99 ไมล์ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังขยายขนาดของรถให้ยาวขึ้นอีก 10 นิ้ว โดยมีความยาวเป็น 192.4 นิ้ว ส่งผลให้ภายในห้องโดยสารกว้างขวางขึ้น ทำให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกสบาย และแม้จะมีการเพิ่มที่นั่งแถวที่ 3 ซึ่งกินพื้นที่บางส่วน แต่ตัวเบาะแถวที่ 2 นั้นมีฟังก์ชันพับได้ เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ที่มอบความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงที่นั่งแถวที่ 3 ก็สามารถถอดออกได้เช่นกัน ตอบโจทย์ความยืดหยุ่นในการบรรทุกสัมภาระตามที่ผู้ใช้งานต้องการ อีกความโดดเด่นของรถตู้โฟล์กรุ่นนี้คือความจุของแบตเตอรี่ที่มีขนาด […]
ทางออกความรุนแรงผ่าน ‘แนวทางการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม’
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ซับซ้อนและหลากมิติ ตั้งแต่ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ ไปจนถึงการกีดกันหรือไม่ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยทางด้านสัญชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษา ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจและอาจเป็นแรงผลักให้บุคคลหรือกลุ่มคนไปสู่ ‘แนวความคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (Violent Extremism) ในระดับสังคม ประเทศ และโลก ถือเป็นภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟูมฟักของอุดมการณ์และความคิดสุดโต่งที่อาจพัฒนาไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและความรุนแรง สหประชาชาติเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกพิจารณาพัฒนา ‘แผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อป้องกันแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (National Action Plans to Prevent Violent Extremism) เพื่อส่งเสริมแนวทางที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาต้นตอที่ทำให้คนหันไปนิยมแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง โดยแนวทางหลักที่ใช้คือ การสร้างความอดทนอดกลั้น เฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลาย และแก้ปัญหาตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับสถานะและความปลอดภัยของกลุ่มเปราะบาง ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งองคาพยพ และที่สำคัญ เป็นแผนที่พัฒนาโดยแต่ละประเทศเอง จึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้นๆ แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีความรุนแรงสุดโต่งปรากฏให้เห็นชัด แต่สังคมไทยมีความท้าทายหลายมิติ โดยเฉพาะความท้าทายทางเศรษฐกิจ การเมือง และการเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบาง ที่ก่อให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายและขั้วความคิดที่ค่อนข้างชัดเจนขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหตุนี้ ประเทศไทยจึงลงนาม ‘แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและการต่อต้านการขยายตัวของการบ่มเพาะแนวคิดหัวรุนแรงและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง 2562 […]
พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น เปลี่ยนสำนักงานธนาคารเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ แลนด์มาร์กใหม่ของคนขอนแก่น
หากพูดถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน จังหวัดแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดหลายคนคงหนีไม่พ้นจังหวัด ‘ขอนแก่น’ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมแห่งอีสานที่รอให้ผู้คนไปค้นหา โดยล่าสุดขอนแก่นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่บริเวณใจกลางเมือง ซึ่งรายล้อมไปด้วยโรงเรียน ตลาด แหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัย ที่ได้ ‘Plan Motif’ มาเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ ‘Plan Architect’ มาช่วยดูแลในส่วนงานสถาปัตยกรรมการปรับปรุงอาคาร และได้ ‘GLA Design Studio’ เข้ามาดูในส่วนของงานภูมิสถาปัตยกรรม จนออกมาเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น’ (The Treasury Museum Khonkaen) พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่นเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่ถูกเปลี่ยนมือกลับสู่ ‘กรมธนารักษ์’ อีกครั้ง เนื่องจาก ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ ที่ใช้พื้นที่อยู่เดิมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานไปยังบริเวณอื่น ทำให้ทางกรมธนารักษ์ที่ได้พื้นที่คืนมาตัดสินใจส่งต่อพื้นที่นี้ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในเมืองขอนแก่นต่อไป ภายใต้ความตั้งใจของกรมธนารักษ์และ Plan Architect ที่ต้องการเปลี่ยนอาคารสำนักงาน บ้านพักพนักงาน และแผนกธนบัตรที่ถูกรื้อถอนเดิม ให้กลายเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ พื้นที่จัดแสดง ศาลาอเนกประสงค์ สวนสาธารณะ และสำนักงานที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะรับรองการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองขอนแก่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งแต่ละส่วนถูกออกแบบใหม่โดยใช้ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นผสมผสานกับเอกลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของขอนแก่นที่ไม่ใช่แค่การฟื้นฟูอาคารเดิมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่ผู้ใช้งานยังต้องได้รับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ผ่านการใช้งานด้วย โดยในอาคารหลักบริเวณชั้น 1 ได้รื้อผนังทึบสูงเดิมออกเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเป็นพื้นที่ส่วนกลางและโซนห้องสมุด […]
‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เปิดพื้นที่ให้ใกล้ชิดกับนกในธรรมชาติกว่า 3,500 ตัว
เมื่อพูดถึงการศึกษาพันธุ์นกต่างๆ หรือการชมนกหายาก ภาพที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นการต้องเข้าไปในป่าลึก ซ่อนตัวตามพื้นที่เพื่อรอนกสักตัวบินมาให้เห็น แต่ปัจจุบันใครที่อยากสัมผัสเจ้าสัตว์ชนิดนี้แบบง่ายๆ แค่ตีตั๋วไปประเทศสิงคโปร์ก็สามารถใกล้ชิดและสัมผัสชีวิตนกเหล่านี้ตามธรรมชาติได้ที่ ‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แห่งใหม่ สวนนก Bird Paradise เป็นหนึ่งในสวนนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 170,000 ตารางเมตรใน ‘เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามันได’ ให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนที่ชื่นชอบนกได้มาสัมผัสวิถีชีวิตของสัตว์ชนิดนี้ตามธรรมชาติอย่างใกล้ชิดกว่า 3,500 ตัวจาก 400 สายพันธุ์ ทั้งจากแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ภายในสวนนกมีทั้งหมด 10 โซน และกรงนกขนาดใหญ่จำนวน 8 กรงที่เชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกสบายในการเดินสำรวจและเรียนรู้วิถีชีวิตตามธรรมชาติของนกสายพันธุ์ต่างๆ อีกทั้งแต่ละกรงนั้นได้จำลองระบบชีวนิเวศจากทั่วโลกเอาไว้ ทั้งป่าฝนแอฟริกา พื้นที่ชุ่มน้ำในอเมริกาใต้ นาข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงป่ายูคาลิปตัสของออสเตรเลีย นอกจากนี้ สวนนกแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพืช สัตว์ และระบบนิเวศในท้องถิ่นจากสื่อการเรียนรู้เชิงโต้ตอบภายในพื้นที่ได้อีกด้วย รวมถึงมีการให้อาหารนกที่จะมีนกสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด เช่น นกเอี้ยงกิ้งโครง นกเงือกแอฟริกัน และนกเงือก ที่โซน Heart of Africa, นกกระทุงที่โซน Kuok […]