น้ำหอมรักโลก ‘Air Eau de Parfum’ ทำจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หวังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวันมีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้โลกของเราประสบปัญหาภาวะโลกร้อน แต่หากเราต้องการนำมลพิษเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ จะเป็นไปในทางไหนได้บ้าง ‘AIR COMPANY’ บริษัทที่มีเป้าหมายเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่จำกัด ค้นพบวิธีใหม่ในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นเอทานอล และนำมาผสมกับน้ำและน้ำมันหอมระเหย เพื่อผลิตเป็นน้ำหอมที่ไม่เหมือนใคร ด้วยข้อความบนแพ็กเกจผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า ‘กำลังทำให้ CO2 เป็นสิ่งสวยงาม’ เพราะ AIR COMPANY จะใช้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 3.6 กรัมที่ไม่ได้ปล่อยไปในบรรยากาศ มาใช้ทำน้ำหอม ‘Air Eau de Parfum’ ปริมาณ 50 มิลลิลิตร ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตน้ำหอมแต่ละขวดอาจทำให้น้ำหอม Air Eau de Parfum มีราคาสูงกว่า Coco Chanel No.5 ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน แม้ว่าเทคโนโลยีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ใหม่จะเป็นวิธีเล็กๆ ที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้ก็ตาม แต่ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย การโน้มน้าวผู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ และวิธีการขยายธุรกิจนี้ออกไปในระดับอุตสาหกรรมก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องหาแนวทางแก้ไขและพัฒนากันต่อไป ไม่แน่ว่าหลังจากนี้เราอาจจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้สร้างมลพิษมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการลดมลพิษผ่านการใช้น้ำหอม Air Eau de Parfum นี้ก็ได้ […]

Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน

‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]

‘Moto Taxi Auto Sign’ ป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติในกรุงเทพฯ ช่วยจัดระเบียบการใช้วินมอเตอร์ไซค์ให้ดีกว่าเดิม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในความสะดวกสบายของคนเมืองคือบริการ ‘วินมอเตอร์ไซค์’ ที่ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางในเมืองที่รถติดและวุ่นวายได้เป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถกีดขวางการจราจรและบนทางเท้า หรือผู้ใช้บริการจำนวนมากต่อคิวรอแต่กลับไม่มีรถให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นต้น ในงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ เราได้เห็นผลงานจาก ‘Bangkok City Lab’ ที่อยากช่วยแก้ปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการและพื้นที่ข้างเคียงมากขึ้น ผ่านโครงการทดลอง ‘ป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติ’ (Moto Taxi Auto Sign) ป้ายบริการที่จุดรอคิว แสดงสถานะว่ามีวินฯ ที่กำลังให้บริการในพื้นที่อยู่ขณะนี้กี่คัน ทาง Bangkok City Lab บอกกับเราว่า โครงการป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติ เริ่มต้นขึ้นจากการสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับทางนโยบายผู้บริหารกรุงเทพฯ ที่อยากจัดการปรับปรุงเรื่องบริการวินมอเตอร์ไซค์ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ผู้จัดทำโครงการพยายามมองหาไอเดียที่มีประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งป้ายอัตโนมัตินี้ก็เป็นหนึ่งจากหลายๆ ไอเดียที่คิดว่าครอบคลุมความต้องการ จึงนำไอเดียนี้ไปสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เมื่อได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีก็จัดการทำ Mock-up และจัดแสดงพร้อมกับประชาสัมพันธ์ภายในงาน Bangkok Design Week 2024 โดยพยายามลงทุนน้อยที่สุด เปลี่ยนแปลงทัศนคติน้อยที่สุด แต่สร้างผลกระทบเชิงบวกมากที่สุด ส่วนสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการทำโครงการนี้คือ การนำเสนอและอธิบายแนวคิดให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ให้บริการวินมอเตอร์ไซค์ โดยต้องทำให้พวกเขาเห็นภาพชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน […]

Equal Space เปิดพื้นที่ฮีลใจ พูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างปลอดภัย วันที่ 4 – 25 ก.พ. 67 ใน 13 พื้นที่ทั่วประเทศ

ในปัจจุบันที่สังคมมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ทำให้หลายคนเลือกที่จะพูดคุยเพียงเฉพาะกับคนในกลุ่มของตัวเอง จนขาดการแลกเปลี่ยนความคิดกับบุคคลที่หลากหลาย และกลายเป็นช่องโหว่ของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) จึงจับมือกับ 13 พื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศจากทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก เพื่อเติมช่องว่างในการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรม ‘Equal Space’ ขึ้น กิจกรรมนี้เป็นการชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านกิจกรรมและบทสนทนาที่ออกแบบมาให้สนุก สบายใจ และปลอดภัย โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมการพูดคุยที่ปราศจากการตัดสิน รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองที่หลากหลาย กิจกรรม Equal Space จะจัดขึ้นทุกสุดสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่วันที่ 4 – 25 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีตารางกำหนดการ ดังนี้ – วันที่ 4 ที่ พก : ร้านหนังสือและโรงหนัง ขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย– วันที่ 10 – 11 ที่ กิ่งก้านใบ LearnScape x […]

มองปัญหาเมืองผ่านภาพสเก็ตช์สิ่งของข้างทาง ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ วันนี้ – 4 ก.พ. ที่ Everyday Architect Studio

เชื่อหรือไม่ว่า งานดีไซน์หรืองานสร้างสรรค์บางชิ้นอาจเป็นส่วนเล็กๆ ที่พาเราไปพบกับปัญหาต่างๆ ของการอยู่อาศัยในเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ โดย Everyday Architect & Design Studio ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่จะพาเราไปทำความเข้าใจและพบกับปัญหาในเมืองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ภายในนิทรรศการจัดแสดงภาพสเก็ตช์จำนวน 365 รูป ที่เป็นภาพวาดบันทึกสิ่งของและงานออกแบบสถาปัตยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างข้างทางในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงปลายปี 2019 ถึงปลายปี 2020 โดยงานออกแบบทั้งหมดนี้มีชื่อเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพื่อเป็นการให้คำจำกัดความภาพงานออกแบบสิ่งของที่ดูเรี่ยราด อยู่เป็นกองๆ เหมือนหมู่คณะที่ข้างทางนั่นเอง แม้ว่าผลงานเหล่านี้อาจจะดูไม่น่าสนใจและดูเหมือนจะนำไปต่อยอดไม่ได้ แต่ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอฯ ได้วาดภาพเหล่านี้ ทำให้เขาเข้าใจถึงเงื่อนไขและปัญหาของเมืองที่ซ่อนอยู่แบบที่คาดไม่ถึง และปัญหาเหล่านี้มักมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคนิคที่ยากจะคาดเดา ช่วยท้าทายวิธีคิดและมุมมองของเหล่านักออกแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เห็นผลงานเหล่านี้ด้วย ไปชมผลงานทั้งหมดนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 19.00 น. […]

มองย่านทรงวาดผ่านฝาท่อดีไซน์ใหม่ ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ วันนี้ – 18 ก.พ. 67 ที่ชุมชนทรงวาด

บางครั้งสิ่งที่ทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นโปรเจกต์ใหญ่ๆ เสมอไป สิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวอย่าง ‘ฝาท่อระบายน้ำ’ ที่พบเห็นได้ตามท้องถนนหรือทางเดินในเมืองก็สร้างชีวิตชีวาให้เมืองได้เช่นกัน เห็นได้จากหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนภาพจำฝาท่อเก่าๆ ด้วยการนำเอาฝาท่อดีไซน์ใหม่มาใช้ นอกจากจะทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนได้ใช้เวลาไปกับการเดินเท้าเพื่อสำรวจความสวยงามของฝาท่อและสิ่งรอบด้านอีกด้วย งาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ในปีนี้ก็มีการหยิบเอาไอเดียการแปลงโฉมฝาท่อมาแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง โดย ‘บริษัท นวกาญจน์โลหะชลบุรี จำกัด’ หรือ ‘NVK’ ผู้ผลิตฝาท่อในไทยที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์และงานสร้างสรรค์ ร่วมกับศิลปิน ‘โอม-ธนรัชต์ ทองสิมา’ และ ‘Jinjer Team’ ดีไซน์ฝาท่อแบบใหม่ให้กับย่าน ‘ทรงวาด’ ด้วยแนวคิด ‘สถานที่คือชีวิต มังกรคือจิตใจ’ ผ่านการออกแบบที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมและลายเส้นของมังกรจีนที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนทรงวาด ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ ที่ ‘PLAY Art House Gallery’ ภายในงานไม่ได้มีแค่นิทรรศการฝาท่อเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรม ‘Let’s explore ฝาท่อดีไซน์’ที่ชวนผู้ร่วมกิจกรรมสแกน  QR Code ที่ฝาท่อ […]

ชวนชมการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม ผ่านสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ พร้อมกันทาง Netflix วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อปี 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้สั่งรื้อถอน ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามย่าน เพื่อนำพื้นที่ไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียม จนเกิดการเรียกร้องจากนิสิตจุฬาฯ และชาวบ้านถึงการคัดค้านการรื้อถอนศาล และในปีที่ผ่านมา เรื่องราวการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ก็ถูกทำเป็นสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ และออกฉายช่วงเดือนมิถุนายนทางโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub. ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชม เนื่องจากสารคดีเรื่องนี้ช่วยจุดประเด็นให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาการพัฒนาเมืองที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังมาถึง เราจึงอยากชวนทุกคนชมสารคดี The Last Breath of Sam Yan ที่มีโอกาสกลับมาฉายอีกครั้งในวงกว้างมากขึ้นผ่าน Netflix โดยเริ่มสตรีมวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ที่ www.netflix.com/title/81719493 ส่วนใครที่อยากไปเยี่ยมเยียนและสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลยังอยู่ที่โลเคชันเดิม บริเวณไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ข้างๆ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ แวะไปได้ทุกวันตั้งแต่เวลา […]

Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้

ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]

Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน

ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA

ให้น้องเหมียวช่วยจดรายจ่ายให้ กับแอปฯ บันทึกรายจ่าย ‘MeowJot’ ที่คำนวณจากสลิปโอนเงินอัตโนมัติ

คนจำนวนไม่น้อยคงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับการจดบัญชีรายรับรายจ่ายมาตั้งแต่เด็ก เพราะแค่ตอนเช้ากินอะไรไปบ้างอาจต้องใช้เวลานึกหลายนาที แบบนี้แทบไม่ต้องพูดถึงจำนวนเงินที่เราจ่ายไปในแต่ละวันเลย ในเมื่อจำไม่ได้ ก็ลองให้ผู้ช่วยตัวจิ๋วแสนขยันอย่าง ‘น้องเหมียว’ ในแอปพลิเคชัน ‘MeowJot’ (เหมียวจด) ช่วยดูแลจัดการให้ไหม ช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อแอปฯ MeowJot มาบ้าง แต่อาจยังไม่รู้ว่าแอปฯ นี้ทำงานแตกต่างจากแอปฯ รายรับรายจ่ายอื่นๆ อย่างไร เนื่องในโอกาสที่ MeowJot กลับมาปล่อยให้ดาวน์โหลดแอปฯ กันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ต้องนำออกจากหน้า App Store เพราะมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนยอดดาวน์โหลดดีดขึ้นอันดับ 2 ของ App Store ประเทศไทย Urban Creature เลยไปก๊อกๆ หน้าประตูบ้านน้องเหมียว เพื่อคุยกับทีม KBTG อย่าง ‘พิมพ์พัช ดำรงเกียรติ’ Innovation Product Manager, ‘ชวิศ ทองภักดี’ Innovation Product Manager, ‘ศุภชัย สุวรรณวัชรชาติ’ UX Designer และ ‘ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย’ UX […]

ลดมลพิษหรือสร้างปัญหา? ผู้ใช้ถนนในเมืองโบโลญญาประท้วงนโยบายจำกัดความเร็วรถยนต์

ก่อนหน้านี้ประเทศอิตาลีได้มีความพยายามลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และพัฒนาคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างแผน ‘Città 30 (City 30)’ เพื่อจำกัดความเร็วบนท้องถนนในเมืองต่างๆ ให้เหลือ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเริ่มทดลองใช้ที่แคว้นซาร์ดิเนียไปในปี 2021 และเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ‘Matteo Lepore’ นายกเทศมนตรีเมืองโบโลญญา ก็ประกาศใช้แผน Città 30 (City 30) ด้วยการจำกัดความเร็วของรถยนต์สูงสุดลงจาก 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้เหลือเพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหวังเปลี่ยนให้โบโลญญากลายเป็นเมืองแห่งความปลอดภัยและยั่งยืน ด้วยการลดปัญหามลพิษทางอากาศและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทว่าผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เป็นดังคาด เพราะเหล่าผู้ใช้ท้องถนนหลายคนเริ่มไม่พอใจกับการจำกัดความเร็วครั้งนี้ เนื่องจากการจราจรที่หยุดชะงักทันทีในวันแรกหลังประกาศใช้นโยบาย ลามไปถึงแท็กซี่ที่ประสบปัญหารับผู้โดยสารได้น้อยลง จนเกิดการประท้วงจากเหล่าผู้ขับแท็กซี่ที่ขู่จะขึ้นค่าโดยสารเพื่อชดเชยกับรายได้ที่น้อยลงจากการต้องขับรถช้าๆ นอกจากนี้ แม้การจำกัดความเร็วจะลดการเกิดอุบัติเหตุได้จริง แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า นโยบายนี้ช่วยลดการเกิดมลพิษทางอากาศได้จริงไหม อีกทั้งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอิตาลียังแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อจำกัดดังกล่าว เนื่องจากมองว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างปัญหาต่อชาวเมืองมากกว่าประโยชน์ทางด้านความยั่งยืนอย่างที่ผู้มีอำนาจต้องการ Sources :Bologna Welcome | bit.ly/490YWTAEuronews Green | bit.ly/3vHhiuu

เจาะลึก 7 มิติจากปรัชญา ‘CRC Care’ ที่ทำให้เซ็นทรัล รีเทล โตอย่างยั่งยืน อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 80 ปี

เป็นเวลากว่า 80 ปี ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อ ‘เซ็นทรัล รีเทล’ หรือ CRC ผู้นำธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสินค้าหลากหลายประเภทผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย (Multi-Format, Multi-Category and Multi Market) ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศทั้งเวียดนามและอิตาลี และก็เป็นเวลาเดียวกันที่เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นสร้างอีโคซิสเต็มที่ครบวงจร เพื่อเป็น Platform of Trust ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนอย่างสมบูรณ์แบบ และสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ด้วย Brand Purpose ที่ชัดเจนในการเป็น Central to Life ศูนย์กลางชีวิตของทุกคน ในทุกประเทศที่ดำเนินธุรกิจ และสร้างความสำเร็จให้เห็นจริงอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ‘CRC Care’ ที่เปรียบเสมือนคำสัญญาที่จะดูแลและยกระดับทุกภาคส่วนให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนทั้งระบบ โดยที่ผ่านมา เซ็นทรัล รีเทล ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ 7 มิติหลัก ดังนี้ 1) Care for the Economy เป็นการลงทุนขยายธุรกิจและพัฒนาโมเดลใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการให้ความสำคัญกับเมืองรองและยกระดับให้แข็งแกร่งเทียบเท่าเมืองหลัก โดยดึงศักยภาพของเมืองรองให้โดดเด่น และพัฒนาเมืองให้มีความเจริญยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน […]

1 16 17 18 19 20 135

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.