คืนความร่าเริงให้สัตว์เลี้ยงสูงวัย ‘Steady’ อุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับสัตว์ ด้วยการใช้เข็มขัดพยุงขณะเคลื่อนไหว

ในการเลี้ยงสัตว์สักตัว เราคงคาดหวังให้พวกเขาอยู่กับเราได้นานที่สุด แต่เมื่อสัตว์เหล่านั้นแก่ตัวไป จากที่ต้องพาไปเดินเล่นทุกเย็น น้องๆ ก็เริ่มเคลื่อนไหวได้น้อยลงเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือน้องหมาให้ใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีความสุข สามนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮงอิก กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ร่วมมือกันออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับสัตว์สูงวัยในชื่อ ‘Steady’ Steady ทำงานโดยใช้กลไกคล้ายกับเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ที่ปรับขนาดให้พอดีกับตัวสุนัขได้ และมีความยืดหยุ่น ทำให้น้องหมาเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ มาเป็นตัวช่วยในการพยุงใต้ตัวน้องหมาสูงวัยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวจากหมอนรองกระดูก ข้อต่ออักเสบ หรือกระดูกเคลื่อน ในขณะเดียวกัน สายรัดยังทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุต้องหยุดแบบกะทันหัน กลไกการล็อกในสายรัดจะเป็นตัวกระชับและยึดตัวสุนัขไว้อย่างแน่นหนา อีกทั้งส่วนของล้อยังมีการติดตั้งเบรกเท้าสำหรับหยุดการเคลื่อนไหวแบบกะทันหันในกรณีฉุกเฉิน และมีการติดตั้งเซนเซอร์วัดการเคลื่อนไหว เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาต่อสัตว์เลี้ยงสูงวัยในอนาคต Sources :Designboom | t.ly/xZ9Z0Dezeen | t.ly/6diaOTrend Hunter | t.ly/W_prB

สะพาน Golden Gate ติดตั้งตาข่ายป้องกันการกระโดดน้ำฆ่าตัวตายที่มีสถิติเฉลี่ยกว่า 30 รายต่อปี

สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างแสนสวยงามและยิ่งใหญ่ที่ใครไปก็ต้องถ่ายรูปคู่กลับมาด้วย ทว่านับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1937 สะพานแห่งนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนมากกว่า 1,800 ชีวิตเลือกปลิดชีวิตตัวเอง จนมีสถิติยืนยันว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีการพยายามฆ่าตัวตายที่สะพานโกลเดนเกตเฉลี่ยกว่า 30 รายในทุกปี ด้วยเหตุนี้ แขวงทางหลวงสะพานโกลเดนเกต ‘Golden Gate Bridge, Highway and Transportation District’ (GGBHT) พยายามป้องกันการสูญเสียด้วยการร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบท้องถิ่น ‘MacDonald Architects’ ริเริ่มโครงการติดตั้งตาข่ายบริเวณด้านข้างสะพาน เพื่อป้องกันการกระโดดจากบนสะพานมาตั้งแต่ต้นปี 2017 แต่เนื่องจากมีเหตุล่าช้าทางงบประมาณ ทำให้โครงการต้องขยายเวลามาเรื่อยๆ ล่าสุดเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา สะพานโกลเดนเกตได้ติดตั้งตาข่ายป้องกันเสร็จสิ้นกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ทั้งสองฝั่งของสะพานเต็มความยาวสะพานกว่า 2.7 กิโลเมตร ด้วยการใช้สเตนเลสในเกรดที่ใช้สำหรับงานทางทะเล (Marine-grade Stainless Steel) สร้างตาข่าย เนื่องจากเป็นวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อน และติดตั้งตาข่ายในลักษณะที่ยื่นออกจากสะพานเหนือน่านน้ำขนาด 6 เมตร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าครอบคลุมระยะการกระโดดของผู้ที่ต้องการจบชีวิตตนเอง ในปี 2023 […]

นิทรรศการศิลปะ ‘เมืองลับแล’ บอกเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ที่มองไม่เห็น วันนี้ – 23 มี.ค. 67 ที่ SAC Gallery

‘กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย’ คำขวัญกรุงเทพฯ ที่พูดถึงความเจริญของเมืองผ่านแง่มุมที่สวยหรู แต่ด้วยการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้กรุงเทพฯ ในจินตนาการนั้นแตกต่างกับความเป็นจริง ‘เมืองลับแล’ (Invisible Town) คือนิทรรศการที่สะท้อนถึงผู้คนและกรุงเทพฯ เมืองที่กำลังพัฒนาผ่านผลงานศิลปะของ ‘มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ’ ศิลปินหญิงชาวมุสลิม ที่มองเห็นถึงปัญหาทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ความบกพร่องในการวางผังเมือง และการคอร์รัปชัน รวมไปถึงบางพื้นที่ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับแหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม ที่หลายคนอาจมองข้ามผลกระทบที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไป ผลงานในนิทรรศการนี้มีแนวความคิดการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับสิ่งของเหลือใช้ เช่น กระป๋องบุบ มุ้งลวดกันยุง กระดาษลังใช้แล้ว กล่องนม เหล็กดัด และใช้ผ้ามัดย้อมหรือผ้าพิมพ์ลายภาพสถานที่สื่อถึงการตระหนักรู้เรื่องหมอกควัน แสดงให้เห็นถึงมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาแก่ผู้คนในประเทศไทยและกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอในลักษณะเหมือนช่องหน้าต่างและฉากกั้นห้อง ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งภายในบ้านแบบไทยและบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมีการนำเอาผนังรีไซเคิลมาสร้างเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่อีกด้วย เปิดประสบการณ์เมืองลับแล (Invisible Town) ที่ SAC Gallery ตั้งแต่วันนี้ – 23 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 11.00 – 18.00 น.

‘Gratitude Jar’ แอปฯ บันทึกความรู้สึก ให้กำลังใจตัวเอง เปลี่ยนวันที่แย่ให้ดีขึ้น ผ่านข้อความที่พับดาวไว้ในขวดโหล

ไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ที่ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความกดดัน ผสมกับความเหน็ดเหนื่อยในแต่ละวัน จนเผลอสร้างมวลลบให้ตัวเองอยู่บ่อยๆ แต่เชื่อเถอะว่า บางครั้งข้อความสั้นๆ ที่พูดถึงสิ่งดีๆ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถฉุดเราขึ้นมาจากห้วงแห่งความเศร้าได้ไม่ยาก ย้อนกลับไปในอดีต หลายคนคงเคยเขียนบันทึกประจำวันถึงวันดีๆ หรือพับดาวบันทึกความทรงจำดีๆ ไว้ในขวดโหล ที่แค่ได้ย้อนกลับมาอ่านข้อความก็หัวใจพองโตอีกครั้ง สำหรับใครที่คิดถึงวันวานอย่างการพับดาวใส่ขวด เรามี ‘Gratitude Jar’ แอปพลิเคชันไดอารีบันทึกสิ่งดีๆ ประจำวัน เพื่อเปลี่ยนวันที่แย่ให้ดีขึ้นมาฝาก การทำงานของ Gratitude Jar คือ ในแต่ละวันเราสามารถบันทึกความรู้สึกเก็บพับเป็นดาวใส่ขวดโหลได้วันละ 1 ดวง และเมื่อไหร่ที่เศร้า แอปฯ ก็มีฟีเจอร์ ‘Jar Shake’ ที่จะช่วยให้ความเศร้านั้นหายไปด้วยการให้เราเขย่าโทรศัพท์หรือกดที่คำว่า Shake เพื่อสุ่มข้อความดีๆ ในโหลแก้วที่เราเคยบันทึกไว้ขึ้นมาอ่าน นอกจากนี้ สำหรับชาวขี้ลืมที่เพิ่งเริ่มต้นเขียนบันทึกประจำวัน ทางแอปฯ ก็มีฟีเจอร์ตั้งเวลาแจ้งเตือนให้เรากลับมาบันทึกเรื่องราวที่เจอในระหว่างวันได้ แถมถ้าโมเมนต์ดีๆ นั้นเกี่ยวข้องกับคนรอบตัว แอปฯ ยังเปิดโอกาสให้เราส่งต่อความรู้สึกขอบคุณไปยังพวกเขาผ่านฟีเจอร์ ‘Share Your Gratitude’ ได้ด้วย ใครที่อยากพับดาวให้ใจฟู เข้าไปดาวน์โหลดแอปฯ ได้ที่ t.ly/mCEVo

‘4D-Knit Dress’ ชุดเดรสแห่งอนาคต ที่ปรับขนาดให้พอดีได้ด้วยความร้อน เพื่อลดขยะในการผลิตและสต๊อกส่วนเกิน

กว่าจะมาเป็นเดรสสักตัวที่วางขายตามหน้าร้านเสื้อผ้า เบื้องหลังการผลิตล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยเศษผ้าเหลือทิ้งและสต๊อกของชุดแต่ละไซซ์ที่จำเป็นต้องผลิตออกมาเพื่อให้ครอบคลุมการสวมใส่ จนเกิดเป็นขยะเสื้อผ้าจำนวนมาก เพื่อลดจำนวนขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งจากการผลิต นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้ร่วมมือกับ Ministry of Supply แบรนด์แฟชั่นเครื่องแต่งกายสัญชาติอเมริกัน ผลิต ‘4D-Knit Dress’ ชุดเดรสจากเส้นด้ายพิเศษที่สามารถปรับขนาดให้พอดีกับทรวดทรงผู้สวมใส่ได้ด้วยความร้อน 4D-Knit Dress สร้างขึ้นจากเส้นใยไนลอนที่ผสมกับเส้นใยวิสโคส (Viscose) และโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ที่ได้รับการพัฒนาโดย Self-Assembly Lab ให้สามารถปรับแต่งขนาดชิ้นงานได้จากการกระตุ้นด้วยความร้อน อีกทั้งยังมีการขึ้นรูปเสื้อผ้าด้วยการถักแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่คล้ายกับการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่จะแตกต่างจากการสร้างเสื้อผ้าโดยทั่วไปในอดีตที่ขึ้นแพตเทิร์นแบบ 2 มิติ ก่อนนำมาตัดเย็บให้กลายเป็น 3 มิติในภายหลัง จึงทำให้เกิดขยะส่วนเกินตามมา 4D-Knit Dress จะวางขายที่หน้าร้านของแบรนด์ Ministry of Supply ในกรุงบอสตัน ในลักษณะชุดเดรสท่อนยาวแบบตรงๆ ที่ไม่โค้งรับกับสัดส่วนการสวมใส่ แต่เมื่อมีการซื้อขาย ชุดเหล่านี้จะถูกนำไปผ่านความร้อนที่ปล่อยจากแขนหุ่นยนต์ เพื่อสร้างชุดเดรสตัวเก่งให้เหมาะสมกับสรีระและความต้องการของผู้สวมใส่อย่างสมบูรณ์แบบ ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดขยะจากผ้าและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้า นอกจากนี้ ผู้สวมใส่ยังไม่ต้องกังวลในการสวมใส่ซ้ำ เนื่องจากชุดที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะจะยังคงสภาพได้เป็นอย่างดี และซักด้วยน้ำเย็นเพื่อนำมาใส่ซ้ำได้แบบไม่รู้จบ […]

พระราชวังพญาไท ฉลอง 101 ปี ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน พร้อมโชว์แสงสีเสียง 14 ก.พ. – 16 มี.ค.

‘พระราชวังพญาไท’ เป็นหนึ่งในพระราชวังของไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นอกจากจะเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงแรมชั้นหนึ่ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ปัจจุบันยังกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชมความงดงามของสถานที่แห่งประวัติศาสตร์นี้อีกด้วย ในปีนี้ พระราชวังพญาไทจะมีอายุครบ 101 ปี จึงมีการเฉลิมฉลองกับงาน ‘101 ปี พระราชวังพญาไท’ (THE GLORY OF SIAM) โดยถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมความงามของพระราชวังพญาไทในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน (Night Museum) ที่เต็มไปด้วยการแสดง แสง สี เสียง และศิลปะอันสวยงามในพื้นที่ต่างๆ ของพระราชวัง ไม่ว่าจะเป็น Architecture Lighting, Interior Lighting, Projection Mapping และ Lighting Installation งาน 101 ปี พระราชวังพญาไท จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 16 มีนาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.30 น. ณ […]

ชวนคนทำงานสร้างสรรค์ยืนยันความเป็นเจ้าของผลงานด้วยเรียลไทม์แสตมป์ ผ่าน ‘Creative Asset Platform’

ปัจจุบันผู้คนต่างให้ความสำคัญกับคำว่า ‘สิทธิ’ มากขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ที่เราควรได้รับ โดยเฉพาะกับคนที่ทำงานในสายอาชีพที่ต้องใช้ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ควรมีการรักษาสิทธิในผลงานของตัวเอง เพื่อไม่ให้ถูกอ้างสิทธิ์ในผลงานและนำไปต่อยอดทางพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดแพลตฟอร์มใหม่ ‘Creative Asset Platform’ หรือ ‘CAP’ ให้กับเหล่านักสร้างสรรค์ได้ใช้ยืนยันสิทธิในผลงานหรือชิ้นงานของตนเอง ตั้งแต่ระดับไอเดีย ร่างแบบ ไปจนถึงผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ โดยผู้ใช้งานสามารถประทับเวลา (Timestamp) และออกใบรับรอง (Certificate) เพื่อรับรองเวลาให้กับผลงานสร้างสรรค์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (ฺBlockchain) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองต่อคู่กรณีหรือศาล เมื่อเกิดกรณีพิพาทในอนาคต รวมถึงใช้เป็นหลักประกันในการต่อยอดเชิงธุรกิจด้วย ผู้สนใจเข้าใช้บริการประทับเวลาทางเว็บไซต์ได้แบบไม่จำกัด ผ่านวิธีการที่ง่ายและสะดวกทั้ง 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สมัครเข้าใช้และยืนยันตัวตนผ่าน www.cap.cea.or.th2) อัปโหลดไฟล์ชิ้นงานหรือผลงานสร้างสรรค์ (รองรับผลงานทั้งที่เป็นไฟล์ภาพ เอกสาร วิดีโอ)3) บันทึกเวลา (Timestamp) และบริหารจัดการงานสร้างสรรค์ผ่าน Dashboard4) ดาวน์โหลดใบรับรอง (Certificate) ไปใช้ยืนยันสิทธิ์ได้ทันที

‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น

ใครจะไปคิดว่าทางเข้าสวนสาธารณะก็สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ประชาชนที่เข้าไปใช้งานได้ด้วย เพราะปกติภาพทางเข้าสวนสาธารณะส่วนใหญ่มักเป็นประตูเหล็กทั่วๆ ไป เพื่อทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้เราเข้าไปเจอพื้นที่สีเขียวด้านใน‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น สวนสาธารณะประชาชนในเซินเจิ้น ที่ต้องการเพิ่มประโยชน์การใช้งานของพื้นที่สวนให้มากขึ้นและเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ได้จัดทำโครงการปรับปรุงพื้นที่โดยเปลี่ยนทางเข้าฝั่งตะวันออกของสวนสาธารณะให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น ผ่านการออกแบบทางเข้าด้านทิศตะวันออกใหม่โดยบริษัทสถาปนิก REFORM ทั้งการปรับปรุงรูปลักษณ์ของทางเข้าสวนให้ดูทันสมัย ขยายพื้นที่บันไดกลางแจ้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเดิน รวมถึงติดตั้งบันไดเลื่อนและลิฟต์ที่จะพาคนทุกเพศทุกวัยเข้าสู่สวนได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงนี้มีแรงบันดาลใจจากดอกกุหลาบภายในสวน ทำให้ออกมาเป็นโครงสร้างหลังคาที่มีส่วนโค้งเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว เส้นโค้งเหล่านี้ยังเป็นการเลี่ยงการรบกวนต้นไม้ใหญ่อีกด้วย ตัวหลังคาที่ลาดเอียงนั้นได้รับการแต่งแต้มสีเขียวจากต้นไม้หลากหลายชนิด ดูกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ รวมไปถึงด้านล่างที่เป็นทางเข้าออกก็ออกแบบให้คล้ายกับถ้ำ ส่วนหลังคานั้นช่วยป้องกันเศษใบไม้ไม่ให้ร่วงใส่บันไดเลื่อน รวมไปถึงป้องกันแสงแดดและฝนให้กับผู้ที่ใช้ทางเข้าสวนสาธารณะแห่งนี้ มากไปกว่านั้น การออกแบบให้คล้ายถ้ำยังทำให้เมื่อลงบันไดเลื่อน ภาพของทิวทัศน์ด้านหน้าจะค่อยๆ กว้างขึ้นจนเห็นวิวทะเลสาบเต็มตาเมื่อลงมาจนสุดทาง เช่นเดียวกันกับเวลาขึ้นไปยังด้านบน ทิวทัศน์จะค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อผ่านโครงสร้างนี้ไปจนถึงพื้นสวน กลายเป็นภาพต้นไม้และหมู่เมฆบนท้องฟ้าที่สวยงาม Sources :Designboom | tinyurl.com/yck3jmvpREFORM | tinyurl.com/wtycuavy

Moon Crayon ร้านหนังสืออิสระและเกสต์เฮาส์ในเมืองแพร่ ที่ต้องการสร้างประสบการณ์ให้คนอยากอ่านหนังสือมากขึ้น

ถ้าถามว่าสถานที่หรือบรรยากาศแบบไหนที่จะทำให้เรารู้สึกอยากหยิบหนังสือเล่มโปรดขึ้นมาอ่าน สำหรับเราคงเลือก ‘Moon Crayon’ ร้านหนังสืออิสระและเกสต์เฮาส์ในจังหวัดแพร่ แห่งนี้แหละ เพราะทุกอย่างใน Moon Crayon ล้วนแล้วแต่ถูกคิดมาเป็นอย่างดีโดย ‘เพชร-เพชรฟ้า ภาคพิชเจริญ’ สาวแพร่และคนรัก ด้วยจุดประสงค์ที่อยากชวนให้ผู้คนหันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น “จริงๆ เราอยากทำร้านหนังสืออยู่แล้ว คิดไว้ว่าคงทำตอนเกษียณ แต่พอตัดสินใจกลับมาอยู่แพร่และทำเกสต์เฮาส์ เราเลยคิดว่าเกสต์เฮาส์กับร้านหนังสือมันน่าจะไปด้วยกันได้” เพชรเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ตัดสินใจทำร้านหนังสือควบคู่กับเกสต์เฮาส์ ร้านหนังสือเล็กๆ บรรยากาศน่ารักแสนอบอุ่นแห่งนี้ ประกอบไปด้วยหนังสือประเภทปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมต่างประเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหนังสือประเภทที่เพชรและแฟนสนใจเป็นทุนเดิม “ที่เลือกหนังสือประเภทเหล่านี้เพราะเราสนใจและพอที่จะแนะนำได้ เพราะจะมีลูกค้าบางคนที่เข้ามาแล้วถามว่า ถ้าจะเริ่มอ่านหนังสือควรเป็นเล่มไหนดี เราก็ให้คำแนะนำได้” เพชรมองว่า Moon Crayon ไม่ใช่ร้านหนังสือสำหรับนักอ่านโดยเฉพาะ แต่เป็นร้านหนังสือที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเพื่อนนักอ่าน ที่คอยดึงคนที่สนใจอยากลองหาหนังสือสักเล่มอ่าน เข้ามาในวงจรของการอ่านมากกว่า “หลายคนที่ตอนนี้เป็นลูกค้าประจำ เขาก็เริ่มจากการเป็นคนไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน โดยเริ่มจากเล่มง่ายๆ แล้วค่อยๆ ไต่ขึ้นไป แค่นี้เราก็รู้สึกดีใจแล้ว” เพชรเล่าด้วยรอยยิ้ม และหนึ่งสิ่งที่เพชรเลือกใช้สร้างบรรยากาศให้คนอยากหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านคือ การหยิบเอากระดาษลายน่ารักๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้แรงบันดาลใจมาจากตอนไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นมาใช้ห่อหนังสือ รวมไปถึงกิมมิกเล็กๆ อย่างการ์ดเขียนมือจากสีธรรมชาติ ที่ทางร้านจะเขียนแนบไปกับตัวหนังสือที่ลูกค้าซื้อ หรือใครอยากจะเขียนด้วยตัวเองก็ได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่หนังสือเท่านั้น แต่ […]

แค่สแกน QR Code ก็รีไซเคิลได้ ด้วยป้ายเสื้อฮู้ด FOR TOMORROW ติดตามการเดินทางของสินค้าจนครบลูป

ขยะเสื้อผ้าจำนวนมากที่เกิดจากกระแสฟาสต์แฟชั่น มักลงเอยด้วยการเป็นขยะฝังกลบ ซึ่งไม่ใช่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและไม่ได้ถูกแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างที่ควรจะเป็น คงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีนวัตกรรมที่เข้ามาทำให้การทิ้งเสื้อผ้าไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยรีไซเคิลให้เสื้อผ้าเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง ‘SixR’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายเสื้อผ้าออนไลน์ จับมือกับวิทยาลัย ‘George Brown’ และสถาบัน ‘Brookfield Sustainability Institute’ เปิดตัวคอลเลกชันเสื้อฮู้ด ‘FOR TOMORROW’ ที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับกระแสฟาสต์แฟชั่น โดยเสื้อในคอลเลกชันนี้จะถูกสกรีนคิวอาร์โค้ดลงบนป้ายเสื้อ เพื่อให้เราติดตามการเดินทางของฮู้ดตัวนั้นผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด ตั้งแต่แหล่งที่มาของวัสดุที่เลือกใช้ในการผลิต กระบวนการออกแบบและการผลิต ไปจนถึงการส่งสินค้าที่ไม่ต้องการใส่แล้วกลับคืนสู่แพลตฟอร์ม SixR อีกครั้ง และแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำสินค้าเหล่านี้กลับไปรีไซเคิลให้ แถมตัวผู้บริโภคเองยังติดตามสถานะการรีไซเคิลผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมกับได้รับเงินส่วนลดเพื่อนำไปซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ในครั้งต่อไป นอกจากนี้ SixR ยังมีความพยายามที่จะใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าคอลเลกชันอื่นๆ ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อให้นำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความตั้งใจของแพลตฟอร์ม เสื้อฮู้ด FOR TOMORROW มีทั้งหมด 4 สี ประกอบด้วยสี Midnight, Sky, Moon และ Sand โดยมีไซซ์ให้เลือกตั้งแต่ XS ไปจนถึง 2XL ในราคา 69 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,400 บาท) […]

‘Coachtopia’ แบรนด์ลูกจาก ‘Coach’ ที่นำเอาเศษวัสดุจากแบรนด์แม่มาผลิตเป็นกระเป๋าแฟชั่นใบใหม่

อุตสาหกรรมแฟชั่นขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งสร้างขยะจำนวนมากให้กับโลก ด้วยวิธีการผลิตที่มักเหลือเศษวัสดุทิ้งเอาไว้โดยไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ ในการผลิตที่เป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากเทรนด์ความยั่งยืนที่ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายย่อยก็ต้องให้ความสำคัญ ทำให้เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา แบรนด์แฟชั่นชื่อดัง ‘Coach’ เปิดตัว ‘Coachtopia’ แบรนด์ลูกที่ยังคงนำเสนอสินค้าแฟชั่น แต่เป็นการผลิตจากกระบวนการหมุนเวียนวัสดุแทน ด้วยความตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการผลิตจากวัสดุใหม่ ซึ่งคิดเป็น 38 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมแฟชั่น แบรนด์ Coachtopia จึงใช้วิธีการนำเอาวัสดุที่มีอยู่แล้วและยังมีอายุการใช้งานอีกนานกลับมาใช้ใหม่ หรือหากวัสดุเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ก็ต้องนำไปรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งวัสดุที่ว่านั้นมาจากเศษหนังจากการผลิตกระเป๋า Coach นั่นเอง โดยสินค้ากลุ่ม Coachtopia Leather นั้นเป็นการรีไซเคิลเศษที่เหลือจากการฟอกหนังอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสินค้าในกลุ่ม Coachtopia Loop จะผลิตขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันกับการนำเรซินมาทำเป็นป้ายห้อย และสายรัดก็ทำขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้ยังคงเป็นกระบวนการเริ่มต้นเท่านั้น และทางแบรนด์เองก็พยายามหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าแฟชั่นที่รักโลกไปพร้อมๆ กันอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่โปรดักต์ที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่แคมเปญล่าสุดของ Coachtopia ก็ไม่ได้ใช้วิธีประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมอย่างการนำเหล่าคนดังมาถ่ายภาพแฟชั่นเซต แต่เปลี่ยนเป็นการปล่อยสารคดีเรื่อง The Road to Circularity ที่ว่าด้วยกระบวนการผลิตกระเป๋าและเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสินค้าแฟชั่นของแบรนด์ไปด้วยกัน ชม […]

สำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่าน 38 หนังสั้นในเทศกาล ‘หนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ วันที่ 15 – 18 ก.พ. 67 ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

กลับมาอีกครั้งสำหรับ ‘CCCL Film Festival 2024’ หรือ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่ชวนทุกคนมาร่วมสำรวจเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบในพื้นที่ต่างๆ ทั่วเอเชีย ผ่านหนังสั้น 38 เรื่องที่คัดเลือกมาแล้วเน้นๆ จากทั้งหมด 383 เรื่อง จากจำนวนหนังที่ฉายแบ่งเป็นหนังสารคดี 19 เรื่อง และหนังประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่สารคดี 19 เรื่อง ซึ่งเป็นหนังสั้นสัญชาติไทยจำนวน 16 เรื่อง และหนังสั้นสัญชาติอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอีก 22 เรื่อง เป้าหมายของการฉายหนังในเทศกาลฯ นี้เป็นไปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผู้คนและชุมชน รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ไข ไปจนถึงการปรับตัวและรับมือต่อวิกฤตการณ์โลกรวน นอกจากภาพยนตร์ที่จัดฉายให้ดูกันแล้ว ทางเทศกาลฯ ยังมีการจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชิงทุนสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์สั้น กิจกรรมพัฒนางานศิลปะของยุวทูต CCCL และกิจกรรมเสวนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาพยนตร์ ที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการรับมือต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ปี 2567 จะจัดฉายที่แรกในกรุงเทพฯ ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ วันที่ 15 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ก่อนจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปยังจังหวัดเชียงราย น่าน […]

1 15 16 17 18 19 135

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.