ตีป้อม AWC 2021 ศึกนี้ไทยชนะ dtac x Talon คว้าแชมป์โลก ROV

ยิ้มแก้มปริในรอบหลายวัน เมื่อได้ยินว่า ‘dtac x Talon’ นักกีฬาอีสปอร์ตจากประเทศไทยคว้าแชมป์ ROV ในรายการแข่งขัน ‘Arena of Valor World Cup (AWC)’ รวมตัวเต็งทีมอีสปอร์ตจาก 8 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบราซิล ไต้หวัน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน มาชิงเงินรางวัลกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปิดให้แฟนเกมทั่วโลกรับชมการแข่งขันแบบโลกเสมือนจริงผ่าน ‘Online Virtual’  โดยในแมตช์สุดท้ายเป็นการปะทะกันของทีมไทย ‘dtac x Talon’ กับทีมไต้หวัน ‘Most Outstanding Player’ ซึ่งหลังจากนั่งลุ้นกันจนตัวโก่ง ในที่สุดเราก็ได้ผู้ชนะของปีนี้! เพราะทีมไทยตีป้อมชนะไปด้วยคะแนน 4 ต่อ 3 ทำให้คว้าแชมป์ระดับโลกและยังเป็นทีมไทยทีมแรกที่ชนะเวที AWC อีกด้วย อีกทั้งการลงสนามในครั้งนี้ นับว่าเป็นก้าวสำคัญของวงการอีสปอร์ตที่ได้รับการสนับสนุนจากการีนา ประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (MOTS) และการกีฬาแห่งประเทศไทย (SAT) เพื่อผลักดันกีฬาอีสปอร์ตให้เป็น ‘กีฬาอาชีพ’ […]

เล่นเป็นแล้ว แต่ยังไม่รู้ทฤษฎี เกาหลีเปิดสอนวิชา E-sports แถมออกตำราเรียนสอนเล่นจริงจัง

E-sports เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่เด็กวัยรุ่น ทั้งที่เล่นจริงจังจนลงลีกแข่งขัน หรือเล่นเป็นงานอดิเรก หลังเลิกเรียนจึงเห็นหมู่เด็กวัยรุ่นรวมตัวกันไปเล่นเกมออนไลน์ที่อินเทอร์เน็ตคาเฟ่อยู่บ่อยๆ จนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเกาหลีเลยก็ว่าได้  ล่าสุดจึงมีการเปิด E-sports เป็นวิชาเลือกและออกตำราเรียนวิชา E-sports ให้นักเรียนมัธยมแล้ว เนื้อหาในหนังสือเรียนจะเริ่มตั้งแต่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ E-sports ไปจนถึงประสบการณ์การเล่นในสนามของมีอาชีพ ทักษะของเหล่าแชมป์ และเทคนิคการเล่นของแต่ละคน อีกทั้งยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และการตอบโต้ต่างๆ ในเกมทั้ง League of Legends, PUBG, FIFA และ StarCraft  นอกจากการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน E-sports ในโรงเรียนมัธยมแล้ว กีฬาชนิดนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านต่างๆ เช่น Korean e-Sports Association ที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นองค์กรอย่างเป็นทางการ การสร้างทีมที่แข็งแกร่งและส่งออกนักกีฬาฝีมือดี จึงไม่น่าแปลกใจที่เกาหลีใต้จะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นผู้นำในวงการกีฬา E-sports

คนบ้านอยู่ชานเมืองเตรียมเฮ! อีก 14 วัน เปิดใช้ ‘รถไฟสายสีแดง’ จากบางซื่อ-ไปรังสิต แค่ 25 นาที

เตรียมตัวนับถอยหลังอีก 14 วัน สำหรับการเปิดทดลองให้ประชาชนใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงฟรี ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 นี้ โดยจะเปิดให้บริการ 2 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานีตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานีรังสิต  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ เพื่อให้ผู้โดยสารได้ปรับพฤติกรรมในการเดินทาง ปรับเส้นทางการให้บริการรถโดยสารประจำทางเพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงทุกสถานี พร้อมทั้งเชื่อมต่อการให้บริการระบบคมนาคมขนส่งอื่นๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการอีกด้วย รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงจะเปิดให้นั่งฟรี 3 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ซึ่งจะเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 12 – 42 บาทตลอดสาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางของคนบ้านอยู่ชานเมือง ที่นอกจากจะแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังช่วยลดเวลาในการเดินทาง เพราะจากสถานีกลางบางซื่อไปยังสถานีรังสิตใช้เวลาเพียง 25 นาทีเท่านั้น

บ้านคือวิมาน ห้องน้ำคือสุขาวดี ดีไซเนอร์ญี่ปุ่นเลยออกแบบห้องน้ำสาธารณะสไตล์บ้านๆ กลางโตเกียว

ห้องน้ำสาธารณะในความคิดคนญี่ปุ่นหรือแม้แต่คนไทยอย่างเรานั้นทั้งมืด มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ภาพลักษณ์ไม่สวยงาม และมักเป็นสถานที่เกิดเหตุน่ากลัวต่างๆ นานา โดยเฉพาะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่างชิบุย่าในมหานครโตเกียวแล้ว การจะหาห้องน้ำสาธารณะที่เป็นเหมือนแดนสุขาวดีคงจะเป็นเรื่องยาก มูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) จึงคิดโปรเจกต์ THE TOKYO TOILET ที่ให้สถาปนิกและดีไซเนอร์จากทั่วประเทศร่วมกันออกแบบห้องน้ำสาธารณะตามสไตล์ของตัวเอง เพื่อสนับสนุนความหลากหลายในสังคม และปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องน้ำสาธารณะ ผลงานออกแบบหนึ่งที่เห็นแล้วทำให้นึกถึงบ้านจนลองแวะเข้าไปปลดทุกข์เลยก็คือ ผลงานของ Nigo แฟชั่นดีไซเนอร์ที่เคยทำงานร่วมกับ Adidas และ Louis Vuitton แต่คราวนี้ Nigo หันมาออกแบบห้องน้ำสาธารณะสไตล์ ‘บ้านๆ’  Nigo ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านแบบ Washington Heights ในย่านชิบุย่าสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ย่านฮาราจุกุเติบโตมาเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมในปัจจุบัน Nigo ในฐานะคนที่โตมาในย่านนี้จึงอยากนำเสนอไอเดีย ‘Learning from the Past’ เพื่ออนุรักษ์บ้านสไตล์นี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไปในฮาราจุกุ ห้องน้ำสไตล์บ้านๆ ของ Nigo นี้มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดมาอย่างถี่ถ้วนเพื่อเสริมลักษณะความอบอุ่น น่าเข้าใช้บริการของห้องน้ำเข้าไปอีก เช่น สุขภัณฑ์ต่างๆ ในห้องน้ำเป็นแบบที่พบเห็นตามบ้านทั่วไปในญี่ปุ่น รั้วสีขาวเล็กๆ ข้างนอกที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นเขตบ้าน […]

mappa แผนที่เรียนเล่นที่ช่วยให้เด็ก พ่อแม่ ครู ค้นหาการเรียนใหม่ๆ แบบ Gamification โดยไม่ต้องปวดหัวกับการเรียนออนไลน์

ดูเหมือนว่าภัยโควิด-19 จะยังไม่หมดไปเร็วๆ นี้ ‘บ้าน’ จึงกลายเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ แต่ติดปัญหาตรงที่ว่าหลายครอบครัวพ่อแม่ไม่รู้ว่าจะเป็น ‘ครู’ ให้ลูกอย่างไร สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. จึงจับมือกับหลายองค์กร นำเสนอ ‘mappa’ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์เฉพาะกิจ สำหรับเด็กวัย 0 – 8 ปี ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่” mappa เป็นแผนที่ที่จะพาพ่อแม่ ครู และเด็ก ไปค้นพบเส้นทางการเรียนรู้ใหม่ๆ ตามความเหมาะสมของตัวเด็กเอง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ งานบ้าน งานอ่าน และงานเล่น ที่ทำออกมาในรูปแบบเกมิฟิเคชันเพื่อการเรียนรู้ (Gamification for Learning) ทำให้เด็กรู้สึกสนุกเหมือนได้เล่นเกมขณะที่ได้เรียนรู้ไปด้วย จึงใช้เวลาทำกิจกรรมนั้นๆ ได้นานขึ้น อีกทั้งพ่อแม่และเด็กจะได้ใช้เวลาทำ ‘ภารกิจ’ เสริมทักษะและสะสมประสบการณ์ร่วมกันในฐานะ ‘คู่หู’ ของ ‘นักผจญภัย’ อีกด้วย ในยามวิกฤตที่ผู้คนต้องห่างกันมากขึ้นเช่นนี้ mappa เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และดึงศักยภาพการสอนของพ่อแม่และศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กให้ออกมาบรรจบกัน หากใครอยากเรียนรู้เกี่ยวกับ […]

ลาแล้วไม้เท้า เมื่อ Honda ทำรองเท้า ให้ก้าวไปแบบสั่นๆ กับ ‘Ashirase’ ระบบสั่นติดรองเท้า นำทางผู้พิการทางสายตา

สำหรับคนสายตาปกติ แค่เดินบนฟุตพาทประเทศไทยก็ว่ายากแล้ว สำหรับผู้พิการทางสายตานั้นคงเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าที่ต้องพึ่งพาไม้นำทางคู่ใจบนเบรลล์บล็อก (Braille Block) ที่จัดวางไม่เป็นระเบียบ บริษัท Start-up ในเครือ Honda จึงคิดค้น ‘Ashirase’ ระบบสั่นที่ติดไปกับรองเท้าและนำทางด้วยพิกัดจากดาวเทียม เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ใช้อย่างแท้จริง! ทีมผู้คิดค้น Ashirase เล็งเห็นว่า อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่ช่วยนำทางผู้พิการสายตาในปัจจุบันนั้นไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้อย่างดีที่สุด เช่นหากใช้ไม้เท้า มือข้างหนึ่งก็จะไม่สะดวกถือถุงช้อปปิง หรือหากใช้แอปพลิเคชันนำทางด้วยเสียงขณะใส่หูฟัง อาจจะไม่ได้ยินเสียงแตรรถหรือเสียงสัญญาณอื่นๆ และหลายคนคงไม่สะดวกที่จะเลี้ยงสุนัขนำทาง Ashirase จึงเป็นทางออกที่คิดค้นมาให้ผู้ใช้ได้รับแรงสั่นจากอุปกรณ์ที่อยู่ด้านในรองเท้าเพื่อบอกทิศทาง เช่น บริเวณใกล้หัวแม่เท้าจะสั่นเมื่อให้เดินตรงไป และบริเวณด้านซ้ายของเท้าซ้ายจะสั่นเมื่อต้องเลี้ยวซ้าย อุปกรณ์นี้ทำงานควบคู่กับแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนเพื่อบอกข้อมูลและตำแหน่งของผู้ใช้จากดาวเทียม Ashirase จะเป็นที่ถูกใจกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ต้องรอติดตามจากผลการทดลอง แต่มีหนึ่งเสียงแล้วที่บอกว่าเจ้าเครื่องสั่นนำทางนี้ช่วยให้เขาเพลิดเพลินกับการเดินมากขึ้น โดย Ashirase Inc. ตั้งใจจะพัฒนาเครื่องนำทางนี้ต่อไปเพื่อให้ผู้พิการทางสายตามีอิสระในการเดินมากขึ้น และมีแผนจะวางขายสินค้านี้ไม่เกินสิ้นเดือนมีนาคมปี 2023

เมื่อความเงียบเหงามาพร้อมกับโควิด Leica ชวนมองกรุงเทพฯ ในวันที่เหงาที่สุด ผ่านเลนส์ของช่างภาพดังของไทย

คนไทยเผชิญสถานการณ์โควิด-19 มาร่วมสองปีแล้ว หลายคนต้องเวิร์กฟรอมโฮม เรียนออนไลน์ ออกไปพบปะสังสรรค์กับผู้คนข้างนอกน้อยลง ภาพรถติดในกรุงเทพฯ หรือความวุ่นวาย คึกคัก และขวักไขว่ของผู้คนในย่านการค้าที่คุ้นชินเริ่มหายไปจึงถูกแทนที่ด้วยความว่างเปล่าไร้ผู้คน วิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นสิ่งที่ไม่ได้เห็นบ่อยนักคือกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่เงียบเหงา Leica Camera Thailand จึงจัดทำแคมเปญ Leica Bangkok Captures ชวนผู้รักการถ่ายภาพอย่าง ‘กิตติพัฒน์ สมานตระกูลชัย’ ‘วรชัย ศิริคงสุวรรณ’ และ ‘กาน อาสาฬห์ประกิต – กฤตนัย อาสาฬห์ประกิต’ พร้อมด้วย ‘อาณกรภูเบศวร์ เฮงสุวรรณ์’ ช่างภาพสายแฟชั่น และ ‘ศิรวิทย์ คุววัฒนานนท์’ ช่างภาพสตรีทรุ่นใหม่ มาเก็บภาพประวัติศาสตร์ในวันที่กรุงเทพฯ เงียบเหงา คนไทยในยุคนี้ต้องตกอยู่สถานการณ์ที่ต้องจดจำ เรียนรู้ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อส่งต่อภาพเหล่านี้ให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ถึงคุณค่าของความยากลำบากและการร่วมใจกันต่อสู้เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ ชมภาพจากแคมเปญ Leica Bangkok Captures ได้ทาง  Instagram : @leicacamerathailand  และ Facebook : https://www.facebook.com/LeicaCameraThailand/

หยุดนะ! ป่าล้อมไว้หมดแล้ว สิงคโปร์ยกเขตอนุรักษ์ป่าและพันธุ์สัตว์ มาเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง

ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกหาทางแก้ปัญหาโควิดกันอย่างตึงมือ สิงคโปร์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ปล่อยให้มือว่าง นอกจากรับมือกับสถานการณ์โควิดแล้ว สิงคโปร์ยังประกาศเริ่มโปรเจกต์มากมายที่ช่วยฟื้นฟูภูมิทัศน์เมืองให้เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อให้กลายเป็นเมืองในธรรมชาติ (City in nature) ภายในปี 2030 โปรเจกต์ที่เป็นไฮไลต์เลยคือ ‘Mandai’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ที่เชื่อมหลายแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไว้ด้วยกัน ทั้งสวนสัตว์สิงคโปร์ ไนต์ซาฟารี ริเวอร์ซาฟารี จนถึงสวนที่ออกแบบภายใต้แนวคิดอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอย่าง ‘สวนนก’ ที่ออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของนกกว่า 400 สายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์หายากที่โบยบินอย่างอิสระให้นักท่องเที่ยวได้เชยชม และ ‘สวนสัตว์ป่าฝน’ ที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในแห่งเดียว ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิดและศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูสัตว์ที่บาดเจ็บอีกด้วย ถนน Orchard แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังก็ตกแต่งด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ให้ความร่มเย็นตลอดสายที่เชื่อมไปยังสวนพฤกษศาสตร์และสวนสาธารณะอื่นๆ และอีกโปรเจกต์หนึ่งคือ ‘Jurong Lake Garden’ ที่ถือเป็นโอเอซิสใจกลางเมือง ประกอบไปด้วย 4 โซนใหญ่ๆ ― Lakeside Garden, Chinese Garden, Japanese Garden และ Garden Promenade แต่ละโซนมีจุดเด่นต่างกันไปอย่าง Youth Park ที่มีสนามสเก็ตและสนามจักรยาน อุโมงค์ป่าไผ่ที่ฉ่ำเย็นด้วยไอจากน้ำตก จุดชมโคมพระจันทร์ยามค่ำคืนที่ Moon Lantern Terrace […]

แค่แยกขยะก็ช่วย ‘ขยะกำพร้า’ ได้ NIA ช่วยอุปถัมภ์ขยะมูลฝอย เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานทางเลือก

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน คนหันมาใช้บริการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือขยะพลาสติกแบบ Single-use เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก กล่องโฟม แล้วยังมีหน้ากากอนามัยใช้แล้วอีก ขยะเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกวันแต่ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง เพราะไม่มีราคา และไม่รู้วิธีจัดการต่อ สุดท้ายจึงกลายเป็น ‘ขยะกำพร้า’ ที่ไม่มีใครอยากรับไปจัดการ ถูกทิ้งตามลำคลอง ที่รกร้าง ถูกเผาหรือถูกฝังกลบ จนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป  ‘สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)’ หรือ NIA ได้ค้นพบทางออกให้กับปัญหานี้ด้วยวิธีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy) โดยการนำไปเผาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานทดแทนอื่นๆ ต่อไป แต่เพื่อให้กระบวนการแปรรูปเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขยะกำพร้าเหล่านี้จึงควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง NIA จึงอยากให้ผู้บริโภคช่วยกันคัดแยกขยะ เพื่อให้ขยะเหล่านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้  แต่ถึงจะมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง หรือนำขยะกลับไปรีไซเคิลใช้ประโยชน์อย่างไร ปัญหาขยะล้นเมืองคงแก้ไม่ได้ง่ายๆ NIA จึงมี ‘โครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า (The Electric Playground)’ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานนี้ ภายใต้หลักสูตรบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการสร้างสรรค์นวัตกรรม (STEAM4INNOVATOR) ไปสู่เยาวชน ประชาชนที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้จึงเป็นเหมือนพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามาประลองไอเดียนวัตกรรมแก้ไขปัญหาขยะและจุดประกายความหวังที่จะได้เห็นสังคมไทยเข้าใกล้การใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น

ปิดกล้อง เปิดใจ ชวนเดตออนไลน์ยุคโควิด คุยเรื่องความตายและการมีชีวิต

ในช่วงล็อกดาวน์ที่เราต่างต้องเก็บตัว งดเจอผู้คนเพื่อความปลอดภัย คงทำให้หลายคนเหงาปาก คิดถึงช่วงเวลาการคุยกับใครสักคนกันบ้าง หากคุณคิดถึงช่วงเวลาเหล่านั้น เราอยากเชิญคุณมาเดตออนไลน์ในยุคโควิดไปกับ Death Talk  Speedy Genderless Blind Dating อีเวนต์เดตออนไลน์ผ่าน Zoom ที่คุณจะได้รับบทเป็นใครก็ได้ผ่านชื่อที่ตัวเองอยากให้คนอื่นเรียก ปิดกล้อง หลับตา ใช้เสียงและความรู้สึก พูดคุยแลกเปลี่ยนกับใครสักคนให้ชัดขึ้นด้วยตัวตนที่แท้จริงอย่างไม่จำกัด ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ทำความรู้จักกับคนหลากหลายตัวตน ในประเด็นเรื่องความตายและการมีชีวิตอยู่ ผ่านการสุ่มตอบคำถามกับใครสักคนที่คุณไม่รู้จัก เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง About Time  สำหรับผู้ที่สนใจเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเพราะอีเวนต์สนุกๆ นี้จะจัดขึ้นภายในวันนี้เวลา 21.15 – 22.45 น. อ่านรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Death Talk ความตายและชีวิต

กำขี้ดีกว่ากำตด มหา’ลัยเกาหลี สร้างชักโครกเปลี่ยนอึเป็นพลังงาน ที่ยิ่งอึนักศึกษายิ่งได้ตังค์

ที่มหาวิทยาลัยที่เกาหลี ‘ขี้’ นั้นดีกว่าตดหลายเท่า เพราะมีชักโครก ‘BeeVi’ ที่เปลี่ยนอุจจาระเป็นพลังงานผลิตไฟฟ้าสำหรับข้าวของเครื่องใช้ทั้งตึก และยังเปลี่ยนเป็นเงินให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้ซื้อของกันได้อีกด้วย ‘BeeVi’ ชักโครกรักษ์โลกนี้เป็นผลงานของ ‘โช แจวอน’ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาเมืองและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอุลซาน (UNIST) เมื่อกดชักโครกแล้ว เครื่องดูดซึ่งใช้น้ำเพียงเล็กน้อยจะส่งอุจจาระไปไว้ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพหรือถังหมักใต้ดินที่เปลี่ยนอุจจาระให้เป็น ‘แก๊สมีเทน’ แหล่งพลังงานให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องครัวและห้องน้ำต่อไป ส่วนแก๊สที่เหลือจะถูกเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงพลังงานผลิตไฟฟ้าใช้ในห้องแล็บนั่นเอง โดยปกติแล้วมนุษย์หนึ่งคนจะอุจจาระประมาณ 500 กรัมต่อวันซึ่งเปลี่ยนเป็นแก๊สมีเทนได้ 50 ลิตร แก๊สนั้นใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 0.5 กิโลวัตต์ หรือใช้เป็นพลังงานให้กับรถยนต์ขับได้ถึง 1.2 กิโลเมตร นอกจากชักโครกรักษ์โลกแล้ว มหาวิทยาลัยยังมี ‘กุล’ (น้ำผึ้ง ในภาษาเกาหลี) สกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเอง สำหรับนักศึกษาที่เข้าใช้ชักโครก BeeVi จะได้เงิน 10 กุลต่อวัน ไว้สำหรับใช้จ่ายซื้อของที่ขายในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ขนมกินเล่น อาหาร กาแฟสักแก้ว ไปจนถึงหนังสือ อาจารย์โช แจวอน ทำให้เราเห็นว่าหากรู้จักคิดนอกกรอบแล้ว อุจจาระนั้นเป็นได้มากกว่าแค่กากของเสีย แต่เป็นพลังงานที่ดีต่อระบบนิเวศและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากพอที่จะช่วยนักศึกษาประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้

Swab จมูก เองไม่ถนัด ม.มหิดล จัดให้ ตรวจเชื้อโควิดด้วย Antigen Test Kit รู้ผลใน 30 นาที จองคิวออนไลน์ได้เลย

ไม่ต้องอดทนต่อแถวรออีกต่อไป ในที่สุด อย. อนุมัติให้ประชาชนซื้อ Rapid Antigen Test หรือ Antigen Test Kit (ATK) มาใช้ตรวจเชื้อโควิดได้เองแล้ว แต่หากไม่อยากเสี่ยง Swab จมูกเอง ก็ให้นักเทคนิคการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลตรวจให้ได้ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ สถาบันป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ตั้งศูนย์ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit โดยจะรู้ผลภายใน 15 – 30 นาที ที่บริเวณลานจอดรถ ชั้น 1 อาคาร B ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายวันละ 10,000 – 12,000 คน เริ่มตรวจตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม – 30 กรกฎาคมนี้ […]

1 111 112 113 114 115 133

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.