art junkies
VICMON นักวาดปกนิยาย 300 เล่มแห่ง สนพ.แจ่มใส กับปากกาด้ามใหม่ในฐานะนักเขียนการ์ตูน
ความทรงจำวัยเด็กของใครหลายคน เติบโตมาพร้อมกับแผงหนังสือนิยายรักวัยรุ่น ปกการ์ตูนที่วางเรียงรายอยู่เต็มชั้น เพื่อรอคอยให้นักอ่านวัยใสช้อปลงตะกร้า ภาพความสวย ความหล่อ และความเท่ของตัวละครน่าหยิบจับไม่แพ้กับเนื้อหาในเล่ม จนหลายคนเป็นแฟนตัวยงของนักวาดไปโดยปริยาย หนึ่งในนักวาดปกนิยายที่ตราตรึงใจเหล่านักอ่านคือ ‘VICMON’ (วิกมน) หรือ มน-เพียงพิชญ์ ศาสตร์ศศิ นักวาดภาพปกนิยายแจ่มใสมากกว่า 300 เล่ม ผู้ฝากลายเส้นบนนิยายรักวัยรุ่นจนกลายเป็นยุคทองของ ‘นิยายแจ่มใส’ ถึงเวลาชวนเธอมาพูดคุยถึงเบื้องหลังงานปก และการกระโดดเข้าสู่สนามแห่งใหม่ในอาชีพ ‘นักเขียนการ์ตูน’ ที่ถูกแปลให้อ่าน 3 ภาษาใน 3 ประเทศ วาดภาพบนคอมฯ ด้วยเมาส์หนู บันไดขั้นแรกของวิกมน คงคล้ายกับศิลปินทั่วไปที่ชื่นชอบการวาดภาพ หลงใหลการอ่านการ์ตูน แถมยังมีไอดอลเป็น อาจารย์ทาเคชิ โอบาตะ-นักวาดการ์ตูนเดธโน้ต อาจารย์นาโอกิ คุโรซาวา-นักวาด Monster และ 20th Century Boys และ โนบุฮิโระ วาสึกิ-นักวาดซามูไรพเนจร เมื่อเสพลายเส้นของชั้นเซียนได้สักพัก เธอเริ่มจับดินสอวาดการ์ตูนไว้อ่านเอง จนกระทั่งเพื่อนชักชวนให้ลองปล่อยของในเว็บบอร์ด นั่นเป็นครั้งแรกที่วิกมนได้รู้จักโลกของ ‘คอมพิวเตอร์กราฟิก’ “ตอนนั้นเราอยู่ ม.3 เพิ่งเรียนรู้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า Computer Graphic […]
Xspace แกลเลอรีศิลปะในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อว่าความสร้างสรรค์พัฒนาคนและเมืองได้
หากมีคนโยนโจทย์มาให้หาจุดตัด ฉันจะนึกถึงแกน X แกน Y ในวิชาคณิตศาสตร์สมัยเรียนมัธยมฯ แต่โจทย์ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งไหนๆ เพราะสองตัวแปรที่ว่าไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็น ‘ศิลปะ’ กับ ‘ดีไซน์’ ที่มาบรรจบกันเป็นจุดตัดบนพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง Xspace
สำรวจร่างกายผ่านศิลปะที่เกิดจากการเฝ้ามองรอยเย็บแผลของ Visual Artist ‘อลิสา ฉุนเชื้อ’
เคยสังเกตไหม ว่าดวงตาของเราสีอะไรเคยสังเกตไหม ว่าไฝบนตัวเรามีตรงไหนบ้างเคยสังเกตไหม ว่าความเครียดทำให้หน้าตาไม่สดใสหรือเปล่าเคยสังเกตไหม ว่าเรากัดเล็บทุกครั้งเวลาเจอภาวะกดดัน จะมีสักกี่ครั้งในชีวิตของเรา ที่หันมาสังเกตร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง รอยแผลเป็น สภาพจิตใจ หรือบริบทรอบกายเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่ง ‘นุ้ย-อลิสา ฉุนเชื้อ’ Visual Artist ผู้สำรวจร่างกายและเบื้องลึกจิตใจของตัวเอง นำมาตีความใหม่ แล้วบอกเล่าผ่านศิลปะ โดยที่เราไม่ต้องอยู่ในเหตุการณ์ชีวิตของเธอก็เข้าใจได้ ฉันยืนมองโปรเจกต์ The Resonance ผลงานชิ้นล่าสุดของอลิสา ปรากฏลายเส้นที่วาดซ้ำกันไปมาอย่างเป็นระบบระเบียบบนกระดาษขนาด A3 ซึ่งถูกแขวนบนฝาผนังของแกลเลอรี SAC Gallery อ่านคำโปรยทำให้รู้ว่า งานชุดนี้ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘รอยเย็บแผล’ บนร่างกายของผู้ป่วยใกล้ตัว ซึ่งปลุกความสนใจของฉันต่อศิลปินอยู่ไม่น้อย จึงไม่รีรอที่จะต่อสายตรงถึงอลิสาเพื่อทำความรู้จักมุมมองของศิลปินให้ลึกซึ้งกว่าก่อน อลิสา คือศิลปินที่สมุดสเก็ตช์เต็มไปด้วย Mind Mapping วินาทีที่ฉันดูสมุดสเก็ตช์ของอลิสากลับต้องแปลกใจ เพราะสมุดของเธอเต็มไปด้วยร่องรอยขีดเขียน Mind Mapping ประโยค และคีย์เวิร์ดสั้นๆ ทั่วหน้ากระดาษ หลังจากอลิสาเปิดสมุดของเธอให้ฉันดู เธอก็หลุดขำถึงความย้อนแย้งในอาชีพศิลปินของตัวเอง “เราทำ Mind Mapping เพื่อขุดเบื้องลึกจิตใจของตัวเองออกมา มันเริ่มจากตอนทำธีสิส อาจารย์ที่ปรึกษาเขาให้เขียนสิ่งที่อยู่ในหัว เพราะการเขียนคือการเรียบเรียงความคิด ไม่จำเป็นต้องเป็นคำ […]
ขยะ ‘ท่วม’ เมือง เพราะคนคือตัวร้ายไม่ใช่พลาสติก
วายร้ายแห่งวงการสิ่งแวดล้อมคงหนีไม่พ้น ‘พลาสติก’ ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นบอสใหญ่กำจัดยาก รวมถึงมีข้อครหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกทำให้โลกร้อน เต่าตาย ไปจนถึงเป็นตัวการเพิ่มมลพิษในอากาศ จนสงสัยว่า ‘แล้วพลาสติกคือตัวร้ายจริงหรือเปล่า’
‘JOY OF GIVING’ ส่งกำลังใจผ่านงานศิลปะ
ศิลปะคือสิ่งดีๆ ที่หมุนอยู่รอบตัวเรา ซึ่งพร้อมจะช่วยเยียวยาจิตใจที่ห่อเหี่ยวและให้กำลังใจในวันที่อ่อนล้าได้เสมอ หนนี้งานอาร์ตจะช่วยให้ทุกคนผ่านเวลายากลำบากไปกับผลงานของ GONGKAN, SUNTUR และ P7 ผ่านกิจกรรม ‘JOY OF GIVING ส่งใจให้เธอ’ ที่เหล่าศิลปินออกแบบความหมายของ ‘การให้’ ออกมาเป็นเสื้อยืด 3 ลาย ที่ล้วนแต่มีสไตล์เป็นของตัวเองชนิดที่มองปราดเดียวก็รู้ว่าเป็นผลงานของใคร ขอชวนทุกคนไปดูเบื้องหลังการออกแบบ ที่เปลี่ยนผลงานศิลปะเป็นแรงใจให้กับทุกคน ผ่านแนวคิดของ 3 ศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดของไทยในช่วงนี้ Love Power เบื้องหลังพลังแห่งรัก พลังแห่งความรักยิ่งใหญ่เสมอ Gongkan-กันตภณ เมธีกุล ศิลปินที่สร้างงานด้วยลายเส้นสุดเรียบง่าย แต่แฝงอะไรไว้ให้ผู้ชมได้คิดตาม ผ่านเอกลักษณ์หลุมดำทะลุมิติ หนนี้มากับผลงานออกแบบชื่อ ‘Love Power’ ที่ตีความคำว่ารักได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่าการให้ความรักหรือส่งต่อความหวังดี ก็เปรียบเสมือนพลังที่เปลี่ยนความเศร้าให้กลายเป็นพลังแห่งความสุขนั่นเอง GIVE AND TAKE ชีวิตกับการเดินทาง ศิลปินนักวาดภาพประกอบที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของไทยกับ SUNTUR-ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล ที่เปรียบว่าการใช้ชีวิตร่วมกันก็เหมือนกับการเดินทางกับผลงานที่ชื่อว่า ‘Give and Take’ ที่มองว่าหากคนเราจะอยู่ด้วยกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง ก็ต้องมีทั้งการรับและการให้ มีทั้งการแบ่งปันและช่วยเหลือ โดยตีความออกมาเป็นกราฟิกสุดมินิมอล ของภาพเรือสีขาวที่มีผู้โดยสารเป็นคนกับน้องหมา […]
ลายปักดอกไม้ถึงดวงดาวที่อยากลบวาทกรรม อิสลาม = ความรุนแรง ของมาเรียม
‘มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ’ ศิลปินหญิงมุสลิม ผู้ทำให้ฉันเข้าใจความเป็น ‘เอกภาพ’ มากกว่าที่เคยด้วยงานศิลปะของเธอ ซึ่งบรรจงเย็บปักถักร้อยอย่างประณีต และใช้ลวดลายตั้งแต่ดอกไม้ ไปจนถึงดวงดาว เพื่อถ่ายทอด ‘ศาสนาอิสลาม’ ให้คนทุกศาสนาเข้าใจ
Give.me.museums ฝีแปรงสีฉูดฉาดบนสารพัดของกุ๊กกิ๊กที่อยากสร้างพื้นที่ศิลปะให้ทุกคน
ยินดีต้อนรับสู่ ‘Give.me.museums’ พิพิธภัณฑ์สารพัดของกุ๊กกิ๊กที่อยากขาย ‘ศิลปะ’ บนของ ‘กระจุกกระจิก’ ไม่ว่าจะเป็นเคสโทรศัพท์ กระเป๋าสะพาย กระจกส่องหน้า หรือโปสต์การ์ดที่ระลึก โดยมี ‘ออย-คนธรัตน์ เตชะไตร’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ ที่พกความตั้งใจมาอย่างเอ่อล้นว่า อยากเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนวงการศิลป์ด้วยสารพัดของกุ๊กกิ๊ก เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงศิลปะให้เหลือ ‘กระจึ๋ง’ เดียว
Frozen Flowers คืนสีสันของฮอกไกโด ให้เบ่งบานกลางทุ่งหิมะ
หากคุณเคยเห็นช่อดอกไม้ลอยเคว้งท่ามกลางห้วงอวกาศจากโปรเจกต์ ‘Exobiotanica’ หรือช่อดอกไม้ที่ถูกส่งไปยังก้นบึ้งมหาสมุทรในความลึก 1,000 เมตรจากโปรเจกต์ ‘Sephirothic Flower’ คุณจะรับรู้ได้ถึงลีลาการจัดดอกไม้อันโดดเด่นของ ‘Azuma Makoto’ ศิลปินชาวญี่ปุ่น ผู้เปลี่ยนภาพจำของดอกไม้ที่มีไว้ทำ ‘พร็อป’ มาเป็น ‘ศิลปะ’ ที่เปล่งประกายได้ด้วยตัวของมันเอง
ภาพนู้ด ให้ร่างเปลือยเปล่งเสียงที่อยากสะท้อน : แมท โศภิรัตน์
เธอคือ ราวสองหรือไม่ก็สามปีก่อน ขณะเลื่อนฟีดเฟซบุ๊ก ซึ่งพลันสะดุดหยุดตรงภาพถ่ายนู้ดที่ใครสักคนแชร์ไว้ ผมไม่รีรอที่จะคลิกเข้าไปยังต้นทาง ภาพถ่ายแปลกตาปรากฏอยู่บนไทม์ไลน์ ความแปลกตาน่าสนใจที่ว่านี่มิได้เป็นเพราะบุคคลในภาพเปลือยเปล่าเพียงอย่างเดียว หากยังรวมถึงท่าทีเชิงสัญลักษณ์ชวนนิ่งนึก แฟนเพจนั้นชื่อ ผู้หญิง ถือกล้อง ชื่อเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่เมื่ออ่านย้ำกลับรู้สึกถึงนัยของคำประกาศที่แสดงตนท้าทายมาตรฐานความคิดความเชื่อเก่าอยู่ในที ใช่-เธอคือผู้หญิง ใช่-เธอถือกล้อง และก็ใช่อีก-เธอถ่ายภาพนู้ด แมท-โศภิรัตน์ ม่วงคำ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ผู้หญิง ถือกล้อง’ คือศิลปินถ่ายภาพนู้ดที่กำลังถูกพูดถึงและน่าจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งของยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมทางศิลปะ หรือแง่มุมทางขนบธรรมเนียมแบบอนุรักษนิยม อีกทั้งข้อครหาแคลงใจจากผู้ฝักใฝ่ศีลธรรมดั้งเดิม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อแรกเริ่มนำผลงานออกแสดง สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในแรงปะทะที่เธอต้องรับมือ หากก็เหมือนผู้มาก่อนกาล เหมือนพืชผลที่รอการเก็บเกี่ยว ในช่วงขวบปีหลังที่เรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมกลายเป็นกระแสหลักของสังคม ซึ่งช่วยขับเน้นวาววับที่มีอยู่ก่อนแล้วในผลงานให้ยิ่งเปล่งประกาย คำถามทั้งหลายที่เคยโถมถาถึงเธอจึงถูกผลงานของเธอโยนกลับไปตั้งคำถามกับผู้เคลือบแคลงสงสัย อาจแตกต่างกันตรงที่คำถามที่เกิดจากผลงานของเธอไม่ได้มีความมาดมั่นที่จะต้องได้รับคำตอบสุดท้าย หากกลับมุ่งหวังถึงการชักชวนให้ครวญคิด เป็นเสียงสะท้อน เป็นการทำความเข้าใจ และเป็นการต่อยอดสู่คำถามอื่น ศิลปินพำนัก หลังจากติดตามผลงานของพี่แมท ทั้งทางออนไลน์ ทั้งออกไปชมนิทรรศการในกรุงเทพฯ แต่ผมก็ยังไม่เคยพบเธอเลยสักครั้ง แถมนิทรรศการที่ไปชมล้วนเป็นการแสดงผลงานร่วมของศิลปินภาพถ่ายหลายท่าน จนกระทั่งเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ผมได้ทราบว่าพี่แมทกำลังมีนิทรรศการภาพถ่ายเดี่ยวที่จังหวัดขอนแก่น และทุกสิ่งก็พลันรวดเร็วราวกับสปีดชัตเตอร์ที่จับการโบยบินของนกให้นิ่งค้างบนภาพถ่าย ผมตัดสินใจทันที จับจองที่นั่งบนรถไฟด่วนพิเศษ ผ่านวันปีใหม่มาเพียงสัปดาห์เดียว ผมก็ยืนอยู่เบื้องหน้าภาพถ่ายของเธอ วันนั้นตัวเมืองขอนแก่นอากาศหนาว ผมออกจากที่พักก่อนเวลา เต็มใจเดินตากแดดให้ร่างกายอบอุ่น จนถึงเดอะวอลล์ […]
ดอกไม้ไร้วิญญาณ เทคนิควิทยาศาสตร์ เพื่อคงสภาพให้เป็นอมตะ
จะยืดอายุดอกไม้สดอย่างไร ให้สวยทนและอยู่ได้นานยิ่งขึ้น คงมีหลายวิธีที่จะยืดชีวิตให้อยู่ไปได้สักระยะ แต่ไม่ใช่กับศิลปินชาวลอสแองเจลิส ‘ลูน่า อิคุตะ (Luna Ikuta)’ ที่สร้างศิลปะด้วยวิทยาศาสตร์เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตดอกไม้ให้เป็นอมตะ ! ‘Afterlife’ เป็นผลงานดอกไม้ไร้วิญญาณสุดบ้าระห่ำของ ‘อิคุตะ’ ศิลปินสื่อประสมที่เอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาให้เป็น ‘เทคนิคศิลปะ’ แบบไม่เคยมีใครลองทำมาก่อนแน่ ! ซึ่งวิธีการที่ใช้มีชื่อเรียกว่า ‘Decellularization (การชะล้างเซลล์)’ คือวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อทำ ‘Extracellular Matrix (ECM)’ หรือ การแยกเมทริกซ์ หรือแยกตัวประกอบของเซลล์ออกไป ซึ่งจะยังคงโครงสร้างพื้นฐานเอาไว้แบบเดิม ถ้าพูดแบบให้เห็นภาพ ก็เหมือนกับปากกาลูกลื่นที่ถูกดูดหมึกออกจนเหลือแค่ปลอกปากกาเพียงอย่างเดียว โดยเขาเริ่มจาก ‘ดอกป๊อปปี้’ ก่อนอันดับแรก เพราะเป็นพันธุ์ที่ขึ้นอยู่ในแถบลอสแองเจลิสค่อนข้างเยอะ ซึ่งใช้การแยกเซลล์ด้วยวิธี ‘แช่ดอกไม้’ ลงไปในสารเคมีที่เป็นสูตรเฉพาะตัวของอิคุตะ เพื่อทำการลอกสีของดอกไม้ และดึงคลอโรฟิลด์ออกไป ทำให้ดอกไม้ถูกยับยั้งการสังเคราะห์แสงไม่ให้เจริญเติบโต โดยหลังจากที่เขาดึงสีออก ทำให้สีสันบนกลีบดอกไม้ถูกแทนที่ด้วยสีโปร่งแสง และเผยให้เห็นพื้นผิว รวมถึงโครงสร้างของดอกไม้ได้อย่างชัดเจนคล้ายกับการศึกษา ‘กายวิภาคศาสตร์’ ของดอกไม้ จนหลายคนต่างตั้งชื่อให้กับมันว่า ‘ดอกไม้ไร้วิญญาณ’ ที่สำคัญคือมันสามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดไปเลยด้วย ! ซึ่งอิคุตะได้นำไปจัดแสดงเป็น ‘พืชน้ำ’ ในตู้ปลาของเขาเอง เพื่อสร้างภูมิทัศน์ทางน้ำให้กับปลากัด ซึ่งเป็นเพื่อนตัวจิ๋วได้แหวกว่ายอย่างอิสระไปกับความพลิ้วไหวของดอกไม้ที่เคลื่อนไปตามกระแสน้ำ […]