Art Attack
ตีแผ่ประเด็นสังคม การเมือง โดยศิลปินด้วยศิลปะทุกแขนง
เมื่อ Juli Baker and Summer หยิบประเด็นกรุงเทพฯ มาเล่าผ่านลายเส้นเด็กๆ และสีฉูดฉาด
เดรสสีเขียวอ่อน ตัดกับกระเป๋าถักสะพายข้างและรองเท้าสีเหลือง การแต่งตัวแบบคู่สีสดใสพร้อมแว่นกลมๆ ที่ประดับอยู่บนใบหน้ายิ้มแย้มผ่านมาทักทายสายตา เรารู้ทันทีว่าคนที่เรานัดไว้
Bangkok Street Art : “กราฟิตี” หัวขบถ สู่ “สตรีทอาร์ท” สาด(เสียด)สีสังคม
จากเหตุการณ์เสือดำทุ่งใหญ่ฯ ถูกปลิดชีวิตเป็นข่าวน่าสลด แต่นั่นก็ไม่เท่ากระบวนการทางกฏหมาย ที่หลายคนรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม และการไม่มีสิทธิมีเสียง คนทำงานศิลปะจึงลุกขึ้นมาพ่นกำแพง เพื่อเรียกร้องแทนเจ้าเสือดำที่ไม่มีแม้แต่โอกาสจะสู้เพื่อชีวิต ผ่านงานสตรีทอาร์ทที่ต่อให้โดนลบสักกี่ครั้งก็ยืนยันจะเดินหน้าต่อ เป็นที่มาให้เราอยากจะรู้จักงานสตรีทอาร์ทที่แต่ก่อนเราอาจแค่มองผ่านๆ ให้ลึกถึงแก่นมากกว่านี้ | Born Underground ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของกราฟิตี มีแหล่งกำเนิดมาจากอันเดอร์กราวน์โดยแท้ บนรถไฟใต้ดินในนิวยอร์ก ช่วงปลายปี 1960 ถือเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองนิวยอร์กสังเกตเห็นลายเซ็น “Julio204” โผล่อยู่ทั่วรัฐวอชิงตัน หลังจากนั้นไม่นาน ในหน้าร้อนปี 1969 ก็มีตัวอักร “Taki183” นามปากกาของเด็กหนุ่มชาวกรีซจากเกาะแมนฮัตตัน ที่ยอมเปิดเผยเพียงชื่อ Demitrius ตระเวนพ่นชื่อตัวเองทั่วมหานครนิวยอร์ก จะว่าเขาทำตาม Julio204 ก็คงไม่ผิด แต่ Taki183 ริเริ่มพ่นมันลงบนสถานีรถไฟใต้ดิน เพื่อให้ชื่อของตัวเองอยู่ในจุดที่คนเห็นมากที่สุด ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักกับวัฒนธรรมใต้ดิน จนพัฒนามาเป็นรูปแบบของการ “Tag” (Richard Sandler / hyperallergic.com) กราฟิตีหล่อหลอมมาจากวัฒนธรรมฮิปฮอป เริ่มจากการขีดเขียนตามที่สาธารณะของชาวผิวสีในอเมริกา ในยุคที่การเมืองมีความไม่เสมอภาค เกิดช่องว่างทางสังคม ทั้งเรื่องความยากจน, คนตกงาน, คนไร้บ้าน, ปัญหาความรุนแรง, ระบบการศึกษาที่ย่ำแย่ ไปจนถึงการขาดความช่วยเหลือทางสวัสดิการสังคม คนเหล่านี้จึงแสดงออกถึงความคับแค้นใจและต้องการอิสรภาพ […]