น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

เมื่อกรุงเทพฯ มีรถเมล์ไฟฟ้าวิ่งครั้งแรก สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้นได้ยังไง?

“เมื่อไหร่กรุงเทพฯ จะมีรถเมล์ใหม่สักที” คือคำถามยอดฮิตของคนกรุงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาเดียวกันก็มีข่าวคราวจากเพื่อนบ้านอาเซียนที่เปิดตัวรถเมล์ใหม่เรื่อยๆ ทั้ง พนมเปญ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ปีนัง หรือฮานอย เห็นรถเมล์ใหม่ๆ ของเหล่าเพื่อนบ้านก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะกรุงเทพฯ ก็มีรถเมล์ใหม่แกะกล่องอย่าง ‘รถเมล์ไฟฟ้า’ กับเขาเหมือนกัน โดยเจ้ารถเมล์ไฟฟ้าได้เริ่มออกวิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ในนาม ‘ไทยสมายล์บัส’ บริษัทเอกชนเจ้าใหม่แห่งวงการขนส่งสาธารณะไทย (ชื่อฟังดูคุ้นเหมือนสายการบิน แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับไทยสมายล์แอร์เวย์) รถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ดียังไงบ้าง? 1. ทางขึ้นที่สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากประตูที่ไม่มีบันไดสูงอีกต่อไป นี่คือรถเมล์ที่ทำให้คนทุกวัยขึ้นลงรถได้สะดวก สิ่งแรกที่อาจต้องรู้ก่อนขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าคันนี้ก็คือ กติกาที่รณรงค์ให้ผู้ใช้งาน ‘ขึ้นรถประตูหน้า-ลงรถประตูหลัง’ ถือเป็นการเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้งานรถเมล์กรุงเทพฯ ให้เป็นระบบเดียวกับรถเมล์หลายๆ เมืองในต่างประเทศ ส่วนใครที่เคยใช้งานรถเมล์ ปอ.พ. ของ Metro Bus ช่วงปี 2550 – 2557 ก็น่าจะคุ้นกับระบบนี้มาบ้างแล้ว รถเมล์ไฟฟ้าของไทยสมายล์เลือกใช้วิธีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ (Hand temperature scanner) ไว้ข้างห้องคนขับ เมื่อก้าวขึ้นรถไป ทุกคนต้องสแกนวัดอุณหภูมิก่อนเป็นอันดับแรก ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรถสาธารณะท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หรือเป็นกุศโลบายให้ต้องขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลังไปในตัว แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดีทีเดียว […]

ฟอนต์ทน ฝั่งธนฯ ป้ายเก่า – ฟอนต์ทน – ย่านธนบุรี

‘ฟอนต์ทน ฝั่งธนฯ’ คือผลิตผลของนิสัยความชอบสแนป (snap) ทุกทีที่เจอ ‘ฟอนต์ไทย’ บนป้ายนั่นนี่ระหว่างทาง แล้วสิ่งนี้ก็ทำให้พบว่าฝั่งธนบุรี แถบคลองสาน วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู มีบรรดาป้ายเก่า ฟอนต์สวย และบางครั้งก็มีเรื่องราวที่ไม่เคยรู้มาก่อนซ่อนอยู่ในนั้นด้วย

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

ตำนานสาย 8 สุดซิ่งจาก พ.ศ. 2498 สู่รถแบบใหม่ล่าสุดของไทยโดย ขสมก.

สาย 8 เจ้าเก่ามีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถ้าพูดถึงรถเมล์กรุงเทพฯ ที่คนจดจำมากที่สุดสายหนึ่ง เชื่อว่าผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงต้องมี ‘สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ’ อย่างแน่นอน… ตำนานรถเมล์สายซิ่ง ที่ขึ้นชื่อลือชาขนาดนี้…ก็เพราะรถเมล์สาย 8 แห่งกรุงเทพมหานคร ถูกขนานนามเป็นรถโดยสารที่ให้บริการด้วยความไวดุจสายฟ้า บูมเมอร์สรู้ มิลเลนเนียลส์รู้ เอ็กซ์แพต (Expat) บางคนยังรู้ ผมเองก็ไม่ทันถามคนรุ่นคุณปู่เหมือนกันว่ารถเมล์สาย 8 ยุคแรกๆ วิ่งแรงแซงทุกคันขนาดไหน แต่ภาพสาย 8 เกิดอุบัติเหตุจนหน้าบู้บี้นี้มีให้เห็นตั้งแต่สมัยเป็นภาพฟิล์มขาวดำแล้ว และไม่ว่าภาพขาวดำนั้นจะเป็นเครื่องยืนยันความเก๋ามาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อยังเด็ก หรือเป็นแค่เหตุการณ์เดียวที่บังเอิญมาตรงกับความรู้สึกในใจของคนยุคปัจจุบัน แต่ในปีนี้…ภาพลักษณ์ของรถเมล์สาย 8 จะเปลี่ยนไป หลังจาก ขสมก. กลับมาวิ่งรถเมล์สายนี้เองอีกครั้งในรอบสามสิบกว่าปี… วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อาจเรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสาย 8 ก็ว่าได้ หลังเอกชนผู้เดินรถปรับอากาศเจ้าเดิมอย่าง บริษัท ซิตี้บัส จำกัด ผลัดใบให้หน่วยงานรัฐอย่าง ขสมก. เข้ามาเดินรถแทนที่ ซึ่งงานนี้ ขสมก. ก็ทุ่มทุนด้วยการนำรถเมล์ปรับอากาศรุ่นใหม่เข้ามาให้บริการถึง […]

‘โฆษณารถเมล์’ สิ่งกวนใจคนโหน มรดกยุค 60 ที่หันมาใช้เทคโนโลยีเดียวกับ ‘ผ้าม่านบังแสง’

‘รถเมล์ไทย’ กับ ‘โฆษณา’ ของคู่กันที่เกิดมาก่อน ขสมก. ตั้งแต่เวอร์ชันแปะท้าย Wrap รอบคัน จนสติกเกอร์ปรุ

ความจุของรถเมล์ กทม. กับ Social Distancing ช่วง COVID-19 สะเทือนอะไรวงการขนส่งฯ บ้าง

รู้ตัวอีกที เราก็อยู่กับ COVID-19 มาครบ 1 ปีแบบไม่ทันตั้งตัว 1 ปีที่หลายคนคงชินกับการใส่หน้ากากขึ้นรถสาธารณะไปแล้ว ขณะที่กำลังเผชิญการระบาดซ้ำระลอก 3 ‘ประเทศไทย’ เป็นหนึ่งในเมืองที่ยังคงมูฟออนไม่ได้ หลายคนเลยต้องวนลูป Work from Home บางถนนหนทางห้างร้านตลาดกลับมาโล่งจนพ่อค้าแม่ขายใจหายไปตามๆ กัน ‘รถเมล์’ บริการสาธารณะที่ถูกออกแบบมาให้รับ-ส่งคนไปไหนมาไหนได้ครั้งละมากๆ จึงหนีไม่พ้นตกเป็นอีกหนึ่งวงการที่พลอยได้รับผลกระทบในช่วงที่เราต้องรักษาระยะห่างในที่สาธารณะไปด้วย ย้อนกลับไปที่การระบาดระลอก 2 เมื่อต้นปี เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้เป็นผู้โดยสารเพียง ‘หนึ่งเดียวคนนี้’ ตลอดทางที่นั่งรถเมล์ไปทำงาน ซึ่งระยะทางจากบ้านไปสถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ใกล้ๆ ไกลกันเกือบสิบกิโลฯ จากเดิมรถเมล์ที่เคยขึ้นจะมีเพื่อนร่วมทางหลายสิบคน…จนบางวันแทบปิดประตูไม่ได้ ก็กลายเป็นเหมือนผมเช่ารถเมล์ 1 คันไปต่อรถไฟฟ้า และเป็นอย่างนั้นอยู่ 3 วันติดๆ!!! คิดขำๆ ก็ดูจะเป็นการนั่งรถเมล์ที่สบายดี…แม้บรรยากาศจะดูเหงาๆ เข้าโหมดกระทำความหว่องหน่อยๆ แต่ก็รักษาระยะห่าง (Physical Distancing) กับคนบนรถตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่าเราควรห่างกัน 1.8 เมตรได้จริง… ว่าแต่ ตอนรถติดไฟแดงนิ่งๆ มีใครเคยเล่นนับที่นั่งบนรถเมล์กันบ้าง? นี่คือกิจกรรมแรกๆ ที่ผมฝึกสังเกตตอนนั่งว่างๆ อยู่บนรถ เริ่มกันที่รถเมล์รุ่นที่ผมชอบที่สุดอย่าง รถปรับอากาศ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.