‘โรงจอดจักรยาน’ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จุได้ 12,500 คัน

รู้หรือไม่ ชาวเนเธอร์แลนด์กว่า 90% นิยมใช้จักรยานเดินทางไปมาในชีวิตประจำวัน เนื่องเพราะรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้จักรยานเป็นพาหนะ ด้วยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อผู้ปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะทำเลนจักรยาน ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสำหรับนักปั่นโดยเฉพาะ จัดสรรพื้นที่สาธารณะรอบเมืองไว้เป็นจุดจอด ซึ่งล่าสุด เมืองยูเทรกต์ (Utrecht) เพิ่งเปิดตัวโรงจอดจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งสามารถจุจักรยานได้มากถึง 12,500 คัน

‘สิงคโปร์’ ต้นแบบเมืองปลอดภัย

สิงคโปร์ ยังถูกกล่าวขานว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ทั้งความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคุณภาพชีวิตที่ดีอื่นๆ สำหรับทุกคนในเมือง โดยเฉพาะด้าน ‘ความปลอดภัย’ สิงคโปร์มีอัตราเกิดอาชญากรรมที่ต่ำมากเพียง 27.86% และมีความปลอดภัยถ้าเดินคนเดียวในเวลากลางวันสูงถึง 78.09% ส่วนความปลอดภัยถ้าเดินคนเดียวในเวลากลางคืนก็มีถึง 70.87%

ตีตั๋วเข้าพิพิธภัณฑ์ ฟังเรื่อง ‘พระนคร’

ชักชวนทุกคนร่วมทริป ลัดเลาะเข้า 9 พิพิธภัณฑ์ที่พระนครและละแวกใกล้เคียงอย่าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อเรียนรู้เมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ตำรับยา และการศึกษาไปพร้อมกัน

อนุรักษ์ ‘อาคาร 2465’ สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าของโรงงานมักกะสัน

ในอดีตหากพูดถึง ‘โรงงานมักกะสัน’ (Makkasan Workshop) ภาพของความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองคงมีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพราะสมัยก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นโรงงานซ่อมรถไฟแห่งเดียวในอาเซียนที่สามารถทำการซ่อมและผลิตรถโดยสารได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน บทบาทที่เคยเกรียงไกรก็ลดลงเหลือเพียงงานซ่อมหนักรถจักรดีเซล ซ่อมรถดีเซล รางรถโดยสาร ซ่อมดัดแปลงล้อ และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงสนับสนุนงานซ่อมบำรุงในส่วนภูมิภาคเท่านั้น  ท่ามกลางโรงงานและอาคารหลายหลังในที่ดินหลายร้อยไร่ของโรงงานมักกะสัน ได้ซุกซ่อนสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไว้นับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นคือ ‘อาคาร 2465’  หรือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นอาคารพัสดุ | ย้อนเวลาไปหาสถาปัตยกรรมล้ำค่า ‘อาคาร 2465’ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกระเบิดหล่นลงบริเวณโรงงานมักกะสันและพื้นที่โดยรอบเป็นว่าเล่น จนอาคารภายในโรงงานพังทลายเสียหายไปเกือบหมด มีเพียงไม่กี่หลังที่อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดของโรงงาน ‘โรงซ่อมรถโดยสาร’ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2465 มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ตัวอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐโชว์แนวทั้งหลัง ส่วนข้างบนเป็นโครงหลังคาเหล็ก ทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ตรงหน้าบันมีตัวเลขไทยระบุปีที่สร้าง คือ ๒๔๖๕ และอักษรย่อ ร.ฟ.ผ. หรือกรมรถไฟแผ่นดิน (เป็นชื่อที่ใช้ระหว่าง พ.ศ. 2464-2467) […]

ขึ้นเหนือไป ‘ปลูกป่า’ ภารกิจต่อลมหายใจให้ป่าเชียงดาว

ภารกิจ 3 วัน 2 คืน ปลูกต้นไม้กอบกู้ ‘ผืนป่าเชียงดาว’

ภาพข่าว ‘ไฟไหม้ป่าเชียงดาว’ ที่ทำให้เชียงใหม่สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปกว่า 400 ไร่ยังคงติดตาเราทุกวันนี้ รวมถึงบริเวณเชียงดาวที่เป็นต้นกำเนิดของสายน้ำแม่ปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลไปหล่อเลี้ยงคนเมืองเชียงใหม่และคนไทยทั้งประเทศยังเกิดบาดแผลครั้งใหญ่ นั่นคือแรงบันดาลใจที่ผลักดันให้เรา ‘ขึ้นเหนือไปปลูกป่า’ พร้อมหอบหิ้ว ‘ภารกิจต่อลมหายใจให้ป่าเชียงดาว’ ติดตัวไปด้วย

‘คลองบางประทุน’ สายธารเส้นเล็ก ที่เป็นทั้งชีวิตและจิตใจของชุมชน

เพราะกลัวว่าวันหนึ่ง ‘บางประทุน’ จะหายไป ‘พี่ปอง-นาวิน มีบรรจง’, ‘พี่ปิง-ปุญโญ มีบรรจง’ และ ‘พี่หน่อย-พงพันธ์ นิ่มมา’ จึงร่วมกันก่อตั้ง ‘กลุ่มรักษ์บางประทุน’ ขึ้น เพื่อที่จะรักษาธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ภูมิปัญญา รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวของคลองบางประทุน ให้ทั้งคนในพื้นที่ และผู้คนภายนอกได้รับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนแห่งนี้

OITA – One Village One Product โออิตะ จังหวัดเล็กๆ ในญี่ปุ่น ต้นแบบ ‘หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์’

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]

“โรงเรียนดนตรีในชุมชนคลองเตย” ที่ใช้ดนตรีและศิลปะ สร้างโลกใบใหม่ให้เด็กคลองเตย

ภาพของบ้านหลังเล็กสี่เหลี่ยมที่ถูกตีด้วยไม้เก่าๆ มุงหลังคาด้วยสังกะสีที่เกือบขึ้นสนิม อยู่ในพื้นที่อันน้อยนิดที่หลายพันชีวิตอาศัยอยู่ ปรากฏให้เราเห็นจนชินตา ผ่านพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนคลองเตย” ภาพลักษณ์ของชุมชนที่คนกล่าวถึง คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ยาเสพย์ติด การพนัน อาชญากรรม และการฉกฉิงวิ่งราว ด้วยปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้เกิดกลุ่มคนเล็กกลุ่มหนึ่งที่อยากจะสร้างโอกาสทางสังคม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี พร้อมเปิดโลกที่แตกต่างผ่านการเรียนดนตรีและศิลปะให้กับน้องๆในชุมชนคลองเตย จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “Khlong Toey Music Program” โรงเรียนดนตรีขนาดเล็กในละแวกชุมชน 70 ไร่ ของคลองเตยนั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2555  คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนดนตรีที่มีชื่อว่า “Khlong Toey Music Program” ถูกก่อตั้งโดย 2 สาวชาวฝรั่งเศสและชาวไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นจากมูลนิธิ Playing For Change องค์กรที่ให้การสนับสนุนโครงการสอนดนตรีกับชุมชนต่างๆ ทั่วโลก แรกๆ ทั้งสองเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ก่อนจะเริ่มชักชวนให้เด็กๆ มาเรียนดนตรีด้วยกันในทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จากวันนั้นที่มีเพียงไม่กี่คน จนมาถึงตอนนี้โครงการมีเด็กๆ อยู่ในความดูแลกว่า 30 คน โดยมีการสอนดนตรี และสอนกาโปเอย์ราสลับกันไป และแม้จะมีเด็กเพิ่มมากขึ้น แต่ขนาดของโรงเรียนยังคงเท่าเดิม […]

เมื่อให้คนอยู่ เป็นผู้ออกแบบ “Superkilen Park” สวนสาธารณะใหญ่ ใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน

ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2012 ที่ผ่านมา กรุงโคเปนเฮเกน ได้เปิดตัวสวนสาธารณะแห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า “Superkilen Park” สวนสาธารณะความยาว 750 เมตร ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการผสมผสานวัฒนธรรมที่แตกต่างไว้ในพื้นที่เดียวกัน จากความหลากหลายทางเชื้อชาติของประชากรในพื้นที่มีมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

ใจบ้านสตูดิโอ : สตูดิโอสถาปนิก ที่ใช้หัวใจในการฟื้นฟู “คลองแม่ข่า”

ถ้าให้นึกถึง ‘เชียงใหม่’ หมุดหมายปลายทางของใครหลายคน ภาพหน้าบ้านที่เห็นอาจจะเต็มไปด้วยความสวยงาม ที่โดดเด่นทั้งประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ผู้คนที่เป็นมิตร และสถานที่ท่องเที่ยวมากมายนับไม่ถ้วน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าในรั้วบ้านของชาวเชียงใหม่ มีปัญหาหนึ่งที่คนในพื้นที่เผชิญมายาวนานหลายสิบปี อย่างปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียของ ‘คลองแม่ข่า’ คลองคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่ ที่ในอดีตเคยเปล่งประกายด้วยความใสสะอาด เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำ หากินด้วยการจับกุ้ง หอย ปลา ปูในคลอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมืองขยายตัว ความเจริญค่อยๆ แทรกตัวเข้ามา สวนทางกับคลองที่เคยเป็นชีวิตของคนริมน้ำก็ค่อยๆ ตายลงไป จากที่เคยเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ก็กลายเป็นที่อยู่ของขยะและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ แทน จนเมื่อไม่นานมานี้ ปัญหาของคลองแม่ข่าได้ถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ด้วยกลุ่มคนทั้งรุ่นเก่า และใหม่ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ให้ดีขึ้น ผ่านโปรเจกต์สุดยิ่งใหญ่อย่าง โครงการ ‘Imagine Maekha’ ที่รวบรวมหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมาทำงานร่วมกัน ซึ่ง ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ ก็เป็นผู้ร่วมเดินทางกลุ่มหนึ่งที่ขับเคลื่อนโปรเจกต์นี้ การเดินทางมาเชียงใหม่ครั้งนี้ เราดีใจมากที่ ‘คุณอ้อ – แพรวพร สุขัษเฐียร’ หนึ่งในผู้บุกเบิกสตูดิโอออกแบบแห่งนี้มานั่งพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของ ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ รวมถึงโปรเจกต์ ‘Imagine […]

7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม

แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ถูกนิยามขึ้นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549 7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม คำว่า ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อมๆ กัน โดยใช้การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงิน โดยที่มาของรายได้สามารถอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ การระดมทุนโดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ไปจนถึงการขอรับบริจาค 01 | อภัยภูเบศร พลังสมุนไพรไทยเพื่อคนไทย ‘อภัยภูเบศร’ หรือ สมุนไพรอภัยภูเบศร ชื่อนี้คุ้นหูคุ้นตาคนไทยยิ่งนัก เพราะเลื่องชื่อลือชาเรื่องการใช้สมุนไพร อภัยภูเบศรลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเมื่อ พ.ศ. 2561 ซึ่งนอกจากขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรไทยแล้ว ยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนไทย อีกทั้งในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลกำไรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ถูกนำกลับไปลงทุนซ้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคม ปัจจุบัน อภัยภูเบศรยังทำงานร่วมกับเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้าน ซึ่งในปีล่าสุดมีการรับซื้อสมุนไพรจากเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรนับ 500 ราย รวมกว่า 80 ล้านบาทอีกด้วย […]

1 7 8 9 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.