สวิตฯ เป็นประเทศแรกของโลก เพาะเซลล์ช็อกโกแลตจากแล็บลดการทำลายป่าและใช้แรงงานเด็ก
เตรียมเพิ่มรายการขนมหวานลงในลิสต์อาหารแห่งโลกอนาคต เพราะเรากำลังจะได้กิน ‘Chocolate Lab-grown’ หรือช็อกโกแลตสังเคราะห์ที่เพาะจากห้องแล็บอีกไม่นานเกินรอ! ฟังชื่อแล้วอาจดูไม่น่ากิน แต่ทีมนักวิจัยจาก ‘Zurich University of Applied Sciences (ZHAW)’ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บอกว่ารสชาติและเทกซ์เจอร์คล้ายกับของออริจินัล ซึ่งต้องปรับเพิ่มเล็กน้อยเพื่อให้สมจริงมากที่สุด วิธีการทำช็อกโกแลตสังเคราะห์ นักวิจัยจะเริ่มจากการสกัดเมล็ดโกโก้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้วมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแล้วนำไปบ่มในห้องมืด ซึ่งตัวเมล็ดจะแตกหน่อออกมา หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ส่วนที่งอกออกจะถูกขูด แล้วนำไปใส่ ‘เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ’ (Bioreactor) เพื่อให้เซลล์เจริญเติบโต ก่อนเอาไปทำให้แห้งและได้เป็น ‘ผงโกโก้’ จากนั้นนำเอาผงโกโก้ที่ได้จากการเพาะไปผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อผลิตช็อกโกแลตบาร์ให้ได้รสชาติสมจริงมากที่สุด ถึงแม้ว่ากระบวนการของช็อกโกแลตจะดูคืบหน้าไปแล้วกว่า 90% แต่ในความเป็นจริงยังไม่พร้อมวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากช็อกโกแลตสังเคราะห์ราคาสูงกว่าช็อกโกแลตธรรมดาถึง 6.5 เท่า! ช็อกโกแลตสังเคราะห์ปริมาณ 100 กรัม ราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 660 บาท) ในขณะที่ช็อกโกแลตธรรมดาราคาเพียง 3 ดอลลาร์ (ประมาณ 99 บาท) เท่านั้น ทำให้ทีมนักวิจัยต้องหาหนทางลดต้นทุนการผลิตต่อไป เพื่อให้ช็อกโกแลตสังเคราะห์กลายเป็นอาหารทางเลือกของผู้บริโภคได้ เพราะหากสามารถทำให้คนสนใจกินช็อกโกแลตสังเคราะห์มากกว่าออริจินัลได้ […]