ทำไม Walkable City ถึงเป็นแนวทางสำหรับเมืองสมัยใหม่ และเป็นความเหลื่อมล้ำของเมืองเล็กที่ถูกลืม

เป็นเวลากว่าล้านปีที่มนุษย์ค่อยๆ วิวัฒนาการสรีระเพื่อรองรับการเดินตัวตรง เหล่าบรรพบุรุษใช้พรสวรรค์ในการเดินทนเดินไกล ขยับขยายอาณาเขตและเอาตัวรอดในสมัยบรรพกาล หรือเรียกได้ว่าเป็นเผ่าพันธุ์นักเดินตัวยง กระทั่งเมื่อลูกหลานของป้าลูซี (Lucy) คิดค้น ‘ล้อ’ ตัวช่วยการเคลื่อนที่แสนสะดวก บทบาทของการเดินเท้าจึงเริ่มถูกคัดทิ้งและลืมเลือน เมื่อรถยนต์แพร่หลายกลายเป็นพาหนะประจำครัวเรือน การตัดถนนครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นทั่วโลก กรุงรัตนโกสินทร์เองก็เขยื้อนตัวเช่นกัน เริ่มจากการขยายเมือง ถมคลองสร้างถนนรองรับ ‘รถเก๋ง’ แต่ดันลืมนึกถึง ‘คนเดิน’ เวลาผ่านมาเพียงหนึ่งชั่วอายุคน ความนิยมของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นมหาศาลได้แปรสภาพเมืองหลวงไทยให้กลายเป็น ‘ตัวอย่างของความล้มเหลวทางการจราจร’ ลืมเรื่องการเดินอย่างสบายเท้าบนฟุตพาทไปได้เลย เพราะบางครั้งชาวสยามยังจำเป็นต้องเดินบนถนนขณะรถวิ่ง การเดินเท้าบนฟุตพาทในกรุงเทพฯ กลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างน่าละเหี่ยใจ นอกจากขนาดและสภาพของทางเท้าแบบ ‘Old School’ เก่าพังราวของวินเทจ ระยะทางของแต่ละย่านสำคัญก็ห่างไกลระดับน้องๆ มาราธอน แม้แต่ทางเลือกอย่างจักรยานก็อาจต้องเสี่ยงดวงเบียดบี้กับจักรยานยนต์บนถนน และขาดไม่ได้คืออากาศร้อนราวอบเซานาตลอดกลางวัน จึงไม่แปลกที่รถยนต์ส่วนตัวปรับอากาศเย็นสบายจะติดชาร์ตสิ่งของอันดับหนึ่งที่ใครๆ ล้วนปรารถนา อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเศร้ากว่าปัญหาข้างต้นคือ การหารือบนโต๊ะประชุมมักมีเพียงการแก้ปัญหาในบริบทของกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลับกันใน ‘จังหวัดอื่นๆ’ กลายเป็นผู้ถูกลืม บางพื้นที่ไม่มีแม้แต่ระบบขนส่งสาธารณะ บีบบังคับให้ทุกบ้านต้องมีรถยนต์หรือจักรยานยนต์เป็นอย่างน้อย ทั้งที่แนวคิด Walkable City ไม่ควรถกเถียงอยู่แค่บริเวณเมืองหลวง เพราะประชากรทุกจังหวัดควรได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ทั้งนั้น การสร้างเมืองเดินได้ในทุกบริบทย่อมตั้งต้นด้วยการเปลี่ยนวิถีการคมนาคม เริ่มจากรถยนต์ผู้ครองตำแหน่งแชมป์ที่เป็นก้างชิ้นโต ทำให้ผู้สันทัดกรณีเสนอการแก้ปัญหาอย่างกำปั้นทุบดินคือ ‘กำจัดรถยนต์บนท้องถนน’ […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

ย่านไหนในกรุงเทพฯ เดินได้เดินดีที่สุด

การเดินเท้าถือเป็นการเดินทางที่สมบูรณ์แบบที่สุด” โดยความหมายของ ‘เมืองเดินได้’ คือเมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การเดินร่วมกับขี่จักรยานและระบบขนส่งมวลชนในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย จากการนิยามของ Goodwalk Thailand

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.