‘ปันเป๋ากัน’ ส่งต่อกระเป๋าสภาพดีเปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาให้น้องๆ วันนี้ – 30 ก.ย. 65 ที่ร้านปันกันทุกสาขา

‘ปันเป๋ากัน’ ส่งต่อกระเป๋าสภาพดี เปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาให้น้องๆ วันนี้ – 30 ก.ย. 65 ที่ร้านปันกันทุกสาขา ใครที่มีสิ่งของสภาพดีแต่ไม่ได้ใช้ หรืออาจจะใช้น้อยครั้งจนหลงลืมไปแล้วว่าเคยมีอยู่ อยากให้สำรวจดูอีกครั้งว่ามีอะไรบ้างที่อาจไม่จำเป็นในเวลานี้แล้ว และอยากแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ คือการระดมทุนในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ด้วยการเปิดหน้าร้านรับสิ่งของสภาพดี ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ทุกคนสามารถนำมาแบ่งปันเพื่อเป็นสินค้าในร้านให้คนที่ชอบมาช้อปไป และเงินที่ได้ก็จะกลายเป็นโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆ ในมูลนิธิยุวพัฒน์  โดยทางมูลนิธิจะมอบทุนให้เยาวชนผู้ขาดแคลนโอกาสทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนสิ่งของสภาพดีที่ขายไม่ได้จะส่งต่อให้บ้านเด็กกำพร้าหรือโรงเรียนในชนบทได้ใช้ประโยชน์ต่อไป  สำหรับเดือนกันยายนนี้ ร้านปันกันเลือกจัดแคมเปญ ‘ปันเป๋ากัน’ โดยชวนทุกคนมาส่งต่อกระเป๋าที่ไม่สปาร์กจอยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าแฟชั่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเป้ หรือกระเป๋าแบบไหนก็ได้ ขอเพียงมีสภาพดีเหมาะแก่การนำไปจำหน่าย ช่องทางการปัน มีดังนี้ 1) ร้านปันกันทั้ง 16 สาขา 2) ส่งพัสดุไปรษณีย์หรือนำมาบริจาคด้วยตัวเองที่คลังสินค้าแบ่งปัน 3) บริการรถปันกัน 4) […]

ไม่ต้องรอย่อยสลายถึงร้อยปี! Newbie รองเท้าเด็กย่อยสลายได้ เพียงต้ม 40 นาทีในน้ำเดือด

ไม่ต้องรอย่อยสลายถึงร้อยปี! Newbie รองเท้าเด็กย่อยสลายได้เพียงต้ม 40 นาทีในน้ำเดือด เพราะว่าผู้คนต้องเติบโตขึ้นเรื่อยๆ รองเท้าที่เมื่อก่อนเคยใส่ได้กลายเป็นรองเท้าคู่เก่าที่ถูกทิ้งเป็นขยะ ในอเมริกามีรองเท้าถูกฝังกลบกว่า 300 ล้านคู่ต่อปี และรองเท้าหนึ่งคู่จะใช้เวลาย่อยสลายโดยเฉลี่ย 40 – 1,000 ปี  Jesse Milliken หนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Woolybubs แบรนด์รองเท้าเด็กเล็กจากอเมริกา มองเห็นปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นมาจากเสื้อผ้าของลูกๆ จึงผุดไอเดียออกแบบรองเท้าสำหรับเด็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา รองเท้ารุ่นนี้มีชื่อว่า ‘Newbie’ นอกจากจะผลิตขึ้นเพื่อปกป้องเท้าแสนบอบบางของเจ้าตัวน้อยด้วยพื้นผิวนุ่มสวมใส่สบาย มีไซซ์สำหรับทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กหัดเดินวัยหนึ่งขวบ และยังมีสีสันพาสเทลสุดน่ารักให้เลือกถึง 4 แบบ  อีกหนึ่งความพิเศษของรองเท้าจิ๋วรุ่นนี้ก็คือสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะวัสดุผลิตจากพลาสติกพอลิเมอร์ที่ชื่อ Polyvinyl Alcohol (PVOH) ซึ่งเป็นพลาสติกละลายน้ำได้แบบเดียวกับที่ใช้ในผงซักฟอกชนิดเจลบอล โดย PVOH คือพลาสติกที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในวงการสุขภาพ ยา ความงาม และครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 1950 เมื่อลูกรักของคุณต้องเปลี่ยนไปใส่รองเท้าคู่ใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม การกำจัดรองเท้าคู่เก่าก็ทำได้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่นำเจ้า Newbie ไปหย่อนลงในหม้อต้มน้ำเดือดและทิ้งไว้ราว 30 – 40 นาที จากนั้นรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เหมือนกับเวลาที่เราละลายน้ำตาลในน้ำ […]

KIDS’ VIEW นิทรรศการภาพถ่ายฟิล์มครั้งแรกจากมุมมองเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้

ปัตตานีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความสร้างสรรค์เป็นพลังช่วยเคลื่อนเมืองให้พ้นจากมุมมองและภาพจำเกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทุกวันนี้เราได้เห็นศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของพื้นที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองที่ดีของจังหวัดทางใต้แห่งนี้  สำหรับชาวเมืองหลวงที่ยังไม่มีโอกาสไปปัตตานี เราอยากชวนไปงานอีเวนต์ของคนจากปัตตานีที่จัดแสดงอยู่ในกรุงเทพฯ ชื่อว่า ‘KIDS’ VIEW’ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายผ่านมุมมองทางสายตาของน้องๆ นักเรียนชั้น ม.ปลาย ทั้งหมด 19 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ‘มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา’ (Nusantara Patani) พวกเขาได้ถ่ายทอดมุมมองผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพถ่ายกว่า 70 ภาพ เพื่อให้ผู้คนนอกพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนรายละเอียดวิถีชีวิต ความนึกคิด และสิ่งที่เด็กกำพร้าในสามจังหวัดชายแดนใต้มองเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น  ความน่าสนใจของภาพถ่ายในงานนี้คือ ‘การใช้กล้องฟิล์มครั้งแรก’ ของน้องๆ  “เอากล้องทอยให้น้องไปคนละตัวและให้ฟิล์มกันไปคนละม้วน” อำพรรณี สะเตาะ อาจารย์จากสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายชาวปัตตานี จากวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกเล่าถึงการดำเนินงานของนิทรรศการ KIDS’ VIEW ให้ฟัง  อาจารย์ใช้เวลาพูดคุยกับเด็กๆ รวมถึงจัดเวิร์กช็อปการใช้กล้องฟิล์ม 101 เล่าความรู้เบื้องต้นการถ่ายภาพให้กับน้องๆ เป็นเวลา 10 กว่าวัน จากนั้นก็ปล่อยให้เหล่าช่างภาพมือใหม่ลงสนามตามหาสิ่งที่อยากถ่าย โดยไร้ซึ่งคอนเซปต์ ไม่มีการตีกรอบทางความคิดใดๆ  หลังจากที่อาจารย์นำฟิล์มครั้งแรกของน้องๆ ไปล้างและอัดรูปแล้ว ภาพทั้งหลายที่ได้มาล้วนมีเอกลักษณ์และมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะจะถ่ายอะไรก็ได้ ทั้งในชุมชน […]

ชวนดู ‘เสียง (ไม่) เงียบ 2022’ 4 หนังสั้นชำแหละสังคมไทย 25 ส.ค.นี้ ในโรงภาพยนตร์

ชวนดู ‘เสียง (ไม่) เงียบ 2022’ 4 หนังสั้นชำแหละสังคมไทย 25 ส.ค.นี้ ในโรงภาพยนตร์ ‘Voices of the New Gen 2022’ หรือ ‘เสียง (ไม่) เงียบ 2022’ คือภาพยนตร์สั้น 4 เรื่อง จากนิสิตนักศึกษาต่างสถาบันที่รวบรวมโดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย เพื่อจัดฉายในโครงการ ‘หนังเลือกทาง’  ภาพยนตร์แต่ละเรื่องต่างสะท้อนปัญหาการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในปี 2022 โดยบอกเล่าความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลงผ่านสายตาของคนรุ่นใหม่ แบ่งออกเป็นตัวแทนเสียงของคน 4 กลุ่มที่ถูกกดขี่ในสังคม ได้แก่ #เสียงจากผู้ซึ่งไร้อิสรภาพ  เรียบ / อาวุธ – After a Long Walk, He Stands Still (30 นาที) กันตาภัทร พุทธสุวรรณ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) เล่าเรื่องราวความรุนแรงในค่ายทหาร โดยมี ‘ธง’ นายทหารเกณฑ์ที่เผชิญระบบอาวุโส […]

ใช้เวลา 3 นาที ร่วมทำแบบสำรวจ พัฒนาการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ ผ่าน BMA Open Data Survey

ใช้เวลา 3 นาที ร่วมทำแบบสำรวจพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ ผ่าน BMA Open Data Survey  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐของกรุงเทพฯ หรือเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ เพื่อศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์ กรุงเทพฯ เปิดโอกาสให้คุณเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นนี้แล้ว ‘BMA Open Data Survey’ เป็นแบบสำรวจขอบเขตความสนใจและมุมมองต่อการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ เพื่อนำไปปรับปรุงมาตรฐานและพัฒนาการทำงานของสำนักกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งนี้อาจช่วยให้ชาวเมืองสามารถติดตามผลการดำเนินงานและเรียกดูข้อมูลต่างๆ เพื่อรับทราบความเป็นไปของโครงการต่างๆ ที่ทาง กทม.รับผิดชอบอยู่ ที่สำคัญแบบสำรวจนี้ใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น ผ่านการตอบคำถามสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ‘ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม’ ซึ่งผู้ทำแบบสำรวจจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลบางส่วน โดยจะนำไปใช้ภายใต้การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ส่วนที่สองเป็นชุดคำถาม ‘ขอบเขตความสนใจและมุมมองต่อการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ’ เช่น ชุดข้อมูลที่ต้องการให้กรุงเทพฯ ให้บริการบน data.bangkok.go.th เหตุผลที่กรุงเทพฯ ควรเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ และเรื่องสำคัญใดที่ควรแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาเมืองในปัจจุบันที่สุด เป็นต้น ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงด้านการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ และพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นได้ที่ bit.ly/3A4TYp2 

Cloud Markt ร้านชำคราฟต์ฟู้ดแห่งภูเก็ต ที่สร้างคอมมูนิตี้ครีเอทีฟให้เกิดขึ้นจริงในบ้านเกิด

เมื่อช่วงต้นปี 2021 ทีมงาน Urban Creature แวะเวียนไปเยือนเมืองภูเก็ตมา ซึ่งหนึ่งในจุดหมายปลายทางก็คือ Cloud Markt (คลาวด์-มาร์ต) ร้านชำเล็กๆ ที่สรรหาฟู้ดคราฟต์จากกิจการท้องถิ่นไทยมาให้คนภูเก็ต รวมถึงคุณได้อุดหนุน ผมพูดคุยกับเจ้าของร้านจนติดลม พลางจิบคราฟต์เบียร์ ลิ้มรสคราฟต์ฟู้ดแสนอร่อย พร้อมบันทึกเสียงสนทนาไปด้วย เพื่อที่กลับมากรุงเทพฯ จะได้นั่งถอดเทปอย่างสบายใจ ตู้ม! คลัสเตอร์ภูเก็ตมาเยือน ภูเก็ตต้องเปิด-ปิด เกาะอยู่หลายครั้ง พวกเราจึงตัดสินใจพักงานชิ้นนี้ไว้ก่อน และรอวันที่สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น วันแล้ววันเล่า รอนานจนไม่รู้ว่าจะได้กลับไปเตร็ดเตร่ที่ภูเก็ตอีกเมื่อไหร่ แม้โควิดจะเป็นอุปสรรคในการปล่อยงานชิ้นนี้ แต่เชื่อไหมว่า โควิดไม่ใช่ปัญหาหลักของชาว Cloud Markt แต่กลับเป็นทั้งสารตั้งต้นของร้าน และด่านสำคัญที่เจ้าของร้านชำจะต้องผ่านไปให้ได้ ซึ่งทันทีที่เปิดประเทศ ผมก็ไม่รอช้า รีบหยิบเรื่องราวของ Cloud Markt ที่เราดองไว้ มาเสิร์ฟ เอ้ย! มาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับร้านชำแห่งนี้ 01เหล่ามนุษย์ภูเก็ตที่ไม่พร่องเรื่องกิน เมื่อผมและทีมมาถึง ป้ายร้าน Cloud Markt สีส้มก็เด่นชัดมาแต่ไกล เหล่าเจ้าของร้านชำต้อนรับพวกผมอย่างเต็มใจ และไม่รีรอที่จะแนะนำตัวให้ผมทราบว่า หุ้นส่วนร้านชำแห่งนี้มี 3 คน ซึ่งทุกคนล้วนเป็นชาวภูเก็ต เริ่มที่ มอนด์-สุวิจักขณ์ […]

เที่ยววัดชมปริศนาธรรม พบหลักธรรมที่สอดแทรกอยู่ I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series

เวลาเราไปเที่ยววัดเรามักคุ้นชินกับรูปปั้น จิตรกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ป้ายคำสอน หากพินิจดูดีๆ และคิดหาความหมาย สิ่งเหล่านี้เหมือนตำราธรรมะอีกรูปแบบหนึ่งแต่มาในรูปแบบศิลปะธรรม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series ในตอนนี้ พระมหาบุญฤทธิ์ ฐิตเมโธ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ จะพาเรามาเดินทัวร์ในวัดว่าแต่ละจุดมีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เป็นปริศนาธรรมน่าเล่า และอะไรคือธรรมะที่ซ่อนอยู่ #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #ปริศนาธรรม

มาแชร์บุญ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ซื้อของต่ำกว่าราคาและได้เงินทอนเป็นบุญ | วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2

ชาวพุทธโดยส่วนใหญ่ล้วนเคยถวายสังฆทาน แต่เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่าถวายแล้วสังฆทานนั้นไปไหนต่อ จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยไปดูงานบางที่ เขากล่าวว่า “สังฆทานวางกองกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ของบางอย่างใช้ไม่ทันก็เสีย” หากใช้ไม่ได้ เก็บไว้ไม่เป็นระบบ บุญที่เราจะได้จะเป็นบุญได้อย่างไร ในเมื่อบุญนั้นกลายเป็นของเสียไปหมด ในวันที่โลกต่างพูดถึงกระแส Waste Management กันมากขึ้น ที่วัดชลประทานฯ ก็มีการจัดการไม่ให้ของต่างๆ เสียเปล่า โดยใช้ระบบสังฆะ และหนึ่งในผลพลอยได้จากระบบนี้คือร้านที่มีชื่อว่า ‘มาแชร์บุญ’ มาแชร์บุญ คือร้านของชำในวัด แต่ไม่ได้ขายเพื่อมุ่งกำไร ทุกบาททุกสตางค์คือการหยอดลงตู้ค่าน้ำค่าไฟของวัด และราคาที่ขายก็เกินจริง ไม่ใช่แพงเกินจริง แต่ถูกเกินจริงเพราะตั้งราคาต่ำกว่าทุน ของที่ได้มาก็เป็นของที่เหลือจากระบบสังฆะ สิ่งเหล่านี้ทำงานเป็นระบบกันอย่างไร แล้วของจะไม่เสียเปล่าจริงหรือ หาคำตอบได้ใน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2 มาแชร์บุญ Superstore #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #มาแชร์บุญ

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

Virtual Bootcamp รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’

รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการที่ iLaw และ ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ ‘เอหิปัสสิโก’ ดำเนินการสนทนาโดย อาทิตยา บุญยรัตน์ จาก HER Interview Panel Discussion นี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการ NIA Creative Contest 2021 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ Urban Creature เปิดเวทีให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนร่วมออกแบบอนาคตผ่านไอเดียการผลิตวีดิทัศน์สะท้อนภาพอนาคตและนวัตกรรม ไอเดียที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกขัดเกลาจากวิทยากรผู้อยู่เบื้องหลังวงการภาพยนตร์และคนทำงานสร้างสรรค์ โดยทางโครงการได้จัดกิจกรรมอบรมให้กับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2564 ก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนไอเดียเป็นหนังสั้น ทางโครงการร่วมกับสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เตรียมพร้อมให้ผู้ร่วมโครงการ เพื่อความเข้าใจกฎหมายและลิขสิทธิ์การผลิตวีดิทัศน์ ผ่านผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งจากฟากฝั่งกฎหมายและจากคนทำหนัง โอกาสนี้ ชวนทุกคนไปร่วมพูดคุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ ผู้จัดการที่ iLaw ซึ่งเป็นหนึ่งคนที่ทำงานด้านกฎหมายและทำงานคาบเกี่ยวกับงานคอนเทนต์ออนไลน์และเป็นคนกฎหมายที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม และ […]

Project ผลบุญ : คนกินได้รส ชาวสวนได้รับ สังคมได้รอด

“หัวเราะทั้งน้ำตา! ชาวสวนมังคุดใต้อ่วม ราคาตกต่ำเหลือโลละ 4 บาท”“ชาวสวนมังคุดลุกฮือจี้แก้ปัญหาราคาตกต่ำช้ำถูกกดราคาอย่างหนัก” สถานการณ์ COVID-19 ลากยาวมามากกว่า 1 ปี ผู้ประกอบการไทยต่างเข้าเนื้อ ทุนหาย กำไรหด เจ็บและเจ๊งกันเป็นแถบๆ เมื่อ ‘พลังของประชาชน’ คือความหวังเดียวที่จะช่วยกันเองให้รอด Urban Creature จึงพลิก ‘วิกฤต’ ให้เป็น ‘โอกาส’ ถือโอกาสบอกบุญ กับโปรเจกต์ ‘ผลบุญ’ ร้านผลไม้เฉพาะกิจของ Urban Creature ที่เปิดมาชวนผู้อ่านระดมทุน #อุดหนุน มังคุดเบตง กู้วิกฤตราคาผลผลิตตกแบบดิ่งลงเหว ขนส่งไม่ได้ขายไม่ออก ไป #ส่งต่อ ให้ผู้ต้องการเสบียงในพื้นที่จังหวัดยะลาได้อิ่มท้องในช่วงการระบาดของ COVID-19 อย่าง – กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองเบตง กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่เทศบาลและโรงพยาบาลสนาม– ชมรมมุสลิมสัมพันธ์เบตง เพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า กระจายต่อไปยังชุมชนที่ล็อกดาวน์และเด็กกำพร้าที่ชุมชนดูแล– ที่ว่าการอำเภอเบตง หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่ อสม. และชุมชนหมู่ 4 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง […]

EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

จากการศึกษาของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ประเมินออกมาว่าแรงดึงดูดต่อการลงทุนในไทยต่ำลง มีความเสี่ยงที่โลกจะไม่ได้สนใจไทยอย่างที่เคยเป็น หนึ่งในสาเหตุใหญ่ๆ นั้นก็คือ สินค้าส่งออกของไทยไม่มีการเติบโตในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง ต่างจากแนวโน้มของประเทศคู่แข่งและภูมิภาค การผลักดันให้เราก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญของโลกที่กำลังหมุนไปให้เราได้ปรับตัวกันคือ รถยนต์พลังงานสะอาด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ EV (Electric Vehicle) ในยุคที่เป้าหมายของโลกคือการลดคาร์บอนฯ ลงให้มากที่สุด รถ EV จึงเป็นคำตอบของหลายๆ คน แล้วกับคนไทยล่ะ ร่วมค้นหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรถ EV กับคนไทยว่าเราพร้อมกันแค่ไหนใน Green Link : EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

1 5 6 7 8 9 24

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.