‘CATUP’ สตาร์ทอัพที่อยากช่วยลดขยะบนโลก ด้วยการรีไซเคิลพลาสติกให้เป็นโดมแมวและปากกา

ปัจจุบันนี้ผู้คนตระหนักถึงภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น จึงหันมาใส่ใจกับการแยกขยะเพื่อความสะดวกต่อการคัดแยกและเข้าสู่กระบวนการทำลายอย่างถูกวิธี ซึ่งบางคนอาจเลือกเก็บขยะพลาสติกไว้ขาย แต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าจะส่งต่อให้ใครและจะนำไปทำอะไรได้บ้าง Urban Creature ขอแนะนำให้รู้จักกับสตาร์ทอัพ ‘CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ’ ที่เกิดขึ้นโดย ‘นคร แขฉายแสง’ วิศวกรผู้อยากเปลี่ยนขยะให้เป็นของที่มีคุณค่ามากขึ้น นครบอกกับเราว่า จุดเริ่มต้นของ CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ นี้เกิดจากความชอบในงานประดิษฐ์ บวกกับตัวเขาสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกอยู่แล้ว และเป็นช่วงว่างหลังจากที่เพิ่งออกจากงานพอดี ทำให้เขาอยากสร้างสรรค์สินค้าที่มาจากกระบวนการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก แรกเริ่มนั้นเขาซื้อฝาพลาสติกบางส่วนจาก ‘Precious Plastic Bangkok’ องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีการรับบริจาคขยะรีไซเคิล และแบ่งซื้อฝาขวดน้ำบางส่วนจากโรงงานรีไซเคิล เพื่อนำมาเป็นวัสดุในการผลิตสินค้า โดยสินค้าจากขยะพลาสติกของ CATUP มีทั้งหมดสองประเภท คือ โดมแมวและปากกา นครอธิบายต่ออีกว่า ทีแรกเขาตั้งใจจะทำเพียงโดมแมวเท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม จึงขยายไปสู่การผลิตปากกาจากฝาขวดน้ำเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง “กระบวนการผลิตสินค้าทั้งสองอย่างนั้น ทาง CATUP ทำขึ้นเองทั้งหมดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการแยกสีฝาขวดน้ำ ทำความสะอาด ย่อยขยะ หรือแม้แต่การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ด้วยความที่เป็นวิศวกรมาก่อน เราก็ประดิษฐ์เครื่องจักรและทำแม่พิมพ์สำหรับสินค้าทั้งสองอย่างนี้ด้วยตัวเอง “ทาง CATUP ยังมองถึงการผลิตสิ่งของที่ต้องใช้ขยะปริมาณมากๆ ด้วย เพราะปากกาหนึ่งแท่งที่เราทำนั้นมาจากฝาขวดน้ำเพียงเจ็ดฝา ส่วนโดมแมวหนึ่งหลังใช้ขยะพลาสติกที่เป็นขวดน้ำยาซักผ้าปริมาณห้าลิตรเพียงสองขวดเท่านั้น ทำให้เราอาจยังกำจัดขยะไปได้ไม่มากนัก” […]

‘mum’ โครงการเปลี่ยนขยะจากมหาสมุทรให้กลายเป็นอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์สำหรับชาวประมง

สาเหตุหนึ่งของ ‘ปัญหาขยะจากทะเล’ เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาปลาของชาวประมง ไม่ว่าจะเป็นอวน ทุ่น และเชือก ที่เมื่อใช้งานจนเสื่อมสภาพและไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้แล้ว สิ่งของเหล่านี้มักจะถูกทอดทิ้งจนกลายเป็นขยะจำนวนมากใต้ท้องทะเล ทาง ‘PAN- PROJECTS’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงได้ร่วมมือกับ ‘REMARE’ บริษัทสตาร์ทอัปของญี่ปุ่นและชุมชนประมงท้องถิ่นในจังหวัดมิเอะ เพื่อริเริ่ม ‘mum’ โครงการอัปไซเคิลขยะในทะเลให้กลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งแทนการปล่อยทิ้งเอาไว้หรือนำไปกำจัดทิ้งด้วยการเผา โดยทีมออกแบบเลือกเปลี่ยนขยะเหล่านั้นให้คืนชีพกลับมาเป็นอุปกรณ์ตกปลา ด้วยการนำไปบดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ นอกจากอุปกรณ์ตกปลาแล้ว โครงการนี้ยังนำขยะมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อที่ชาวประมงจะได้นำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อย่างเช่นใช้เป็นโต๊ะกินข้าวหรือจุดวางสิ่งของและปลาที่จับมาก็ได้ แรงบันดาลใจส่วนใหญ่ของการออกแบบขยะจากทะเลเหล่านี้มาจากวัฒนธรรมของญี่ปุ่นซึ่งเป็นจุดกำเนิดของโครงการ รวมถึงภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นเองที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลกว้างใหญ่ โครงการ mum จึงอยากสร้างความตระหนักและเปลี่ยนมุมมองของผู้คนต่อพลาสติกในทะเลว่าขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนให้เป็นของขวัญจากทะเลที่มีประโยชน์ได้ Sources :Designboom | bit.ly/3J85SUR PAN- Projects | pan-projects.com

อบอุ่นและรักษ์โลกกับผ้าห่มกันหนาว ทำด้วยขนเป็ดและวัสดุอัปไซเคิลจากสินค้าเก่าของแบรนด์ Arc’teryx

อากาศหนาวเริ่มพัดผ่านมาให้พอรู้สึกถึงฤดูหนาวกันบ้างแล้ว หลายคนคงเริ่มมองหาเสื้อกันหนาวหรือผ้าห่มสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวสิ้นปี เพื่อให้เข้ากับเทรนด์ในตอนนี้ เราขอพาไปรู้จักอุปกรณ์กันหนาวผลิตจากวัสดุเหลือใช้ ที่ให้ทั้งความอบอุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เมื่อปี 2021 Arc’teryx แบรนด์เสื้อผ้ากลางแจ้งและอุปกรณ์ปีนเขาจากประเทศแคนาดา ได้เปิดตัว ReBird ผ้าห่มขนเป็ดจากแบรนด์ย่อยที่ชื่อว่า System_A ในโครงการ ReBird ที่ออกแบบสินค้าหมุนเวียนผ่านการซ่อมแซม รีเซลล์ อัปไซเคิล เพื่อให้ไม่มีขยะเหลือทิ้งจากการผลิต ในปีนี้ ทางแบรนด์ได้นำผ้าห่มกลับมาวางขายอีกครั้งแบบจำนวนจำกัด โดยผ้าห่มขนเป็ดนี้ทำขึ้นจากวัสดุเหลือใช้จากผ้า 7D Arato ที่เบาและอ่อนนุ่มเป็นพิเศษจากแบรนด์ และเสริมด้วย 850 ขนเป็ดรีไซเคิล เพื่อทำให้ผ้ากันน้ำได้ดีขึ้น  เท่านั้นยังไม่พอ บางส่วนของเนื้อผ้ายังทำขึ้นมาจากเสื้อผ้าเก่าและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วจากโครงการ ReBird ที่ทางแบรนด์เปิดให้ลูกค้าส่งสินค้าเก่ากลับมาเพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการอัปไซเคิลสำหรับสินค้าอื่นๆ ด้วย นอกจากใช้ผ้าห่มในการห่อหุ้มตัวเพื่อความอบอุ่นแล้ว ยังสามารถติดกระดุมด้านหน้าเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเสื้อปอนโชได้อีกด้วย ผ้าห่มขนเป็ด ReBird เปิดจำหน่ายทางออนไลน์ที่ bit.ly/3hsgtyF  Sources : Arc’teryx | arcteryx.com  DesignTAXI | bit.ly/3Hx1uhv 

ป้องกันภัยไม่ได้แล้ว แต่ยังใส่ของได้อยู่ ‘Freitag’ คืนชีพถุงลมนิรภัยเกรด B เป็นกระเป๋ารุ่นใหม่ ‘F707 Stratos’

หากพูดถึงถุงลมนิรภัย คงนึกภาพกันไม่ออกแน่ๆ ว่านอกจากช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุรถยนต์แล้วจะนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้อีก แต่แบรนด์ดังอย่าง ‘Freitag’ ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการนำเอาของมือสองที่ผ่านการใช้งานบนท้องถนนมาแล้วอย่างผ้าใบกันน้ำรถบรรทุก ยางในสำหรับจักรยานที่ใช้แล้วทิ้ง และเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์มาเปลี่ยนเป็นกระเป๋าที่ใช้งานได้ ก็ไม่พลาดที่จะดึงประโยชน์ของถุงลมนิรภัยมาเปลี่ยนรูปร่าง ชุบชีวิตใหม่กลายเป็น ‘F707 Stratos’ กระเป๋ารุ่นแรกที่ทำจากถุงลมนิรภัย วัสดุหลักของ F707 Stratos นั้นมาจากถุงลมนิรภัยและผ้าใบกันน้ำสำหรับรถบรรทุกที่ไม่ผ่านการทดสอบว่าปลอดภัย หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นวัสดุเกรด B แบรนด์ Freitag จึงปิ๊งไอเดียนำวัสดุคัดทิ้งเหล่านี้มาใช้งานเพื่อสร้างประโยชน์ใหม่อีกครั้ง โดยดึงลักษณะของถุงลมนิรภัยที่จะกางออกเมื่อเกิดอุบัติเหตุมาใช้ ทำให้กระเป๋ารุ่นนี้มีคุณลักษณะพับเก็บได้ พกพาง่าย และกางออกมาเป็นกระเป๋าเมื่อต้องการใช้งาน ส่วนสีสันอาจดูแปลกตาไปจาก Freitag ที่เราคุ้นชินกัน เพราะกระเป๋ารุ่นนี้ ทางแบรนด์เน้นใช้สีขาว สีชมพู และสีฟ้าอ่อนจากถุงลมนิรภัย แต่ถึงอย่างนั้น F707 Stratos ก็ยังคงคุณสมบัติกันน้ำและทนทานเหมือนเดิม แถมยังน้ำหนักเบาลงกว่ารุ่นก่อนๆ อีกด้วย แฟนคลับแบรนด์นี้พลาดไม่ได้แล้ว Sources : Dezeen | bit.ly/3Dn1QUy  Freitag | bit.ly/3SHyDJh

Peterson Stoop แบรนด์ที่คืนชีพสนีกเกอร์เก่าให้เป็นรองเท้าคู่ใหม่

รองเท้าเก่าคือขยะแฟชั่นอีกหนึ่งชนิดที่ถูกทิ้งทุกวันจนแทบจะล้นโลก เพราะคนหนึ่งคนมีรองเท้ามากกว่าหนึ่งคู่ และไม่ใช่รองเท้าทุกคู่จะถูกใช้จนสิ้นอายุขัย บางคู่ถูกทิ้งก่อนเวลาอันควรเพราะชำรุด ค้างสต็อก หรือถูกส่งต่อด้วยการบริจาค การจะจัดการกับ ‘ขยะ’ รองเท้าเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ‘Peterson Stoop’ แบรนด์รองเท้าในอัมสเตอร์ดัมเห็นปัญหานี้และอยากหาทางแก้ไข จึงนำรองเท้าเก่าไปชุบชีวิตใหม่ให้ออกมาเป็นรองเท้าดีไซน์เก๋ไม่ซ้ำใคร แม้ว่าจะทำรองเท้าเพราะต้องการช่วยลดขยะ แต่ยังคงรักษาคุณสมบัติที่สำคัญคือความแข็งแรง ทนทาน และใส่เดินได้ไม่ต่างจากรองเท้ามือหนึ่ง  Peterson Stoop ก่อตั้งในปี 2016 โดย Jelske Peterson และ Jarah Stoop 2 คู่หูที่ได้สะสมความรู้ในการทำรองเท้าและการเลือกวัสดุจากการทำงานที่ร้านซ่อมรองเท้าและโรงฟอกหนังมาแล้ว และได้รับการสนับสนุนจากช่างฝีมือและเด็กฝึกงานร่วมกันสร้างสรรค์รองเท้าขึ้นมา  พวกเขาตั้งใจที่จะหาทางออกและนำพาอุตสาหกรรมแฟชั่นไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น จึงร่วมมือกับบริษัทในฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญในการรวบรวม คัดแยก รีไซเคิลสิ่งทอและรองเท้าทุกประเภท เพราะในศูนย์คัดแยกขยะสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส จะมีการคัดแยกสิ่งทอและเสื้อผ้ากว่า 50 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นรองเท้าเหลือทิ้งไปแล้ว 5 ตัน จึงเป็นขุมทรัพย์ชั้นดีที่ Peterson Stoop สามารถเข้าไปเลือกรองเท้าสภาพดีเพื่อนำไปแปลงโฉมใหม่ได้เลย โดยพวกเขาจะเข้าไปช้อปรองเท้าจากโรงคัดแยก นำรองเท้าไปแยกโครงสร้างออกจากกัน แล้วสร้างรองเท้าขึ้นใหม่ด้วยวัสดุธรรมชาติ โดยใช้ไม้ก๊อกและหนังเป็นส่วนประกอบ และประกอบร่างขึ้นมาเป็นรองเท้าคู่ใหม่ในพื้นผิวที่แปลกตา โปรเจกต์ล่าสุดที่พวกเขาเปิด Pre-order อยู่ในขณะนี้คือรองเท้า PS SYNERGY […]

GREEN ROAD รับบริจาคถุงอาหารแมว เปลี่ยนขยะเป็นบล็อกแมวรักษ์โลก

‘บล็อกแมวรักษ์โลก’ ไอเดียรีไซเคิลขยะพลาสติกสุดน่ารัก ที่เปลี่ยนถุงอาหารแมวให้เป็นบล็อกปูพื้นจากโครงการ GREEN ROAD (กรีนโรด) ถุงอาหารแมวคือขยะพลาสติกประจำบ้านของทาสแมวที่ต้องจัดการทุกๆ เดือน ยิ่งบ้านไหนเลี้ยงแมวเยอะ ก็ยิ่งมีถุงอาหารเยอะตามไปด้วย การจะเอาถุงเหล่านี้ไปรียูสด้วยตัวเองคงไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายจึงมักจะทิ้งลงถังขยะไปเฉยๆ  โครงการ GREEN ROAD จึงเปิดรับบริจาคถุงอาหารแมว เพื่อทำบล็อกแมวรักษ์โลก หรือบล็อกที่ผลิตจากถุงอาหารแมวรีไซเคิล 100% โดยไม่ใช้ขยะพลาสติกประเภทอื่นผสมเลย เป็นขยะจากแมวและผลิตออกมาเพื่อทาสแมวโดยเฉพาะ ซึ่งบล็อกแมวรักษ์โลก 1 ตัว สามารถมากำจัดขยะพลาสติกได้ 4.4 กก. (ใช้ถุงอาหารแมว 44 ถุง) หากต้องการต่อให้ได้ 1 ตร.ม. จะต้องใช้ถุงอาหารแมวถึง 44 กก. ตอนนี้สามารถบริจาคได้เรื่อยๆ จนกว่าแมวจะหมดโลก! วิธีทำบล็อกแมวรักษ์โลก 1. ทางโครงการจะนำถุงอาหารแมวที่ได้รับบริจาคทั้งหมดมาบดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 2.5 ซม.  2. นำถุงที่ย่อยแล้วเทลงในเครื่องหลอมขยะพลาสติก (Extruder Machine) ที่อุณหภูมิ 200 – 220 ºC  3. เมื่อถุงพลาสติกหลอมละลายดีแล้ว […]

Rocks2Dogs ธุรกิจเชือกจูงน้องหมาของนักปีนผาอายุ 16 ปี

ไอเดียในการทำธุรกิจมักจะมาจากสิ่งรอบตัวหรืออยู่ในชีวิตประจำวัน ธุรกิจสายจูงสุนัขของ Alexander Tsao นักปีนผาอายุ 16 ปี ผู้ก่อตั้ง Rocks2Dogs ก็เช่นกัน  ธุรกิจนี้เริ่มต้นเมื่อ Tsao อายุเพียง 16 ปี ช่วงที่ไปปีนผาบ่อยๆ เขามักจะสังเกตเห็นว่าเชือกที่ใช้ในการฝึกซ้อมถูกเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง วันนี้ใช้สีหนึ่ง พรุ่งนี้กลับมาซ้อมที่เดิมแต่เปลี่ยนสีอีกแล้ว เขาสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเชือกเส้นเก่า จึงไปถามเจ้าของโรงยิมและได้คำตอบว่าโรงยิมจำเป็นต้องเปลี่ยนเชือกเป็นประจำเนื่องจากข้อบังคับด้านความปลอดภัย ซึ่งเชือกที่ไม่ใช้แล้วจะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ ทำให้ Tsao อยากลดขยะจากเชือกเหล่านี้  Tsao ได้ไอเดียขึ้นมาว่าเขาจะเปลี่ยนเชือกเหล่านี้ให้เป็นสายจูงสุนัข และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปบริจาคให้กับองค์กรที่ดูแลสัตว์ ทำให้ได้ช่วยเหลือทั้งสิ่งแวดล้อมและสัตว์ไปพร้อมๆ กัน เพราะ Tsao ได้รับการปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนมาตั้งแต่เด็ก และยังมีสุนัขกู้ภัยคู่ใจชื่อ Jinger อายุ 11 ปีที่เป็นเหมือนเพื่อนที่เติบโตมาด้วยกัน และเป็นผู้ใช้จริงที่ช่วยทดสอบสายจูงให้กับ Tsao ด้วย เมื่อคิดแผนธุรกิจได้ Tsao ก็ติดต่อกับโรงยิมปีนเขาทั้งหมดในรัฐวอชิงตัน เพื่อเสนอแนวคิดในการที่จะนำเชือกปีนเขาที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ในตอนนั้นเจ้าของโรงยิมหลายแห่งยังไม่เชื่อในไอเดียของเขา แต่ก็ตกลงที่จะบริจาคเชือกเหลือทิ้งให้ Tsao ทำให้เขามีโอกาสได้พัฒนาสายจูงสุนัขและเริ่มก่อตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรในที่สุด ถึงแม้ไอเดียของ Tsao จะฟังดูดี แต่ในช่วงแรกที่เริ่มต้นก่อตั้งธุรกิจ เขาบอกว่าผู้คนไม่ได้สนใจในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่เลย แต่หลังจากที่เพื่อนๆ […]

ประกาศออกไปให้โลกรู้ Green Road เปิดรับบริจาคถุงวิบวับ และถุงก๊อบแก๊บจนกว่าจะหมดโลก

“รับบริจาคถุงวิบวับและถุงก๊อบแก๊บจนกว่าจะหมดโลก” โครงการดีๆ จาก Green Road องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่รับบริจาคขยะพลาสติกมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ คืนให้กับสังคม โดยในคราวนี้มาพร้อมแคมเปญใหม่เพื่อเชิญชวนให้ทุกคน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ผ่านการบริจาคขยะพลาสติกจากถุงวิบวับ ทำความเข้าใจกันสักหน่อยเกี่ยวกับ “ถุงวิบวับ” คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ประเภทกาแฟ เครื่องดื่ม ขนม เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ ทำจากฟิล์มพลาสติกจำพวก Nylon, PET, LLDPE ประกบเข้ากับแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ด้วยความร้อน ทำให้มีข้อดีในการป้องกันความชื้น กันแสงแดด และอากาศได้ดี แต่มีข้อเสียที่ใหญ่หลวงคือการนำกลับไปรีไซเคิลยาก เพราะต้องแยกฟิล์มแต่ละชั้นออกจากกันก่อน ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าขยะพลาสติกทั่วไป จนกลายเป็นปัญหาส่งผลให้หลายๆ ที่ไม่รับซื้อหรือรับบริจาคขยะประเภทนี้ไปรีไซเคิล แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ผนวกกับการศึกษาวิจัยและพัฒนาทำให้ทาง Green Road สามารถนำถุงวิบวับ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลร่วมกับถุงก๊อบแก๊บจนนำกลับมาผลิตใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling อาทิโต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น รวมไปถึงผนัง พื้น หลังคาบ้าน เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียน วัด อุทยานแห่งชาติ รวมถึงพื้นที่สาธารณะ นับเป็นการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยที่น่าสนใจ และเราทุกคนก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้อย่างง่ายๆ เพียงเริ่มจากการแยกขยะพลาสติกใกล้ตัว สำหรับท่านที่สนใจบริจาคสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3i3JOgK […]

‘Upcycle’ ผ้าห่มจากพลาสติก ทางออกใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน

‘พิษจาก COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพจิตของพวกเราทุกคนเพียงเท่านั้น’ แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกไม่น้อยเลยทีเดียว New Normal ทำให้ผู้คนหันมาอยู่บ้านมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากความหวาดระแวงไม่อยากพบเจอผู้คน จึงทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อโรค COVID-19 อีกทั้งความนิยมที่พุ่งสูงของบริการ Food Delivery ที่แม้จะทำให้เราสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปริมาณขยะพลาสติกที่สูงขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางความสะดวกสบายกลับส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดเมื่อขยะพลาสติกจำนวนมากจากระบบ Food Delivery และ Online Shopping ส่งผลให้ขยะพลาสติกในกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 ในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัญหาพลาสติกในท้ายที่สุด ปัญหาของขยะพลาสติก ในหนึ่งวันคนกรุงเทพฯ สร้างขยะจำนวนมากถึง 10,500 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 20 หรือ 2,000 ตันต่อวัน แต่หลังจากการเข้ามาของ COVID-19 ทำให้ปริมาณขยะโดยรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับน่ากลัวกว่าที่คิดเพราะถึงแม้ขยะโดยรวมจะลดลง แต่ปริมาณขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นกังวล โดยมีจำนวนขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 ในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ นั่นเป็นเพราะถ้าเทียบกับขยะชนิดอื่นๆ แล้ว ขยะพลาสติกนั้นกำจัดยากกว่าขยะชนิดอื่น เนื่องจากพลาสติกถูกออกแบบมาให้มีความคงทนในการใช้งาน ซึ่งตัวมันเองตอบโจทย์การทำงานอย่างสูง แต่อาจจะดีเกินไปสักหน่อย จนไม่ตอบโจทย์การจัดการสักเท่าไหร่ กลายเป็นข้อเสียที่ใหญ่หลวงเพียงข้อเดียวคือ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.