‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น

ใครจะไปคิดว่าทางเข้าสวนสาธารณะก็สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ประชาชนที่เข้าไปใช้งานได้ด้วย เพราะปกติภาพทางเข้าสวนสาธารณะส่วนใหญ่มักเป็นประตูเหล็กทั่วๆ ไป เพื่อทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้เราเข้าไปเจอพื้นที่สีเขียวด้านใน‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น สวนสาธารณะประชาชนในเซินเจิ้น ที่ต้องการเพิ่มประโยชน์การใช้งานของพื้นที่สวนให้มากขึ้นและเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ได้จัดทำโครงการปรับปรุงพื้นที่โดยเปลี่ยนทางเข้าฝั่งตะวันออกของสวนสาธารณะให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น ผ่านการออกแบบทางเข้าด้านทิศตะวันออกใหม่โดยบริษัทสถาปนิก REFORM ทั้งการปรับปรุงรูปลักษณ์ของทางเข้าสวนให้ดูทันสมัย ขยายพื้นที่บันไดกลางแจ้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเดิน รวมถึงติดตั้งบันไดเลื่อนและลิฟต์ที่จะพาคนทุกเพศทุกวัยเข้าสู่สวนได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงนี้มีแรงบันดาลใจจากดอกกุหลาบภายในสวน ทำให้ออกมาเป็นโครงสร้างหลังคาที่มีส่วนโค้งเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว เส้นโค้งเหล่านี้ยังเป็นการเลี่ยงการรบกวนต้นไม้ใหญ่อีกด้วย ตัวหลังคาที่ลาดเอียงนั้นได้รับการแต่งแต้มสีเขียวจากต้นไม้หลากหลายชนิด ดูกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ รวมไปถึงด้านล่างที่เป็นทางเข้าออกก็ออกแบบให้คล้ายกับถ้ำ ส่วนหลังคานั้นช่วยป้องกันเศษใบไม้ไม่ให้ร่วงใส่บันไดเลื่อน รวมไปถึงป้องกันแสงแดดและฝนให้กับผู้ที่ใช้ทางเข้าสวนสาธารณะแห่งนี้ มากไปกว่านั้น การออกแบบให้คล้ายถ้ำยังทำให้เมื่อลงบันไดเลื่อน ภาพของทิวทัศน์ด้านหน้าจะค่อยๆ กว้างขึ้นจนเห็นวิวทะเลสาบเต็มตาเมื่อลงมาจนสุดทาง เช่นเดียวกันกับเวลาขึ้นไปยังด้านบน ทิวทัศน์จะค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อผ่านโครงสร้างนี้ไปจนถึงพื้นสวน กลายเป็นภาพต้นไม้และหมู่เมฆบนท้องฟ้าที่สวยงาม Sources :Designboom | tinyurl.com/yck3jmvpREFORM | tinyurl.com/wtycuavy

‘Shenzhen Women & Children’s Center’ ศูนย์บริการสตรีและเด็กในเมืองเซินเจิ้นที่ปรับปรุงจากอาคารเก่า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้โลก

อาคารบางแห่งในเมืองใหญ่ก่อสร้างขึ้นในสมัยก่อนตามมาตรฐานอาคารของยุคนั้นๆ ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ตัวโครงสร้างอาคารอาจไม่ตอบโจทย์มาตรฐานอาคารในยุคนี้ ทำให้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นอาคารแห่งใหม่แทน เช่นเดียวกับอาคาร Mixed-use เก่าที่มีอายุกว่า 29 ปี ในย่าน Futian ประเทศจีน ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่เมืองเซินเจิ้นเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อาคารนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสมัยก่อน ทำให้เกิดข้อกังวลด้านความปลอดภัยจนทำให้ร้านค้าภายในอาคารค่อยๆ ปิดตัวลง และถูกทิ้งให้กลายเป็นอาคารที่ว่างเปล่าเป็นเวลานาน เนื่องจากประเทศจีนมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุด (Carbon Peak) ภายในปี 2573 และความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2603 อาคารแห่งนี้จึงเป็นหนึ่งใน 24 ตัวอย่างของการฟื้นฟูโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ และเพื่อเป็นการแก้ไขตัวอาคารที่ไม่ตอบโจทย์เมือง ‘MVRDV’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและชุมชนเมือง จึงวางแผนออกแบบให้อาคารนี้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องรื้อถอนหรือสร้างใหม่ ปัจจุบันอาคารนี้อยู่ในฐานะของ ‘Shenzhen Women & Children’s Center’ โรงแรมและสถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้หญิงและเด็ก ซึ่งภายในประกอบไปด้วยห้องสมุด หอประชุม โรงละครเด็ก Discovery Hall รวมไปถึงห้องบำบัดและสำนักงานสำหรับพนักงาน MVRDV ทำการเปลี่ยนแปลงส่วนด้านหน้าของอาคารด้วยตารางหลากสีที่สามารถลดความร้อนที่เพิ่มขึ้น และติดตั้งแผงที่เปิดได้จากด้านในซึ่งจะช่วยให้มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ เพิ่มความสะดวกสบาย และลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนสีโทนเหลือง ส้ม […]

Shenzhen Nanshan Sky Park เปลี่ยนที่ว่างบนดาดฟ้าสถานีรถไฟเป็นสวนสาธารณะ

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐยอมเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้? Shenzhen Nanshan Sky Park คือสวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งใหม่ในเขตหนานซาน เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่มีอยู่แต่เดิมมาปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ของเมืองอย่างเต็มที่ โครงการนี้ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Crossboundaries เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2018 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานในปี 2021 เป็นโครงการที่เปลี่ยนดาดฟ้าขนาดใหญ่ของอาคารโรงจอดและโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของรัฐให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีความยาว 1.2 กม. และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายกลางแจ้งไว้บริการ เปิดให้ประชาชนเข้ามาออกกำลังกายหรือใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เพราะบนสวนลอยฟ้าแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น เห็นเส้นขอบฟ้าของเมืองเซินเจิ้นเป็นฉากหลัง และมองไปสุดปลายสะพานจะเห็นฮ่องกงอยู่ไม่ไกลนัก เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสะพานเซินเจิ้น-ฮ่องกง  Hao Dong ผู้ร่วมก่อตั้ง Crossboundaries กล่าวว่า “ในประเทศจีนโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมมักจะเป็นของรัฐบาล และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ใช้งานเพื่อสาธารณประโยชน์เลย โดยเฉพาะหลังคาของอาคารแห่งนี้ที่มีศักยภาพมหาศาลในการเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะที่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองโดยรอบสวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” สวนลอยฟ้าแห่งนี้ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะกับคน 3 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป โรงเรียนในละแวกใกล้เคียง และคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา พื้นที่นี้จึงไม่ได้สร้างแค่สวนเปล่าๆ แล้วจบไป แต่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ตั้งแต่สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอลแบบ 5 คน ไปจนถึงสนามเทนนิสระดับมืออาชีพพร้อมที่นั่งสำหรับผู้ชม และเส้นทางวิ่งระยะทาง 1.2 กม. […]

นโยบายเซินเจิ้น เส้นทางแห่งการเป็นเมืองสีเขียว

เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ‘เซินเจิ้น’ พลิกบทบาทตัวเองครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการสร้างมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพื่อสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต

JOYS คาเฟ่ไซซ์มินิแห่งเมืองเซินเจิ้น จิ๋วเพียง 9 ตารางเมตร

พาดูการแปลงโฉมตึกแถวเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่ฮิปไซซ์มินิ ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.