Oreology ศาสต์แห่งโอรีโอ วิศวะ MIT ศึกษาวิธี บิดโอรีโอให้มีครีมเท่ากันทั้งสองฝั่ง

Crystal Owens นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิศวะเครื่องกลที่ MIT กำลังไล่ตามความฝันวัยเด็กที่อยากแบ่งเนื้อครีมให้ได้ปริมาณเท่ากัน ซึ่งการทดลองได้เผยให้เห็นว่า ถึงจะอยู่ในห้องปฏิบัติการก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย.ครีมที่อยู่ในโอรีโอมีสภาพที่ค่อนข้างเหลวและอ่อนจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะบิดให้ออกมาเท่ากัน Owens บอกว่า เธอเคยคิดว่าหากอาศัยการบิดที่สมบูรณ์แบบ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะแยกครีมออกมาให้เท่ากัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือครีมมักจะติดไปกับด้านใดด้านหนึ่งเสมอ.กลุ่มผู้ทดลองได้สร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า Oreometer ซึ่งเป็นการเล่นคำจากเครื่องรีโอมิเตอร์ ผ่านการใช้รีโอมิเตอร์ เครื่องมือสำหรับวัดความหนืดของสารต่างๆ โดยสร้างขึ้นจากเครื่องพิมพ์สามมิติที่ทำงานด้วยการประกบโอรีโอเข้าด้วยกันผ่านแถบยาง ที่ปลายสองด้านจะมีท่อสำหรับใส่เหรียญเพื่อให้ได้น้ำหนักที่สมบูรณ์แบบสำหรับการบิดโอริโอออกจากกัน (วิดีโอประกอบ https://shorturl.asia/YNFxG) ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะจะมีปริมาณครีมที่มากกว่าในคุกกี้ฝั่งหนึ่งเสมอ.“ฉันชอบรสชาติของคุกกี้ที่มีครีมทาไว้ ถ้ากินแต่คุกกี้อย่างเดียวมันจะแห้งเกินไป และถ้าจุ่มนมคุกกี้ก็จะแตกตัวเร็วเกินไปอีก เมื่อได้เข้ามาเรียนที่ MIT ก็ได้เรียนรู้วิธีการใช้รีโอมิเตอร์ในห้องปฏิบัติการซึ่งเดิมทีใช้เพื่อทดสอบหมึกคาร์บอนนาโนทิวบ์ ซึ่งเครื่องพิมพ์สามมิติสร้างความยืดหยุ่นให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจแก้ปัญหาเรื่องโอรีโอที่มีครีมไม่เท่ากันได้”.พวกเขายังทดลองอีกหลายปัจจัยเพื่อให้ครีมออกมาเท่ากันให้ได้ เช่นลองจุ่มนม หรือลองปรับความเร็วในการบิดให้มากขึ้น แต่คำตอบก็ยังเหมือนเดิมคือครีมมักจะไปติดอยู่ที่คุกกี้ชิ้นใดชิ้นหนึ่งมากกว่า ซึ่งนักวิจัยกลุ่มนี้ก็ได้ตัดสินใจยุติการทดลองไว้ก่อนเพื่อเดินหน้าไปไขคำตอบเรื่องอื่น การบิดโอรีโอให้ได้ครีมเท่ากันจึงยังเป็นความลับของจักรวาลอยู่เหมือนเดิม แต่ก็ยินดีให้คนอื่นรับปัญหานี้ไปแก้ต่อด้วยวิธีการของตัวเอง.Sources : CNET VICE

เกล็ดน้ำแข็งในไอศกรีมคือฝันร้าย นักวิทย์ค้นพบวิธีให้ไอศกรีมไม่แข็งกระด้าง อาจต่อยอดไปถึงการขนส่งอวัยวะช่วยชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบอนุภาคนาโนพิเศษในพืช ที่สามารถป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งทำลายรสสัมผัสอันนิ่มนวลของไอศกรีมให้กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง การค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่จะนำไปสู่ไอศกรีมที่อร่อยและอยู่ได้นานมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการทางแพทย์ได้อีกด้วย เช่นการทำให้อวัยวะของผู้บริจาคอยู่ได้นานขึ้นระหว่างการขนส่ง โดยปกติแล้วผลึกน้ำแข็งในไอศกรีมจะมีขนาดเล็กมากจนแทบไม่ส่งผลในการลิ้มรส แต่ถ้าอุณหภูมิของไอศกรีมมีการเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น เช่นระหว่างทางจากร้านขายของชำกลับไปแช่ตู้เย็นที่บ้าน ผลึกเหล่านี้ก็จะละลายแล้วรวมตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ขึ้นจนรู้สึกได้ และหากทิ้งไอศกรีมให้ละลายก่อนนำไปแช่ซ้ำรสสัมผัสก็จะยิ่งแข็งกระด้าง เป็นเกล็ด และแย่ลงมาก เพื่อป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่เหล่านี้ในไอศกรีม ผู้ผลิตจึงใส่สารเพิ่มความหนืดลงไปเพื่อให้ไอศกรีมคงตัวได้นานขึ้น แต่ Tao Wu นักวิทยาศาสตร์การอาหารจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซีบอกว่า สารที่เพิ่มความคงตัวเหล่านี้ไม่ได้ผลเสมอไปเพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่นเวลาในการเก็บรักษาหรือส่วนผสมที่ไม่เท่ากัน ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ได้ ไอเดียของเรื่องนี้คือพืชและสัตว์บางชนิดสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยผลิตโปรตีนต้านการแข็งตัวชนิดพิเศษที่ทำให้ผิวมีทั้งคุณสมบัติในการไล่น้ำและกักเก็บน้ำ ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะจับกับผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้หลอมละลายจนรวมเป็นผลึกขนาดใหญ่ที่จะทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต แต่ถึงโปรตีนชนิดนี้จะป้องกันการแข็งตัวในไอศกรีมได้แต่ก็น่าจะมีราคาแพงเกินไป รวมถึงมีกระบวนการที่ยุ่งยาก Wu ทราบดีว่าผนังเซลล์ของพืชมีอนุภาคที่เรียกว่า เซลลูโลสนาโนคริสตัล ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับโปรตีนต้านการแข็งตัว แต่ราคาถูกและหาได้ง่ายกว่า จึงทดลองเพิ่มอนุภาคดังกล่าวลงในไอศกรีม ซึ่งหลังจากทิ้งไอศกรีมไว้สามชั่วโมงก็พบว่า ผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กในไอศกรีมมีขนาดเท่าเดิม ไม่ได้หลอมละลายมารวมกัน และไอศกรีมยังรับมือกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นได้ดี จึงเกิดเป็นไอเดียของไอศกรีมที่ละลายช้าลงขึ้นมา จากการเปิดเผยของ Wu ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โปรตีนต้านการแข็งตัวในไอศกรีมไม่มีความเป็นพิษ แต่ FDA ยังคงต้องทบทวนก่อนจะอนุญาตให้ใช้ในอาหาร.อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองไปได้ไกลกว่าโลกของขนมหวาน Wu ตั้งข้อสังเกตว่า การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น เช่นการปลูกถ่ายหัวใจที่ต้องดำเนินการภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังอวัยวะถูกนำออกมาจากร่างกายของผู้บริจาค ซึ่งโปรตีนต้านการแข็งตัวจากพืชมีความเป็นไปได้ในการยืดอายุของหัวใจที่ถูกนำออกจากร่างกายให้นานขึ้นได้ระหว่างการขนส่งด้วยอุณหภูมิต่ำ 

หมารู้ภาษา นักวิจัยฮังการียืนยันว่าสุนัขแยกแยะได้เมื่อเราพูดภาษาอื่น

ใครๆ ก็เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘หมาเป็นสัตว์ที่รู้ภาษา’ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบรรดาสุนัขมีความสามารถด้านการแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาต่างๆ ได้จริงๆ ประเด็นนี้อ้างอิงมาจากรายงานของ Vice News ที่เผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยพิสูจน์ว่าสุนัขรับรู้ความแตกต่างทางภาษาของมนุษย์ได้ ซึ่งมีการตีพิมพ์รายละเอียดของการศึกษาทางวารสาร NeuroImage เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และพบว่า “สมองของสุนัขตรวจจับ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบการพูดที่มันคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้ ที่สำคัญยังแยกความแตกต่างระหว่างแต่ละภาษาได้อีกด้วย” ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Eötvös Loránd ในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ได้ทดสอบการประมวลผลทางภาษาผ่านสุนัขจำนวน 18 ตัว สุนัขกลุ่มนี้ได้รับการฝึกฝนให้นอนนิ่งๆ เพื่อถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (fMRI) ลูกสุนัขเหล่านี้ถูกทดสอบด้วยเสียงข้อความที่ตัดตอนมาจากวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Little Prince ในเวอร์ชันภาษาสเปนและฮังการี ซึ่งเป็นภาษาที่บรรดาสุนัขทั้งหมดเคยได้ยินมาจากเจ้าของคนเดียวกัน ทั้งนี้นักวิจัยยังเล่นเสียงแต่ละแทร็กย้อนหลัง เพื่อทดสอบความสามารถของสุนัขต่อการจดจำเสียงพูดที่เป็นธรรมชาติ และเสียงที่มีสัญญาณรบกวน นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษารูปแบบสมองของสุนัขขณะกำลังฟังเพลง พวกเขาสังเกตเห็นว่าบริเวณต่างๆ ในสมองของเหล่าสุนัขสว่างขึ้นเมื่อมีการเล่นเสียงสัญญาณรบกวน และเสียงพูดปกติ และพบรูปแบบสมองที่แตกต่างกันเมื่อมีการเล่นภาษาที่มันคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยด้วย Laura Cuaya ผู้รายงานการศึกษาและนักวิจัยที่ Eötvös Loránd เผยว่าสุนัขเป็นตัวอย่างที่ดีมาก ต่อการนำมันมาทำวิจัยเพื่อหาคำตอบว่าสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ สนใจสิ่งที่คนเรากระทำหรือแสดงออกมาหรือไม่ เพราะพวกมันอาศัยและอยู่ร่วมกับมนุษย์มานานเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว เป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือการทดสอบทักษะที่เรียกว่าการแยกแยะทางภาษา […]

สิงคโปร์ทดลองใช้ Lego ปลูกปะการัง ทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อประหยัดพื้นที่

สิงคโปร์เป็นแหล่งรวมความหลากหลายของสายพันธุ์ปะการังกว่า 1 ใน 3 จาก 800 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมากสำหรับประเทศเล็กๆ แต่ในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ปะการังในสิงคโปร์ลดจำนวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากการถมที่ดินและการพัฒนาชายฝั่งที่ทำให้บ้านของปะการังถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) จึงได้คิดค้นวิธีในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปะการัง ด้วยการทดลองใช้ตัวต่อเลโก้ (Lego) มาใช้เป็นบ้านในการอนุบาลปะการังขนาดเล็กหรือปะการังที่ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการทดลองนำเลโก้มาใช้ในการอนุรักษ์ปะการังเป็นครั้งแรกของโลก  Jani Tanzil หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของโครงการนี้ บอกว่า เลโก้เป็นวัสดุขนาดเล็กที่สามารถปรับแต่งได้ง่าย และยังมีปุ่มที่เหมาะกับการยึดเกาะของปะการัง หากมีปะการังชิ้นใหญ่ก็สามารถนำเลโก้มาต่อเพิ่มเพื่อให้ได้บ้านที่หลังใหญ่ขึ้น ไม่ต่างจากการต่อเลโก้เล่นในชีวิตประจำวัน ที่ถูกออกแบบมาให้ต่อได้หลากหลายรูปทรง โดยนักวิทยาศาสตร์จะดำน้ำเพื่อลงไปเก็บปะการังที่เสียหายออกจากแนวปะการังและตัดชิ้นส่วนออกมาเพาะใหม่บนตัวต่อเลโก้ และนำไปเพาะในอะควาเรียม จากชิ้นส่วนปะการังชิ้นเล็กๆ ก็สามารถเติบโตเป็นช่อใหญ่ได้  เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ และมีพื้นที่จำกัด การจะหาพื้นที่ที่กว้างมากพอเพื่ออนุบาลปะการังเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประชากรส่วนใหญ่ก็ล้วนอยู่อาศัยในตึกสูง การใช้เลโก้ในโครงการนี้จึงช่วยประหยัดพื้นที่ได้มาก เพราะสามารถนำตัวต่อมาห้อยต่อกันเพื่อทำฟาร์มแนวตั้ง (​​Vertical Farming) ได้ ถึงแม้จะไม่ใช่ไอเดียที่ใหม่เท่าไหร่ แต่เมื่อนำมาปรับใช้กับการปลูกปะการังแล้วมันเวิร์กมากๆ เพราะตัวต่อเลโก้กินพื้นที่น้อยและสามารถต่อร้อยกับเชือกให้ยาวขึ้นไปได้เรื่อยๆ และประหยัดพื้นที่ในอะควาเรียมที่พวกเขาใช้เป็นที่ทดลองไปได้เยอะ ซึ่งในขณะนี้กำลังทำการทดลองกันอยู่ที่ St. John’s Island National Marine […]

ง้อด้วย ‘ของหวาน’ ทำไมถึงทำให้หายโกรธ?

จริงๆ แล้วแผนการเอาของหวานมาหลอกล่อให้รู้สึกดีไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกัน เราจึงต่อสายตรงไปคุยกับ ‘คุณหมอปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์’ จากเพจ Theory of love​ ผู้มองเรื่องความสัมพันธ์ของความรัก ผ่านวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อไขข้อสงสัยว่า ทำไมง้อด้วยของอร่อยถึงหายโกรธง่ายทุกทีเลย

เผยโฉมหน้าศัตรูที่มองไม่เห็น ‘Coronavirus’ นักวิทย์ฯ ศึกษาโครงสร้างไวรัสจิ๋วได้อย่างไร ?

ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดหนักไปทั่วโลกในตอนนี้ การเรียนรู้โครงสร้างของไวรัสโคโรน่า รวมถึงศึกษาการทำงานของมันกับเซลส์ในร่างกายเรา จึงเป็นกุญแจสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะนำไปสู่การคิดค้นวัคซีนมาหยุดยั้งการแพร่ระบาดนี้

‘ถ้ามะเร็งหายเหมือนไข้หวัด’ เปิดแล็บวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้หายขาด

จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการรักษา ‘โรคมะเร็งเมล็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ALL’
จากการนำ ‘Synbiotic’ หรือเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ ที่นำมาซึ่งความหวังในอนาคตว่า ‘เทคโนโลยี’ กับ ‘การแพทย์’ จะช่วยให้คนไทยอายุยืนขึ้นได้

อีก 3 ปีข้างหน้า การก่อสร้างโดยใช้หุ่นยนต์และโดรนจะกลายเป็นจริง !

ตึกอาคารในโลกปัจจุบัน มีเทคโนโลยีก่อสร้างที่ล้ำหน้าขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น 3D Printing ที่สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนของบ้าน หรือแม้แต่พิมพ์บ้านทั้งหลัง ไปจนถึงแนวคิดที่จะนำหุ่นยนต์มาสร้างโลกอนาคตก็ดูเป็นจริงขึ้นทุกวัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.