กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

ลาแล้ว สกาลา

ลาแล้วอย่างไม่มีทางหวนกลับ ไม่มีแม้กระทั่งตัวอาคารที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแห่งสยามสแควร์ กระทั่งสยามประเทศ

ร่วมหาคำตอบให้เมืองต่อการมีพื้นที่สาธารณะl ความรู้รอดตัว EP.3 City Class

“ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นแค่เรื่องพื้นที่สาธารณะหรือเปล่า มันเป็นเรื่องของสิทธิที่เราจะมีชีวิตที่ดีในเมืองนี้ ในประเทศนี้” หนึ่งในบทสนทนาจาก ‘คุณยศ – ยศพล บุญสม’ ภูมิสถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฉมา จำกัด ที่ร่วมพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. พนิต ภู่จินดา’ อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน ‘Better Living Room ห้อง-ว่าง-ให้-เล่า’ กับซีรีส์คลาสเรียน ‘ความรู้รอดตัว’ ใน EP นี้เราจะพาไปเจาะลึกถึงแง่มุมต่างๆ ของพื้นที่สาธารณะในเมืองกับหลากหลายคำถาม เช่น การมีพื้นที่สาธารณะที่ดีเมืองจะดีไปด้วยได้อย่างไร, ควรทำอย่างไรเมื่อบางครั้งการสร้างพื้นที่ส่วนรวมลิดรอนสิทธิผู้อยู่อาศัย หรือคนในเมืองจะมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่นั้นได้อย่างไร ร่วมหาทางออกให้กับพื้นที่สาธารณะร่วมกันใน City Class ความเหลื่อมล้ำกับพื้นที่สาธารณะ

เมื่อชาวสถาปนิกชวนชุมชนมาร่วมสร้าง ‘ลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน’ พื้นที่ในฝันที่ทุกคนเป็นผู้ออกแบบ

การจะประกอบสร้างสังคมให้น่าอยู่นั้น สิ่งสำคัญคือต้องวางรากฐานให้ ‘คนและชุมชน’ มีความมั่นคงและแข็งแรง ผ่านการพัฒนาชุมชน และกระบวนการส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น โดยคนในชุมชนเป็นผู้ริเริ่มหรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

สำรวจชีวิตสาธารณะแบบชาวไต้หวันที่ Heping Island Park

Heping Island Park (和平島公園) พื้นที่สาธารณะสำหรับคนทุกเพศทุกวัยในประเทศไต้หวัน ซึ่งผสมผสานทั้งความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสรรสร้าง และสิ่งที่มนุษย์ดัดแปลงตามความต้องการของผู้มาใช้งานอย่างลงตัว

“Utilize The Unutilized Space” ทำพื้นที่ที่ไม่มีใครเหลียวแล ให้กลายเป็นที่รักของคนในชุมชน

Utilize The Unutilized Space ใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้
เปลี่ยนพื้นที่ใต้ทางด่วนในเมืองใหญ่ ให้กลายเป็นลานกีฬาสาธารณะที่ดีต่อใจ ใช้งานได้จริง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.