ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

‘หมาจรและคนคุก’ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชีวิตที่ไม่มีใครต้องการ

เป็นเหมือนกันหรือเปล่า? เวลาดูภาพยนตร์หลายเรื่องที่เกี่ยวกับสุนัข ก็บ่อน้ำตาแตกร้องไห้ตาบวมไปหลายวัน เพราะเจ้าตูบแสดงสมบทบาทซะเหลือเกิน แต่ใครจะรู้ว่านักแสดงนำสี่ขาไม่ได้คัดเฉพาะโปรไฟล์ดีเท่านั้น เพราะยังคัดจากสตอรี่ของน้องอีกด้วย A Dog’s Way Home คือหนึ่งในภาพยนตร์ที่นำอดีตสุนัขจรจัดที่ได้รับการดูแลจากศูนย์พักพิงสัตว์ของรัฐชีตแฮม ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อว่า Shelby มาเป็นนักแสดงหลักของเรื่อง ทำให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นสุนัขจรจัดแต่พวกมันก็มีศักยภาพในตัวเองเช่นกัน  พอหมดรักแล้วก็ทอดทิ้งให้กลายเป็น ‘สุนัขจรจัด’ สุนัขเมื่อแรกเกิดใครเห็นใครก็รัก พอโตขึ้นเขาแก่ลงไม่น่ารักเหมือนเดิมก็ถูกทอดทิ้งกลายเป็นสุนัขไร้บ้าน ลุกลามเป็นปัญหาที่นับวันก็ยิ่งเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่มีการควบคุมและการจัดการที่ถูกต้อง ช่วงที่ผ่านมาเราคงได้ยินข่าวการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในบ้านเราซึ่งปีนี้รุนแรงกว่าปีก่อนๆ ถึง 1.5 เท่า โดยปัญหาสุนัขจรจัดไม่ว่าจะเกิดจากสุนัขหรือคน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งยังมีเรื่องราวของการ Set Zero สุนัขจรจัด ที่หลายคนเริ่มออกมาถกเถียงกันผ่านหลากมุมมอง ซึ่งกระแสของเรื่องนี้ มีทั้งผู้ที่ออกมาเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับความคิดที่สุดโต่ง โดยทางกรุงเทพฯ ของเรามีแนวทางให้ทั้ง 50 เขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด พร้อมทั้งสำรวจจำนวนสุนัขจรจัดในแต่ละพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีคนรับดูแล เป็นสุนัขพลัดหลงตามหาเจ้าของไม่ได้ หรือสุนัขที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ให้จับไปบำบัดพักฟื้นที่ศูนย์ควบคุมสุนัขจรจัดประเวศ เพื่อทำการคัดกรองโรค ฉีดวัคซีน ทำหมันให้เรียบร้อย ส่วนสุนัขที่ไม่ดุร้ายก็นำไปฝึกให้มีระเบียบวินัยมากขึ้น เพื่อรอเจ้าของใหม่ที่พร้อมรับไปดูแลต่อ ซึ่งในส่วนนี้หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน อย่างไรก็ตาม หลายคนรวมถึงเราก็ยังรู้สึกว่า บ้านเราแก้ปัญหาสุนัขจรจัดไม่ได้ดีเท่าที่ควร […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.