PaPa’ Chao Cafe บาริสต้าวัยเกษียณผู้เชื่อว่าธุรกิจคือเรื่องของการแบ่งปัน

แม้ว่ายุคนี้จะมี ‘ร้านกาแฟ’ เปิดใหม่เรื่อยๆ ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแบบสแตนด์อะโลนขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงแฟรนไชส์ของบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เยอะจนหลายคนมองว่าร้านกาแฟเกลื่อนเมืองแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจเครื่องดื่มคาเฟอีนยังคงฮอตฮิตในหมู่ผู้บริโภค และยังเป็นความฝันของใครหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ภาพบรรยากาศคาเฟ่ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของกาแฟ เสียงเครื่องบดที่ดังเป็นระยะๆ บาริสต้ายืนดริปกาแฟอยู่หน้าบาร์ ดูจะเป็นไดนามิกการทำธุรกิจที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ซะเหลือเกิน เพราะเจ้าของร้านกาแฟเปิดใหม่ที่เราเห็นส่วนใหญ่มีอายุราว 25 – 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การทำกาแฟไม่จำกัดอายุ ใครๆ ก็มีคาเฟ่ของตัวเองได้ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยเกษียณ ‘เชา-ชวลิต จริตธรรม’ คืออดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์วัย 66 ปี ที่ผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ชื่อ ‘PaPa’ Chao Cafe’ ในย่านแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ทำเองแทบจะทุกอย่างตั้งแต่ลงทุนทำร้าน คัดสรรเมล็ดกาแฟ บดกาแฟ จนถึงชงเครื่องดื่มส่งตรงถึงมือลูกค้า  แม้ว่าก่อนเกษียณ ชีวิตการทำงานของเชาจะวนเวียนอยู่กับการบริหารคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมาแม้แต่น้อย แต่เพราะความเชื่อว่า ‘คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้’ เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นเจ้าของร้านกาแฟ เขาตั้งใจทำเต็มที่ และทำได้ดีด้วย จนตอนนี้ PaPa’ Chao Cafe มีอายุมากกว่า […]

The Booksmith ร้านหนังสือต่างประเทศที่ทำธุรกิจบนความจริง และพร้อมปรับรับการเปลี่ยนแปลง

ในบรรดาธุรกิจที่พูดแล้วโรแมนติกที่สุด สุนทรีย์ที่สุด ช่างดูมีความหมายต่อชีวิตและสังคม จะไม่มี ‘ธุรกิจร้านหนังสือ’ คงไม่ได้ ทว่าเบื้องหลังภาพโรแมนติกเหล่านั้น หากมองด้วยเลนส์การทำธุรกิจที่ต้องค้าขาย เกิดการซื้อมา-ขายไป คงปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านหนังสือก็คืออาชีพหนึ่งที่ดำรงภายใต้กฎที่ดิน แรงงาน และทุน เหมือนธุรกิจอื่นๆ The Booksmith คือร้านหนังสือต่างประเทศที่ก่อตั้งโดย ‘สิโรตม์ จิระประยูร’ ซึ่งกำลังย่างก้าวสู่ขวบปีสิบปีที่สองของธุรกิจในปีนี้ นั่นแปลว่าเขาทำร้านหนังสือมาแล้วกว่าสิบปี และเชื่อหรือไม่ว่าบริษัทเพิ่งมาขาดทุนก็เมื่อปี 2020 ที่เจอโควิด-19 นี่เอง อาจเพราะเคยมีประสบการณ์การทำงานที่บริษัทเอเซียบุ๊คส์มาอย่างยาวนาน บวกกับการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในแวดวงธุรกิจหนังสือและการอ่านอยู่เสมอ ทำให้สิโรตม์บริหาร The Booksmith มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายอาณาจักรการอ่านจาก The Booksmith ที่เชียงใหม่ไปสู่สาขาที่สอง สาม สี่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศ The Papersmith ที่กรุงเทพฯ ร้าน The Booksmith ที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินเชียงใหม่ ไปจนถึงการคอลแลบกับร้านหนังสือเชนสโตร์และซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ก่อนจะตัดสินใจหยุดทำ เหลือแค่ 4 สาขาแรกที่กล่าวไปเท่านั้น โดยขอปิดทำการร้าน The Papersmith […]

“เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ” ทางฟื้นเชียงดาวด้วยธุรกิจของ จิราวรรณ คำซาว

เราเชื่อว่า ‘ดอยเชียงดาว’ คือสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่หลายคนหลงรักหรือปักหมุดอยากไปเยือนสักครั้ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมไฮไลต์ที่จะพาผู้คนหนีความวุ่นวายในเมือง กลับสู่พื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม ตั้งแต่การเดินป่าสำรวจสิ่งแวดล้อม แวะเข้าถ้ำ ลุยลำธารน้ำตก ไปจนถึงการตื่นเช้าขึ้นดอยไปดูทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตาแบบฟินๆ ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าดอยเชียงดาวไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เมื่อปี 2564 ที่นี่ยังได้รับการยกย่องจากองค์การระดับโลกอย่าง ‘ยูเนสโก (UNESCO)’ ให้เป็น ‘พื้นที่สงวนชีวมณฑล’ แห่งที่ 5 ของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก พิจารณาจากการรักษาระบบนิเวศดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน การฟื้นฟูพื้นที่เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ รวมไปถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ที่มีระบบการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ความโดดเด่นทางธรรมชาติและระบบนิเวศของดอยแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และคนในท้องถิ่นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรให้คนรุ่นต่อไป วันนี้ เรามีนัดพูดคุยกับ ‘มล-จิราวรรณ คำซาว’ อดีตนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญที่เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชนของเชียงดาวผ่านการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมานานกว่า 10 ปี  มลวัย 35 ปี เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี แต่หลังจากเจอปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเคมี เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อกลับบ้านเกิดที่เชียวดาวไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพของตนเองและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน  จากนั้นก็ขยับขยายก่อตั้งบริษัทพัฒนา วิจัย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง ‘CNX Healthy Products’ ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ‘ทุ่งกับดอย’ […]

FYI

รู้ทันการลงทุนอย่างเข้าใจ อย่าให้ต้องกลายเป็น รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้

ปัจจุบันชาวเจนฯ วายเกิดในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เป็นกลุ่มคนที่มีสินทรัพย์มากกว่าวัยอื่น อ้างอิงจากรายงานของ Broadridge ปี 2021 จึงทำให้พวกเขากลายเป็นนักลงทุนที่มาแรงในตลาด ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าถึงการลงทุนทางการเงินมากกว่าเคย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อทุกอย่างเพียงแค่ปลายนิ้ว ทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านออนไลน์และการทำธุรกรรมทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา  เจนฯ วาย เชื่อข้อมูลโลกออนไลน์ทุกสิ่ง ก่อนตัดสินใจซื้อ ผลการสำรวจไลฟ์สไตล์คนเจนฯ วายในประเทศไทยจากหน่วยงาน Economic Intelligence Center ของธนาคารไทยพาณิชย์พบว่า พวกเขามีความชอบของตนเองสูง ไม่ตามกระแสคนหมู่มาก และใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันแทบจะทุกกิจกรรม โดยเฉพาะการพบปะสังคม การติดตาม Influencer ที่สนใจ หรือการศึกษาข้อมูลทุกอย่างในอินเทอร์เน็ตเกือบทุกเรื่อง โดยมาจากคนที่เขาชื่นชอบหรือแหล่งสังคมที่พูดคุยอยู่เป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่คนเจนฯ วายมักจะเชื่อในสิ่งที่เขาพูดและตัดสินใจซื้อของตาม แน่นอนว่าพูดถึงการลงทุนเรื่องเงินๆ ทองๆ เรามักจะได้ยินประโยคว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน” แม้ว่าข้อดีของเทคโนโลยีสมัยนี้ ทำให้พวกเราเข้าถึงข้อมูลและศึกษาความรู้อย่างง่ายดาย กดไม่กี่คลิกก็ขึ้นข่าวสารที่ต้องการมาเป็นแถบ แต่ภัยใกล้ตัวที่คนรุ่นใหม่มักจะคาดไม่ถึง คือการเปิดรับข้อมูลจากกลุ่มคนที่ชื่นชอบเป็นหลักและหลงเชื่อพวกเขาอย่างเต็มใจ  สิ่งที่ต้องระวังมาจากคนเหล่านั้นอาจจะไม่ใช่ผู้ที่รู้ลึกรู้จริงในการลงทุน ทำให้เราได้รับข่าวสารที่ไม่ถูกต้องและเกิดการลงทุนผิดพลาด เราจึงขอแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการลงทุน ช่วยให้ทุกคนตัดสินใจในการลงทุนอย่างรอบคอบมากกว่าเคย 1. แหล่งข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ Investing.com เริ่มต้นแหล่งข้อมูลทางการเงินต่างประเทศ ที่วงการนักลงทุนต้องเข้ามาเยือน […]

FYI

เทรนด์ลงทุนของคนรุ่นใหม่ใช้ digital platform อย่างไร ในชีวิตที่เสี่ยงกับความไม่แน่นอน

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคดิจิทัลเต็มตัว ช่วงที่ทุกคนสามารถทำกิจกรรมทุกอย่างผ่านเทคโนโลยีใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊กไว้ดูหนังฟังเพลง ประชุมงาน ซื้อขายสินค้า หรือแม้กระทั่งการลงทุนได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจนแทบไม่ต้องลุกเดินทางไปไหน ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เติบโตพุ่งกระฉูด สร้างความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมเพียงแค่ปลายนิ้ว ความรวดเร็วในการติดต่อที่ไม่ต้องเสียเวลานาน และการเข้าถึงข้อมูลแสนง่ายดายต่อคนทุกกลุ่ม เจน Y เก่งเทคโนโลยีการลงทุน โดยเฉพาะคนมิลเลนเนียล หรือเจเนอเรชันวาย เกิดในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 ที่ได้รับประโยชน์ทางการเงินมากกว่าวัยอื่น จากรายงานของ Broadridge ปี 2021 พบว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลมีสินทรัพย์มากขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในยุคดิจิทัล และจะเพิ่มอีกสามเท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จากการใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลในการลงทุนทางการเงิน สาเหตุที่เจเนอเรชันวายสนใจใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการลงทุน ต้องขอย้อนความไปตั้งแต่อดีต พวกเขาเกิดมาท่ามกลางในยุคที่มีอินเทอร์เน็ตเข้ากูเกิล พิมพ์เอกสาร ส่งข้อความหากันได้สบายๆ และล้อมรอบด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อมเสิร์ฟ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ทีวี หรือมือถือที่ต้องคลุกคลีทุกวัน ทำให้รู้สึกคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์กับตนเองง่ายดาย ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีที่ใช้เก่ง เรื่องความรู้ก็แน่นไม่แพ้ใคร พวกเขาเติบโตในช่วงที่ได้เห็นบทเรียนต่างๆ จากรุ่นก่อน ตั้งแต่ช่วงวิกฤตทางการเงินล่มสลายไปจนถึงกลับมาฟื้นฟูสุดรุ่งเรือง สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันในการลงทุนครั้งต่อไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น เช่น เดิมคนมักจะพุ่งเป้าลงทุนในสิ่งที่คนอื่นว่าดี เราก็เออออตามไปด้วย […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.