ชวน Gen Z ออกแบบแพ็กเกจจิ้งเพื่อผู้สูงวัยในงาน ‘SCGP Packaging Speak Out 2023’ เปิดรับสมัครผลงานวันนี้ – 7 ก.ย. 66

ปัจจุบันเมืองไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอีกต่อไป เพราะกลุ่มคนที่มีอายุมากขึ้นมักมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  ดังนั้นผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่จึงจำเป็นต้องออกแบบอย่างเข้าใจผู้สูงวัย เพื่อทำให้พวกเขาสามารถใช้สินค้าต่างๆ อย่างสะดวกสบายและมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบรูปลักษณ์ให้เห็นและเข้าใจทันทีว่าคือผลิตภัณฑ์อะไร การออกแบบฉลากให้อ่านและเข้าใจง่าย หรือรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน มีน้ำหนักเหมาะสม และที่สำคัญสามารถเกิดใช้งานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัย เพื่อรวบรวมไอเดียการออกแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับผู้สูงวัยจากคนรุ่นใหม่ ทาง ‘SCGP’ ผู้ให้บริการโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร พร้อมนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทุกความยั่งยืน จึงจัดงาน ‘SCGP Packaging Speak Out 2023’ ซึ่งเป็นการประกวดออกแบบแพ็กเกจจิ้งในหัวข้อ ‘แพคเกจจิ้งเพื่อผู้สูงวัย (Packaging for Seniors)’ ภายใต้แนวคิด ‘Possibilities for the Betterment’ เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ​​โดยแนวคิด Possibilities for the Betterment ที่ว่าจะเป็นการออกแบบแพ็กเกจจิ้งที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงการใช้งานที่ตอบโจทย์และรองรับพฤติกรรมของผู้สูงวัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะร่างกายและการใช้ชีวิต รวมถึงต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วย เพราะทาง SCGP เชื่อว่าเราไม่ได้ออกแบบแค่บรรจุภัณฑ์ แต่เราออกแบบคุณภาพชีวิตด้วย บรรจุภัณฑ์จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น SCGP Packaging Speak Out 2023 เปิดรับผู้สมัครอายุ 17 […]

วิธีลดขยะที่ง่ายเหมือนปอกกล้วย GoneShells บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่สามารถปอกเพื่อกินหรือละลายน้ำได้

หนึ่งสิ่งที่เป็นความท้าทายของการผลิตสินค้าในยุคนี้คือ การคำนึงถึงปัจจัยเรื่องความยั่งยืนและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการรีไซเคิลจะดูเป็นกระบวนการที่ง่ายที่สุดก็ตาม แต่กว่าบรรดาวัสดุจากแพ็กเกจจิ้งจะไปถึงขั้นตอนรีไซเคิลได้ ก็ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ ทั้งการทิ้งขยะให้ถูกประเภท การแกะฉลาก หรือแม้แต่การแยกฝาขวดออก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย เพราะฉะนั้น ถ้ามีขวดหรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้เองโดยที่ไม่ต้องผ่านการรีไซเคิลและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ก็คงจะช่วยให้ผู้คนใช้ชีวิตได้ง่ายกว่าเดิมเยอะ ‘Tomorrow Machine’ สตูดิโอจากสวีเดนจึงร่วมมือกับบริษัทน้ำผลไม้อย่าง ‘Eckes Granini’ และ ‘Brämhults’ ในการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ ‘GoneShells’ ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เพื่อลดภาระการรีไซเคิล รวมไปถึงลดขยะพลาสติกอีกด้วย โดยตัวขวดนี้ทำมาจากมันฝรั่งที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นวัสดุใสคล้ายพลาสติก เมื่อดื่มน้ำผลไม้จนหมด ผู้บริโภคสามารถกำจัดขวดได้ด้วยการละลายน้ำทิ้งหรือจะกินเลยก็ได้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของพืชผักและผลไม้ เช่น มันฝรั่ง ส้ม และกล้วย ที่ต้องปอกเปลือกภายนอกออกก่อนจึงจะกินได้ และไม่ต้องเป็นห่วงว่าขวดที่บรรจุน้ำและโดนน้ำจะทำการย่อยสลายตัวเองทันที เพราะขวดจะพร้อมเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายก็ต่อเมื่อปอกเปลือกหรือทำการลอกบรรจุภัณฑ์ออกเหมือนเวลาแกะเปลือกส้มและนำไปแช่ไว้ในน้ำ จากนั้นปฏิกิริยาตามธรรมชาติจะเริ่มทำให้ขวดค่อยๆ ละลายและหายไปได้เอง Sources :DesignTAXI | bit.ly/3YU1XQNDieLine | bit.ly/3IgOTOmGoneShells | goneshells.com

Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

Bruk ดีไซน์กล่องนมรีไซเคิลง่าย เพียงฉีกตรงกลาง ก็ลดขั้นตอนแยกขยะ

ขยะกล่องนมเป็นขยะที่มีปริมาณมหาศาลมากในแต่ละวัน ซึ่งการจัดการขยะประเภทนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ‘บรรจุภัณฑ์กระดาษ’ จริงๆ แล้วมีทั้งพลาสติกและอะลูมิเนียมเคลือบอยู่ข้างใน ซึ่งไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลง่ายอย่างที่คิดเลย  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยพยายามจะแยกขยะกล่องนมด้วยตัวเอง คงรู้ว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายไม่ใช่ง่ายๆ ถ้าจะให้กล่องนมรีไซเคิลได้หลังจากดื่มแล้วต้องนำไปล้าง ตาก และลอกพลาสติกออก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คนไม่อยากแยกขยะ และทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไม่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างที่เคลมไว้ Pushan Panda ดีไซเนอร์จากซานฟรานซิสโกผู้เป็นเจ้าของดีไซน์เจ้ากล่อง Bruk มองเห็นปัญหานี้ จึงอยากหาวิธีในการช่วยลดขั้นตอนการแยกขยะก่อนนำไปรีไซเคิล ด้วยการออกแบบกล่องนมขึ้นมาใหม่ ที่ใช้แค่นิ้วฉีกตรงกลางกล่องก็แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกันได้ง่ายๆ แค่นำพลาสติกข้างในไปล้าง แล้วทิ้งลงถังแยกขยะก็นำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายขึ้น  หลายคนอาจจะคิดว่ากล่องบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านี้ยังไงก็เป็นกระดาษอยู่แล้ว ต้องรีไซเคิลได้สิ แต่จริงๆ แล้วกล่องนม น้ำผลไม้ ซอสมะเขือเทศ แม้จะทำจากกระดาษเป็นหลักแต่ภายในกล่องจะมีชั้นบางๆ ของพลาสติกหรืออะลูมิเนียมอยู่ ต่างจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้ว โลหะ หรือพลาสติกที่รีไซเคิลง่ายกว่ามาก เพราะไม่ต้องแยกส่วนประกอบหลายชั้น  Panda เล่าว่า “กระบวนการรีไซเคิลที่แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกัน เป็นกระบวนการพิเศษที่ทั้งแพงและหายาก ทำให้กล่องเครื่องดื่มในสหรัฐอเมริกาถูกรีไซเคิลไปแค่ 16% เท่านั้น ส่วนในยุโรปมีเพียง 49% ดีไซน์กล่อง Bruk จึงออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาต้องรีไซเคิล ผู้บริโภคเพียงแค่ฉีกรอยประระหว่างฝาขวดนม HDPE ออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้แยกกระดาษแข็งออกจากพลาสติกได้” นอกจากจะรีไซเคิลง่ายแล้ว Panda […]

ปิ่นโตจากเปลือกโกโก้และใยธรรมชาติ จากฝีมือนักออกแบบชาวลอนดอนที่อยากให้ขยะพลาสติกให้หมดไป

สตูดิโอดีไซน์จากลอนดอน PriestmanGoode หยิบเปลือกโกโก้มาแปลงร่างเป็น ‘ปิ่นโต’ ที่ช่วยลดขยะภาชนะจากฟู้ดเดลิเวอรี

GARUNA ร้านวินเทจที่หยิบของสะสมมาห่อด้วยมือ

‘ร้านกรุณา’ แพ็กเกจจิงแฮนด์เมดที่ลูกค้าตั้งตารอจะได้เห็น บางครั้ง ‘คุณแจง’ มักจะขีดเขียน วาดภาพ พับกระดาษ หรือหาวัสดุที่อยู่ในห้องของตัวเองที่พอใช้เป็นหีบห่อได้ ส่งต่อให้ลูกค้าเพื่อนำไปตกแต่งบ้าน จนบางคนนำไปห่อของขวัญให้เพื่อนต่ออีกครั้งหนึ่งได้ คุณแจงเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นคนรักและชื่นชอบการเดินช้อปปิงเหมือนผู้หญิงทั่วไป เวลาอยู่ไทยหรือไปต่างประเทศก็มักสังเกต หากตัวเองชอบจะซื้อมาเก็บไว้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นเป็นของที่ใช้งานได้จริง แม้ร้านจะส่งต่อของที่ใครต่อใครมักเรียกว่ามือสอง แต่สำหรับร้านกรุณานั้นเป็นสินค้ามือสองที่สภาพดี แถมแพ็กเกจจิงที่ทำด้วยมือทุกชิ้นนั้น ลูกค้าบางคนแทบจะไม่อยากแกะเลยล่ะ ร้านเปิดอวดโฉมให้คนเข้ามาจับจองเป็นเจ้าของกว่า 6 ปีแล้ว อีกทั้งลงมือทำแพ็กเกจเองเสมอมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพื้นฐานพี่แจงทำอาชีพกราฟิกดีไซเนอร์ บวกกับชอบประดิดประดอย สินค้าที่ขายออกไปจึงมีความพิเศษกว่าร้านอื่นๆ พี่แจงบอกว่า “พยายามออกแบบแพ็กเกจให้ทุกคนเท่ากันหมด แต่ขึ้นอยู่กับสินค้าของที่ต้องห่อด้วย” เพราะแบบนี้นี่เอง ทรงและรูปแบบของแพ็กเกจจิงจึงแทบจะไม่ซ้ำกันเลย อย่างที่เราเห็นอยู่นี้คือถุงพลาสติกตาข่ายที่มักจะมากับผลไม้ในห้างสรรพสินค้าหรือตลาดสดที่พี่แจงออกไปซื้อมาติดบ้านไว้ และรู้สึกว่ามันสามารถเก็บไว้ได้อยู่ น่าจะมีโอกาสหยิบมาใช้ได้เรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ใช้ครั้งเดียวและทิ้ง จึงเลือกนำมาเป็นแพ็กเกจจิงส่งต่อให้ลูกค้าพร้อมติดโบน่ารักๆ ให้สินค้าดูจับต้องและเข้าถึงง่าย การเดินทางกว่า 6 ปี ของร้านกรุณา พี่แจงเล่าว่ามันเป็นความสุขและสนุกที่ได้ลงมือทำทุกครั้ง จึงกลายเป็นงานอดิเรกที่สามารถสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่งแม้จะไม่มากนัก เพราะของในร้านพี่แจงตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะไม่ขายแพง ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 100 บาท เป็นต้นไป และแต่ละอย่างมีเพียง 1 – 2 ชิ้นเท่านั้น โดยของที่ขายจะสลับสับเปลี่ยนกันไป ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.