‘Resting Reef Pet Memorials’ มอบชีวิตใหม่ให้สัตว์เลี้ยงที่กลับดาวไปแล้ว ด้วยการเป็นแนวปะการังเพื่อรักษาชีวิตสัตว์น้ำต่อไป

ปกติแล้วเวลาสัตว์เลี้ยงของเรากลับดาว หลายคนมักเลือกที่จะฝังน้องๆ เอาไว้บริเวณบ้าน หรือนำไปประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อส่งเด็กๆ ที่เราเคยดูแลไปใช้ชีวิตในอีกโลก แต่ในอีกทางหนึ่ง ชีวิตที่จากไปยังสามารถช่วยรักษาชีวิตอื่นๆ ด้วยการเปลี่ยนเถ้ากระดูกของสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นให้กลายเป็นแนวปะการัง ทำหน้าที่เป็นบ้านให้สัตว์ทะเลต่อไป เนื่องจากกิจกรรมและการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ทำให้จำนวนปะการังลดลงมาก รวมถึงแนวปะการังเองก็ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญหายไป โดยปะการังมีหน้าที่เป็นทั้งแหล่งอาหาร ที่วางไข่ และที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ทะเล หากในอนาคตปะการังลดลงจนหมดไปย่อมส่งผลกระทบต่อจำนวนสัตว์น้ำในธรรมชาติด้วยแน่นอน ‘Resting Reef’ บริษัทสตาร์ทอัพที่เน้นการออกแบบอย่างยั่งยืน ได้มองหาวิธีการฟื้นฟูแนวปะการังเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลให้ยังคงเติบโตต่อไปได้ ด้วยการสร้าง ‘แนวปะการังอนุสรณ์สถานสัตว์เลี้ยง’ หวังนำไปใช้แทนปะการัง โดยอนุสรณ์สถานสัตว์เลี้ยงนี้ไม่ใช่แค่การทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงสัตว์เลี้ยงที่จากไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่สิ่งนี้ยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลให้ดีขึ้นอีกด้วย ทาง Resting Reef จึงใช้เทคโนโลยีสร้างโครงสร้างแนวปะการังเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อรองรับการใช้งานของสัตว์ทะเลต่างๆ ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแนวปะการังนี้มีส่วนผสมของเปลือกหอยบดละเอียดและเถ้ากระดูกของสัตว์เลี้ยงที่กลับดาวไปแล้ว ข้อดีของแนวปะการังอนุสรณ์สถานนี้คือ สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ และคาดว่าจะดักจับ CO2 ช่วยฟื้นฟูชีวิตทางทะเล และปกป้องแนวชายฝั่งจากผลกระทบของการกัดเซาะและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ด้วยเช่นเดียวกัน ระยะแรกของการสร้างแนวปะการังจะเริ่มในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 ที่อ่าวเทียนยาร์และหมู่บ้านตูลัมเบน ทางตอนเหนือของเกาะบาหลี เพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากการทำประมงและเหมืองปะการังที่ไม่ยั่งยืนมาเป็นเวลานาน ซึ่งนอกจากจะให้ความสำคัญกับธรรมชาติแล้ว การทำแนวปะการังอนุสรณ์สถานสัตว์เลี้ยงยังเป็นฝีมือของคนในท้องถิ่น โปรเจกต์นี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับชาวบ้านด้วย หากใครอยากมอบชีวิตครั้งใหม่ให้สัตว์เลี้ยงเพื่อสร้างประโยชน์กับโลก เข้าไปจองแนวปะการังกันได้ที่ pets.restingreef.co.uk/product/memorial-reef ก่อนส่งมอบเถ้ากระดูกของเด็กๆ ให้กับทีมงาน เพื่อนำไปประกอบเป็นโครงสร้างแนวปะการังกันที่บาหลี และรอระยะเวลาที่เหมาะสมแล้วถึงนำไปวางไว้ในมหาสมุทรได้ ทั้งนี้ […]

จุดชมฉลาม ‘Pusaran Ocean Deck’ ระเบียงลอยน้ำสร้างจากไม้รีไซเคิล เป็นมิตรกับทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม

เมื่อธรรมชาติถูกใช้งานเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเสียหายทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสธรรมชาติด้วยตัวเอง ทางสตูดิโอออกแบบจากอินโดนีเซีย RAD+ar Studio ได้ทำโปรเจกต์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การออกแบบที่เรียบง่ายและยั่งยืนก็สร้างความรู้และความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวได้ เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นโครงการแรกกันที่ระเบียงลอยน้ำ ‘Pusaran Ocean Deck’ บนเกาะส่วนตัวในหมู่เกาะ Karimun Jawa เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายจุดชมฉลามที่มีอยู่ให้เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และมอบประสบการณ์ต่างๆ โดยยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนทางธรรมชาติด้วย แม้จะสร้างขึ้นบนฐานของสระชมฉลามที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นการทดลองสร้างพื้นที่ที่ยั่งยืนในมหาสมุทร จึงต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้น้ำด้วย โดยวัสดุที่นำมาใช้เป็นไม้ท้องถิ่นรีไซเคิลที่มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคอนกรีตที่คนมักนำมาใช้กัน โครงสร้างไม้นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหมุนวนจากพื้นระเบียง และขยายตัวออกไปในรูปแบบทแยงมุม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนบังแดดและกันลมให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยเราสามารถเดินออกไปยังจุดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะในพื้นที่ของ Pusaran นั้นนอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้ว ยังมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลากหลายระดับ เพื่อเป็นการลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดำน้ำ กีฬาทางน้ำ อาบแดด หรือพื้นที่ละหมาดบนดาดฟ้า โดยเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งการศึกษา ความบันเทิง ไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศปะการังธรรมชาติ Pusaran ยังมีการจัดพื้นที่สำหรับปะการังที่เพิ่งปลูกและกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดขวางการเติบโตของเหล่าปะการังด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/yzfxe4njRAD+ar | tinyurl.com/3dm86hp5

‘Dubai Reefs’ โครงการฟื้นฟูมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อการวิจัย ฟื้นฟู และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

มหาสมุทรอาจดูเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่กว้างใหญ่ จนเราไม่สามารถดูแลและปกป้องได้อย่างเต็มที่ แต่หากยังปล่อยให้การดำเนินชีวิตและการท่องเที่ยวทำร้ายแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่เรื่อยๆ ก็ถือเป็นการเร่งความเสียหายให้กับธรรมชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตก็ได้ ทาง ‘URB’ ผู้พัฒนา Net Zero Sustainable Cities ได้ออกแบบ ‘Dubai Reefs’ โครงการฟื้นฟูมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในเมือง Emirati ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยสร้างเป็นชุมชนลอยน้ำที่ยั่งยืนสำหรับการวิจัยทางทะเล การฟื้นฟู และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่วางเป้าหมายว่าจะสร้างงานได้มากกว่า 30,000 ตำแหน่งในระบบเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงที่อยู่อาศัย การท่องเที่ยว การค้าปลีก การศึกษาและการวิจัย หลักสำคัญของโครงการ Dubai Reefs คือสถาบันทางทะเลที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลและความสามารถในการอนุรักษ์ของดูไบ ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างแนวปะการังเทียมที่มีความยาวครอบคลุมพื้นที่ 200 ตารางกิโลเมตร และยังมีแผนสร้างบ้านของปะการังมากกว่า 1 พันล้านต้นและต้นโกงกางมากกว่า 100 ล้านต้นด้วย นอกจากงานวิจัยและการอนุรักษ์แล้ว โครงการ Dubai Reefs ยังจะเปิดเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเลเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้มาเยือน โดยจะมีที่พักลอยน้ำเชิงนิเวศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดจากพลังงานแสงอาทิตย์และไฟฟ้าพลังงานน้ำ เป้าหมายหลักของ Dubai Reefs คือการเปลี่ยนเมืองให้เป็นจุดหมายปลายทางเชิงนิเวศ ที่มหาสมุทรและภูมิทัศน์ต่างๆ สามารถเติบโตอย่างสมดุลไปพร้อมๆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.