ประติมากรรม ‘LOV’ ที่ไม่สมบูรณ์ งานศิลปะที่สื่อถึงความรักแบบไร้ Ego ใจกลาง Union Square ในแมนแฮตตัน

นอกจาก ‘I ♥︎ NY’ หรือ ‘We ♥︎ NY’ ที่พบเจอได้ทั่วไปในนิวยอร์กแล้ว ตอนนี้ในเมืองก็มีงานประติมากรรม ‘LOV’ ใน Union Square Park ที่เชิญชวนให้ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาได้ถกเถียงและแสดงความเห็นต่องานศิลปะแห่งความรักที่ไม่สมบูรณ์แบบชิ้นนี้ Love – Ego = LOV เป็นผลงานของ ‘Pasha Radetzki’ ที่ได้รับการคัดเลือกจาก NYC Parks และ Union Square Partnership เพื่อนำมาจัดแสดงภายใต้โครงการ Unity on Union Square ของ Union Square ผลงานนี้ทำขึ้นจากไม้อัดที่แต่งแต้มสีสันโดดเด่น สร้างชีวิตชีวาให้กับบริเวณรอบข้าง ประกอบด้วยตัว ‘L’ สีเขียว ‘O’ สีเหลือง และ ‘V’ สีชมพู วางเรียงกันเป็นคำว่า ‘LOV’ ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นคำที่ไม่สมบูรณ์ แต่ทุกคนก็เข้าใจได้ว่าหมายความว่าอะไร คำว่า LOVE […]

ย้อนดูที่มา ‘I ♥︎ NY’ กว่าจะมาเป็นโลโก้สุดเรียบง่ายจากแคมเปญโฆษณา ที่กลายเป็นสัญลักษณ์อันแข็งแกร่งของนิวยอร์ก

หลังจากที่มีการเปลี่ยนป้ายกรุงเทพมหานครไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นบนโซเชียลมีเดียกันเป็นวงกว้างว่า การสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นภาพจำของเมืองนั้นต้องมีความโดดเด่นหรือความพิเศษอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ทำเอาเรานึกถึงโลโก้ ‘I ♥︎ NY’ ที่สกรีนอยู่บนเสื้อยืด แก้วน้ำ ทำเป็นพวงกุญแจ ของที่ระลึก หรือบนโฆษณาการตลาดต่างๆ ซึ่งไม่ว่าใครก็ต้องรู้จัก และต้องยอมรับว่าเมื่อเห็นสัญลักษณ์นี้ก็รู้ได้ทันทีว่าหมายถึงที่ไหน I ♥︎ NY เป็นกราฟิกที่สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อปี 1977 โดย Milton Glaser นักออกแบบชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญโฆษณาการท่องเที่ยวนิวยอร์กของเอเจนซีโฆษณา Wells Rich Greene ที่ทำขึ้นเพื่อต้องการลบภาพเมืองอาชญากรรมและความยากลำบากในยุคนั้นออกไป โดยถือได้ว่าเป็นตัวอย่างแรกๆ ที่แทนคำว่ารักด้วยสัญลักษณ์รูปหัวใจ แม้ว่าจะเป็นแคมเปญโฆษณาที่ตั้งใจสื่อสารออกไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ด้วยความเรียบง่ายและน่าจดจำของโลโก้ กลับกลายเป็นภาพลักษณ์ที่สื่อถึงนิวยอร์กมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ I ♥︎ NY กลายเป็นต้นแบบที่ทำให้เราได้เห็นโลโก้ I ♥︎ และข้อความอื่นๆ ตามมาจากแบรนด์ องค์กร หรือสื่อต่างๆ ทั่วโลกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงจะเป็นโลโก้แห่งภาพจำอันดับต้นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะต้องใช้ในรูปแบบเดิมเสมอไป เพราะเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลท้องถิ่นนิวยอร์กได้มีการนำโลโก้นี้มาอัปเดตและปรับปรุงให้มีความทันสมัย ดูขี้เล่นมากขึ้นในแคมเปญ We ♥︎ […]

Portland Loos ห้องน้ำกึ่งสำเร็จรูปในเมืองนิวยอร์ก ลดเวลาการก่อสร้างและค่าใช้จ่าย เพิ่มพื้นที่ห้องน้ำในเมือง

หากพูดถึงเมืองนิวยอร์ก คงจะลืมเซ็นทรัลพาร์กไปไม่ได้ เพราะเป็นแลนด์มาร์กสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เปิดต้อนรับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะมาใช้เป็นพื้นที่ออกกำลังกาย ปิกนิก หรือพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้ารอบตัว แต่สิ่งหนึ่งที่สวนแห่งนี้ยังขาดไปคือห้องน้ำสาธารณะ ล่าสุดกรมอุทยานและนันทนาการได้ทำการทดสอบห้องน้ำแบบกึ่งสำเร็จรูป หรือห้องน้ำแบบโมดูลาร์ที่เรียกว่า Portland Loos โดยติดตั้งในโลเคชันห้าแห่งทั่วเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเปิดตัวใช้งานไปแล้วในเมืองซีแอตเทิล บอสตัน และพอร์ตแลนด์ ห้องน้ำ Portland Loos มีลักษณะคล้ายกับซุ้มขายหนังสือพิมพ์แบบโค้ง รอบข้างเป็นระแนงสเตนเลส และติดตั้งแผ่นโลหะในห้องน้ำแต่ละห้องเพื่อให้ความเป็นส่วนตัวในการทำธุระ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมองเห็นได้ชัดเจนเพื่อป้องกันพฤติกรรมผิดกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นภายใน ถึงแม้หน้าตาจะดูธรรมดา แต่ภายในห้องน้ำนี้ประกอบด้วยโถส้วม โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และจุดล้างมือ สนนราคาที่ประมาณ 185,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.5 ล้านบาท) โดยโครงการนำร่องจะจัดวางห้องน้ำเหล่านี้ไว้ในสวนสาธารณะและพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่น Irving Square ในย่าน Bushwick, Thomas Jefferson Park ในย่าน East Harlem เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โฆษกประจำกรมอุทยานฯ ได้บอกกับสาธารณชนว่า โปรเจกต์การติดตั้ง Portland Loos นี้เป็นการนำร่องเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการใช้ห้องน้ำแบบโมดูลาร์มากขึ้นในอนาคต เพราะเป็นทางเลือกที่มีราคาย่อมเยาและสะดวกกว่าการสร้างห้องน้ำถาวรในสวนสาธารณะ Sources :DesignTAXI […]

Adams Street Library ห้องสมุดสาธารณะในพื้นที่โรงงานตอร์ปิโดเก่า ที่ผสมผสานความเก่าและใหม่ไว้อย่างลงตัว

หากไม่ทุบทิ้ง อาคารเก่าคงถูกปล่อยทิ้งไว้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ Work Architecture Company หรือ WORKac สตูดิโอในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เลือกที่จะปรับปรุงอดีตโรงงานเก่าให้กลายเป็น Adams Street Library ห้องสมุดสาธารณะที่ไม่ว่าใครก็เข้ามาใช้บริการได้ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ย่าน Dumbo ในอาคารสูงหลังหนึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานผลิตตอร์ปิโดและโรงงานรีไซเคิล แต่ปัจจุบันกลายเป็นอะพาร์ตเมนต์ พื้นที่เชิงพาณิชย์ และห้องสมุดขนาด 604 ตารางเมตรที่ชั้นล่างสุดของอาคาร ภายใน Adams Street Library ยังคงมีส่วนประกอบของโครงสร้างเดิมที่ผสมผสานกับความร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นกำแพงอิฐเดิม เพดานไม้เก่า การจัดพื้นที่รอบๆ โถงกลางด้วยผนังประติมากรรมที่ทำจากไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่นปานกลางที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงไม้ธรรมชาติและวีเนียร์ไม้เมเปิล ตู้เปิดโค้งและซอกสำหรับเก็บหนังสือ รวมถึงที่จอดรถสำหรับรถเข็นเด็ก ทั้งยังเพิ่มความสว่างภายในห้องสมุดด้วยการเปิดรับแสงธรรมชาติ และทำให้ผู้ใช้บริการมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบด้วยหน้าต่างสูงกว่า 4.6 เมตร เท่านั้นไม่พอ โถงกลางด้านในยังปรับให้เป็นพื้นที่สีส้มสดใสสำหรับเด็ก มีขั้นบันไดให้นั่งเล่นและพื้นที่สำหรับเล่านิทาน โดยมีการยกระดับพื้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เด็กๆ ชมวิวแม่น้ำและท้องฟ้าของเมืองแมนแฮตตันได้ นอกเหนือจากโถงกลางแล้ว ยังมีพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการวัยรุ่นและผู้ใหญ่ พื้นที่อ่านหนังสือแบบเปิดที่มีโต๊ะพร้อมที่ชาร์จในตัว ห้องอเนกประสงค์ 2 ห้องที่ประกอบด้วยกระดานไวต์บอร์ด เก้าอี้วางซ้อนได้ โต๊ะพับได้ รวมถึงครัวขนาดเล็กด้วย ทางทีมผู้ออกแบบกล่าวว่า […]

กลับบ้านอย่างอุ่นใจกับ Safe Walks NYC บริการเดินกลับบ้านเป็นเพื่อนในนิวยอร์กซิตี้ ช่วยปกป้องผู้คนจากเหตุทำร้ายร่างกาย

ในปี 2021 นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีรายงานเหตุทำร้ายร่างกายในที่สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะความรุนแรงต่อสตรี ผู้สูงอายุ และชาวเอเชีย เมื่อการเดินทางในเมืองใหญ่ไม่ปลอดภัยและน่ากังวลกว่าเดิม บริการ ‘Safe Walks NYC’ จึงเกิดขึ้น เพื่อปกป้องผู้คนจากเหตุทำร้ายร่างกาย ชิงทรัพย์ การทำอนาจาร รวมถึงอาชญากรรมอื่นๆ Safe Walks NYC คือบริการโดยเครือข่ายอาสาสมัครในนครนิวยอร์ก ที่จะพาชาวนิวยอร์กเดินกลับบ้านหรือเดินไปส่งจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย สำหรับขั้นตอนการขออาสาสมัคร ผู้ใช้บริการต้องเข้าไปกรอกรายละเอียด เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ วันและเวลานัดพบ สถานที่นัดพบ และจุดหมายปลายทาง ใน Google Form ของ Safe Walks NYC ล่วงหน้าอย่างน้อย 40 นาที หลังจากนั้นเครือข่ายจะส่งอาสาสมัครมาเดินกลับบ้านเป็นเพื่อนคุณ เหมาะกับคนที่อยากอุ่นใจมากขึ้น เมื่อต้องเดินผ่านถนนเปลี่ยวหรือเดินทางช่วงกลางคืน เครือข่าย Safe Walks NYC เกิดขึ้นในย่านบุชวิก เขตบรูกลิน ของนครนิวยอร์ก เมื่อมกราคมปี 2021 Peter Kerre […]

Central Park เปิด Climate Lab เก็บข้อมูลศึกษาธรรมชาติในสวนฯ เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง

สวนสาธารณะชื่อดังแห่งนิวยอร์ก กำลังเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง  หลังจากที่เฮอริเคนไอดาพัดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมาจนมีปริมาณน้ำฝน 3.5 นิ้ว และสูงเป็นประวัติการณ์ใน Central Park จนเอ่อท่วมร้านอาหาร Boathouse ที่มีชื่อเสียง และสร้างความเสียหายให้ต้นไม้กว่า 50 ต้น Norman Selby สมาชิกของ Central Park Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลสวนสาธารณะแห่งนี้ ก็รู้ทันทีว่าถึงเวลาต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง วิธีแก้ปัญหาของเขาคือการจัดตั้ง Central Park Climate Lab ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเรื่องสัตว์ป่า พืชพรรณ และดินนับหลายสิบปีที่ Central Park Conservancy ให้เป็นประโยชน์ในอีกทางหนึ่ง เขาจึงบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น และเดินหน้าระดมทุนต่อเนื่อง ซึ่งต้องการเงินราว 4 – 5 ล้านดอลลาร์ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายของห้องทดลองในอีก 3 ปีข้างหน้า  ห้องปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับแบ่งปันข้อมูลที่จะช่วยปกป้องพื้นที่สีเขียวให้กับสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ทั่วโลก และยังใช้เครื่องมือที่ช่วยในการระบุตำแหน่งในการเลือกฟื้นฟูสภาพป่า และแนะนำวิธีการปลูกพืชให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เมืองต่างๆ ทั่วโลก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงที่สุด และช่วยลดความร้อนในพื้นที่สวน  “โครงการนี้อาจจะช่วยเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้โลกเห็น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.