‘Library in the Chrysanthemum Field’ อาคารอเนกประสงค์ท่ามกลางทุ่งดอกเบญจมาศ รองรับทั้งการเป็นห้องสมุด เวิร์กช็อป และที่เก็บอุปกรณ์

ห้องสมุดหรือ Co-working Space ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้คน ซึ่งบางครั้งเราเองก็คงอยากพักสายตาด้วยการมองวิวทิวทัศน์จากธรรมชาติกันบ้าง ถ้ามีสถานที่ลักษณะนี้ที่ห้อมล้อมไปด้วยสีเขียวขจีให้ใช้งานคงดีไม่น้อย ‘Library in the Chrysanthemum Field’ ตั้งอยู่ในสวนดอกเบญจมาศที่เชิงเขาหยุนไถ ประเทศจีน โดยสถาปนิกของ Atelier Xi ได้รับโจทย์ในการออกแบบอาคารอเนกประสงค์นี้สำหรับใช้งานในชุมชน เพื่อเป็นสถานที่รองรับการอ่านหนังสือ การชิมชาเก๊กฮวย การแสดงดนตรีขนาดเล็ก เวิร์กช็อปเพื่อการศึกษา พร้อมกับเป็นที่จัดเก็บเครื่องมือทางการเกษตร เพื่อไม่ให้อาคารนี้รบกวนวิวทุ่งดอกไม้ สถาปนิกจึงแบ่งอาคารออกเป็น 5 ส่วน และจัดวางให้ออกมาในลักษณะคล้ายกับหมู่บ้านขนาดเล็ก โดยแต่ละตึกนั้นจะเชื่อมต่อถึงกันและหันหน้าออกไปคนละทาง นอกจากจะไม่ทำลายภาพทุ่งดอกไม้แล้ว ยังช่วยเปิดรับภาพทิวทัศน์ได้จากทุกทิศทาง ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็สัมผัสกับธรรมชาติได้ทุกมุมมอง ส่วนผนังด้านในอาคารนั้นก็ประกอบขึ้นจากไม้ในท้องถิ่น ให้โทนสีที่อบอุ่นสบายตา แต่หากดูจากมุมมองภายนอกจะเหมือนประติมากรรมกลางทุ่งดอกไม้ ด้วยสีขาวของตัวอาคารสไตล์มินิมอลตัดกับสีเหลืองและสีเขียวของธรรมชาติ ทำให้ดูโดดเด่น สวยงาม แต่ไม่ขัดสายตา Sources :ArchDaily | tinyurl.com/yckhf2uuAtelier Xi | tinyurl.com/2s436r92

‘Biblio-dis-theque’ ห้องสมุดในรูปแบบรถเข็นเคลื่อนที่ ที่อยากให้เด็กในชุมชนเข้าถึงการอ่าน

ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทาง Urban Creature ได้มีโอกาสไปเดินเล่นในงาน ‘Placemaking Week 2023’ สัปดาห์การออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่ที่จัดขึ้นใน 5 ย่านของกรุงเทพฯ และไปสะดุดตากับ ‘Biblio-dis-theque’ ห้องสมุดเคลื่อนที่หน้าตาคล้ายกับรถเข็นผลไม้คันเล็กๆ ที่มีหนังสือจำนวนมากและของเล่นอัดแน่นอยู่ด้านใน รอให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาหยิบขึ้นมาอ่านมาเล่นกัน Biblio-dis-theque เป็นไอเดียที่ได้รับรางวัลจากทาง USL Town Hall ที่ ‘เกฟ-วิรากานต์ ระคำมา’ หนึ่งในทีมงานของ ‘Urban Studies Lab (USL)’ นำเสนอ ก่อนจะนำมาทดลองใช้งานจริงในย่านนางเลิ้งที่งาน Placemaking Week 2023 เมื่อวันที่ 20 – 29 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยภายในงานนั้นรถเข็นจะไปจอดอยู่สองจุดคือ หน้าบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีและในโรงเรียนสตรีจุลนาค เกฟบอกกับเราว่า จุดประสงค์ของการออกแบบห้องสมุดแห่งนี้เกิดขึ้นมาจากประสบการณ์การทำงานในย่านนางเลิ้งที่ทำให้เธอเห็นว่าตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา เด็กๆ ในชุมชนขาดโอกาสเข้าถึงสิ่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย จึงอยากสร้างพื้นที่บางอย่างที่จะช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้ได้เล่น ได้เรียน ได้อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ แต่ขณะเดียวกัน นางเลิ้งยังคงเป็นย่านที่มีปัญหาเรื่องการทับซ้อนและกรรมสิทธิ์ของที่ดิน ทำให้เป็นเรื่องยากในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ถาวร จึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้พื้นที่การเรียนรู้นี้สามารถเคลื่อนย้ายไปจอดที่ไหนก็ได้ […]

กระทรวงวัฒนธรรมของเบอร์ลินยื่นข้อเสนอเปลี่ยนห้างสรรพสินค้าให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกของเมือง

เคยคิดกันไหมว่า หากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เป็นศูนย์กลางของการพักผ่อนหย่อนใจ ร้านค้า รวมไปถึงที่ตั้งของสำนักงานนั้นต้องเลิกกิจการไป อาคารขนาดใหญ่เหล่านี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นอะไรได้บ้าง สัญญาเช่า ‘Galeries Lafayette’ ห้างสรรพสินค้าสัญชาติฝรั่งเศสใจกลางกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีแห่งนี้จะหมดลงในช่วงปลายปี 2567 และมีรายงานว่าเจ้าของห้างฯ จะถอนตัวออกหลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 28 ปี เนื่องจากเงื่อนไขการค้าที่มีความท้าทายมากขึ้น ‘Joe Chialo’ วุฒิสมาชิกฝ่ายวัฒนธรรมของเบอร์ลินจึงได้ทำการยื่นข้อเสนอในการเปลี่ยนห้างฯ แห่งนี้ให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกในเมืองเบอร์ลิน โดยราคาในการซื้อห้างฯ และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นห้องสมุดของโครงการนี้อาจจะต้องใช้เงินสูงถึง 589 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.28 หมื่นล้านบาท หากโครงการนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ก็จะเปิดให้บริการได้ในปี 2569 โครงการนี้ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ด้วยข้อสงสัยจากทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเบอร์ลินในเรื่องของสภาพอาคาร ความเหมาะสมในการเปลี่ยนเป็นห้องสมุด และค่าใช้จ่ายที่อาจจะสูงเกินงบประมาณที่มี แต่อย่างไรก็ตาม บรรณารักษ์ในเยอรมนีก็ได้ทำการเรียกร้องให้ดำเนินโครงการต่อไป เพราะถือได้ว่าเป็นโอกาสแห่งศตวรรษที่จะมีห้องสมุดกลางในเมือง โดย ‘Regina Kittler’ หัวหน้าสมาคมห้องสมุดเยอรมนีสาขาเบอร์ลินมองว่า ห้างฯ Galeries Lafayette แห่งนี้มีศักยภาพในการเป็น ‘ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ในเบอร์ลิน’ ด้วยโครงสร้างเดิมที่เป็นกระจกและโลหะขนาดใหญ่ดึงดูดแสงธรรมชาติ มีผังทรงกลมแบบเปิดโล่ง และมีลิฟต์กับบันไดเลื่อนจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการใช้งานในเชิงพาณิชย์ Source :The Guardian | tinyurl.com/4wnjb88z

Adams Street Library ห้องสมุดสาธารณะในพื้นที่โรงงานตอร์ปิโดเก่า ที่ผสมผสานความเก่าและใหม่ไว้อย่างลงตัว

หากไม่ทุบทิ้ง อาคารเก่าคงถูกปล่อยทิ้งไว้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ Work Architecture Company หรือ WORKac สตูดิโอในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เลือกที่จะปรับปรุงอดีตโรงงานเก่าให้กลายเป็น Adams Street Library ห้องสมุดสาธารณะที่ไม่ว่าใครก็เข้ามาใช้บริการได้ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ย่าน Dumbo ในอาคารสูงหลังหนึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานผลิตตอร์ปิโดและโรงงานรีไซเคิล แต่ปัจจุบันกลายเป็นอะพาร์ตเมนต์ พื้นที่เชิงพาณิชย์ และห้องสมุดขนาด 604 ตารางเมตรที่ชั้นล่างสุดของอาคาร ภายใน Adams Street Library ยังคงมีส่วนประกอบของโครงสร้างเดิมที่ผสมผสานกับความร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นกำแพงอิฐเดิม เพดานไม้เก่า การจัดพื้นที่รอบๆ โถงกลางด้วยผนังประติมากรรมที่ทำจากไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่นปานกลางที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงไม้ธรรมชาติและวีเนียร์ไม้เมเปิล ตู้เปิดโค้งและซอกสำหรับเก็บหนังสือ รวมถึงที่จอดรถสำหรับรถเข็นเด็ก ทั้งยังเพิ่มความสว่างภายในห้องสมุดด้วยการเปิดรับแสงธรรมชาติ และทำให้ผู้ใช้บริการมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบด้วยหน้าต่างสูงกว่า 4.6 เมตร เท่านั้นไม่พอ โถงกลางด้านในยังปรับให้เป็นพื้นที่สีส้มสดใสสำหรับเด็ก มีขั้นบันไดให้นั่งเล่นและพื้นที่สำหรับเล่านิทาน โดยมีการยกระดับพื้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เด็กๆ ชมวิวแม่น้ำและท้องฟ้าของเมืองแมนแฮตตันได้ นอกเหนือจากโถงกลางแล้ว ยังมีพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการวัยรุ่นและผู้ใหญ่ พื้นที่อ่านหนังสือแบบเปิดที่มีโต๊ะพร้อมที่ชาร์จในตัว ห้องอเนกประสงค์ 2 ห้องที่ประกอบด้วยกระดานไวต์บอร์ด เก้าอี้วางซ้อนได้ โต๊ะพับได้ รวมถึงครัวขนาดเล็กด้วย ทางทีมผู้ออกแบบกล่าวว่า […]

ชวนอ่านหนังสือฟรีบน TK Read บริการห้องสมุด E-book ออนไลน์ บนแอปฯ และเว็บไซต์ของ TK Park

อยากอ่านหนังสือดีๆ แต่ไม่มีเวลาไปห้องสมุด อยากอ่านหนังสือใหม่ๆ แต่ไม่พร้อมจ่ายเยอะ สำหรับนักอ่านทั้งหลาย เราอยากแนะนำให้รู้จักกับ TK Read บริการห้องสมุด E-book ออนไลน์จาก TK Park ที่เปิดให้ประชาชนได้อ่านหนังสือดีฟรีๆ ได้ทั้งบนแอปฯ และเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน TK Read มี E-book ภาษาไทยจากสำนักพิมพ์ชื่อดังในประเทศมากกว่า 3,400 เล่ม มี E-magazine 27 ชื่อเรื่อง จำนวน 788 เล่ม หนังสือเสียง (Audiobook) 111 ชื่อเรื่อง จำนวน 529 เล่ม และคอร์สออนไลน์กว่า 100 คอร์ส อัปเดตเพิ่มเติมเข้ามาทุกเดือน ให้นักอ่านได้อัปเดตความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอด แอปฯ TK Read เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงความรู้และหนังสือได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีรายได้ เช่น นักเรียน นักศึกษา และผู้มีรายได้น้อย มีโอกาสได้เข้าถึงหนังสือที่ราคาสูงได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องเดินทางออกไปห้องสมุด  แม้จะเป็นห้องสมุดออนไลน์ […]

TikTokUni Book Blind Date ที่ TK Park งานรวมตัวนักอ่านตัวยง 14 – 22 พ.ค. 65 รับฟรีรูปถ่ายจาก Photo Booth สุดฮิต

วัยรุ่น TikTok และคนรักหนังสือมารวมกันที่ TK Park วันที่ 14 – 22 พ.ค. 65 นี้เรามีนัดกันกับกิจกรรมสุดสนุกจาก TikTokUni! TikTok เฉลิมฉลองครบรอบ 2 ปี TikTokUni จัดแคมเปญ ‘TikTokUni #สอนให้รู้ว่า’ อย่างจุใจตลอด 4 สัปดาห์รวด กับกิจกรรมเรียนรู้คู่ความสนุกใน 3 แหล่งเรียนรู้ทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่ TK Park, ท้องฟ้าจำลอง และมิวเซียมสยาม ที่ชวนให้เราออกไปสนุกนอกบ้านได้ตั้งแต่ 14 พ.ค. – 5 มิ.ย. 65  TikTokUni ถือกำเนิดขึ้นในปี 2020 ภายใต้แนวคิดเรียนรู้คู่ความสนุก จนถึงวันนี้ TikTokUni ได้กลายเป็นหนึ่งในการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับคนทุกเพศทุกวัย กับคอนเทนต์หลากหลายที่ทำให้การเรียนรู้มีสีสันและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น และกำลังมีอายุครบ 2 ปีในเดือนพฤษภาคมนี้ TikTokUni Book Blind Date จัดขึ้นที่ […]

ชิลเกินปุยมุ้ย! โซลเปิดห้องสมุดกลางแจ้ง พร้อมหนังสือกว่า 3,000 เล่ม ให้คนนั่งอ่านหนังสือฟรีจนถึงปลายปี

เพราะเมืองที่ดีคือเมืองที่พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของประชาชนอย่างรอบด้าน ล่าสุดกรุงโซล เกาหลีใต้ ได้เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย https://rusbank.net วันที่ 23 เมษายน 2565 รัฐบาลกรุงโซลได้เปลี่ยน ‘โซลพลาซา (Seoul Plaza)’ ลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) โดยใช้ชื่องานว่า ‘Read at Seoul Plaza’ กรุงโซลไม่ได้จัดอีเวนต์นี้ขึ้นมาเล่นๆ เพราะภายในมีการจัดวางอุปกรณ์ที่พร้อมให้บริการคนเมืองอย่างครบครัน ได้แก่  – พื้นที่อ่านหนังสือเปิดโล่ง ที่รองรับผู้ใช้งานได้มากถึง 500 คน  – 8 ชั้นหนังสือเคลื่อนที่ มีหนังสือรวมกันกว่า 3,000 เล่ม – บีนแบ็กสีสดใสกว่า 70 ใบ – เสื่อปูพื้นกว่า 330 ผืน  – ร่มสนามกว่า 20 ชุด อุปกรณ์ทั้งหมดใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากภาพชาวโซลจำนวนมากที่แวะเวียนมานั่งพักผ่อนและอ่านหนังสือรับแสงแดดอุ่นๆ กันตลอดวัน […]

Beijing’s Sub-Center Library ห้องสมุดใหม่ในปักกิ่งที่ร่มรื่น เหมือนได้อ่านหนังสือในป่าแปะก๊วย

ในขณะที่ประเทศไทยยังต้องเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาสนับสนุนวงการหนังสือ ร้านหนังสือ และห้องสมุดกัน ตัดภาพไปที่ประเทศอื่นๆ ที่นอกจากส่งเสริมนโยบายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อย่างเข้มแข็งแล้ว ยังสร้างห้องสมุดใหม่ๆ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนกันมากขึ้น แค่มีห้องสมุดเกิดขึ้นไม่พอ ถ้าติดตามข่าวสารแวดวงนี้บ่อยๆ จะพบว่าเหล่าห้องสมุดเกิดใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนได้รับการออกแบบอย่างดี ตอบโจทย์ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานของผู้คน ในระดับที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศได้เลย ประเทศจีนเองก็เป็นประเทศหนึ่งในประเทศที่มีห้องสมุดขนาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศ  ล่าสุดที่กรุงปักกิ่งเพิ่งจะเปิดตัวแบบของห้องสมุดชุมชนขนาดใหญ่แห่งใหม่ในเขตชานเมือง ในชื่อ Beijing’s Sub-Center Library ซึ่งออกแบบโดย Snøhetta บริษัทสถาปนิกระดับโลกจากนอร์เวย์ ห้องสมุดแห่งนี้ออกแบบเป็นโครงสร้างปิดด้วยกระจกสูง 16 เมตร และยังเป็นอาคารกระจกหลังแรกในประเทศจีนที่รองรับน้ำหนักของตัวเองได้ ภายในอาคารมีเสาคล้ายต้นไม้รองรับหลังคาให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งเป็นต้นไม้อายุกว่าสามร้อยล้านปีที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบได้ทั่วไปทั้งริมถนนและสวนสาธารณะในประเทศจีน  สตูดิโอ Snøhetta เล่าว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ที่ออกแบบมีลักษณะเป็นขั้นบันได เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเหมือนต้นไม้ที่เชิญชวนให้ผู้คนนั่งลงและหยุดพักระหว่างเดินผ่าน เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายๆ ในการอ่าน และใส่แนวคิดที่ทำให้รู้สึกเหมือนได้นั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดใต้ต้นไม้เข้าไป เสาของอาคารแต่ละต้นยังติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ประสิทธิภาพด้านเสียง และการกำจัดน้ำฝนของห้องสมุด ส่วนแถวของคอลเลกชันหนังสือ พื้นที่อ่านหนังสือ และอัฒจันทร์ขนาดใหญ่จะสร้างขึ้นด้านในและรอบๆ ช่องทางเดิน ให้ออกมาเป็นพื้นที่คล้ายหุบเขาในห้องสมุด เหมือนได้เดินอยู่ในหุบเขาที่มีต้นแปะก๊วยปกคลุม อีกความเจ๋งของห้องสมุดนี้คือ หลังคาอาคารที่ได้รับการติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบบูรณาการ ซึ่งจะให้พลังงานหมุนเวียนแก่ตัวห้องสมุดและช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ส่วนหลังคาใบแปะก๊วยที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคารยังช่วยลดแสงที่ส่องเข้ามาในอาคารได้อีกด้วย  ห้องสมุดใหม่ในกรุงปักกิ่งแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการสร้างแล้วและคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2022 นี้ ชาวนักอ่านและนักเดินทางที่ชื่นชอบห้องสมุดต้องอย่าพลาดเชียว […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

10 ห้องสมุดทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าไปอ่านหนังสือช่วงวันหยุด

วันหยุดแล้วไปหาที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกันไหม? หากใครอยากออกจากบ้านหรือหาที่พักผ่อน แต่ยังต้องการความสงบและไม่อยากไปสถานที่คนพลุกพล่าน คอลัมน์ Urban Guide จะพาไปปักหมุดและสำรวจห้องสมุดกรุงเทพฯ เพื่อหาที่เงียบๆ อ่านหนังสือกัน เดี๋ยวนี้ห้องสมุดหลายที่ไม่ได้มีแค่โซนอ่านหนังสือเท่านั้น แต่ยังมีโซนคาเฟ่ โซนพักผ่อน จะนั่งดูหนัง หรือฟังเพลงเงียบๆ คนเดียวก็ได้ หรือจะหาที่นั่งทำงานเปลี่ยนบรรยากาศ Work From Home ก็มีตัวเลือกหลากหลายเช่นกัน บางที่ก็เพิ่งรีโนเวตใหม่สดๆ ร้อนๆ มีทั้งห้องสมุดดีไซน์ ห้องสมุดศิลปะ ห้องสมุดหนังสือต่างประเทศ หรือห้องสมุดเด็กสำหรับคนที่อยากพาลูกหลานออกไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน ใครอยู่ย่านไหนก็ลองหาห้องสมุดใกล้บ้านได้ในย่านนี้ เราบอกพิกัดทั้ง 10 ที่ไว้ให้หมดแล้ว 01 | ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดเด็กปฐมวัย บ้านโบราณสีเขียวอ่อน 2 ชั้นที่มีบันไดสายรุ้งในย่านเจริญกรุงหลังนี้ คือห้องสมุดที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ที่นี่คือห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการเด็กปฐมวัยและกลุ่มพิเศษของสถาบันราชานุกูล  ภายในห้องสมุดมีพื้นที่กว้างขวาง หนังสือภาพและนิทานสำหรับเด็กถูกจัดวางไว้ตามชั้นต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ ส่วนภายนอกก็มีสนามหญ้าขนาดกลางที่ร่มรื่นและดูอบอุ่น สำหรับจัดกิจกรรมให้เด็กๆ อย่างเช่น การอ่านหนังสือนิทาน […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

คนไทยไม่อ่านหนังสือ หรือพื้นที่การอ่านมีไม่มากพอ?

บรรยากาศห้องสมุดที่เราคุ้นเคยคงเป็นสถานที่น่าเบื่อเชยๆ ไว้ค้นคว้ารายงานส่งครู ขณะที่ห้องสมุดในต่างประเทศกลับมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดที่หรูหราโอ่อ่าราวขุมทรัพย์ ไปจนถึงห้องสมุดจิ๋วในตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเปิดกว้างให้นักอ่านทุกประเภท ชวนเราย้อนคิดว่า ทำไมบ้านเราถึงมีภาพจำว่า ห้องสมุดมีไว้สำหรับการเรียนการสอน หรือนักวิชาการเท่านั้น ?

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.