ลาดกระบังที่คิดถึง
เราเองพอจบจากลาดกระบังมาสักพัก ไม่รู้ว่ามีใครเป็นเหมือนเราไหม เวลาเรียนจบไปอยู่ๆ ก็คิดถึงมหาวิทยาลัยแบบไม่เคยเป็นมาก่อน เผลอๆ มากกว่าตอนเรียนด้วยซ้ำ บางทีขับรถผ่านหรือโฉบๆ ไปให้เห็นสักหน่อยก็ชื่นใจแล้ว
เราเองพอจบจากลาดกระบังมาสักพัก ไม่รู้ว่ามีใครเป็นเหมือนเราไหม เวลาเรียนจบไปอยู่ๆ ก็คิดถึงมหาวิทยาลัยแบบไม่เคยเป็นมาก่อน เผลอๆ มากกว่าตอนเรียนด้วยซ้ำ บางทีขับรถผ่านหรือโฉบๆ ไปให้เห็นสักหน่อยก็ชื่นใจแล้ว
หลายคนอาจเคยโหยหาธรรมชาติอยากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพราะชีวิตในเมืองเราอยู่กับความเร่งรีบและความเครียดที่สะสมลองใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อเพิ่มความสุขให้มากขึ้นกับพื้นที่ที่ยังคงอนุรักษ์เสน่ห์ของวิถีชีวิตคนริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้” ภาพบ้านเรือนแถวไม้โย้เย้ริมคลองหลังคาสังกะสีผุเก่าหากจะบอกว่าเป็นความสวยงามก็คงไม่ใช่แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘เสน่ห์’ น่าจะเหมาะกว่า เพราะความเก่าแก่ใช่ว่าจะหมายถึงความทรุดโทรมผุพังเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเรื่องราวมากมายที่หากมองข้ามความผุพังทรุดโทรมเข้าไปให้ลึกก็จะเห็นเสน่ห์ในความเก่านั้น | คน + น้ำ = ชีวิต ชุมชนหัวตะเข้ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ที่หลายคนอาจสงสัยว่า “ที่นี่คือที่ไหนต่างจังหวัดหรือเปล่า ?” แต่ชุมชนนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำ ‘คลองประเวศบุรีรมย์’ อายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งประวัติการขุดคลองนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขุดในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำจากคลองพระโขนงไปยังปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ระหว่างที่ขุดคลองนั้นมีการขุดค้นพบหัวจระเข้ใหญ่อยู่กลางสี่แยกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘สี่แยกคลองหัวตะเข้’ และหัวจระเข้ที่ขุดได้มานั้นชาวบ้านสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำหัวจระเข้ขึ้นมาบูชาโดยคนสมัยก่อนจะเรียก ‘จระเข้’ แบบสั้นๆว่าตะเข้จึงเพี้ยนมาเป็นคำว่า “หัวตะเข้” จึงกลายเป็นชื่อชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาว ‘ชุมชนหัวตะเข้’ ทำให้ย้อนนึกไปถึงสมัยก่อนเราผูกพันกับคลองโดยเห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองและอาศัย ‘น้ำ’ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากินหาสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน เช่น “การยกยอ” หรือ “ทอดแห” การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเป็นหลักและที่เป็นเอกลักษณ์เลยคือการขายของบนเรือไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรือป๊อกๆ(ที่เรียกว่าป๊อกๆเพราะมาจากเสียงเคาะเรียกให้คนออกออกมาซื้อนั่นเอง) หรือเรือขายของชำของจิปาถะทุกอย่างที่มีมาให้เลือกตามใจชอบรวมไปถึงการเติบโตของสัตว์หายากที่อาศัยอยู่เฉพาะริมน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ทั้งหมดนี้กลายเป็นสายใยที่สานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำอย่างสงบและเรียบง่ายตลอดมา และอีกพื้นที่สำคัญที่ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตริมน้ำอย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นคือ ‘ศาลาท่าน้ำ’ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่อเนกประสงค์ของคนที่อยู่บ้านริมน้ำคล้ายกับชานของบ้านที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะมารวมกันที่นี่เหมือนเป็นพื้นที่ต้อนรับเพื่อนบ้าน นั่งสังสรรค์กินข้าว ตกปลา สนทนา พักผ่อนนอนกลางวันบางคนก็นั่งอยู่ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดบ่ายทั้งการซื้อของกินของใช้จากพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายตลอดวัน […]