La Conner Swinomish ห้องสมุดสาธารณะสามภาษาในสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาโดยคนต่างถิ่นและชนพื้นเมือง
จะดีแค่ไหนหากเรามีแหล่งเรียนรู้ที่ไม่เพียงอุดมไปด้วยหนังสือให้อ่านหรือมีข้อมูลให้ค้นคว้า แต่ยังมีการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่สร้างสรรค์มาจากการร่วมมือกันของคนในชุมชน คนชนเผ่า และคนต่างถิ่น จนเกิดเป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาใช้ประโยชน์ได้ วันนี้เราขออาสาพาไปดูห้องสมุดสาธารณะแห่งใหม่ในเมืองลาคอนเนอร์ รัฐวอชิงตัน อย่าง ‘La Conner Swinomish’ นำทีมออกแบบโดย ‘BuildingWork Offices’ เป็นห้องสมุดที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างชุมชนพื้นเมืองและผู้คนต่างถิ่น มีเอกลักษณ์เด่นคือการเชิดชูวัฒนธรรมของชุมชนและผสมประวัติศาสตร์ของเมืองลาคอนเนอร์ไว้ในสถานที่แห่งเดียว ช่วยเพิ่มแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้กับพื้นที่ชายฝั่งของเมืองอีกด้วย เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามที่ตั้งใจที่สุด สถาปนิกได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองและทำการสำรวจภาพถ่ายของอาคารพาณิชย์เก่าแก่ งานวิจัยที่ว่านี้มีการออกแบบอาคารที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น การปูพื้น เอกลักษณ์ของส่วนหน้าอาคารแบบสามส่วน การจัดสัดส่วนในแนวตั้ง ลักษณะหน้าต่างที่ยื่นจากผนังไม้ และการตกแต่งรายละเอียดต่างๆ เป็นต้น ทีมออกแบบได้นำรูปแบบอาคารเหล่านี้มาเป็นไอเดียในการออกแบบห้องสมุดแห่งใหม่ และได้รับความร่วมมือจากชุมชนชนเผ่าอินเดียน (Swinomish Indian Tribal) มาช่วยในเรื่องการปรับปรุงอาคารและส่วนหน้าอาคาร รวมถึงได้ทีมช่างแกะสลักฝีมือดีในชุมชนมาร่วมกันสร้างลวดลายให้กับเสาไม้บริเวณทางเข้าห้องสมุดเพื่อสื่อสาร 3 เรื่องราว ได้แก่ 1) ชายชาวสวิโนมิชที่ยื่นมือออกมาเพื่อแสดงการต้อนรับ 2) ปลาแซลมอนสองตัวที่หมุนวนเป็นตัวแทนของการแบ่งปันทรัพยากร และ 3) นกอินทรีเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญา ถือเป็นการสร้างอาคารได้อย่างร่วมสมัย มีนวัตกรรมใหม่ และตรงตามเป้าที่ห้องสมุดตั้งไว้ ห้องสมุดแห่งนี้มาพร้อมพื้นที่และบริการต่างๆ มากมาย มีหนังสือน่าอ่านถึงสามภาษา ทั้งอังกฤษ สเปน หรือภาษาสวิโนมิช รวมถึงยังมีพื้นที่สำหรับวัยรุ่น […]