‘Tactical Urbanism’ โครงการปรับพื้นที่ถนนในบาร์เซโลนา ที่ใช้กราฟิกลายพื้นเมืองชวนให้คนเดินเท้ากันมากขึ้น

หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงที่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จากพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสัญจรกันไปมา โดยหลายพื้นที่ในเมืองบาร์เซโลนาเองก็กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่เหมือนกัน รวมไปถึงการใช้ชีวิตในเมืองที่เร่งรีบยังส่งผลให้การพบปะสังสรรค์หรือหาพื้นที่พักผ่อนในเขตเมืองนั้นเป็นไปได้ยาก ‘Arauna’ สตูดิโอออกแบบกราฟิกในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จึงเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนฟังก์ชันถนนที่ทำได้อย่างรวดเร็วและไม่แพง เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวา เรียกคืนพื้นที่ในเมือง พร้อมกับสร้างประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านการสร้างถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินถนนมากขึ้น และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีโดยทำให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินเล่นและพักผ่อนได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดของโครงการ ‘Tactical Urbanism’ ที่ทั้งเพิ่มพื้นที่ในการเดิน เติมเต็มพื้นถนนด้วยกราฟิกสีสันสดใส เพื่อชวนให้คนมาเดินกันมากขึ้น Arauna ได้คิดค้นระบบกราฟิกโดยใช้เวลาในการออกแบบลายและเทคนิคการลงสีสร้างองค์ประกอบต่างๆ อย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการ และบริบทอันหลากหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่เหล่านี้ กราฟิกที่ปรากฏบนพื้นนั้นมีที่มาจากหินปูพื้นแบบดั้งเดิมของบาร์เซโลนาที่เรียกว่า ‘Panot’ ซึ่งถูกนำมาใช้สร้างทางเท้าของเมืองตั้งแต่ปี 1906 โดยทีมออกแบบของ Arauna นำลายเหล่านี้มาทาสีให้กลายเป็นภาพกราฟิกลงบนพื้น โดยไม่ลืมที่จะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของถนนแต่ละสาย ละแวกบ้าน และหัวมุม นำไปสู่การปรับกราฟิกให้เข้ากับความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่ในเมืองแต่ละแห่ง นอกจากนี้ Arauna ยังเสนอให้สลักชื่อถนนบนทางเท้าทั่วบาร์เซโลนา เพื่อนำทางและเป็นหมุดหมายให้คนเดินเท้า แทนที่จะใช้ป้ายชื่อถนนที่ออกแบบมาสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทีมออกแบบก็ได้ใช้ส่วนประกอบจาก Panot ประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายให้กลายเป็นอักขระแต่ละตัว เพื่อใช้ระบุถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ ชื่อถนน โรงเรียน และอื่นๆ Sources :Barcelona Secreta | tinyurl.com/3tbr2wh8Designboom | tinyurl.com/3tnwrmc3

ปะติดปะต่อแนวคิด กราฟิกดีไซเนอร์ Pariwat Studio

องค์ประกอบยิบย่อยในเมืองที่ปะติปะต่อกันเป็นงานดิจิทัลคอลลาจ ดึงดูดให้ฉันหยุดพิจารณาและไล่สายตาดูตึกรามบ้านช่อง ป้ายร้านรวง รถราบนท้องถนน และรถเข็นขายผลไม้ ภาพแทนของกรุงเทพฯ เมืองที่เปรียบเป็นงานศิลปะคอลลาจในตัวเอง

Jean Jullien ศิลปินแดนน้ำหอมชื่อก้องโลกผู้รักการวาดภาพตลกร้าย

ทำความรู้จัก ‘ฌอง จูเลียง’ นักวาดภาพประกอบและศิลปินชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างแรงบันดาลใจสนุกๆ ผ่านลายเส้นซุกซน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.