‘Tactical Urbanism’ โครงการปรับพื้นที่ถนนในบาร์เซโลนา ที่ใช้กราฟิกลายพื้นเมืองชวนให้คนเดินเท้ากันมากขึ้น

หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงที่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จากพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสัญจรกันไปมา โดยหลายพื้นที่ในเมืองบาร์เซโลนาเองก็กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่เหมือนกัน รวมไปถึงการใช้ชีวิตในเมืองที่เร่งรีบยังส่งผลให้การพบปะสังสรรค์หรือหาพื้นที่พักผ่อนในเขตเมืองนั้นเป็นไปได้ยาก ‘Arauna’ สตูดิโอออกแบบกราฟิกในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จึงเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนฟังก์ชันถนนที่ทำได้อย่างรวดเร็วและไม่แพง เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวา เรียกคืนพื้นที่ในเมือง พร้อมกับสร้างประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านการสร้างถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินถนนมากขึ้น และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีโดยทำให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินเล่นและพักผ่อนได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดของโครงการ ‘Tactical Urbanism’ ที่ทั้งเพิ่มพื้นที่ในการเดิน เติมเต็มพื้นถนนด้วยกราฟิกสีสันสดใส เพื่อชวนให้คนมาเดินกันมากขึ้น Arauna ได้คิดค้นระบบกราฟิกโดยใช้เวลาในการออกแบบลายและเทคนิคการลงสีสร้างองค์ประกอบต่างๆ อย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการ และบริบทอันหลากหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่เหล่านี้ กราฟิกที่ปรากฏบนพื้นนั้นมีที่มาจากหินปูพื้นแบบดั้งเดิมของบาร์เซโลนาที่เรียกว่า ‘Panot’ ซึ่งถูกนำมาใช้สร้างทางเท้าของเมืองตั้งแต่ปี 1906 โดยทีมออกแบบของ Arauna นำลายเหล่านี้มาทาสีให้กลายเป็นภาพกราฟิกลงบนพื้น โดยไม่ลืมที่จะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของถนนแต่ละสาย ละแวกบ้าน และหัวมุม นำไปสู่การปรับกราฟิกให้เข้ากับความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่ในเมืองแต่ละแห่ง นอกจากนี้ Arauna ยังเสนอให้สลักชื่อถนนบนทางเท้าทั่วบาร์เซโลนา เพื่อนำทางและเป็นหมุดหมายให้คนเดินเท้า แทนที่จะใช้ป้ายชื่อถนนที่ออกแบบมาสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทีมออกแบบก็ได้ใช้ส่วนประกอบจาก Panot ประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายให้กลายเป็นอักขระแต่ละตัว เพื่อใช้ระบุถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ ชื่อถนน โรงเรียน และอื่นๆ Sources :Barcelona Secreta | tinyurl.com/3tbr2wh8Designboom | tinyurl.com/3tnwrmc3

Better City Starts With a “Good Walk” : ภารกิจเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ย่านของเราเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”

กรุงเทพฯ เมืองที่หลายคนรักแต่อีกใจหนึ่งก็เกลียด ขึ้นชื่อเรื่องไฟแดงนานและไฟเขียว 3 วิ เอาล่ะ วันนี้ไม่ได้จะมาบ่นกรุงเทพฯ แต่เรามีแนวคิดดีๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้การเดินเท้าแทนการขับรถ ซึ่งก่อนที่แต่ละย่านจะสามารถเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ก็มีสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากกว่าแค่ทางเท้า

ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร? – EP.1

ถ้าเกิดคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ มหานครอันแสนวุ่นวายที่มีพร้อมทุกอย่าง ขาดบ้าง เกินบ้าง ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณอยากจะเปลี่ยนอะไร? พอนึกถึงว่ามีอะไรที่อยากให้ปรับปรุง เน้นความอยากให้เป็น ไม่ต้องเน้นความเป็นไปได้ อันดับแรกๆ เราก็นึกถึง Infrastructure หรือสิ่งก่อสร้างพื้นฐานก่อนเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันเปรียบเสมือนสิ่ง Built-in ที่ก่อให้เป็นเมือง ไม่ว่าจะเป็นถนน ตึก สะพาน เสาไฟ สายไฟ ระบบสาธารณูประโภคต่างๆ เพราะถ้ามีโครงสร้างพื้นฐานที่เปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ดีตั้งแต่ต้น เมืองก็น่าอยู่ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดและโตและใช้ชีวิตในเมืองกรุงแห่งนี้ เวลาไปไหนมาไหนย่อมเห็นข้อดีและปัญหาของสิ่งต่างๆ รอบตัว เลยเกิดเป็นซีรีส์ “ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร?” ขึ้นมา ประเดิมตอนแรกด้วย ฟุตพาท สิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้ใช้ในทุกๆ วัน ฟุตพาทคือทางเท้าสำหรับคนเดิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “foot = เท้า” “path = ทาง” แต่ทุกวันนี้น้อยฟุตพาทนักที่จะน่าเดิน หรือเอื้อกับการเดิน อุปสรรคในการเดินที่เราพบเจอนั้นมีมากมายหลากหลายรอบทิศทาง จากการสอบถามความเห็นประชากรชาวออฟฟิศใจกลางเมืองแห่งหนึ่งที่ต้องใช้ฟุตพาทเพื่อเดินมาทำงานและไปทานข้าวเที่ยงทุกวันจำนวน 4 คนถ้วน กับคำถามเดียวกันนี้ ก็ได้คำตอบว่า “อยากเปลี่ยนฟุตพาทไม่ให้เป็นกับระเบิดอะค่ะ” “ไม่เอาอิฐแผ่นๆ ค่ะ” […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.