รู้จัก ‘Recou’ แกลบรีไซเคิล ทำหน้าที่แทนโฟมกันกระแทก แต่ไม่ทำให้สินค้าและโลกเสียหาย

ปกติเวลาที่เราสั่งเฟอร์นิเจอร์หรือสินค้าต่างๆ มาส่งที่บ้าน นอกจากตัวสินค้าแล้ว ภายในกล่องก็มักมาพร้อมกับโฟมกันกระแทก เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างขนส่งพัสดุ ข้อดีคือช่วยป้องกันของให้อยู่ในสภาพดีจนถึงมือผู้สั่ง แต่ข้อเสียคือวัสดุเหล่านี้อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไรนัก เพราะมักถูกทิ้งไปเนื่องจากไม่ได้นำไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ อีก บริษัท Proservation ในเยอรมนี ได้หาวิธีในการใช้วัสดุอื่นๆ แทนการใช้โฟม เพื่อลดขยะและไม่สร้างมลพิษต่อโลก ซึ่งวัสดุที่บริษัทเลือกใช้นั้นคือแกลบจากพืช โดยปกติแล้ว เมื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดพืช แกลบเหล่านี้มักถูกคัดออกเพื่อนำไปทำเป็นที่นอนสัตว์ หรือไม่ก็นำไปเผาทิ้ง Proservation จึงนำเอาแกลบเหล่านี้ไปรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ด้วยการเปลี่ยนให้เป็น ‘Recou’ วัสดุที่มีความอ่อนนุ่มและทนทานต่อแรงกระแทกเช่นเดียวกับโฟม แต่สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักหรือทิ้งได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้ว Proservation ตั้งใจทำให้ Recou ใช้งานทดแทนโฟมจำนวนมากในปัจจุบันได้ แต่อย่างไรก็ตาม Recou ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งระยะการผลิตที่ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่า 6 – 8 ชั่วโมงต่อชิ้น น้ำหนักที่มากกว่าโฟม และถึงแม้ว่า Recou จะมีการออกแบบให้ทนทานต่อความชื้น แต่หากโดนความชื้นสูงในระยะเวลานานก็อาจทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย มีเชื้อรา และไม่สามารถใช้งานต่อได้ Sources :Proservation | proservation.eu/enYanko Design | tinyurl.com/mpwct2jt

Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.