‘ปลอดภัย’ หรือ ‘ละเมิดความเป็นส่วนตัว’? เกาหลีใต้เตรียมใช้ AI จดจำใบหน้า ติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ในเมืองบูชอน

การระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างรอบด้าน เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยมนุษย์ลดความเสี่ยงและควบคุมการระบาดในวงกว้าง ล่าสุดเมืองบูชอน ประเทศเกาหลีใต้ เตรียมเริ่มโครงการนำร่องใช้ระบบจดจำใบหน้าที่พัฒนามาจาก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-powered Facial Recognition) ผ่านเครือข่ายกล้อง CCTV กว่า 10,820 ตัวทั่วเมือง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโควิด-19 และผู้มีสัมผัสใกล้ชิด รวมถึงระบุได้ว่าคนเหล่านี้สวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ รัฐบาลกลางเกาหลีใต้ทุ่มงบประมาณให้แก่โครงการกว่า 1,600 ล้านวอน (ราว 45 ล้านบาท) และทางการบูชอนยังใช้งบประมาณของเมืองเพิ่มอีก 500 ล้านวอน (ราว 14 ล้านบาท) เกาหลีใต้จะเริ่มการใช้เทคโนโลยี AI ในเมืองบูชอน เพราะเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ หรือมากกว่า 800,000 คน จาง ด็อกชอน (Jang Deog-cheon) นายกเทศมนตรีเมืองบูชอน อธิบายว่า มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดเพียงตัวเดียว การใช้เทคโนโลยี AI จดจำใบหน้าจะช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่และช่วยให้การติดตามผู้ป่วยโควิด-19 รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากระบบสามารถติดตามคนได้มากถึง 10 คนพร้อมกันภายใน 5 – 10 นาที […]

‘จำกัดระบบตรวจใบหน้า’ – เฟซบุ๊กปรับตัวครั้งใหญ่ เมื่อผู้ใช้กังวลเรื่องสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา Meta – บริษัทแม่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กประกาศแผนจำกัดการใช้งานระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ (Facial Recognition System) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เฟซบุ๊กจะไม่แท็กใบหน้าผู้ใช้งานในรูปภาพและวิดีโอโดยอัตโนมัติอีกต่อไป รวมถึงจะลบข้อมูลใบหน้าของผู้ใช้เดิมกว่า 1 พันล้านคน  Jerome Pesenti รองประธานบริษัทฝ่าย AI ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้คือ “การขยับครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้งานเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า” ซึ่งมีผู้ใช้งานถึงหนึ่งในสามของผู้ใช้ทั้งหมด นอกจากหยุดแท็กใบหน้าอัตโนมัติ และลบข้อมูลใบหน้าผู้ใช้แล้ว เฟซบุ๊กจะยุติระบบสร้างข้อความบรรยายภาพ (Automatic Alt Text System) ที่บริษัทกล่าวว่ามีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้บกพร่องทางการมองเห็น  แต่การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการจำกัดขอบเขตเท่านั้น เพราะระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ยังถูกใช้งานในบัญชีส่วนตัวอยู่ เช่น เพื่อปลดล็อกบัญชีผู้ใช้ หรือการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมการเงิน รวมทั้งอาจมีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวทางสาธารณะในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของเฟซบุ๊กครั้งนี้จุดประเด็นถกเถียงในสหรัฐอเมริกาว่าขอบเขตของเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ควรอยู่ตรงไหน ประเด็นที่ถกเถียงกันต่อมาคือ ความกังวลด้านสิทธิเสรีภาพและการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเทคโนโลยีซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและสีผิวในสหรัฐฯ รวมถึงบทเรียนที่เกิดขึ้นในการใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวัง (Surveillance) ในประเทศจีน การขยับครั้งนี้ของเฟซบุ๊กเกิดขึ้นท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์หลังการออกมาเปิดเผยของอดีตพนักงานบริษัทว่าเฟซบุ๊กตั้งใจปล่อยผ่าน ‘กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังและข้อมูลผิดๆ’  ด้าน Luke Stark ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอ (University of Western Ontario) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กครั้งนี้ แม้จะมองได้ว่าเป็นไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับตัวบริษัท และไม่ได้คิดเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเบื้องหลังจริงๆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.