‘จำกัดระบบตรวจใบหน้า’ – เฟซบุ๊กปรับตัวครั้งใหญ่ เมื่อผู้ใช้กังวลเรื่องสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา Meta – บริษัทแม่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กประกาศแผนจำกัดการใช้งานระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ (Facial Recognition System) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เฟซบุ๊กจะไม่แท็กใบหน้าผู้ใช้งานในรูปภาพและวิดีโอโดยอัตโนมัติอีกต่อไป รวมถึงจะลบข้อมูลใบหน้าของผู้ใช้เดิมกว่า 1 พันล้านคน  Jerome Pesenti รองประธานบริษัทฝ่าย AI ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้คือ “การขยับครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้งานเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า” ซึ่งมีผู้ใช้งานถึงหนึ่งในสามของผู้ใช้ทั้งหมด นอกจากหยุดแท็กใบหน้าอัตโนมัติ และลบข้อมูลใบหน้าผู้ใช้แล้ว เฟซบุ๊กจะยุติระบบสร้างข้อความบรรยายภาพ (Automatic Alt Text System) ที่บริษัทกล่าวว่ามีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้บกพร่องทางการมองเห็น  แต่การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการจำกัดขอบเขตเท่านั้น เพราะระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ยังถูกใช้งานในบัญชีส่วนตัวอยู่ เช่น เพื่อปลดล็อกบัญชีผู้ใช้ หรือการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมการเงิน รวมทั้งอาจมีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวทางสาธารณะในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของเฟซบุ๊กครั้งนี้จุดประเด็นถกเถียงในสหรัฐอเมริกาว่าขอบเขตของเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ควรอยู่ตรงไหน ประเด็นที่ถกเถียงกันต่อมาคือ ความกังวลด้านสิทธิเสรีภาพและการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเทคโนโลยีซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและสีผิวในสหรัฐฯ รวมถึงบทเรียนที่เกิดขึ้นในการใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวัง (Surveillance) ในประเทศจีน การขยับครั้งนี้ของเฟซบุ๊กเกิดขึ้นท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์หลังการออกมาเปิดเผยของอดีตพนักงานบริษัทว่าเฟซบุ๊กตั้งใจปล่อยผ่าน ‘กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังและข้อมูลผิดๆ’  ด้าน Luke Stark ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอ (University of Western Ontario) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กครั้งนี้ แม้จะมองได้ว่าเป็นไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับตัวบริษัท และไม่ได้คิดเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเบื้องหลังจริงๆ […]

Google และ Facebook สร้างสายเคเบิลใต้ทะเล จากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไปอเมริกาเหนือ เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

2 วันก่อน Google และ Facebook ประกาศแผนการเดินสายเคเบิลใต้ทะเลเพิ่มอีก 2 สาย เพื่อเชื่อมต่อสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอเมริกาเหนือ เข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างภูมิภาค สายเคเบิลทั้งสองถูกเรียกว่า ‘Echo’ และ ‘Bifrost’ เพิ่มความจุของสัญญาณอินเทอร์เน็ตขึ้นประมาณ 70% โดย Echo จะถูกสร้างขึ้นโดย XL Axiata บริษัทโทรคมนาคมของ Google ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2023 ส่วน Bifrost ดำเนินการโดย Telin บริษัทย่อยของ Telkom ในอินโดนีเซียและกลุ่มบริษัท Keppel ของสิงคโปร์ ที่มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2024 สายหนึ่งจะเชื่อมจากอเมริกาเหนือไปสิงคโปร์ ส่วนอีกสายจะเชื่อมจากอเมริกาเหนือไปยังบางพื้นที่ของอินโดนีเซีย  การเกิดขึ้นของสายเคเบิลใต้ทะเลทั้งสองนี้ หลายฝ่ายมองว่าจะส่งผลดีต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในอินโดนีเซียและสิงคโปร์ แถมยังมีแนวโน้มว่าจะให้การแข่งขันทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงขึ้น เมื่อเราเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากฝั่งอเมริกาได้ดีกว่าเดิม Source : Reuters | reut.rs/2PIMyUB 

‘Facetook’ โลกคู่ขนาน Facebook พื้นที่ระบายทุกข์เพื่อเพิ่มสุขให้ชีวิต

ชวน ‘พี่เม้ง – ประสิทธิ์วิทยสัมฤทธิ์’ และ ‘พี่บอมบ์ – ปัณณวิชณ์แซ่โง้ว’ แห่ง ‘ชูใจกะกัลยาณมิตร’ กลุ่มครีเอทีฟเอเจนซีผู้สร้าง ‘Facetook (เฟซทุกข์)’ มานั่งสนทนาถึงที่มาที่ไปของเฟซทุกข์ และมุมทุกข์สุขในชีวิต

Cat Request : เมื่อ “แมวจรจัด” ส่งคำร้องขอเป็นเพื่อน

เกิดปัญหาแมวจรจัดล้นประเทศไทยถึง 474,142 ตัว และเดินเกลื่อนกรุงเทพฯ กว่า 89,269 ตัว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเร่งหามาตรการแก้ไขปัญหา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการใช้ช่องทาง “โซเชียลมีเดีย” เป็นทางออก

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.