MONC ร้านแว่นตาในลอนดอนที่ใส่ใจทั้งสายตาลูกค้า และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมด้วยวัสดุชีวภาพ

ถ้าหากมองผ่านๆ ร้าน ‘MONC’ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก็อาจเป็นเพียงร้านแว่นธรรมดาๆ ที่มาพร้อมดีไซน์ที่สวยงามเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าการออกแบบของร้านในย่านแมรีลีโบนแห่งนี้ก็คือ วัสดุภายในที่เป็น ‘วัสดุชีวภาพ’ หรือ ‘รีไซเคิล’ แทบจะทั้งหมด รวมถึงตัวแว่นที่ผลิตขึ้นจาก ‘Bio-acetate’ วัสดุที่ทำจากเส้นใยฝ้ายและเยื่อไม้โดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะการทำปุ๋ยหมักเชิงอุตสาหกรรมใน 115 วัน ทั้งยังใช้ซองหนังรีไซเคิลสำหรับบรรจุสินค้า และเพิ่มความปลอดภัยให้กับแว่นด้วยโฟมแป้งข้าวโพดที่ย่อยสลายได้ การออกแบบภายในร้านนี้ได้สตูดิโอ ‘Nina+Co’ มาช่วยในเรื่องการตกแต่งที่ต้องสอดคล้องกับการเช่าพื้นที่ระยะสั้นของทางร้าน ด้วยความที่ MONC ต้องการย้ายออกจากโลเคชันนี้โดยไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ เฟอร์นิเจอร์ในร้านจึงเป็นแบบถอดแยกชิ้นส่วนได้ เพื่อรองรับการนำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล หรือส่งกลับคืนสู่โลกผ่านกระบวนการย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ยสำหรับพื้นดิน สำหรับจุดสำคัญของร้านอย่าง ‘ชั้นวางสินค้า’ ยังทำมาจาก ‘โฟมแป้งข้าวโพด (Cornstarch Foam)’ แทนการใช้โฟมพลาสติกแบบเดิมๆ โดยนำมาใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ทั้งวางแว่น เก็บเลนส์ และใส่ในซองเก็บกรอบแว่นเพื่อกันกระแทก มากไปกว่านั้น หลังจากการใช้งานในร้าน โฟมแป้งข้าวโพดเหล่านี้ก็เปลี่ยนเป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าได้ แต่ถ้าวัสดุเริ่มสึกหรอแล้วก็สามารถนำไปละลายน้ำเพื่อใช้รดต้นไม้ได้อีกเหมือนกัน ส่วนพรมที่วางอยู่บริเวณทางเข้าก็ผลิตจากใยกัญชงที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองอากาศแบบธรรมชาติ เพราะมันช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศและทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนอีกด้วย ส่วนกากกัญชงที่เหลือยังนำมาเป็นสารตั้งต้นเพื่อยึดเกาะโครงสร้างเส้นใยจากเชื้อราอย่างไมซีเลียม ที่เมื่อรวมตัวกันจะกลายเป็นของแข็งหน้าตาเหมือนหินจากธรรมชาติ ซึ่งทางร้านนำไปใช้เป็นแท่นวางแว่น หรือจะใช้ตกแต่งเก๋ๆ ภายในร้านก็ได้ทั้งนั้น นอกจากวัสดุจากธรรมชาติอย่างโฟมแป้งข้าวโพด […]

ศิลปินชาวเคนย่า “CYRUS KABIRU” ผู้เสกขยะไร้ค่าให้กลายเป็นผลงานศิลปะ

ศิลปะที่แท้จริงย่อมไม่มีเส้นแบ่งขอบเขต หรือคำจำกัดความใดๆ “Cyrus Kabiru (ไซรัส คาบิรุ)” ศิลปินชาวเคนย่าผู้เสกขยะที่ถูกทิ้งขว้าง สร้างเป็นงานศิลปะ ที่ไม่เหมือนใคร และเขากำลังเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการแก้ปัญหาขยะที่ปัจจุบันกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังจะทำลายโลกใบนี้ | ปัญหาขยะในทวีปแอฟริกา ประเทศเคนย่า เกิดในแหล่งเสื่อมโทรมเจอแต่ขยะ ปัจจุบันประเทศเคนย่า และอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง โดยข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่า มีการพบถุงพลาสติกโพลีเอธิลีน รวมไปถึงขยะประเภทอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหารของวัวที่ถูกส่งไปโรงฆ่าสัตว์ในกรุงไนโรบี วัวบางตัวมีถุงพลาสติกอยู่ในท้องถึง 20 ใบ จนทำให้เกิดเหตุการณ์พลาสติกปนเปื้อนในเนื้อวัว ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเคนย่า จึงออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ โดยใครที่มีถุงพลาสติกจากร้านปลอดภาษีติดมาด้วยนั้น จะต้องทิ้งถุงพลาสติกไว้ที่สนามบิน ไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศ ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชากรเด็กที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับขยะกันถึงหน้าบ้าน หรือแม้กระทั่งในบ้านเลยทีเดียว | จุดเริ่มต้นของศิลปะจากขยะ เรียนจบม.ปลายไม่เรียนต่อ อยากทำงานศิลปะ ชอบแว่น โดนไล่ออกจากบ้าน เด็กชายไซรัส คาบิรุ ในวัย 7 ขวบ เริ่มต้นความสนใจด้านศิลปะ เพราะแว่นตาที่พ่อเขาสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งตอนนั้นเขาอยากได้นาฬิกาเรือนนั้นมาก แต่พ่อกลับบอกกับเขาว่า ถ้าอยากได้ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองสิ และนั่นจึงเป็นก้าวแรกของความมุ่งมั่นที่จะสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเอง และสิ่งที่เขามองเห็นรอบข้างตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมานั่นคือ “ขยะ” สิ่งไร้ค่าที่ใครๆ ก็มองข้าม […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.